เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 33636 ประวัติผู้เชี่ยวชาญด้านนาฎดุริยางคศิลป์
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 23:11


       ครูอร่ามได้แสดงเป็นพระพิราพ   ซึ่งต้องรำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ  อันเป็นเพลงหน้าพาทย์สูงสุดและศักดิ์สิทธิ์   

ครูอร่ามต่อเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพจากครูรงภักดี (เจียร  จารุจรณ)  ผู้เคยแสดงเป็นพระพิราพมาก่อน  เหตุที่ครูอร่ามจะได้มีโอกาส

ต่อเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพก็ในปี ๒๕๐๕   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ทรงทราบว่าการรำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ   

อันเป็นเพลงศักดิ์สิทธิ์ และสูงสุดของนาฎศิลป์ไทยกำลังจะสูญ     และทรงทราบว่าผุ้ที่ต่อท่ารำนี้จากพระยานัฎกานุรักษ์ (ทองดี  สุวรรณภารต)

เหลืออยู่เพียงผู้เดียว  คือ ครูรงภักดี (เจียร  จารุจรณ)  ซึ่งในขณะนั้นรับราชการเป็นตำรวจวัง  สังกัดสำนักพระราชวัง          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ครูรงภักดี  ทำพิธีมอบท่ารำองค์พระพิราพ  ให้แก่ศิลปินของกรมศิลปากร รวม ๔ คนคือ

ครูอร่าม  อินทรนัฎ

ครูอาคม  สายาคม

ครูหยัด  ช้างทอง

ครูยอแสง ภักดีเทวา


       การต่อหน้าพาทย์เพลงองค์พระพิราพในครั้งนั้น     ได้กระทำต่อเบื้องพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ณ โรงละคร

พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต  เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ มกราคม  พ.ศ. ๒๕๐๖   เริ่มตั้งแต่เวลา  ๑๐.๐๐ น. ถึงเวลา ๑๑.๐๐ น. เศษ



ครูอร่าม  อินทรนัฎ  ถึงแก่กรรมเมื่อเวลาใกล้รุ่งของวันอังคารที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๓   อายุ ๖๗ ปี ๔ เดือนเศษ       ท่านจากโลกนี้ไปแล้ว

แต่คุณงามความดีและฝีมือในการแสดงโขนของท่าน   ยังคงตราตรึงอยุ่ในความทรงจำของผู้ที่เคยร่วมงาน  ผู้ชม  และ ศิษยานุศิษย์ทุกคน

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 07:58


     นายหยัด   ช้างทอง

อ่านมาจาก ทะเบียนข้อมูล  วิพิธท้ศนา  ชุดระบำ  รำ  ฟ้อน  เล่ม ๓
กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่  พ.ศ. ๒๕๕๑


       เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน  พ.ศ. ๒๔๖๓  ที่บ้านริมคลองประปา  แขวงจรเข้น้อย  เขตลาดกระบัง  กรุงเทพ ฯ

เป็นบุตรของนายยอด  และนางถนอม  ช้างทอง

สมรสกับนางสาวผิว  ทองอยู่  เมื่อพ.ศ. ๒๔๙๐  มีบุตร ๑ คน  ธิดา  ๑  คน  คือ

นางเพยาว์  พุกบุญมี

นายยงยุทธ  ช้างทอง

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 08:15



       นายหยัด  ช้างทอง เรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดรัชดาธิษฐาน   จบชั้นประถมสี่   มีใจรักการแสดงโขน   มุ่งมั่น

จะเรียนวิชานาฎศิลป์โขนให้ได้  จึงสมัครเป็นศิษย์นายพานัส  โรหิตาจล  ศิลปินโขนที่มีฝีไม้ลายมือเป็นที่หาตัวจับยาก

เพราะท่านเป็นศิษย์เอกของพระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ  สุวรรณภารต) นาฎศิลป์โขนที่เคยแสดงเป็นทศกัณฐ์ในรัชกาลที่ ๖


ได้ฝึกหัดโขนกับนายพานัส  โรหิตาจล  จนมีความชำนาญ    สามารถออกโรงแสดงได้    โดยเริ่มตั้งแต่ยักษ์ต่างเมือง เช่น

สัทธาสูร  มูลพลัม  มังกรกัณฐ์  แสงอาทิตย์      จนกระทั่งแสเงเป้นยักษ์ใหญ่ คือเป็นทศกัณฑ์   เป็นที่พอใจของครุพานัส  โรหิตาจล เป็นอย่างมาก

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 08:30



       เมื่อคณะโขนของนายพานัส  ไปแสดงที่ใดก็ตาม   นายหยัด  ช้างทองก็จะติดตามไปแสดงทุกครั้ง   ถ้าไม่มีงานของตน 

ก็อนุญาตให้นายหยัด  ช้างทองไปร่วมแสดงโขนกับคณะอื่นได้       การที่ได้ไปร่วมแสดงโขนกับคณะอื่นนั้น  เกิดประโยชน์มากมาย 

เพราะทำให้รู้จักมักคุ้นกับศิลปินคนอื่น ๆ     นายหยัดเป็นคนเรียบร้อย   อ่อนน้อมถ่อมตน    มีความสามารถในการแสดงสูง

จนเป็นที่พอใจของครูมาลี  คงประภัศร์  หรือศิลปินเรียกกันว่า "ย่าหมัน"   เจ้าของโขนคณะไทยศิริ      จึงได้ชักชวนให้นายหยัดไป

สมัครเข้ารับราชการในกรมศิลปากร ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔         ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญอยู่ ๓ ปี  จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๗ 

จึงได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ   ตำแหน่งศิลปินจัตวา       อัตราเงินเดือน  ๒๔  บาท

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 21:06


       หลังสงครามโลกครั้งที่สอง  นาฎศิลป์โขนเสื่อมลง  เนื่องจากขาดผู้สนับสนุน  ประชาชนสนใจการแสดงแบบตะวันตกเพิ่มมากขึ้น

ผู้บังคับบัญชาในกรมศิลปากรในขณะนั้นจึงให้ศิลปินโขนทั้งหมดแยกย้ายกันไปหัดดนตรีสากล   เพื่อจะได้ออกแสดงในงานต่าง ๆ แทนการแสดงโขน

นายหยัดต้องไปหัดเป่า บาสซูน  ซึ่งไม่ถนัดและไม่เคยสนใจมาก่อน  จึงเป่าไม่ได้ดีเท่าที่ควร


       ต่อมากรมศิลปากรได้ฟื้นฟูการแสดงโขนละคร ขึ้นใหม่  แล้วนำออกแสดงทุกวันศุกร์ เสาร์ และ อาทิตย์  สัปดาห์ละ ๗ รอบ  ในบริเวณพิพิธภัณฑ์สถาน

แห่งชาติ(โรงละครนี้ได้ถูกไฟไหม้หมดในปลายปี พ.ศ. ๒๕๐๓)      นายหยัดกลับมาแสดงโขนตามเดิม  และสอนโขนฝ่ายยักษ์ให้แก่นักเรียนนาฎศิลป์อีกด้วย


       ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงวิลาศวงงาม (หร่ำ  อินทรนัฎ)  ผู้แสดงโขนสมัยรัชกาลที่ ๖   นายอร่าม อินทรนัฏ  บุตรชายของหลวงวิลาศวงงาม

 ทศกัณฐ์ฝีมือเอกของศิลปากร  ก็ได้แนะนำสั่งสอนวิชาการทางนาฎศิลป์ให้เพิ่มเติม


       เมื่อท่านผู้หญิงแผ้ว  สนิทวงศ์เสนี  ได้เข้ามารับราชการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญนาฎศิลป์      นายหยัดก็ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์  ได้รับการถ่ายทอดวิชาการด้านโขน  

ละคร และชุดเบ็ดเตล็ดเพิ่มเติม        จนสามารถแสดงเป็นตัวเอกได้หลายเรื่อง

         เป็นท้าวพันธุมสุริยวงศ์   ใน  ละคร เรื่องพระร่วง

         เป็น  ชาละวัน  ตัวจระเข้  และท้าวรำไพ   ในเรื่องไกรทอง

         เป็นพระพันวษา และ  ขุนแผน  ในละครเสภา    เรื่องขุนช้างขุนแผน

       
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 19 ก.พ. 11, 15:32



ขออภัยที่ขาดงานไปหลายวัน     เอกสารรวบรวมไว้แล้วค่ะ      มีความปลาบปลื้มที่ได้อ่านและคัดลอก ประวัติของครูศิลปินมาลง

จะพยายามปะติดปะต่อไว้เพื่อท่านที่ไม่ได้อ่านหนังสือที่กรมศิลปากรทำ  ยังมีเล่มอื่น ๆ ที่พอมีประโยชน์จะได้นำมาเล่าสู่กันฟัง


ประวัติของ นาย หยัด  ช้างทอง (ต่อ)

      ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖   นายหยัด  ช้างทอง และศิลปินอาวุโสของกรมศิลปากร อีก ๓ คน  คือ นายอร่าม อินทรนัฎ   นายอาคม  สายาคม

และนายยอแสง  ภักดีเทวา  ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ   จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้รับมอบท่ารำหน้าพาทย์

องค์พระพิราพ   ซึ่งเป็นหน้าพาททย์สูงสุดและมีคความศักดิ์สิทธิ์ในทางนาฎศิลปไทย    จากนายรงภักดี (เจียร  จารุจรณ ) 

ณ โรงละครพระที่นั่งอัมพรสถาน  พระราชวังดุสิต  เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม  พ.ศ. ๒๕๐๖


      ต่อมานายอร่าม อินทรนัฏ   นายอาคม  สานาคม  และนายยอแสง ภักดีเทวา  ถึงแก่กรรม   ผู้ที่สามารถจะรำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ

 จึงเหลือเพียง ๒ คน  คือ นายรงภักดี (เจียร  จารุธรรม) และนายหยัด  ช้างทอง    แต่นายรงภักดี(เจียร  จารุจรณ)  ก็ชรามาก  จนไม่สามารถจะรำได้   

จึงเหลือแต่นายหยัด   ช้างทองแต่ผู้เดียว    แต่ถ้าปล่อยเวลาให้ผ่านไป  นายหยัด  ช้างทองคงจะรำไม่ได้        เมื่อพระบาทสมเด็นพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ

ฝ่าละอองธุลีพระบาท    จึงทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ฯ  ให้นาฎศิลปินโขนฝ่ายยักษ์ของกรมศิลปากร ๗ คน   เข้ารับการต่อกระบวนรำหน้าพาทย์

องค์พระพิราพ  ณ ​ศาลาดุสิดาลัย   พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๒๗        ในการต่อกระบวนรำหน้าพาทย์

องค์พระพิราพครั้งนี้       นายหยัด  ช้างทอง ได้ทำหน้าที่ผู้ช่วยนายรงภักดี (เจียร  จารุจรณ)  จนนาฎศิลป์โขนฝ่ายยักษ์ทั้ง ๗ คน  สามารถรำเพลง

หน้าพาทย์องค์พระพิราพหน้าพระที่นั่ง  ได้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด


       นายหยัด  ช้างทอง  จึงเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในทางศิลปวิทยา

มีความรู้ความสามารถยิ่งในการแสดงนาฎศิลป์โขน (ยักษ์) ยากที่จะผู้ใดเปรียบเทียบได้    เป็นผู้เสียสละ  และอุทิศตนเพื่อศิลปะการแสดงโขนอย่างแท้จริง

ได้รับการยกย่องชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ  สาขาศิลปะการแสดง (นาฎศิลป์ - โขน)  พ.ศ. ๒๕๓๒
 

 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง