เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 36837 ถามเรื่องของ "ไอติม" (icecream) กับ "น้ำแข็ง"
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 30 ต.ค. 12, 12:50

ยังคิดถึงหวานเย็น ที่มีคนสะพายกระติกเดินขายตามบ้าน   เป็นอาชีพหนึ่งที่น่าจะสูญไปแล้ว
มีรถขายหวานเย็นเข้ามาแทนที่

สมัยเด็กๆ ตอนปิดเทอมใหญ่ มีร้านทำไอติมแท่งแบบนี้ ผมก็ไปรับมาขาย ทางร้านเขาก็จะมีกระติกให้ยืมไปด้วย เราก็เลือกเอาเองว่าจะเอาสีไหน รสอะไร อัดให้เต็มกระติก ไปเร่ขาย แท่งละสลึงหรือ ๒๕ สตางค์ ถ้าขยันหน่อย อาจจะขายได้ถึงวันละ ๓ เที่ยว ถ้าห่วงเล่นก็แค่วันละเที่ยวเดียว

บางคนขยันมาก รับครั้งละ ๒ หรือ ๓ กระติกต่อเที่ยว เดินแบกกันหลังแอ่น

ตัวไส้ในจะเป็นกระบอกแก้วสุญญากาศเคลือบด้วยสารปรอทภายใน สอดไว้ในกระบอกโลหะทำจากสังกะสีแผ่น ฝากระติกเป็นไม้โอ๊คขนาดใหญ่กว่าปากกระติกเล็กน้อย แล้วใส่ไว้ในกระเช้าหวายมีหูหิ้วสำหรับคล้องไหล่ และจะมีกระดิ่งอันเล็กๆ ให้ยืมไปด้วย



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 30 ต.ค. 12, 13:22

จำได้ว่าอุดหนุนเจ้าที่เดินเข้ามาในซอยบ้าน อยู่เป็นประจำ 
ไอติมทั้งหมดในรูปข้างล่างนี้ เคยกินมาทั้งนั้น  วัยเด็กเป็นวัยที่กินอะไรก็อร่อย  รสชาติไอติมแท่งจึงยังไม่เคยลบเลือน   โตขึ้นได้ไปกินอีกหลายชนิดในร้านต่างๆ  แต่ไม่เคยลืมไอติมแท่งเพื่อนเก่าเลยค่ะ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 01 พ.ย. 12, 07:22

ยกบทความจากหนังสือ Where the strange trails go down สมัยรัชกาลที่ ๖ มาให้อ่านกัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 01 พ.ย. 12, 08:40

บทที่ ๑๐  THROUGH THE GOLDEN CHERSONESE TO ELEPHANT LAND หน้า ๒๑๙

The ice cream vendors drive a roaring trade in a concoction the basis of which is finely shaven ice, looking like half-frozen and very dirty slush, sweetened with sugar and flavored, according to the purchaser's taste from an array of metal-topped bottles such as barbers use for bay rum and hair oil. But, being cold and sweet, "Isa-kee," as the Chinese vendors call it, is as popular among the lower classes in Siam as ice cream cones are in the United States.

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
mrpzone
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 01 พ.ย. 12, 09:19

^

จาก.. "Isa-kee" as the Chinese vendors call it..

ถ้าหนังสือเค้าจะเพิ่มอีกนิด ว่า..  "I-tim" as the Thai vendors call it..
หรือ.. "Nam-whan" as the Thai vendors call it.. ก็น่าจะดีนะครับ

ใช่จะมีแต่พ่อค้าไอติมจีน ผูกขาดขายในเสียมประเทศชาติเดียวซะเมื่อไหร่
ต้องมีพ่อค้าไอติมไทยรับมาแบ่งขายบ้างแน่ๆ ^_^

ว่าแต่ว่า พ่อค้าไอติมจีนสมัยก่อนโน้น เค้าออกเสียงว่า ไอ-สะ-คี จริงๆ เหรอครับ?  ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 01 พ.ย. 12, 09:50

ต้องถามคุณลุงไก่ผู้มีประสบการณ์    ตอนเล็กๆ คนขายที่เป็นคนจีนเขาร้องว่า ไอสะคี หรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 01 พ.ย. 12, 11:40

ไอศกรีมชั้นดีทำแบบไอศกรีมฝรั่ง อย่างที่เรากินกันทุกวันนี้ คนทำเป็นฝรั่งที่มาทำงานเป็นเชฟในวัง มีคนจีนเป็นลูกมือ ถ่ายทอดวิชาทำไอศกรีมเอาไว   เมื่อฝรั่งหมดสัญญาจ้างเดินทางกลับบ้านเมืองไปแล้ว คนจีนก็ขายไอศกรีมแทน  

ส่วนไอศกรีมแบบชาวบ้าน ทำอย่างประหยัดเงินด้วยการใช้น้ำตาลทรายละลายน้ำ เติมมะพร้าวน้ำหอมลงไปพอได้กลิ่นรส หั่นเนื้อมะพร้าวสับโรยลงไปอีกที
แล้วใส่ถังสังกะสี สวมลงไปบนถังไม้ โรยน้ำแข็งทุบกับเกลือลงบนชั้นนอกถังสังกะสี
เขย่าจนน้ำผสมในถังแข็งตัวเป็นเกล็ด

เชฟฝรั่งในวังพูดว่า "icecream"

ลูกมือคนจีนพูดเพี้ยน เมื่อออกไปทำขาย จึงร้องว่า"ไอสะคี"

เด็ก ๆ ที่เป็นลูกค้าฟังคนจีนพูดยาวไป เลยเรียกสั้น ๆ ว่า "ไอติม"

เป็นการเดินทางของคำว่า "icecream" ไปสู่คำว่า "ไอติม" ที่เราไม่เคยทราบ

 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 01 พ.ย. 12, 14:42

แต้จิ๋วเรียกไอศครีมแท่งว่า ซึงกี ครับ

ซึงแปล น้ำแข็ง กี แปลว่าแท่ง

ถ้าไอศครีมอย่างตักจะเรียก ซึงกอ โดยกอหมายถึงอะไรที่ข้นๆ เป็นยางๆ ครับ

isa-kee นี่ผมไม่เคยได้ยิน เป็นไปได้ว่าเกิดไม่ทัน แต่ kee ต้องอ่านว่า กี ที่แปลว่าแท่งแน่ๆ ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 01 พ.ย. 12, 22:25

ปัจจุบันนี้คนจีนเรียกไอสครีม โดยออกเสียงเป็นภาษาจีนกลางว่า "ปิง ชี หลิน" (冰淇淋:bing qi lin)

ถ้าออกเป็นเสียงแบบฮกเกี้ยน (闽南话) จะออกว่า ปิง กี๋ หลำ bing gi lam

ออกเสียงแบบแต้จิ๋ว (潮州话) ออกเสียงว่า เปียน คี ลิม bian ki lim

ออกเสียงแบบกวางตุ้ง (广州话) ออกเสียงว่า ปิง เข่ย์ ล่ำ bing kei lam

เทียบเสียงได้จากเว็ปนี้ http://cn.voicedic.com/

วิธีใช้ ทำโดยกดที่ตัวอักษรจีน แล้วกดคำว่า 查询 แปลว่าสอบถาม สุดท้ายจึงกดไปที่แต่ละคำที่เป็นรูปลำโพง ก็จะได้เสียงออกมา

ข้าพเจ้าเขียนเสียงวรรณยุกต์ไทยไม่ค่อยจะถูก ต้องขออภัยด้วย
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 02 พ.ย. 12, 12:06

ผมเข้า cn.voicedic.com ไม่ได้มาหลายวันแล้วครับ นึกว่าเว็บล่มเสียอีกครับ

ภาษาจีนมาตรฐานเรียกไอศครีมว่า ปิงฉีหลิน (冰淇淋) น่าสนใจว่า ปิงแปลว่าน้ำแข็ง แต่ ฉี และ หลิน ไม่ได้มีความหมายอะไรเกี่ยวข้องกับไอศครีมเลย เป็นการเขียนให้ออกเสียงใกล้เคียงกับ "ครีม" เท่านั้นเอง

ฟังดูยิ่งประหลาดเข้าไปใหญ่ ฉีหลิน กับ ครีม มันใกล้กันตรงไหน?

ต้องไปดูร่องรอยในจีนสำเนียงอื่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นผู้สร้างศัพท์นี้ขึ้นมาแต่ต้น ให้เดาก็คงเมืองท่าการค้าที่ฝรั่งเข้ามาติดต่อกับจีนเมืองไหนสักเมืองนี่แหละครับ

ลักษณะเดียวกับ ม่านกู่ กับ บางกอก นั่นแหละครับ ฟังแล้วไม่รู้มาได้อย่างไร จีนกลางว่าม่านกู่ โดยอ่านจากตัวอักษร 曼谷 ซึ่งคนแต้จิ๋วปัจจุบันออกเสียงว่า หมั่งก๊ก ในขณะที่พจนานุกรมแต้จิ๋วว่า บ่วงก๊ก ด้วยซ้ำไป (แต่ผมไม่เคยได้ยินใครออกเสียงแบบนี้นะครับ)

แต่วิธีที่คุณ han bing เอาคำจีนกลางไปเปิดพจนานุกรมว่าสำเนียงถิ่นอื่นออกเสียงอย่างไร กรณีนี้ใช้ไม่ได้ครับ คำบางคำแต่ละถิ่นเรียกไม่เหมือนกันเลย อาจสื่อสารได้ถ้าคนฟังนึกออกว่าคนพูดใช้วิธีทับศัพท์คำในภาษาจีนมาตรฐาน แต่คนแต้จิ๋วจะไม่เรียกไอศครีมว่า เปียขี่ลิ้ม แน่ๆ (ตัว n ถ้าเสียน bian ระบบสัทอักษรแต้จิ๋วแทนเสียงขึ้นจมูกครับ ไม่ใช่ น เขียนเป็นไทยไม่ได้ แต่ใกล้เคียงที่สุดคือละไว้ครับ)

พจนานุกรมแต้จิ๋วใน gaginang.org ให้คำที่มีความหมายว่าไอศครีมไว้ดังนี้ครับ

1. ga7 lem1 (ไม่มีตัวเขียน) แสดงว่าเป็นภาษาปาก มีที่มาจาก cream อย่างชัดเจน (เช่นเดียวกับ ฉีหลิน ในภาษาจีนมาตรฐาน)
2. seung1 go1 ซึงกอ (霜膏) ที่ผมเคยยกมาแล้ว
3. sot4 go1 เซาะกอ (雪膏) เสาะแปลว่าหิมะ ตัว t ท้าย sot บังคับให้สระเสียงสั้นเฉยๆ นะครับ ไม่ใช่ตัวสะกด เสียงวรรณยุกต์เอกของเสาะ ตามด้วยเสียงสามัญ คือของกอ จะบังคับให้เสาะต้องเลื่อนเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงสามัญ ระบบการเขียนภาษาไทยมีข้อจำกัดไม่สามารถเขียนคำกำกับสระเสียงสั้นเป็นเสียงสามัญได้ ผมจึงเขียนเป็นเซาะครับ

ถ้าเป็นไอศครีมแท่ง (popsicle)
1. seung1 gi1 ซึงกี (霜支)  ที่ผมเคยยกมาแล้ว
2. sot4 diao5 เซาะเตี๊ยว (雪條) เตี๊ยวแปลว่าแท่งยาวๆ
3. sot4 gi1 เซาะกี (雪支)

มานึกเล่นๆ isa-kee อาจจะมาจาก ไอ..เซาะ..กี? คือ เอา..ไอ..ติม (มั้ย) ก็เป็นได้ครับ หากท่านใดสงสัยว่าคนขายไอติมโฆษณาแบบเสียงในฟิล์มเช่นนี้แล้ว คนซื้อจะฟังออกหรือ? ผมเดาว่ากลุ่มเป้าหมายของเขาอาจจะเป็นคนจีนด้วยกัน หรือไม่ก็เขาอาจจะมไม่สนใจเลยว่าคนฟังจะฟังออกหรือเปล่า ผมจำได้ว่าตอนเด็กๆ ยังมีพวกพ่อค้าเร่พวกนี้เดินขายของ บางคนร้องอะไรฟังไม่เป็นภาษาสักภาษา แต่ลูกค้าก็รู้ เพราะเขาร้องเป็นเพลงประจำตัวครับ เหมือนรถไอศครีมในสมัยนี้ เพลงไม่มีเนื้อร้องแต่ทุกคนรู้ว่าไอศครีมมาแล้ว

: )
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 02 พ.ย. 12, 14:15

มานึกเล่นๆ isa-kee อาจจะมาจาก ไอ..เซาะ..กี? คือ เอา..ไอ..ติม (มั้ย) ก็เป็นได้ครับ

คุณเออร์เนสต์ ยัง ว่าไว้อีกอย่างหนึ่ง

นักเขียนชาวอังกฤษ นายเออร์เนสต์ ยัง (Ernest Young) เขียนถึง "ไอศกรีมโบราณ" ของคนจีน ไว้ในหนังสือ  "ราชอาณาจักรแห่งผ้ากาสาวพัสตร์" (The Kingdom of The Yellow Robe) หน้า ๘-๙ ใน พ.ศ. ๒๔๔๑ ไว้ดังนี้

"Isa-kee" is the vendor's reproduction of the English word "ice-cream"

ที่คุณม้าว่ามาก็น่าสนใจ แต่มีคำถามดังนี้

๑. ถ้า isa kee มาจากคำแต้จิ๋วว่า ซึงกี หรือ เซาะกี  แล้ว คำว่า "ไอ" ข้างหน้าหมายถึงอะไร

๒. เป็นไปได้ไหมว่า isa kee เป็นคำผสมระหว่างภาษาอังกฤษและจีนแต้จิ๋ว คือ isa มาจาก ice ในคำว่า icecream ส่วน กี มาจากคำว่า 支 ที่แปลว่า แท่ง

หากท่านใดสงสัยว่าคนขายไอติมโฆษณาแบบเสียงในฟิล์มเช่นนี้แล้ว คนซื้อจะฟังออกหรือ? ผมเดาว่ากลุ่มเป้าหมายของเขาอาจจะเป็นคนจีนด้วยกัน หรือไม่ก็เขาอาจจะมไม่สนใจเลยว่าคนฟังจะฟังออกหรือเปล่า ผมจำได้ว่าตอนเด็กๆ ยังมีพวกพ่อค้าเร่พวกนี้เดินขายของ บางคนร้องอะไรฟังไม่เป็นภาษาสักภาษา แต่ลูกค้าก็รู้ เพราะเขาร้องเป็นเพลงประจำตัวครับ เหมือนรถไอศครีมในสมัยนี้ เพลงไม่มีเนื้อร้องแต่ทุกคนรู้ว่าไอศครีมมาแล้ว

เหมือนกับคนจีนร้องขายปาท่องโก๋สมัยก่อน

คุณวิกกี้ เล่าว่า

ส่วนที่คนไทย เรียกว่า ปาท่องโก๋ นั้น เพราะจำมาผิด เนื่องจาก สมัยก่อนชาวจีนที่ขายปาท่องโก๋ (ขนมน้ำตาลทรายขาวซึ่งออกเสียงว่า แปะทึ่งกอ หรือ แปะถึ่งโก้) มักจะขายอิ่วจาก้วยด้วย พอคนขายตะโกนขายปาท่องโก๋ จึงเข้าใจว่า ปาท่องโก๋ คือ แป้งทอดอิ่วจาก้วย นั่นเอง แต่ในพื้นที่ภาคใต้ผู้คนยังคงนิยมเรียกว่า อิ่วเจี่ยโก้ย อยู่หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า เจี่ยโก้ย ตามแบบภาษาฮกเกี้ยน

ปัจจุบันคนไทยก็เรียก อิ่วจาก้วย 油炸檜 ซึ่งเป็นแป้งทอดน้ำมัน เป็นแท่งประกบติดกัน ว่า ปาท่องโก๋ หลายคนรับประทานเป็นประจำอยู่ทุกเช้า

ส่วน แปะทึ่งกอ 白糖糕 ตัวจริง เป็นขนมน้ำตาลทรายขาว รูปสี่เหลี่ยม เนื้อคล้ายขนมถ้วยฟู มีน้ำตาลโรยอยู่บนหน้า


คนฟังไม่เข้าใจ ทำให้เรียกผิดมาจนถึงทุกวันนี้

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
mrpzone
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 02 พ.ย. 12, 14:22

ง่า.. เซาะกี ไม่เคยได้ยินครับ เคยได้ยินแต่..เซาะกราว จากเดี่ยว 9 (โนส อุดม)  อายจัง

isa-kee อาจจะมาจาก ไอ..เซาะ..กี? คือ เอา..ไอ..ติม (มั้ย)
แนวคิดของคุณม้านี้เข้าทีครับ อ่านแล้วรู้สึกว่าเป็นเหตุเป็นผลดีทีเดียว
isa มาจาก ice ในคำว่า icecream ส่วน กี มาจากคำว่า 支 ที่แปลว่า แท่ง
และแนวคิดคำผสมของคุณเพ็ญก็น่าฟังเช่นกัน

ในความเห็นส่วนตัวแล้วรู้สึกแปลก กลับเป็นคำไทย ไอ-ติม น่าจะเพี้ยนเป็น ไอ-คีม มากกว่าอีกครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 02 พ.ย. 12, 15:24

isa-kee มาจาก ice cream อย่างที่คุณยังแกบอกจริงหรือไม่? ก็อาจจะใช่ แต่ก็อาจจะไม่ใช่ได้พอๆ กันครับ เพราะไม่รู้ว่าคุณยังแกได้เรื่องนี้จากผู้รู้จริงว่าคนขายร้องว่าอะไร หรือก็ว่าเดาเอาเอง?

แล้วถ้าเดาเอาเอง คุณยังแกรู้ภาษาแต้จิ๋วหรือไม่? เรื่องนี้ผมว่าเป็นประเด็นสำคัญเหมือนกันครับ

ไอ เซาะ กี... ไอมาจากไหน

ไอ่ แปลว่า เอา ครับ ไอเซาะกีหม่าย แปลว่า เอาไอศครีมมั้ย

ผมว่าก็พอไปได้เหมือนกันนะครับ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 07 พ.ย. 12, 18:36

จากไอติมแท่ง  ไอศกรีมเดินทางมาไกลมากในปัจจุบัน
อาแปะผู้ขายไอศกรีมเดินทางข้ามเวลามาถึงวันนี้ อาจจำหน้าตาไอศกรีมไม่ได้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 14 พ.ย. 12, 20:00

นำภาพตลาดหนองแค สระบุรี พ.ศ 2481 เข็นไอติมขายมาให้ชมครับ
เครดิตภาพ คุณไข่


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 20 คำสั่ง