เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
อ่าน: 38413 เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 13 ก.พ. 11, 11:28

ออกจากน่าน – ไชยบุรี – น้ำฮุง – ท่าเดื่อ

ครั้นวันจันทร์ เดือนยี่ แรม ๑๓ ค่ำ ปีระกา เวลาเช้า ๒ โมงเศษ แม่ทัพนำทัพออกจากเมืองน่าน เดินทางข้ามห้วยและเทือกเขา ๑๐ วัน ถึงเมืองไชยบุรี เจ้าราชภาคิไนยเมืองหลวงพระบางออกมาคอยรับกองทัพและจ่ายเสบียงที่จะเดินทางต่อไป และเดินทางไปเมืองน้ำฮุง และถึงท่าเดื่อ บ่าย ๓ โมงพักริมน้ำโขงคืนหนึ่ง

ท่าเดื่อ – น่าน(น้อย) – ลัดเลาะริมน้ำโขง – ท่าเลื่อน – ลงเรือบรรทุกของแม่น้ำโขง ไปเมืองหลวงพระบาง
ครั้นออกจากท่าเลื่อนแล้ว กองทัพเดินเท้า ผ่านที่นา พบเจ้าราชวงศ์ (ภายหลังเป็นเจ้าสักรินทรฯ เจ้านครหลวงพระบาง) กับเจ้าราชสัมพันธวงศ คุมปี่พาทย์ฆ้องกลอง กับดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะมาคอยอยู่ แจ้งว่าเจ้านครหลวงพระบางแต่งให้มารับกองทัพเข้าไปยังหลวงพระบาง แล้วนำกองทัพไปพำนักที่บ้านเชียงแมนริมน้ำโขงฝั่งตะวันตก

ภาพกองทัพยกจากเมืองน่านไปเมืองหลวงพระบาง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 13 ก.พ. 11, 11:30

กำลังจัดการจะเดินกองทัพยกจากเมืองพิชัย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 13 ก.พ. 11, 11:32

รูปแม่น้ำหน้าเมืองพิชัย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 13 ก.พ. 11, 11:36

เข้าเมืองหลวงพระบาง

วันเสาร์ เดือน ๓ แรม ๒ ค่ำปีระกา เวลา ๓ โมงเศษ เจ้านครหลวงพระบาง แต่งให้เจ้าอุปราช เจ้าราชวงศ์ พร้อมด้วยพระยาศุโขทัยผู้แทนข้าหลวง จัดเรือเก่งลำหนึ่ง กับเรือบรรทุกไพร่พล ข้ามไปยังเมืองหลวงพระบาง รวม ๔๐ ลำ มีปี่พาทย์ฆ้องกลองเป็นกระบวนมารับกองทัพข้ามแม่น้ำโขง ไปถึงฝั่งตะวันออก แล้วแม่ทัพให้ทหารกรุงเทพฯ และทหารหัวเมืองเดินเป็นกระบวนทัพเข้าเมืองหลวงพระบาง สองข้างทางมีราษฎรชายหญิงมาดูเนืองแน่นตอลดไปถึงที่พำนัก ซึ่งตั้งใกล้ลำน้ำคาน
ฝ่ายตะวันออกของหลวงพระบาง เมื่อแม่ทัพนายกองถึงที่พำนักเรียบร้อยแล้ว เจ้านครหลวงพระบางพร้อมด้วยเจ้านายบุตรหลานมาเยียนตามประเพณี แม่ทัพให้จัดทหารเป็นกองเกียรติยศรับ ๒๔ คน ทหารแตรเดี่ยว ๒ คน ครั้นรุ่งขึ้นแม่ทัพและนายทัพนายกองก็พร้อมกันไปหาเจ้านครหลวงพระบางและได้ไปเยียนตอบตามประเพณี

สภาพตลาดภายในเมืองหลวงพระบาง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 13 ก.พ. 11, 11:48

เจ้ามหินทรเทพนิภาธร  (เจ้าอุ่นคำ)  เจ้านครหลวงพระบาง  (อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง)  พ.ศ.๒๔๑๕ - ๒๔๓๑   


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 13 ก.พ. 11, 11:58

ตลาดหลวงพระบาง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 13 ก.พ. 11, 12:11

ขยายภาพจาก # ๔๙

King Ounkam
 
ภาพจาก Paul Boudet and André Masson, Iconographie historique de l'Indochine française, 1931

http://pavie.culture.fr/mediatheque.php?rubrique_id=51#media272

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 13 ก.พ. 11, 18:54

ข้อมูลดีเยี่ยม
รูปภาพสวยงาม ยิงฟันยิ้ม

ไม่รู้จะแทรกลงตรงไหนดี
อาจจะหาใบบอกกองทัพมาลงให้ครับ
บันทึกการเข้า
NokLekLek
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 19 ก.พ. 11, 10:09

มาแล้วตามคำเชิญ และลงชื่อเข้าเยี่ยมชมเจ้าค่ะ
เนื้อหาและรูปประกอบยอดเยี่ยมมากๆเลย ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 27 ก.พ. 13, 12:27

กระทู้ดูเหมือนจะยังไม่จบ แต่มาต่อกับกระทู้ ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?ได้พอดิบพอดี
 
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5545.0
บันทึกการเข้า
นโม ตสฺส
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 25 พ.ค. 19, 19:00

ที่มาของชื่อ ฮ่อ โดย ยรรยง จิระนคร (เจียแยนจอง 謝遠章)

"...ที่มาของชื่อ “จีนฮ่อ”

คนไทลื้อสิบสองพันนาเรียกคนจีนว่า “ฮ่อ” เรียกประเทศจีนว่า “เมืองฮ่อ” คนไทยก็มักจะเรียกชาวยูนนานว่า“ฮ่อ” หรือ “จีนฮ่อ” คนลาวก็เรียกชาวยูนนานว่า “ฮ่อ” เหมือนกันคนรุ่นหลังของกลุ่มคาราวานม้าชาวมุสลิมยูนนานที่ตกค้างตั้งหลักแหล่งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ก็ถูกเรียกว่า “ฮ่อมุสลิม”

คำว่า “ฮ่อ” มาจากไหน มีนิยามว่าอะไร เป็นประเด็นที่มีการสันนิษฐานคาดเดาต่างๆ นานา บางคนว่า คำว่า “ฮ่อ”อาจจะเป็นเสียงเพี้ยนมาจากคำว่า “หู” (胡)ที่ชาวจีนเรียกชาวต่างเชื้อชาติในภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงเหนือ บ้างก็ว่า อาจจะมาจากคำว่า “ฮว๋า” (華) ซึ่งเป็นคำโบราณที่เรียกชาวจีนหรือชาวฮั่น แต่การคาดเดาดังกล่าวไม่ถูกต้องเพราะไม่มีหลักฐานยืนยัน จากการศึกษาของผู้เขียน คำว่า “ฮ่อ”

เดิมทีเป็นชื่อที่ชาวจีนในอดีตใช้มาเรียกชนเผ่า “ซีเอ่อเหอหมาน(西洱河蠻)” (ชาวเหอ=ชาวแม่น้ำป่าเถื่อนในแม่น้ำซีเอ่อ) หนังสือโบราณชื่อ “หมานซู” (蠻書 - หนังสือว่าด้วยเผ่าป่าเถื่อน) ที่บัณฑิตชื่อ ฝานจ๊อะ(樊綽) สมัยราชวงศ์ถังเรียบเรียงเมื่อประมาณปี ค.ศ.864 ระบุว่า “เหอหมาน (河蠻 - ชาวแม่น้ำป่าเถื่อน) เดิมเป็นชาวเหอ (หรือชาวแม่น้ำ) ใน (แม่น้ำ) ซีเอ่อ(西洱) ปัจจุบันเรียกว่าชาวเหอ (ชาวแม่น้ำ)” คำว่า “เหอ” (河) เป็นการออกเสียงตามสำเนียงมาตรฐานจีนปักกิ่ง แต่สำเนียงจีนยูนนานออกเสียงว่า “ห่อ” ภาษาเขียนไทลื้อสะกดว่า “ห้อ” ทางเมืองไทยเลยออกเสียงว่า “ฮ่อ”

“แม่น้ำซีเอ่อ” ในหนังสือ “หมานซู” ก็คือทะเลสาบเอ่อห่าย(洱海)หรือทะเลสาบ “หนองแส” ที่เราได้ค้นคว้าวิเคราะห์มาแล้ว สาเหตุที่ถูกเรียกว่าแม่น้ำ เพราะทะเลสาบเอ่อห่ายหรือหนองแสมีลักษณะยาวรี โดยมีความยาวจากเหนือถึงใต้ 40 กิโลเมตร ความกว้างจากตะวันออกถึงตะวันตก 4-8 เมตรประจวบกับด้านเหนือและด้านใต้ของทะเลสาบเชื่อมโยงกับลำคลอง เลยถูกเรียกว่าแม่น้ำ

“ชาวฮ่อ” หรือชาวแม่น้ำแถบทะเลสาบเอ่อห่ายหรือหนองแส เป็นบรรพชนแขนงหนึ่งของชนเผ่าไป๋ในยูนนาน เผ่าไป๋(白族)และเผ่าหยี(彝族)ได้ร่วมกันสถาปนาอาณาจักรน่านจ้าว(南詔)เมื่อปี ค.ศ.649 สมัยราชวงศ์ถัง ต่อมาเผ่าไป๋ยังได้ก่อตั้งอาณาจักรต้าหลี่(大理國)ช่วงค.ศ.937-1253 เมืองหลวงของอาณาจักรน่านจ้าวและอาณาจักรต้าหลี่ก็ตั้งอยู่ในเมืองแสริมทะเลสาบหนองแสนั่นเอง ทำเลของเมืองแสสมัยโบราณที่จีนเรียกว่าเมือง “เซอะหยี(楪榆)” นั้นก็คือเมืองต้าหลี่ปัจจุบัน แต่เอกสารไทลื้อและไทล้านนาต่างก็เรียกเมืองต้าหลี่ว่าเมืองแสเช่นเดิมอาณาจักรเชียงรุ่งอยู่แถบตะเข็บชายแดนของยูนนาน ไทลื้อในอดีตรู้แต่ว่าเมืองแสหรือเมืองต้าหลี่เป็นถิ่นฐานของชาวฮ่อ เลยทำให้เข้าใจว่า ฮ่อเป็นกลุ่มชนปกครองยูนนาน ซึ่งต่อมายังได้ขยายความหมายถึงชนชาติฮั่นและชาวจีน ถึงแม้ว่าระบอบการปกครองของจีน ได้ผ่านวิวัฒนาการแปรเปลี่ยน

จากราชวงศ์ซ่ง (ชนชาติฮั่น) เป็นราชวงศ์หยวนชาวมองโกล ราชวงศ์หมิงชาวฮั่น ราชวงศ์ชิงชาวแมนจู จนกระทั่งถึงสมัยการปกครองของก๊กมินตั๋ง แต่ไทลื้อก็ยังเรียกกลุ่มชนปกครองประเทศจีนว่า “ฮ่อ” เช่นเอกสารโบราณของสิบสองพันนาจะเขียนว่า “เจ้าว้องฮ่อ” หรือ “เจ้าว้องฮ่อลุ่มฟ้า” เรียกประเทศจีนว่า “เมืองฮ่อ” เรียกเรียนหนังสือจีนว่า “เรียนหนังสือฮ่อ”

ส่วนกรณีที่คนไทยและคนลาวเรียกชาวยูนนานว่า “ฮ่อ” หรือ “จีนฮ่อ” นั้น ก็มาจากเหตุการณ์ที่เดิมที ไทลื้อเรียกกลุ่มผู้ปกครองยูนนานว่า “ฮ่อ” นั่นเอง..."

อ้างอิง ปกิณกะการค้นคว้าเรื่องไท-ไทย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.139 วินาที กับ 19 คำสั่ง