เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 36838 ถามเรื่องของ "ไอติม" (icecream) กับ "น้ำแข็ง"
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



 เมื่อ 06 ก.พ. 11, 09:12

จำได้ว่าคนไทยเราได้รู้จักกับ "น้ำแข็ง" เป็นครั้งแรกในสัยรัชกาลที่ ๔ จากการนำเข้ามาจากสิงคโปร์

แล้ว "ไอติม" (icecream) ล่ะ เด็กไทยได้รู้จักและทานกันมาตั้งแต่เมื่อไร

ถามเรื่องโรงผลิต "น้ำแข็ง" กับ "ไอติม" แห่งแรกในเมืองไทยด้วย




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 06 ก.พ. 11, 11:07

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เรือไฟชื่อ เจ้าพระยา เดินเมล์และรับส่งสินค้าระหว่างไทยกับสิงคโปร์ ซึ่ง ๑๕ วันจะเข้าเทียบท่าครั้งหนึ่งได้นำน้ำแข็งเป็นก้อนใส่หีบกลบด้วยขี้เลื่อยมาถวายรัชกาลที่ ๔ อยู่เป็นประจำ สิ่งแปลกประหลาดแบบนี้เชื้อพระวงศ์ เจ้านาย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ลิ้มลองกันทั่วหน้า ทำให้ติดอกติดใจเพราะน้ำแข็งสามารถดับร้อนผ่อนกระหายได้เป็นอย่างดี

มาดูข้อมูลเรือไฟ "เจ้าพระยา" ตามที่คุณหลวงเล็กเคยใส่ลิงค์บางกอกคาเลนเดอร์ ของหมอบรัดเลย์ เป็นเรือแบบใบพัด ยาว ๒๐๕ เมตร กว้าง ๒๘ เมตร ระบุชื่อเจ้าของเรือคือ "เจ้าสัวยิ้ม"

ซึ่งเจ้าสัวยิ้ม มีกิจการเดินเรือระหว่างกรุงเทพฯ - สิงค์โปร์ ๑ รอบกินเวลา ๑๕ วัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 06 ก.พ. 11, 11:28

ส่วนในหนังสือจดหมายเหตุเสด็จหว้ากอ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ เรือกลไฟของเจ้าสัวยิ้มก็ได้รับใช้ในราชกาลด้วย ในการนำข้าราชการไปที่ตำบลหว้ากอด้วย แต่ใช้คำว่า "เรือเจ้าพญา" เป็นเรือค้าขายของพระยาพิสณฑ์เจ้าสัวยิ้ม

น้ำแข็งจึงเป็น “ของนอก” ที่คนธรรมดาทั่วไปไม่รู้จักและไม่มีโอกาสลิ้มลอง ด้วยเหตุนี้พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (แฉล้ม อมาตยกุล) ซึ่งเห็นใจประชาชนที่ขาดโอกาสจึงได้ริเริ่มตั้งโรงน้ำแข็งแห่งแรกของสยามขึ้น คาดว่าก่อนปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เป็นโรงน้ำแข็งเล็ก ๆ ตั้งอยู่ภายในบริเวณบ้านหน้าวัดเลียบ หรือชื่อปัจจุบันว่าวัดราชบูรณะราชวรวิหาร จำหน่ายน้ำแข็งให้แก่ประชาชนทั่วพระนคร คาดว่าน้ำแข็งเป็นของใหม่ ขายเป็นก้อนน้ำแข็งล้วน ๆ ทำให้ไม่สะดวกในการกิน และไม่จูงใจให้ซื้อกิน ด้วยเหตุนี้โรงน้ำแข็งจึงได้หยุดกิจการในเวลาไม่นานนัก


อีกหลายปีต่อมา นายเลิศ เศรษฐบุตร หรือบรรดาศักดิ์ว่า พระยาภักดีนรเศรษฐ ได้ริเริ่มตั้งโรงน้ำแข็งขึ้นที่เชิงสะพานพิทยเสถียร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ กิจการโรงน้ำแข็งเจริญรุ่งเรืองมาก แล้วสมัยนั้นการกินน้ำแข็งเราจะนำน้ำแข็งมาไสให้เป็นเกล็ด แล้วอัดให้เป็นแท่ง เอาไม้เสียบสำหรับเป็นด้ามจับ บางครั้งก็ทำเป็นน้ำแข็งไสใส่น้ำหวานเติมนมสด ปัจจุบันยังมีตรอกโรงน้ำแข็ง เชิงสะพานทิทพเสถียร เพื่อเป็นอนุสรณ์อีกด้วย


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 06 ก.พ. 11, 12:35

ด้วยความเคารพ

ขออนุญาตท้วงติงหน่วยวัดความยาวในความเห็นที่ ๑ ครับ ว่าน่าจะเป็นหน่วยเป็นฟุตครับ ไม่ใช่เป็นเมตร




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 09:36

มีหนังสือของคุณลาวัณย์ โชตามะระ เล่าถึงกำเนิดไอศกรีมในสยาม    ขอเวลาไปค้นสัก ๒-๓ วันนะคะ
บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 11:08

น้ำแข็งที่เรารู้จักนั้นน่าจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือน้ำแข็งธรรมชาติ(Natural ice) และน้ำแข็งเทียม (Artificial ice) ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา  Nicholas Carr นักเขียนเรื่องเทคโนโลยี ได้อ้างไว้ในหนังสือชื่อ The Big Switch ว่า ตั้งแต่ปี 1800  คนอเมริกันได้ทำให้น้ำแข็งกลายเป็นุรกิจที่ขยายตัวอย่างกว้างขวาง  ในฤดูหนาวพวกเขาจะเลื่อยน้ำที่แข็งเป็นแผ่นตามทะเลสาบและแม่น้ำของรัฐในตอนเหนือ จากนั้นก็จะนำน้ำแข็งเก็บไว้ในที่เก็บเฉพาะที่เรียกว่า Ice house  จากนั้นก็จะแพ็คด้วยฟางและหุ้มด้วยเปลือกไม้ น้ำแข็งจะถูกส่งไปตามที่ต่างด้วยรถใช้รางหรือนำลงเรือใบเพื่อส่งไปยังลูกค้าที่อยู่ไกลถึงอินเดียหรือสิงคโปร์  ในช่วงที่ธุรกิจน้ำแข็งบูมที่สุดราวปี 1880 บริษัทน้ำแข็งของอเมริกันนำน้ำแข็งออกจำหน่ายนับสิบล้านตัน เฉพาะแม่น้ำ  Kennebec ในรัฐเมนเพียงแห่งเดียว มีบริษัทที่ทำธุรกิจน้ำแข็ง 36 บริษัทและมี Ice house ถึง 53 แห่ง หลังจากนั้นอีกแค่ 2-3 ทศวรรษ ธุรกิจน้ำแข็งพวกนี้ก็ค่อยๆหายไปเพราะการสร้างตู้เย็นและเครื่องทำน้ำแข็งที่ใช้ไฟฟ้าได้เข้ามาแทนที่ ในยุคนั้น Frederic Tudor ผู้ก่อตั้งบริษัท Tudor Ice Company เป็นผู้ที่คนอเมริกันรู้จักในนาม Ice Kingแห่งบอสตัน บริษัทของเขาได้ส่งน้ำแข็งไปทั่งตั้งแต่แถบคาริบเบียน ยุโรป จนถึงอินเดีย
ในหนังสือเรื่องเกี่ยวกับประเพณีไทย(เนื่องในเทศกาลตรุษสารท) ของเสฐียรโกเศศ กล่าวไว้ในเรื่อง “เล่นน้ำวันสงกรานต์” ตอนหนึ่งว่า “ ถ้าเป็นสมัยนั้น น้ำแข็งแม้มีแล้ว แต่ก็ยังไม่แพร่หลาย ได้ทราบว่าเมื่อยังไม่มีโรงทำน้ำแข็ง ฝรั่งที่เคยกินน้ำแข็งต้องสั่งน้ำแข็งบรรทุกมากับเรือกำปั่นไฟจากเมืองใหม่หรือสิงคโปร์ เมื่อมาทีแรกๆราษฎรยังไม่เคยเห็นและก็มีมากคนที่ไม่เชื่อว่าจะปั้นน้ำให้เป็นตัวได้ถึงต้องนำน้ำแข็งใส่ถาดไปตั้งให้ราษฎรดูที่ในมิวเซียมหรือหอพิพิธภัณฑ์ในพระบรมมหาราชวังลางคนไม่แน่ใจต้องเอามือแตะดูและขอน้ำแข็งก้อนเล็กๆที่เจ้าหน้าที่แจกนำไปอวดทางบ้าน แต่เอาไปไม่ถึงไหนเจ้าก้อนน้ำแข็งก็ละลายไปหมด  ต่อมาเมื่อมีโรงน้ำแข็งแล้วตั้งอยู่ที่ในตรอกข้างที่"โทรศัพท์กลาง"เดี๋ยวนี้น้ำแข็งซึ่งแต่เดิมมีราคาแพงมีผู้กินมันได้ก็แต่ผู้ดีคนมั่งมี ต่อมาก็มีราคาพอคนสามัญจะซื้อกินได้ จึงเกิดมีร้านจีนขายน้ำหวานลอยก้อนน้ำแข็งขายแก้วละอัฐหรือเท่ากับสตางค์ครึ่งเดี๋ยวนี้ “
“โทรศัพท์กลาง” ในที่นี้คงจะหมายถึงชุมสายโทรศัพท์วัดเลียบเพราะตรงกับที่คุณ Siamese กล่าวไว้ว่า”เป็นโรงน้ำแข็งเล็กๆตั้งอยู่บริเวณบ้านหน้าวัดเลียบ” ชุมสายวัดเลียบตอนนี้ไม่มีแล้วย้ายไปอยู่แถวสำราญราษฎร์ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนักชื่อ ชุมสายโทรศัพท์สำราญราษฎร์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 09 ก.พ. 11, 12:08

ยังหาหนังสือของคุณลาวัณย์ไม่เจอ    ขอตอบไปก่อนจากความทรงจำว่า สมัยปลายรัชกาลที่ ๕ ต่อมาถึงต้นรัชกาลที่ ๖ มีภัตตาคารปรุงอาหารฝรั่งสำหรับชาวต่างประเทศในกรุงเทพ  จ้างลูกมือกุ๊กเป็นคนจีน  พวกนี้เรียนรู้วิธีทำไอศกรีมจากนายจ้าง  เมื่อภัตตาคารเลิกไป เขาก็จำวิธีทำไอศกรีมมาทำเมื่อมาเปิดร้านของเขาเอง   ดังนั้นไอศกรีมในยุคแรกจึงมาจากกุ๊กจีนที่รู้วิธีทำอาหารฝรั่ง
เมื่อมีน้ำแข็ง  การทำไอศกรีมก็ง่ายขึ้น  ชาวบ้านมาทำเองได้ พลิกแพลงเป็น ไอติมหลอด ไอติมหวานเย็น  แบบไทยๆ   ใส่กระติกเดินขายไปตามบ้าน

ไอติมไทยสมัยโน้นที่ดิฉันเคยกิน เหมือนเชอร์เบ็ตสมัยนี้คือทำด้วยน้ำแข็งเกล็ดละเอียดกับน้ำหวาน   ไม่มีครีมหรือนม  อัดเป็นแท่ง ต้องรีบกินเสียก่อนละลาย
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 09 ก.พ. 11, 12:31

ไปค้นภาพเก่าๆ ว่าที่ทำการโทรศัพท์กลางใกล้วัดเลียบอยู่ตรงไหน ก็ได้พบ ...

ขอเพิ่มเติมเรื่องของ "เรือเจ้าพระยา" กับเรื่องเรือลำอื่นๆ ในรุ่นเดียวกับเรือเจ้าพระยาด้วย ทั้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับน้ำแข็งและไอติมแต่อย่างใด

"... ครั้งนั้นอังกฤษเอาเรือกลไฟเหล็กเข้ามาขายลำหนึ่งชื่อ "เจ้าพระยา" จีนเรียกว่า "ญี่ปุ่น" บรรทุกสินค้า ๗,๕๐๐ หาบ พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ซื้อไว้เป็นเงิน ๕๕,๐๐๐ เหรียญ พระยาพิศาลศุภผลต่อเรือกลไฟใหญ่ขึ้นลำหนึ่งชื่อ "อาลิเกเตบร์" แล้วตีใช้หนี้เงินหลวง โปรดให้ชื่อ "อยุธยาเดช" แล้วซื้อเรือกลไฟใหญ่ทำด้วยเหล็กลำหนึ่งชื่อ "ไวคอนแกหนึ่ง" จีนเรียกว่า "สาบานกิม" โตกว่าเจ้าพระยา จุ ๙,๐๐๐ หาบ เรือลูกค้าพวกอเมริกันมารับจ้างลากเรือลูกค้า ๒ ลำ ชื่อ "เยวอด" ลำหนึ่ง ชื่อ "ไพเนีย" ลำหนึ่ง.
ภายหลังพวกเจ้าสัวและนายห้างก็ทำเรือกลไฟเล็กๆ ขึ้นอีกหลายลำ ลูกค้าวาณิชก็นำม้าเทศ, ม้าเกาะอาแจ และรถเข้ามาถวายเป็นอันมาก."

อ้างอิง - "หลักการสงคราม", อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงสวัสดิสรยุทธ (ดล บุนนาค), ๒๕๑๒





บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 11:09

การทำน้ำแข็งสมัยโบราณที่บ่อ Spy Pond เมือง Arlington รัฐ แมสซาชูเซตส์


บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 11:20

โรงเก็บน้ำแข็งโบราณที่ฝรั่งเศส [urlhttp://en.wikipedia.org/wiki/Ice_house_(building)][/url]


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 11:31

วิธีทำไอศกรีม จากในถัง

บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 11:44

โรงน้ำแข็งสมัยก่อนจะเดินเครื่องด้วยเครื่องจักรไอน้ำ บางโรงเป็นกิจการเดียวกับโรงเลื่อยเพราะใช้เคื่องจักรไอน้ำเครื่องเดียวกัน  โรงน้ำแข็งมักตั้งอยู่      ไกล้แหล่งน้ำส่วนใหญ่จะอยู่ริมแม่น้ำ  น้ำแข็งที่ผลิตออกมาได้เมื่อนำออกมาจากซองน้ำแข็งแล้วจะเป็นก้อนน้ำแข็งสี่เหลี่ยมก้อนใหญ่เรียกว่า "ซอง" หรือ ทั่วๆไปมักเรียกว่า “ลูก”  น้ำแข็งจากโรงน้ำแข็งเป็นลูกๆ จะถูกส่งไปยังเอเย่นต์น้ำแข็งเพื่อขายปลีก น้ำแข็ง 1 ลูกจะถูกเลื่อยออกเป็นก้อนสี่เหลี่ยมย่อยๆเรียกว่า “กั๊ก” น้ำแข็ง 1 ลูกจะแบ่งได้ 4 กั๊ก แต่ละกั๊กจะถูกแบ่งย่อยออกเป็นก้อนสี่เหลี่ยมเล็กๆเรียกว่า “ มือ” 1 กั๊กแบ่งได้เป็น 4 มือ  น้ำแข้งที่นำมาไสบนแท่นไสน้ำแข็งก็คือน้ำแข็ง 1 มือนั่นเอง  หลังจากที่มีเครื่องทำน้ำแข็งด้วยไฟฟ้าโรงน้ำแข็งประเภทที่ว่าก็หายไปหมดรวมทั้งโรงเลื่อยแบบเครื่องจักรไอน้ำก็ไม่มีให้เห็นอีกแล้วและที่เครื่องจักรไอน้ำของโรงน้ำแข็งนี่เองที่ทำให้ผมรู้จักอุปกรณ์ของเครื่องจักรไอน้ำชิ้นหนึ่งที่เรียกว่า “กาวานา”(Governor)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 13:23

ภาพการใช้น้ำแข็ง และห้องเย็นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ภาพนี้ถ่ายจากโรงน้ำแข็ง และโรงทำน้ำโซดาตั้งอยู่ตรอกโรงน้ำแข็ง สี่พระยา

บริษัท Bangkok Manufacturing Company Limited ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1901 ผลิตน้ำแข็งโดยใช้เครื่องจักรขนาด ๒๐ ตัน ๑ ตัว และขนาด ๖ ต้น ๒ ตัว เพื่อทำการผลิตน้ำแข็ง นอกจากนี้ยังจะสามารถผลิตน้ำอัดลม (โซดา) ได้ 2,000 โหล เพื่อจำหน่าย

อ้างถึงหนังสือ Twenty Century Impressions of Siam


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 14:21

ประวัติไอศกรีม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 05 ก.ค. 11, 22:28

ดึงกระทู้นี้ขึ้นมาอีกครั้ง เพราะเพิ่งไปเจอกระทู้เก่าเรื่องไอศกรีม
ตอบคำถามเรื่องประวัติไอศกรีมในประเทศไทยได้ส่วนหนึ่ง

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1099.0

ลาวัณย์ โชตามระ เล่าไว้ในหนังสือ มรดกไทย ว่า
ไอศกรีมเพิ่งเป็นที่รู้จักในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมตะวันตกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาเผยแพร่ในสยาม หลังเสด็จประพาสอินเดีย ชวาและสิงคโปร์
น้ำแข็งในตอนแรกๆ สยามผลิตไม่ได้เอง ต้องสั่งเข้ามาจากสิงคโปร์
ต่อมาไทยสั่งเครื่องทำน้ำแข็งเข้ามาทำไอศกรีม ถือว่าเป็นของเสวยชั้นดีเลิศ สำหรับเจ้านายในพระบรมมหาราชวังเท่านั้น
สมเด็จกรมพระยาดำรงฯทรงบันทึกไว้ว่า
"ไอศกรีมเป็นของที่วิเศษในเวลานั้น เพราะเพิ่งได้เครื่องทำน้ำแข็งอย่างเล็กๆที่สำหรับเขาทำกันตามบ้านนอกเข้ามาถึงเมืองไทย
ทำบางวันน้ำก็แข็ง บางวันก็ไม่แข็ง มีไอศกรีมตั้งเครื่องแต่บางวัน จึงเห็นเป็นของวิเศษ"
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง