มานึกเล่นๆ isa-kee อาจจะมาจาก ไอ..เซาะ..กี? คือ เอา..ไอ..ติม (มั้ย) ก็เป็นได้ครับ
คุณเออร์เนสต์ ยัง ว่าไว้อีกอย่างหนึ่ง
นักเขียนชาวอังกฤษ นายเออร์เนสต์ ยัง (Ernest Young) เขียนถึง "ไอศกรีมโบราณ" ของคนจีน ไว้ในหนังสือ "ราชอาณาจักรแห่งผ้ากาสาวพัสตร์" (The Kingdom of The Yellow Robe) หน้า ๘-๙ ใน พ.ศ. ๒๔๔๑ ไว้ดังนี้
"Isa-kee" is the vendor's reproduction of the English word "ice-cream" ที่คุณม้าว่ามาก็น่าสนใจ แต่มีคำถามดังนี้
๑. ถ้า isa kee มาจากคำแต้จิ๋วว่า ซึงกี หรือ เซาะกี แล้ว คำว่า "ไอ" ข้างหน้าหมายถึงอะไร
๒. เป็นไปได้ไหมว่า isa kee เป็นคำผสมระหว่างภาษาอังกฤษและจีนแต้จิ๋ว คือ isa มาจาก ice ในคำว่า icecream ส่วน กี มาจากคำว่า 支 ที่แปลว่า แท่ง
หากท่านใดสงสัยว่าคนขายไอติมโฆษณาแบบเสียงในฟิล์มเช่นนี้แล้ว คนซื้อจะฟังออกหรือ? ผมเดาว่ากลุ่มเป้าหมายของเขาอาจจะเป็นคนจีนด้วยกัน หรือไม่ก็เขาอาจจะมไม่สนใจเลยว่าคนฟังจะฟังออกหรือเปล่า ผมจำได้ว่าตอนเด็กๆ ยังมีพวกพ่อค้าเร่พวกนี้เดินขายของ บางคนร้องอะไรฟังไม่เป็นภาษาสักภาษา แต่ลูกค้าก็รู้ เพราะเขาร้องเป็นเพลงประจำตัวครับ เหมือนรถไอศครีมในสมัยนี้ เพลงไม่มีเนื้อร้องแต่ทุกคนรู้ว่าไอศครีมมาแล้ว
เหมือนกับคนจีนร้องขายปาท่องโก๋สมัยก่อน
คุณวิกกี้ เล่าว่า
ส่วนที่คนไทย เรียกว่า ปาท่องโก๋ นั้น เพราะจำมาผิด เนื่องจาก สมัยก่อนชาวจีนที่ขายปาท่องโก๋ (ขนมน้ำตาลทรายขาวซึ่งออกเสียงว่า แปะทึ่งกอ หรือ แปะถึ่งโก้) มักจะขายอิ่วจาก้วยด้วย พอคนขายตะโกนขายปาท่องโก๋ จึงเข้าใจว่า ปาท่องโก๋ คือ แป้งทอดอิ่วจาก้วย นั่นเอง แต่ในพื้นที่ภาคใต้ผู้คนยังคงนิยมเรียกว่า อิ่วเจี่ยโก้ย อยู่หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า เจี่ยโก้ย ตามแบบภาษาฮกเกี้ยน
ปัจจุบันคนไทยก็เรียก อิ่วจาก้วย 油炸檜 ซึ่งเป็นแป้งทอดน้ำมัน เป็นแท่งประกบติดกัน ว่า ปาท่องโก๋ หลายคนรับประทานเป็นประจำอยู่ทุกเช้า
ส่วน แปะทึ่งกอ 白糖糕 ตัวจริง เป็นขนมน้ำตาลทรายขาว รูปสี่เหลี่ยม เนื้อคล้ายขนมถ้วยฟู มีน้ำตาลโรยอยู่บนหน้า คนฟังไม่เข้าใจ ทำให้เรียกผิดมาจนถึงทุกวันนี้
