เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 04 ก.พ. 11, 20:45
|
|
ขอเริ่มที่ีรอยอิน ตามระเบียบ
ต้น น. ลําของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง ๆ เช่น ต้นมะขาม ต้นสัก ต้นหญ้า ต้นผักชี ต้นข้าว, ลักษณนามว่า ต้น เช่น มะม่วงต้นหนึ่ง ผักชี ๒ ต้น; เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้น วงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ต้นสกุล; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) คํานําหน้าชื่อพระภิกษุ สามัญ; เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว เช่น ต้นขา ต้นแขน; ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือนต้นปี; ใช้ประกอบหน้าคําอื่น แปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทํา กิจการประจํา เช่น ต้นกุญแจ ต้นห้อง; ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ต้น เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นเพลงรํา. (ดึกดําบรรพ์). ว. แรก เช่น หน้าต้น; แรกเริ่ม เช่น แต่ต้น; เนื่องใน พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น.
น่าจะตรงกับคำว่า keeper ในภาษาอังกฤษ สาวใช้ต้นห้อง ก็คือผู้มีหน้าที่ดูแลห้องสำคัญของนาย (ห้องสำคัญ คงไม่ต้องตั้งคนเอาไว้ดูแลเป็นพิเศษ) โดยมากก็เป็นห้องนอน เพราะเป็นห้องที่เก็บของมีค่าของนายด้วย ในเมื่อของมีค่ามักเป็นเครื่องประดับกายของนายผู้หญิง ตำแหน่งนี้จึงใกล้ชิดกับนายหญิงมากกว่า ในตำหนักเจ้านายฝ่ายใน มักมีตำแหน่งแม่บ้านต้นตำหนัก คือเป็น housekeeper ของสถานที่นั้น ส่วนใหญ่เป็นสตรีสูงอายุ เป็นข้าหลวงเดิมที่เป็นที่ไว้พระทัยของเจ้าของตำหนัก
ทนายหน้าหอ คล้ายๆ butler ของอังกฤษ เป็นชายรับใช้ชั้นดีที่นั่งประจำคอยต้อนรับแขกที่มาเยือนเจ้าของบ้าน จัดหาหมากพลูบุหรี่ และติดหน้าตามหลังนายเวลาเข้าวัง มักจะอายุมากแล้ว อยู่ในวัยกลางคนขึ้น ลูกน้องของทนายหน้าหอคือทนายหนุ่มๆ มีหลายคน พวกนี้ไม่ใช่คนใช้อย่างตามบ้านทั่วไป แต่ถ้าใฝ่ดีก็มีโอกาสจะเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปเป็นขุนนางชั้นผู้น้อย และเลื่อนขึ้นตามลำดับได้แล้วแต่ความสามารถ
ทั้งหมดนี้ได้จากนิยาย และเกร็ดพงศาวดาร ถ้าในพงศาวดารจริงๆอาจต้องรอผู้รู้มากกว่านี้
|