เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 16150 งานวัด
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



 เมื่อ 11 ก.พ. 11, 08:05

ปัจจุบันนี้แหล่งบันเทิงมีมากมายในทุกที่ ... แต่ในสมัยก่อนนั้นล่ะ
วัยรุ่น รุ่นพ่อรุ่นแม่ของเรา จะเที่ยวกันที่ไหน ... แห่งหนึ่งที่เป็นที่รู้จักและคุ้นเคยที่สุด ก็คือ "งานวัด"
ในกรุงเทพฯ เอง งานวัดที่ขึ้นชื่อลือชาที่สุดและดังที่สุด ก็คือ "งานวัดภูเขาทอง"
แต่ในต่างจังหวัดล่ะ คนกรุงเทพฯ เองแทบไม่เคยรู้จักงานวัด "บ้านนอก" จะมีก็แต่คนจากต่างจังหวัดหรือ "คนบ้านนอก" ที่เข้ามาอาศัย เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ เล่าขานให้ฟัง
จึงขอเรียนเชิญวัยรุ่นทุกรุ่น จะรุ่นผ้าขะม้าคาดพุงนุ่งกางเกงขายาว ประแป้งขาวเต็มหน้า, หรือจะเป็นวัยรุ่นสวมกางเกงมอสขาบานหรือเดฟขาลีบเสื้อเชิร์ตลายพร้อย ปกเสื้อใหญ่หรือเล็กลีบ มาเล่าประสบการณ์สู่กันฟังครับ


บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 ก.พ. 11, 14:43

งานวัดไม่ว่าจะเป็นงานประจำปี งานฉลองพัดยศ งานสงกรานต์ หรือเทศกาลต่างๆ ที่จัดตามวัด  การแสดงที่ยืนพื้นคงไม่พ้นลิเกกับหนัง  ลิเกที่ดังมากสมัยก่อนคงเป็นคณะ “หอมหวล”   ส่วนหนังนั้นบ้านนอกมักจะเรียกว่า”หนังฉาย” เข้าใจว่าคงมีการแสดงหนังประเภทที่ไม่ได้ฉายจากเครื่องฉายหนังด้วย ชาวบ้านจึงเรียกหนังว่า “หนังฉาย”   หนังเรื่องมักจะฉายตอนดึก และมักมีการคั่นรายการด้วยข่าวต่างๆรวมทั้งภารกิจของนายกรัฐมนตรี ในสมัยนั้น   จำได้ว่าครั้งหนึ่งก่อนฉายหนังเรื่องมีภารกิจของท่านผู้หญิงละเอียดพิบูลสงคราม ภรรยา จอมพล ป.พิบูลสงคราม ไปจังหวัดนครนายก ฉายให้ดูด้วย วันนั้นท่านใส่เสื้อแขนสั้นสีแดงสด กระโปรงไม่มีจีบยาวสีออกเทา เดินข้ามหมู่ก้อนหินที่น้ำตกสาริกา
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 ก.พ. 11, 16:10

เป็นคนกรุงเทพนะคะ เมื่อก่อนกรุงเทพก็มีงานวัดค่ะ
เวลานึกถึงงานวัดจะนึกถึง.... ยิงฟันยิ้ม

- เวลากลางคืน เพราะงานวัดมักจะไปเที่ยวกันตอนกลางคืน อากาศเย็นๆ
   ซึ่งเป็นความพิเศษสำหรับเด็กๆ อย่างพวกเรา (ในสมัยนั้น)
  เพราะนานทีปีหนถึงจะมีโอกาสได้ออกไปสูดอากาศนอกบ้านยามค่ำคืน..
- ชิงช้าสวรรค์ ซึ่งเป็นเหมือนสัญญลักษณ์ของงานวัด
   ตอนเป็นเด็กเวลาได้ขึ้นชิงช้าสวรรค์ทีไร รู้สึกเหมือนว่ามันหมุนขึ้นไปสูงจังเลย
   ยิ่งตอนที่เขาหยุดชิงช้าเพื่อให้คนอื่นๆ ขึ้น แล้วเราได้อยู่ข้างบนสุด รู้สึกเหมือนกับ
   ว่าเราจะเอื้อมมือไปจับดาวได้เลย มองไปเห็นวิว มีแสงไฟสวยมากๆ เพราะสมัยที่เป็นเด็กๆ
   ตึกสูงๆ มีน้อย โอกาสที่จะได้ขึ้นไปมองเห็นวิวบนที่สูงมีน้อยครั้ง
- ลูกโป่ง สีสวยๆ หลายๆ ใบ อยู่ในกำมือ ที่บางครั้งก็เสียน้ำตาเพราะทำหลุดมือ
   ได้แต่แหงนมองลูกโป่งหลุดลอยไปบนฟ้า แต่แม่ก็ทำให้มันกลายเป็นความสุขและเสียงหัวเราะได้
   เพราะชี้แนะให้เราได้มองในแง่ที่สวยงามของลูกโป่งที่ลอยคว้างหลากสีบนท้องฟ้านั้น
- ขนมแปลกๆ ที่ในยามปกติ ไม่ค่อยมีโอกาสได้รับประทาน เช่น สายไหม สีสวยฟูฟ่อง
   ที่พอแตะลิ้นก็ละลายเป็นน้ำตาลหวานๆ
- การแสดงต่างๆ ที่ดูน่าตื่นตา ตื่นใจไปซะทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น ลิเก ลำตัด
   หรือการแสดงที่ต้องเสียเงินเข้าชม เช่น รถไต่ถัง เมียงู คนสองหัว ...
- เสียงอึกทึกครึกโครม เสียงประกาศ เสียงเพลง ผู้คน ละลานตา แสงสีเสียง ที่น่าตื่นตาตื่นใจ

นึกถึงงานวัดทีไร เราจะรู้สึกมีความสุข นึกถึงอากาศเย็นๆ ที่ได้ไปเที่ยวกันอย่างอบอุ่นกับคุณพ่อคุณแม่
เอ...จำไม่ได้แล้วว่าไปเที่ยวงานวัดครั้งสุดท้าย เมื่อไหร่ ... แล้วงานวัดสมัยนี้เป็นอย่างไรนะ..





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 ก.พ. 11, 23:01

เท่าที่นึกออกตอนนี้คือ ม้าหมุน ค่ะ

บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 12 ก.พ. 11, 00:26

ของกินตามงานวัดเป็นที่โปรดปรานของเด็กๆมาก ส่วนมากจะเป็นของกินเล่น ประเภทของกินขึ้นอยู่กับท้องถิ่นนั้นๆด้วย อย่างภาคกลางก็มี ก๋วยเตี๋ยว เครื่องในต้ม ระยะหลังไก่ย่างก็พอมี  พวกของขบเคี๋ยวหรือพวกขนมก็จะมี โรตี  ตังเมหลอด ข้าวโพดคั่ว ไอติมหลอด น้ำแข็งกด ข้าวเกรียบว่าว ข้าวเกรียบงา ข้าวโพดต้ม อ้อยควั่น ถั่วลิสงต้ม แห้ว กระจับ ฝักบัว กล้วยแขก ที่เด็กเล็กๆชอบมากคือขนมปังกรอบก้อนกลมเล็กๆแต้มหน้าด้วยครีม 3 สีคือขาว เขียวและแดง ร้อยเป็นพวงใหญ่กว่าสายสร้อยสักสองเท่าเด็กๆชอบเอามาคล้องคอแล้วกินไปด้วย พวกของดองเช่นฝรั่งดอง มะม่วงดอง มะยมดอง มะดันดอง ลูกหวายดอง ลูกหว้า เป็นต้น เครื่องดื่มก็จะมีกาแฟชงแบบโบราณกับน้ำอัดลมเป็นหลัก กาแฟมีทั้งร้อนทั้งเย็น กาแฟร้อนถ้าไม่กินที่ร้านก็จะใส่กระป๋องนมให้ ใช้เชือกกล้วยร้อยที่รูฝากระป๋องนมไว้หิ้ว  ร้านค้าจะใช้ตะเกียงเจ้าพายุหรือตะเกียงแก๊สช่วยส่องสว่างหรือบางร้านที่เล็กหน่อยก็ใช้ตะเกียงรั้ว       
บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 12 ก.พ. 11, 14:06

ขอเพิ่มเมนูของกินงานวัดอีกหน่อย  ประเภทกินแล้วติดฟัน ก็มีเผือกต้ม มันต้ม ของกินที่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีขายคือ พุทราไทยเชื่อม มีทั้งเชื่อมทั้งลูกและแบบทำเป็นแผ่นกลมๆ กินกับพริกกะเกลืออร่อยมาก(น่าจะยังมีขายที่วัดหลวงพ่อมงคลบพิตร อยุธยา) นอกจากนี้ยังมี พุทรากวน ข้าวต้มผัด(ข้าวต้มมัด) ข้าวเม่าทอด ข้าวเม่าคลุก กล้วยปิ้ง เป็นต้น  นอกจากลิเกกับหนังฉายที่ยืนพื้นแล้ว งานใหญ่ๆบางทีจะมีลำตัดและโขน บางทีก็มีมวย แต่โขนนั้นเท่าที่จำได้ในรอบหลายสิบปีมาเล่นที่วัดแถวบ้านแค่ครั้งเดียว ส่วนลำตัดนั้นคณะที่ดังที่สุดคงเป็น หวังเต๊ะ  ผมรู้จักเพลง Hit the road jack ของ Ray Charles จากเวทีลำตัดนี่เอง  หวังเต๊ะ นำไปร้องบนเวทีจำได้ว่าลุงหวังเต๊ะ ร้องเพลงนี้ 3 ประโยคแรกแค่นั้นเอง  แต่ก็ประทับใจตั้งแต่นั้นมา
บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 12 ก.พ. 11, 21:51

นอกจาก ชิงช้าสวรรค์และม้าหมุน  “ยิงปืนไม้ก๊อก” ก็เป็นที่นิยมและยังยืนหยัดมาจนถึงทุกวันนี้เพียงแต่รางวัลที่แจกจะต่างกัน  งูเป็นสัตว์ที่ถูกนำมาเล่นมากที่สุดในงานวัด เมียงูเป็นการแสดงยอดฮิตในบรรดาการแสดงของงูทั้งหลาย  การแสดงแบบหลอกคนดูเช่น  “หัวคนตั้งโต๊ะ”  “กาขาวขันได้” ยังคงขายได้อยู่   งานวัดใหญ่ๆ จะมีรถไต่ถังด้วย ในยุคนั้น รถไต่ถังคณะ “เปรื่อง เรืองเดช”ดังที่สุด  สาวน้อยตกน้ำเป็นเครื่องเล่นที่อย่างหนึ่งที่พวกหนุ่มๆยุคนั้นชอบกันมากแต่ผมสงสารพวกเธอมากกว่า โดยเฉพาะหน้าหนาว ขึ้นจากน้ำแต่ละทีพวกเธอสั่นงั่กๆจนต้องเอาผ้าขนหนูมาห่มส่วนบนเอาไว้   จ้ำบ๊ะ(ขอเซ็นเซอร์บรรยากาศ) ก็นำมาเล่นในงานวัดแต่ช่วงหลังน้อยลงเพราะถูกครหามาก  สิ่งที่คู่กับงานวัดอีกอย่างคือ ขอทาน แต่ก่อนจะมีเด็กหัวโตตัวเล็กเดินไม่ได้พ่อแม่จะพาไปนอนทำตาปริบๆขอทานตามงานวัด ไม่รู้ว่ามีกี่คนแต่ไปวัดไหนก็จะเจอ แต่เดี๋ยวนี้ไม่เห็นแล้ว
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 13 ก.พ. 11, 21:19

แล้วก็ร้านถ่ายรูป
มีฉากหลังเป็นบางแสน หัวหิน แล้วก็เชียงใหม่
ใช้กล้องตัวใหญ่ กดชัดเตอร์ด้วยการบีบลูกโป่ง
ถ่ายออกมาแล้วเหมือนไปมาจริงๆ
ตามด้ายตู้เซียมซี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 08:45

อย่างที่สองที่จำได้คือลูกโป่งงานวัด   



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 21:26

ยิงเป้าในงานวัด

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 21:29

ขาดไม่ได้อีกอย่างคือลิเกงานวัด

บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 16 ก.พ. 11, 09:45

ดูภาพลิเกในรูปก็คงคล้ายๆเมื่อก่อน สิ่งที่ต่างไปคือ"ฉากลิเก" ในภาพที่ดูมีสีสันขึ้น เมื่อก่อนฉากลิเกจะเป็นรูป "ท้องพระโรง " ยืนพื้น ลิเกบางคณะที่มีลูกเล่นมากๆอย่างคณะ "แสงอุทัยเจริญ" ที่เล่นอยู่แถวภาคกลางมักจะมีฉากหลายฉาก เช่น ฉากเข้าเฝ้าจะเป็นรูปท้องพระโรง ตอนเดินป่าก็จะเอาฉากป่าลงมาแล้วใช้ไฟช่วยเป็นแบ็คกราวด์ให้ดูสมจริงขึ้น ฉากประหารชีวิตก็จะเป็นอีกบรรยากาศหนึ่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 ก.พ. 11, 10:58

ฉากท้องพระโรงแบบนี้ใช่ไหมคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 16 ก.พ. 11, 20:05

แล้วก็ไอติมหลอด

บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 17 ก.พ. 11, 10:24

ลูกโป่งที่ลอยได้ เรียกว่า ลูกโป่งสวรรค์
สมัยก่อนมีรูปทรงแบบเดียว คือหัวโตคล้ายหลอดไฟ สกรีนตัวหนังสือเป็นข้อความต่าง ๆ เช่น สวัสดีปีใหม่
ไม่ได้เป็นรูปการ์ตูนสวยงามมากมายหลายอย่างเช่นทุกวันนี้

ความสุขอย่างหนึ่ง เมื่อขอพ่อแม่ซื้อลูกโป่งสวรรค์ได้ คือ ท่านจะเอาเส้นด้ายที่ผูกลูกโป่งผูกไว้กับข้อแขนเรา เพื่อกันลูกโป่งหลุดไป
แต่เราจะงอแง คิดว่าแม่จะให้ลูกโป่งพาเราลอยหนี
ยังจำความรู้สึกอบอุ่นนั้นได้ คิดถึงจัง   ร้องไห้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง