เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 38766 ขุนนางวังหน้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 10:00

ที่น่าสังเกตคือแบ่งตำแหน่งเป็นโหรหน้ากับโหรหลัง    ไม่ทราบว่าแบ่งงานกันอย่างไร  แต่กรมโหรหน้าน่าจะสำคัญกว่าเพราะศักดินาเกือบ 2 เท่าของกรมโหรหลัง   เจ้ากรมโหรหลังศักดินา 800 เท่านั้น

กรมโหรในพระไอยการพลเรือน
พระโหราธิบดี เจ้ากรมโหรหน้า            นา 3000
ขุนโชติพรหมา ปลัด                      นา 800
ขุนในกรมโหรหน้า                        นาคล 400
หลวงโลกทีป เจ้ากรมโหรหลัง            นา 1600
ขุนเทพากร ปลัด                         นา 800
ขุนในกรมโหรหลัง 6 คน                 นา 400
หมื่นในกรมโหรหลัง 6 คน                นา 300
เลว                                       นา 200

ส่วนหน้าที่ราชการของกรมโหรนั้นมีบ่งบอกไว้ในกฏมณเทียรบาลครับ

"โหราหน้าได้ราชการข้างหน้า และราชการพราหมณ์พระราชพิธี คือการทวาทโสศกทั้ง ๑๒ เดือน เว้นแต่การพระราชพิธีตรียำพวายได้ข้างโหรหลัง
อนึ่งโหรหน้าได้ราชการ คือการพระราชพิธีพยุหยาตราพิชัยสงคราม และราชการข้างหน้า และราชการข้าทหารทั้งปวง ถ้าหาตัวมิได้
ได้แก่ขุนโชติปลัด

โหรหลังได้ราชการฝ่ายหลัง คือทำฎีกาข้างการพราหมณ์เทศ คือการพระราชพิธีตรียำพวาย และการสมเด็จพระอัครมเหสี และพระอัครชายา
และแม่หยัวเจ้าเมืองชะแม่พระสนมทั้งปวง และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ"

สำหรับโหรพราหมณ์ที่ทายเคราะห์ทายศึกทายฤกษ์ผิดนั้นมีบทลงโทษในมาตราต่อมา
"อนึ่ง โหรพราหมณ์ทายเคราะห์ทายศึกทายฤกษ์ผิด ลงอาญาลูกประคำใหญ่แขวนคอ"
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 10:33

มาถึงกรมหมอ น่าเสียดายที่ไม่ได้เปรียบเทียบกับขุนนางกรมหมอวังหลวง   เลยไม่รู้ว่าตรงกับตำแหน่งอะไร
น่าสังเกตอีกข้อว่า เป็นกรมแรกที่จางวางมีศักดินาน้อยกว่าเจ้ากรม  แม้จะอยู่ในลำดับสูงกว่า
พระยาประเสริฐฯ จางวาง เป็นพระยาและจางวาง ศักดินา ๑๐๐๐   ส่วนเจ้ากรม พระศรีมโหสถ และพระศรีศักดิราช เป็นคุณพระ แต่ศักดินา ๑๖๐๐ ทั้งสองท่าน

ไม่ทราบว่าคุณ art  และคุณ bhanumet เห็นอย่างไรบ้างคะ

กรมหมอ ในพระไอยการพลเรือน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือกรมแพทยาโรงพระโอสถ และกรมแพทยาหน้า, หลัง

พระยาแพทยพงศาวิสุทธาธิบดี จางวางแพทยาโรงพระโอสถ       นา 2000
พระทิพยจักร เจ้ากรมหมอยาขวา                                  นา 1400
พระสิทธิสาร เจ้ากรมหมอยาซ้าย                                  นา 1400
หลวงราชพิมาน ปลัดขวาทิพจักร                                   นา 800
หลวงราชพรหมา ปลัดซ้ายทิพจักร                                 นา 800
หลวงสิทธิพรหมา ปลัดซ้ายสิทธิสาร                               นา 800
หลวงเทวพรหมมา ปลัดขวาสิทธิสาร                               นา 800
(และมีขุนหมื่นในกรมหมออีกมาก มีกรมหมอนวด กรมหมอยาตา กรมหมอวรรณโรคขึ้นกรมนี้อีก เหลือจะพรรณนา)

พระศรีมโหสถ เจ้ากรมแพทยาหน้า                                นา 1600
ขุนราชแพทยา ปลัดทูลฉลอง                                     นา 600
ขุนพรหมเกวี ปลัดนั่งศาล                                         นา 400
พระศรีศักราช เจ้ากรมแพทยาหลัง                                นา 1600
ขุนรัตะแพทย์ ปลัดทูลฉลอง                                      นา 600
ขุนศรีเกวี ปลัดนั่งศาล                                             นา 400
พันในกรม                                                         นาคล 100

ตามความเห็นของผมนะครับ
พระยาประเสริฐในวังหน้าเทียบที่แพทย์พงศาในวังหลวง เพราะศักดินาวังหน้ากึ่งหนึ่งพอดี ข้อนี้ไม่เป็นปัญหาใหญ่

แต่อย่างที่อาจารย์เทาสงสัย อย่างที่เห็นในวังหลวงเจ้ากรมแพทยาหน้า, หลังราชทินนามและศักดินาเหมือนกันกับวังหน้า
เหมือนจนผมคิดว่าที่จริงกรมแพทยาหน้า, หลังนี้ บางที เมื่อสมัยอยุธยานั้นขึ้นในวังหลวง แต่พอสมัยหลังเช่นรัตนโกสินทร์
ก็ย้ายทั้งกรมไปขึ้นกับวังหน้า ไม่ขึ้นกับวังหลวงแล้ว เพราะราชทินนามและศักดินาเหมือนกัน

และเพราะมาจากวังหลวง ศักดินาที่ติดมาก็ไม่ได้ลดตามควรเป็น ปล่อยไว้อย่างนั้นจนเกิดลักหลั่นในทำเนียบขุนนางถึงปัจจุบันนี้
(เรื่องนี้เป็นการสันนิษฐานทั้งหมดเองโดยกระผม ไม่มีข้อมูลใดอ้างอิงเลย)

แต่น่าคิดอย่างหนึ่งว่า กรมแพทยานี้คงใหญ่พอตัว เพราะมีทั้งปลัดทูลฉลอง และปลัดนั่งศาล เเหมือนกรมจตุสดมภ์
และบางกรมที่สำคัญๆ ด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 10:50

ในหนังสือของคุึณเทพยังกล่าวถึงบิดาของสุึนทรภู่คือ ขุนศรีสังหาญ (พลับ) ว่าเป็นตำแหน่งนายทหารสังกัดกรมอาสาวิเศษซ้าย  ซึ่งเป็นกรมในสังกัดกรมล้อมวังในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข เรียกในสมัยนี้คงเท่ากับกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

กรมอาสาวิเศษซ้าย

หลวงวิจารณ์ภักดี                 เจ้ากรม               ศักดินา           ๔๐๐
ขุนศรีสังหาญ                     ปลัดกรมขวา         ศักดินา           ๓๐๐
ขุนพิมานนที                      ปลัดกรมซ้าย         ศักดินา           ๓๐๐

ไม่ทราบว่ารายชื่อตรงกันกับทำเนียบข้าราชการวังหน้าอีกหรือไม่

 ฮืม


เชิญคุณเพ็ญชมพู พิจารณา
ตรงเป๊ะเลย
ดิฉันอ่านพบเรื่องการอ้างอิงชื่อพ่อสุนทรภู่ ว่าเป็นขุนศรีสังหาร    ทำให้สงสัยว่าพ่อของสุนทรภู่ เหตุใดจึงเป็นข้าราชการวังหน้า ทั้งๆตามประวัติ   สุนทรภู่เป็นข้าวังหลัง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 11:24

กรมหมอน่าจะใหญ่ค่ะ  ทั้งวังหลวงวังหน้า  ดิฉันมีทำเนียบนามขุนนางหมอของวังหน้ามาฝากคุณ art อีก
 กรมหมอยา ราชทินนามระบุหน้าที่ชัดมาก  "- โอสถ" เรียงแถวกันมาทุกท่าน
กรมหมอนวด มีชื่อคล้องจองกันด้วย  ประสาทวิจิตร ประสิทธิ์หัตถา  คงจับเส้นแม่นยำมาก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 11:28

มีกรมหมอฝรั่งซ้ายขวาด้วย   ในพระไอยการฯ ไม่น่าจะมี  หรือว่ามี?  ขอคุณ art ช่วยเปิดดูอีกทีได้ไหมคะ
ยังสงสัยว่า ราชทินนาม เมทรีแวทยา คือแพทย์ทางไหน    ส่วนขุนชำนาญระงับพิศม์  พอเข้าใจ  พิศม์ ก็คือ พิษ
คงจะมีหน้าที่ให้ยาที่ปัจจุบันเรียกว่า ปฏิชีวนะ กระมัง
ถ้าคุณหมอ CVT เข้ามาเห็นกระทู้นี้  อาจจะพอนึกออก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 11:30

หน้านี้เป็นขุนนางทหาร รวมทั้งขุนศรีสังหารด้วย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 11:31

ถ่ายรูปมาได้แค่นี้  ขอเวลาอีกหน่อยนะคะ
ระหว่างนี้เชิญอภิปรายตามอัธยาศัย

คุณเพ็ญชมพู  ดิฉันจะไปถ่ายรูปทำเนียบนามขุนนางวังหลังมาฝากค่ะ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 20:14

มีกรมหมอฝรั่งซ้ายขวาด้วย   ในพระไอยการฯ ไม่น่าจะมี  หรือว่ามี?  ขอคุณ art ช่วยเปิดดูอีกทีได้ไหมคะ

ในพระไอยการไม่มีหมอฝรั่งครับ มีแต่กรมหมอแพทยาหน้า, หลัง กรมแพทยาโรงพระโอสถ กรมหมอยาซ้าย,ขวา
กรมหมอนวดซ้าย,ขวา กรมหมอยาตาซ้าย,ขวา กรมหมอวรรณโรค

ยังสงสัยว่า ราชทินนาม เมทรีแวทยา คือแพทย์ทางไหน

เมทรี น่าจะเพี้ยนมาจากภาษาฝรั่งกระมั้งครับ
แต่ผมสงสัยทำไมใช้สร้อย "แวทยา" มากกว่าครับ มีความหมายหรือไม่
ทำไมไม่ "แพทยา" ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 20:21

แวทยา ก็คือ แพทยา   ว กับ พ ใช้แทนกันได้ในคำที่มาจากบาลี  มีความหมายเดียวกัน   อย่างคำว่า วิทยา /พิทยา   วงศ์/พงศ์  วิไล/พิไล
มีกรมทหารวังหน้ามาให้ดูอีกค่ะ
ถ้าใครยังติดใจเรื่องตำแหน่งจางวางกับเจ้ากรม   ในกรมทหารปืนเล็ก  จางวางและปลัดจางวางมีศักดินาสูงกว่าเจ้ากรม   จางวางเป็นพระยา จางวางเป็นพระ   นา ๘๐๐     เจ้ากรมขวาซ้ายเป็นหลวง นา ๕๐๐


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 20:23

หน้าต่อไป
กรมสนมพลเรือน ทำหน้าที่อะไรคะ?


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 21:00

หน้าต่อไป
มีชื่อแปลกๆมาฝากอีกแล้ว  กรมสนะไทย  กับกรมสนะจีน  เคยได้ยินแต่ เสนาสนะ แปลว่า ที่อยู่
กรมสนะในวังหน้าคงจะทำหน้าที่เกี่ยวกับผลิตหรือจัดหาผ้าผ่อนเครื่องนุ่งห่ม      ส่วนภูษามาลาคือจัดเสื้อผ้าของใช้  สำหรับเจ้านาย    นี่เดาเอาล้วนๆจากราชทินนามค่ะ
แล้วทำไมถึงมีกรมสนะจีน  เห็นจะเกี่ยวกับแพรจีนที่นำไปตัดเป็นเสื้อขุนนางละกระมัง  ฮืม


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 21:44

หน้าต่อไป
มีชื่อแปลกๆมาฝากอีกแล้ว  กรมสนะไทย  กับกรมสนะจีน  เคยได้ยินแต่ เสนาสนะ แปลว่า ที่อยู่
กรมสนะในวังหน้าคงจะทำหน้าที่เกี่ยวกับผลิตหรือจัดหาผ้าผ่อนเครื่องนุ่งห่ม      ส่วนภูษามาลาคือจัดเสื้อผ้าของใช้  สำหรับเจ้านาย    นี่เดาเอาล้วนๆจากราชทินนามค่ะ

สนะ แปลว่า "ช่างเย็บ ชุน ปัก"

ในพระไอยการสมัยอยุธยาไม่มีชื่อกรมนี้ในช่างสิบหมู่
(ช่างเขียน ช่างแกะ ช่างสลัก ช่างกลึง ช่างหล่อ ช่างปั้น ช่างหุ่น ช่างรัก ช่างบุ ช่างปูน)

แต่มีปรากฏในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 4 เรื่องทรงตั้งและแปลงนามขุนนาง
(มีทั้งช่างไทยช่างจีนเหมือนทางวังหน้า)
ช่างสนะไทย หลวงจิตราภรณ์ เจ้ากรม    แปลงว่า หลวงวิจิตรพัสตราภรณ์
              ขุนบวรโกไสย ปลัด        แปลงว่า ขุนสุนทรสิพพนะกิจ
ช่างสนะจีน   ขุนสิทธิภูษา เจ้ากรม       แปลงว่า ขุนสิพพนกิจปรีชา
              ขุนรัตนภูสิต เจ้ากรม        แปลงว่า ขุนรจนาสิพพกิจ
              หมืนพิมลภูษา ปลัด        แปลงว่า หมื่นชำนิสุตรการ
              หมื่นชำนาญโกไสย ปลัด   แปลงว่า หมื่นชำนาญสุตรกิจ
              หมื่นศรีพัฒนา ปลัด         แปลงว่า หมื่นโสภณโกไสยกิจ
              หมื่นภูษาวิจิตร              แปลงว่า หมื่นวิจิตรโกไสยการ

กรมช่างสนะนี้ น่าจะมีขึ้นก่อนรัชกาลที่ 4 เพราะหากตั้งในรัชกาลนั้นแล้ว จะต้องเขียนไว้ว่า "ทรงใหม่" เช่น
    กรมโรงพิมพ์ ทรงใหม่
    กรมเกณฑ์พระราชกุศล ทรงใหม่
หรือถ้าเป็นข้าราชการตั้งขึ้นใหม่ในรัชกาลนั้น ก็ใช้ "ทรงใหม่" เหมือนกัน เช่น
    กรมอาลักษณ์ ทรงใหม่ นายราชาณัตยานุหาร พนักงานหนังสืออังกฤษ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 22:00

ต่อ
ออกจะจาง ไม่สามารถปรับให้ชัดกว่านี้ได้ค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 22:01

.


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 08:17

กรมสนมพลเรือน ทำหน้าที่อะไรคะ?

กรมสนมพลเรือน

          หน่วยราชการในสมัยโบราณของไทยมีจำนวนมาก ทั้งที่ยุบเลิกไปแล้ว เปลี่ยนแปลงฐานะหน้าที่ หรือบางหน่วยงานยังมีอยู่มาจนปัจจุบัน  กรมสนมพลเรือนเป็นหนึ่งในหน่วยราชการที่มีมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน  สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑ ได้อธิบายว่า กรมสนมพลเรือน เป็นกรมย่อยในสังกัดกรมวัง มีมาแต่ครั้งสมัยอยุธยา เดิมชื่อ กรมพระสนม แบ่งออกเป็น กรมพระสนมซ้าย มีพระอินทราทิตย์พิพิธราชรักษา เป็นสมุหพระสนมซ้าย และกรมพระสนมขวา มีพระจันทราทิตย์พิพิธราชรักษา เป็นสมุหพระสนมขวา

          กรมพระสนมเป็นส่วนราชการฝ่ายพลเรือน ต่อมาจึงเรียกกันว่า กรมสนมพลเรือน มีหน้าที่กักขังผู้กระทำความผิดภายในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่จนถึงข้าทาส ลักษณะการคุมขังแบบนี้เรียกว่า จำสนม หรือ ติดสนม ซึ่งพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ อธิบายว่า ถูกกักบริเวณในเขตพระราชฐานโดยอยู่ในความดูแลของพวกสนม และคำว่า สนม ในที่นี้หมายถึง เขตพระราชฐานซึ่งเป็นที่กักบริเวณผู้มีฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์หรือข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่

          ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหน้าที่กรมสนมพลเรือน โดยทำหน้าที่จัดการงานพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น งานโสกันต์ งานผนวช งานพระศพ  เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ กรมสนมพลเรือนได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับเครื่องนมัสการ เครื่องโกศหีบ และการกักขังพระบรมวงศานุวงศ์ผู้กระทำผิด มีแผนกย่อย ๓ แผนก คือ แผนกเครื่องนมัสการ แผนกโกศหีบ และแผนกทลวงฟัน

          หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ กรมสนมพลเรือนมีการปรับเปลี่ยนฐานะเรื่อยมา ปัจจุบันกรมสนมพลเรือนมีฐานะเป็นแผนกสนมพลเรือน สังกัดกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง มีเจ้าพนักงานสนมพลเรือนปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการพิธีศพ ทำสุกำศพ (หมายถึง เอาผ้าขาวห่อศพและใช้ด้ายดิบมัดตราสัง แล้วบรรจุศพลงโกศหรือหีบศพซึ่งมีกระดาษฟางปูรองรับ) ดูแลรักษาเครื่องนมัสการและโกศหีบศพ.

ปิยรัตน์  อินทร์อ่อน

http://www.royin.go.th/TH/knowledge/detail.php?ID=3768
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 20 คำสั่ง