เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 36763 ถามเรื่องของ "ไอติม" (icecream) กับ "น้ำแข็ง"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 05 ก.ค. 11, 22:28

ไอศกรีมในพระบรมมหาราชวัง ทำด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน ใส่เม็ดมะขามคั่ว
น่าจะแบบเดียวกับใส่เมล็ดอัลมอนด์สมัยนี้ เคี้ยวมันๆ อร่อยดี
ดิฉันไม่แน่ใจว่าใส่นมลงไปหรือเปล่า ถ้าไม่ใส่ก็จะเป็นเชอร์เบ็ต มากกว่าไอศกรีม

ส่วนไอศกรีมอย่างของฝรั่งใส่นมสด นมข้น เติมกาแฟ ช็อกโกแลต จะมีได้ก็ต่อเมื่อมีงานเลี้ยงใหญ่ๆรับแขกเมืองเท่านั้น เพราะของประกอบพวกนี้แพงมาก 

จนกระทั่งคนไทยมีโรงงานทำน้ำแข็ง ไอศกรีมถึงได้แพร่หลายให้ประชาชนได้ลิ้มรสกัน
ไอศกรีมชั้นดีทำแบบไอศกรีมฝรั่ง อย่างที่เรากินกันทุกวันนี้ คนทำเป็นฝรั่งที่มาทำงานเป็นเชฟในวัง มีคนจีนเป็นลูกมือ ถ่ายทอดวิชาทำไอศกรีมเอาไว   เมื่อฝรั่งหมดสัญญาจ้างเดินทางกลับบ้านเมืองไปแล้ว คนจีนก็ขายไอศกรีมแทน 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 05 ก.ค. 11, 22:29

 ส่วนไอศกรีมแบบชาวบ้าน ทำอย่างประหยัดเงินด้วยการใช้น้ำตาลทรายละลายน้ำ เติมมะพร้าวน้ำหอมลงไปพอได้กลิ่นรส หั่นเนื้อมะพร้าวสับโรยลงไปอีกที
แล้วใส่ถังสังกะสี สวมลงไปบนถังไม้ โรยน้ำแข็งทุบกับเกลือลงบนชั้นนอกถังสังกะสี
เขย่าจนน้ำผสมในถังแข็งตัวเป็นเกล็ด

ไอศกรีมที่ตามมาทีหลังในสมัยรัชกาลที่ ๗ คือไอศกรีมหลอด ไม่มีน้ำมะพร้าว ใช้น้ำผสมสีต่างๆละลายน้ำตาลจนเข้ากัน ใส่ลงหลอดสังกะสีแล้วเขย่าให้แข็งแบบเดียวกับไอศกรีม ถ้าเป็นเดี๋ยวนี้ก็ต้องเรียกว่า เชอร์เบ็ตเพราะไม่มีนมหรือครีมผสม
ราคาถูกมาก เพียงหนึ่งสตางค์แดงเท่านั้นเอง

ไอศกรีมชาวบ้านทำ ไม่ค่อยสะอาดนัก ใช้น้ำคลอง ไม่มีการฆ่าเชื้อ ความเย็นของไอศกรีมฆ่าเชื้อโรคไม่ได้
คนกินไอศกรีมหลอดจึงท้องร่วงกันง่ายมาก
ต่อมาก็มีการผลิตไอศกรีมเป็นอุตสาหกรรม ใส่ถ้วยกระดาษเล็กๆมีฝาปิดเหมือนไอศกรีมวอลล์เดี๋ยวนี้ ชื่อไอศกรีมห้องเย็น
เริ่มขายเมื่อประมาณ ๕๐ ปีก่อน
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 07 ก.ค. 11, 11:05

ตอนเด็ก ๆ เคยกิน ไอศครีมไข่แข็ง แต่บ่อยนัก
จำได้ว่าอร่อยมาก
เดี๋ยวนี้ไม่เห็นมีใครทำ ยังพอหาที่ไหนได้บ้างคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 07 ก.ค. 11, 13:58

ตอนเด็ก ๆ เคยกิน ไอศครีมไข่แข็ง แต่บ่อยนัก
จำได้ว่าอร่อยมาก
เดี๋ยวนี้ไม่เห็นมีใครทำ ยังพอหาที่ไหนได้บ้างคะ

๑. ไอศครีมไข่แข็ง ตลาด200ปี รังสิต http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2008/08/D6856758/D6856758.html

๒. ที่หาดใหญ่ http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2011/05/D10589724/D10589724.html

๓. ร้านไอศครีมไข่แข็ง ตลาดสวนหลวง
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 08 ก.ค. 11, 11:36

ไม่ค่อยเหมือนค่ะ ไอศครีมไข่แข็ง ที่เคยกิน อยู่แถวเสาชิงช้า
ใช้ไข่ดิบแช่แข็ง หมกอยู่ในไอศครีม ไม่ได้กวนรวมกันอย่างที่รังสิตค่ะ
ที่ร้านต้องทำทีละถ้วย ใช้เวลานาน เลยไม่มีคนอยากทำต่อ กระมังคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 26 ต.ค. 12, 11:55

นักเขียนชาวอังกฤษ นายเออร์เนสต์ ยัง (Ernest Young) เขียนถึง "ไอศกรีมโบราณ" ของคนจีน ไว้ในหนังสือ  "ราชอาณาจักรแห่งผ้ากาสาวพัสตร์" (The Kingdom of The Yellow Robe) หน้า ๘-๙ ใน พ.ศ. ๒๔๔๑ ไว้ดังนี้

"Isa-kee! Isa-kee!" It is a queer sound when you hear it for the first time. A Chinaman comes staggering along the road, carrying two heavy pails at the ends of the usual bamboo pole. He bawls in long, loud, nasal tones, "Isa-kee! Isa-kee!"

The man is wet with the perspiration that streams down his bare yellow body and soaks the cloth round his loins, that forms his only clothing. Presently, crowds of little boys, dressed in even less than the noisy vendor, collect round him and purchase with avidity the strange-looking mess denominated "isa-kee." He collects the coppers, and places them in a small leather purse, tied round his waist with a bit of string, there to lie in company with a little rank, black tobacco, or opium, until time will permit him to lose them in the maddening excitement of the gambling dens.

"Isa-kee" is the vendor's reproduction of the English word "ice-cream", though there is little resemblance between the commodity he disposes of with such extraordinary rapidity, and the fashionable European delicacy whose name it has borrowed. A more truthful name and description of the article sold in the streets of Bangkok, would be "ice-mud." It is apparently a concoction of dirty water, half-frozen slush, and sugar. Being cold and sweet it is a favourite sweetmeat with the native children, and the ice-cream merchant may generally be found doing a roaring trade outside the different schools during playtime.

When ice itself was first introduced to the Siamese by the European residents, they promptly coined for it the short and expressive name of " hard-water." It is amusing to hear the little ones exclaim as they swallow the frozen fluid, "Golly! How it burn!"

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 27 ต.ค. 12, 20:57

เห็นภาพใน ค.ห.ที่ 10 ของคุณเทาชมพู ทำให้หวนความหลังนึกถึงเมื่อครั้งยังเยาว์วัยมาก จำได้เลยถึงลักษณะของถังไม้และก้านมือหมุนซึ่งต่อเป็นแกนไปหมุนเฟืองให้ไปหมุนใบพายสองอันที่อยู่ในแกนตั้ง เพื่อกวาดเพื่อกวนม้วนเครื่องปรุงที่อยู่ภายในถังเหล็กลักษณะทรงท่อกลมๆ ให้ทั้งถังเหล็กและใบพายหมุนทวนกันในถังไม้ที่ใส่น้ำแข็งโรยเกลือ จำได้ว่า กว่าจะได้เป็นไอติมนั้นนานมาก หลายคนต้องช่วยกันผลัดกันหมุนอยู่นานโข

สำหรับไอศครีมไข่แข็งที่คุณ Poja กล่าวถึงนั้น เป็นอันเดียวกับ Eggnog หรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 27 ต.ค. 12, 21:22

ขอแจมเรื่อน้ำแข็งหน่อยนึงครับ

แม้ว่าจะมีโรงทำน้ำแข็งอยู่ในทุกจังหวัด เมื่อสมัยที่ผมทำงาน (ประมาณปี พ.ศ.2514) อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี  เรียกได้ว่าที่อำเภอนี้ไม่มีน้ำแข็งขาย อยากจะกินก็ต้องสั่งและขนมาทางเรือจากตัวจังหวัด ใส่กระสอบ ใส่แกลบอัดมาอย่างดี น้ำแข็งก้อนขนาดกั๊กหนึ่งที่ขนมา บางทีเหลือเพียงประมาณมือหรือสองมือเท่านั้น ระยะเวลาเดินทางประมาณ 6-8 ชม.   

น้ำแข็งที่โรงน้ำแข็งผลิตจะเป็นก้อนใหญ่ แต่ละก้อนที่ผลิตออกมาเรียกว่าขนาด ซอง หนึ่ง เอามาแบ่งเป็นสี่ส่วนเรียกแต่ละส่วนว่า กั๊ก หนึ่ง แต่ละกั๊กจะซอยย่อยออกมาเป็นก้อนที่ซื้อขายกันทั่วไป เรียกขนาดของแต่ละก้อนนี้ว่า มือ  หากจำไม่ผิดน้ำแข็งกั๊กหนึ่งแบ่งออกได้เป็น 16 มือ ขนาดของแต่ละมือก็ประมาณ 6x6x12 นิ้ว

น้ำแข็งเป็นที่รู้จักของทุกคน แต่หากอยู่ไกลๆก็อาจจะไม่สามารถซื้อหากินได้ ดังกรณีที่ได้เล่ามานี้  เมื่อเริ่มมีเครื่องผลิตน้ำแข็งหลอดขายกัน ทำให้ที่ใดที่มีไฟฟ้าก็เลยสามารถผลิตน้ำแข็งหลอดขายกันได้ ชุมชนและชาวบ้านห่างไกลก็เลยได้มีโอกาสกินน้ำแข็งกันอย่างทั่วถึง (จำปีที่เริ่มไม่ได้แล้วครับ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 27 ต.ค. 12, 21:28

เห็นภาพใน ค.ห.ที่ 10 ของคุณเทาชมพู ทำให้หวนความหลังนึกถึงเมื่อครั้งยังเยาว์วัยมาก จำได้เลยถึงลักษณะของถังไม้และก้านมือหมุนซึ่งต่อเป็นแกนไปหมุนเฟืองให้ไปหมุนใบพายสองอันที่อยู่ในแกนตั้ง เพื่อกวาดเพื่อกวนม้วนเครื่องปรุงที่อยู่ภายในถังเหล็กลักษณะทรงท่อกลมๆ ให้ทั้งถังเหล็กและใบพายหมุนทวนกันในถังไม้ที่ใส่น้ำแข็งโรยเกลือ จำได้ว่า กว่าจะได้เป็นไอติมนั้นนานมาก หลายคนต้องช่วยกันผลัดกันหมุนอยู่นานโข

สำหรับไอศครีมไข่แข็งที่คุณ Poja กล่าวถึงนั้น เป็นอันเดียวกับ Eggnog หรือเปล่าครับ

ไอศกรีมที่คุณตั้งพูดถึงคือหวานเย็นหรือเปล่าคะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 27 ต.ค. 12, 22:18

^
ไม่ใช่ครับ  เป็น Ice cream จริงๆ คือมีส่วนผสมของไข่ นม แป้ง น้ำตาล  ได้ไอศครีมที่ต้องใช้ช้อนตักออกมา     เป็น Ice cream จริงๆครับ คือเหมือนกับไอศครีมที่กำลังอ่อนตัวเหลวๆ  ไม่ใช่ไอศครีมที่แข็งโป๊กจนช้อนกดตักไม่ลง     การหมุนในช่วงสุดท้ายจึงหนืดมาก คนหนึ่งต้องจับถังไว้ไม่ให้เคลื่อนไปมา อีกคนต้องออกแรงหมุน ก็หมุนกันจะไม่มีแรงครับ จึงจะได้ไอศครีมตามสภาพที่เล่ามา  จำได้ว่าที่บ้านทำอยู่สองสามครั้งเท่านั้น คงจะเพาะเป็นงานที่ต้องใช้แรงงานและใช้หลายคน ใช้เวลาเตรียมและทำเป็นชั่วโมง อร่อยอยู่เดี๋ยวเดียวเท่านั้นเอง
     
สำหรับหวานเย็นนั้น ผมยังสะสมกระติกน้ำแข็งทรงยาวและตะกร้าหิ้วที่ทำจากหวายที่คนขายหวานเย็นใช้ห้อยแขนเดินสั่นกระดิ่งขาย  มีอยู่สองใบ ก็ยังใช้ใส่น้ำแข็งสำหรับกิจกรรมตอนแดดล่มอยู่จนทุกวันนี้   ซื้อมานานมากแล้ว ใบละยี่สิบบาท ปัจจุบันไปถาม เขาขายกันใบละเป็นพันบาทครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 28 ต.ค. 12, 17:01

นึกออกแล้วค่ะ  น่าจะเป็นถังทำไอศกรีมที่เคยหอบหิ้วกลับมาบ้านด้วยหลังเรียนจบ  ด้วยความภูมิใจว่าต่อไปนี้จะทำไอศกรีมกินเอง ไม่ต้องไปซื้อเขาให้เปลืองเงิน
ว่าแล้วสองคนก็ขมีขมันเปิดตำรา ไปซื้อส่วนประกอบมาผสม ใส่ลงในถัง  ใส่น้ำเกลือ อัดเกลือเม็ดลงไปในถังชั้นนอก ให้เย็นจัด     ปั่นไป เขย่าไป เติมน้ำแข็งไป   ชุลมุนกันอยู่ค่อนวันเพื่อให้ไอศกรีมข้างในจับแข็งเป็นก้อน 
กว่าจะได้ไอศกรีมมาก็หมดแรง   กินเข้าไปก็งั้นๆแหละ ไม่เห็นอร่อยเท่าไหร่    แถมหมดน้ำแข็งไปเป็นก่ายเป็นกอง  บวกลบแล้วเปลืองกว่าไปซื้อมาสองถ้วยกินกันเอง จบภายใน ๕ นาที
ถังไอศกรีมก็เลยขึ้นหิ้งอยู่ในห้องเก็บของมาจนบัดนี้    สงสัยจะผุหมดแล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 29 ต.ค. 12, 11:01

ยังคิดถึงหวานเย็น ที่มีคนสะพายกระติกเดินขายตามบ้าน   เป็นอาชีพหนึ่งที่น่าจะสูญไปแล้ว
มีรถขายหวานเย็นเข้ามาแทนที่


บันทึกการเข้า
mrpzone
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 29 ต.ค. 12, 14:29

^
^

สนับสนุนความคิดเรื่อง..อาชีพคนสะพายกระติกหวานเย็น ของ อ.เทาชมพู ว่าน่าจะสูญไปแล้วครับ

แต่ถ้าเป็นไอติมแท่ง แถวบ้านผม นานๆ ที..ก็จะเห็นคนขับรถมอเตอร์ไซค์มัดกระติกแช่เย็นใส่ท้ายรถ ขายไอติมแบบโบราณ (น่าจะเรียกแบบนี้นะครับ) ลักษณะของไอติมจะเป็นทั้งแท่งกลมๆ ยาวๆ หรือแบบสี่เหลี่ยมแท่งยาวๆ มีกระดาษเป็นเยื่อบางๆ พันแต่ละแท่งเอาไว้ ตอนจะขายเค้าก็จะตัดแท่งไอติมเป็นท่อนๆ แล้วเอาไม้ลูกชิ้นเสียบเป็นอันเสร็จพิธี

รสที่ผมชอบมาก คือ รสถั่วดำ เสียอย่างเดียวถ้าเย็นจัดๆ ถั่วจะแข็งโป๊กเคี้ยวทีฟันแทบหักเลยครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 29 ต.ค. 12, 14:42

ดิฉันชอบสีแดงค่ะ    เห็นรูปแล้วยังคิดถึงอยู่เลย


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 29 ต.ค. 12, 19:45

ของดีๆอร่อยๆ หายไปหมดเลยนะครับ

พอจำได้อยู่ว่า ฝ่ายคนที่ทำงานในงานสาธารณสุขจะคอยออกเตือนอยู่เรื่องๆว่า ทั้งหวานเย็นและไอติมแ่ท่ง (แบบตัดเสียบไม้) นั้น ไม่ค่อยจะสะอาด ให้ระวังจะท้องเสียหรือท้องร่วงโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน 

น่าจะมีคนคิดทำขึ้นมาอีก แล้วขายในร้านอาหารแบบมีระดับ ผมว่าน่าจะขายได้ดี    จะใส่กระติกแล้วคล้องแขนสั่นกระดิ่งเดินขาย คงจะไปไม่รอด สู้พวกรถพ่วงที่ขายไอศครีมยี่ห้อต่างๆไม่ได้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 20 คำสั่ง