เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 38756 ขุนนางวังหน้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 10:50

ถ้าอย่างนั้นก็จะมาอีก ๑ คำถาม
เมื่อเทียบพระไอยการฯกับทำเนียมนามภาค ๒  จะเห็นว่าบรรดาศักดิ์และราชทินนาม ไม่ตายตัว   ขุนนางราชทินนามนี้สมัยอยุธยาเป็นขุน  พอมาถึงรัตนโกสินทร์เป็นหลวง  ก็เป็นได้  หรือสมัยอยุธยาเป็นพระ สมัยรัตนโกสินทร์เป็นพระยา ก็มี
ถ้าอย่างนั้น ทำไมหลวงบุรินฯ ซึ่งมีหน้าที่การงานสำคัญกว่าพระ หรือพระยา กรมอื่นๆในวังหน้าเสียอีก  จึงไม่ได้ปรับเป็นพระ  เรื่องพระยาอาจจะไปติดที่เสนาบดี ว่าจะเป็นพระยาเท่ากันไม่ได้    แต่เป็นพระ น่าจะเป็นได้  แต่ก็ไม่ได้เป็น
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 13:39

ที่ อ. เทาชมพู กรุณาตั้งข้อสังเกตนั้น ผมเองก็ไม่ทราบ แต่ขอแสดงความคิดเห็นว่า

คงเพราะ ศักดิ์ของกรม ก็เป็นได้  (แต่ถ้าเป็นผู้ใกล้ชิด ก็อาจได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ หรือ ศักดินา เป็นกรณีพิเศษกว่าในทำเนียบ)
กล่าวคือ ถึงแม้มีหน้าที่กว้างขวาง มีศักดินามาก  แต่ศักดิ์ของกรม ไม่สูงพอที่จะเป็นได้เกินกว่าหลวง

สมัยก่อน ศักดิ์ของกรม ไล่จาก  อัครมหาเสนาบดี ๒   จตุสดมภ์ ๔   มนตรี ๖

เมื่อเทียบทั้ง พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน พระไอยการตำแหน่งนาทหาร และ พระไอยการตำแหน่งนาหัวเมือง
(สองฉบับหลัง มักเรียกรวมกัน เพราะเขียนไว้ต่อกัน แต่ถ้าพิจารณาดี ๆ จะเห็นว่า แยกกันต่างหาก)

บางครั้ง เจ้าเมืองเอกอุ หรือ เมืองเอก อาจเป็นถึงที่ เจ้าพญา  ในขณะที่ จตุสดมภ์ บางครั้งอาจเป็นเพียง พญา  
ถึงจะมีศักดินาเท่ากัน  แต่โดยศักดิ์แล้ว ถือว่า เสนาบดีจตุสดมภ์ สูงกว่า เจ้าเมืองหัวเมืองเอกอุ หรือ หัวเมืองเอก  
(ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดนะครับ  ยิงฟันยิ้ม)

ส่วนในพระนคร (หรือที่ปัจจุบันคือ ส่วนกลาง) กรมอื่น ๆ ถือว่า ศักดิ์ของกรม ต่ำกว่า อัครมหาเสนาบดี ๒   จตุสดมภ์ ๔   มนตรี ๖ ทั้งสิ้น

ทั้งนี้ ถือว่าเป็นโดย นิตินัย (de jure) เพราะในทางพฤตินัย (de facto) เจ้ากรมที่ศักดิ์ต่ำกว่า  อาจมีกำลัง อำนาจ บารมีมาก เช่น กรมมหาดเล็ก กรมพระคชบาล  กรมอาสาหกเหล่า
และบางครั้ง ขึ้นกับความสามารถ บารมี และความใกล้ชิด ของบุคคลด้วย



ถ้าลองเทียบในปัจจุบัน
ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค (หัวเมือง) ผู้ว่าราชการจังหวัด (เจ้าเมือง) เป็น ผู้บริหารระดับสูง (ระดับ ๑๐ เดิม) เท่ากับ อธิบดี และ รองปลัดกระทรวง
แต่หลายครั้ง ที่ผู้ว่าราชการจังหวัด เข้ามาเป็น รองอธิบดี ในราชการบริหารส่วนกลาง (ในพระนคร) ซึ่งเป็นเพียง ผู้บริหารระดับต้น (ระดับ ๙ เดิม) ระดับเดียวกับ รองผู้ว่าราชการจังหวัด




และเห็นด้วยกับ คุณ art47 ครับ ว่า
ปลัดทูลฉลอง  ไม่ได้สำคัญเท่า ปลัดกระทรวง ดั่งในปัจจุบัน
เพราะ กรม ในสมัยนั้น  แทบจะเป็น เอกเทศ  อาจยกเว้น กรมที่ระบุชัดว่า ขึ้นกับกรมใด
สมุหกลาโหม สมุหนายก ก็มีอำนาจในทางพฤตินัยเหนือ กรมกลาง กรมฝ่ายเหนือ และกรมพะลัมภัง เท่านั้น
แม้ทางนิตินัย จะเป็นอัครมหาเสนาบดี

ปลัดทูลฉลอง จึงเป็นเหมือน ปลัดกรม ของกรมนั้น ๆ เท่านั้น  
เพียงแต่กรมอัครมหาเสนาบดี กรมจตุสดมภ์ และกรมใหญ่ ๆ
ปลัดกรม ต้อง เข้าเฝ้า ฯ แทน  เจ้ากรม (ที่เป็นระดับเสนาบดี หรือ เทียบเท่า หรือ ตำแหน่งสำคัญ ๆ)  จึงเรียกว่า  ปลัดทูลฉลอง

ปลัดทูลฉลองกรมมหาดไทย ไม่ได้มีอำนาจบังคับบัญชาเหนือ เจ้ากรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ หรือ เจ้ากรมพะลัมภัง




สุดท้าย  การปรับเปลี่ยนตำแหน่ง  บางครั้ง อาจไม่ได้เป็นเฉพาะกรณี
เมื่อเกิดเหตุสำคัญมาก ๆ ก็อาจปรับเปลี่ยน ทำเนียบในพระไอยการได้
เช่น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ให้แบ่ง ทหาร พลเรือน  
พอมาถึงสมัยพระเจ้าปราสาททอง ทรงเป็นสมุหกลาโหม และมีอำนาจจนก่อกบฏได้  จึงให้แบ่งเป็น ดูแลหัวเมือง ปากใต้ ฝ่ายเหนือ (ข้อสันนิษฐาน)
หรือ เมื่อสมุหกลาโหม มีความผิด (สมัยพระเจ้าปราสาททอง ถึง พระเจ้าบรมโกศ โดยมากว่า พระเพทราชา หรือ พระบรมโกศ - ข้อสันนิษฐาน)
ก็ให้เอาหัวเมืองปากใต้ ไปขึ้นกับกรมท่า

พอสมัยรัตนโกสินทร์ ก็ให้แบ่งหัวเมืองปากใต้อยู่กับกลาโหม  ฝ่ายเหนือกับมหาดไทย  และฝ่ายตะวันออกกับกรมท่า


หรือเวลาจัดทำทำเนียบขุนนาง
ก็ยึดเอาแบบอย่างในรัชกาลก่อน ๆ มาจดไว้  ทั้งบรรดาศักดิ์ ราชทินนาม
ซึ่งอาจไม่ตรงกับในทำเนียบพระไอยการ  หรือ ในเวลาปัจจุบัน (ที่จัดทำนั้น)
เพราะในแต่ละช่วงเวลา  อาจโปรดเกล้า ฯ ให้ขุนนางแต่ละท่าน มีบรรดาศักดิ์ ราชทินนาม และ ศักดินา ตามพระราชประสงค์  (ที่ไม่ขัดกับพระไอยการ และธรรมเนียมประเพณีมากเกินไป)
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 14:23

ผมสนับสนุนข้อเขียนความคิดของคุณ Bhanumet ครับ ยิงฟันยิ้ม

เขียนดีอย่างแจ่มแจ้งจนไม่รู้จะเพิ่มเติมตรงไหนได้บ้าง...

อ่อ... คุณ Bhanumet เข้าใจถูกแล้วครับ
ในอดีตส่วนกลางถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารราชการแผ่นดิน หัวเมืองเป็นเพียงแต่อาณาบริเวณเท่านั้น
เพราะหากขาดส่วนกลางไป ส่วนหัวเมืองก็ลอยคว้างไร้ประสิทธิภาพในการจัดการบ้านเมือง
ตัวอย่างชัดๆ ก็ในคราวเสียกรุงศรีครั้งที่ 2 นั่นไงครับ เมื่อกรุงแตก หัวเมืองทั้งปวงต่างแยกตนเป็นอิสระ
นั่นเพราะไม่มีส่วนกลางมาควบคุมดูแล

ดังนั้น เสนาบดีจตุสดมภ์ ย่อมมีศักดิ์และสิทธิ์มากกว่า เจ้าเมืองหัวเมืองเอก ทั้งพิษณุโลก และนครศรีธรรมราชครับ
(และเมืองเอก ย่อมมีศักดิ์และสิทธิ์ใหญ่กว่า เมืองโท ที่มีนาเท่ากันด้วย)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 14:43

ถ้ายังไม่มีใครเอาหลักฐานอื่นมาแย้งได้  ดิฉันก็คิดว่าความเห็นของคุณ Bhanumet  น่ารับฟังอย่างมาก

ขอนำทำเนียบนามมาลงต่อไป   เผื่อจะมีข้อสังเกตอะไรได้อีก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 14:57

ชื่อทางฝ่ายคลังที่จำได้คือพระยาไกรโกษา เริก  ที่มาของนามสกุลไกรฤกษ์     ท่านเป็นเสนาบดีคลังของวังหน้า  
เสนาบดีวังหน้ามีศักดินาถึง ๕๐๐๐   แต่พอลงมาถึงปลัดทูลฉลอง  ศักดินาแค่ ๕๐๐  เท่ากับ ๑ใน ๑๐ ของเสนาบดี  ก็แสดงว่าอำนาจหน้าที่ไม่ได้กว้างขวางอะไรนัก ทั้งๆจัดอันดับเป็นที่สองรองจากเสนาบดีคลัง

ที่น่าคิดอีกอย่างคือพนักงานประทับสิ่งของในกรมคลัง    น่าจะสำคัญอยู่ไม่น้อย เพราะศักดินาถึง ๔๐๐ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 15:09

กรมพระสุรัสวดี นี่ทำหน้าที่อะไร?


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 15:10

.


บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 15:26

กรมพระสุรัสวดี นี่ทำหน้าที่อะไร?

ตั้งกองสักเลก  ทำสารบาญชีไพร่หลวง ที่เรียกว่า บาญชีหางว่าว   และดูแลตรวจสอบ บาญชีไพร่สม ไพร่ส่วย

ปัจจุบัน คือ สัสดี
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 15:37

กรมพระสุรัสวดี นี่ทำหน้าที่อะไร?

กรมพระสุรัสวดี หรือ กรมสัสดี สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑ อธิบายว่า กรมพระสุรัสวดีเป็นกรมสังกัดฝ่าย
พลเรือนในสมัยอยุธยา เป็นกรมที่ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีหน้าที่ทำทะเบียนหรือบัญชีคนในพระราชอาณาจักร และรักษาบัญชีเพื่อกำกับ
การเบิกจ่ายเกณฑ์กำลังคนทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน เร่งรัดการเก็บส่วยและเงินแทนการเกณฑ์ คัดสำเนากฎหมายและประกาศทางราชการ
แจกจ่ายให้ทุกกรมทราบ รวมทั้งพิจารณาคดีความที่เกี่ยวกับการแบ่งสังกัดหมวดหมู่ไพร่พล กรมพระสุรัสวดีมีตำแหน่งพระสุรัสวดีกลาง
เป็นเจ้ากรม และมีกรม ซ้ายและขวาขึ้นอีก ๒ กรม คือ กรมพระสุรัสวดีซ้าย และกรมพระสุรัสวดีขวา พระสุรัสวดีกลางปฏิบัติหน้าที่ในเมืองหลวง
และเขตหัวเมืองชั้นใน พระสุรัสวดีซ้ายปฏิบัติหน้าที่ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ๒๔ หัวเมือง และกรมพระสุรัสวดีขวาปฏิบัติหน้าที่ในหัวเมืองปักษ์ใต้
๑๔ หัวเมือง ส่วนข้าราชการในกรมเรียกว่า สัสดี เช่น ขุนสัสดี รองสัสดี
   
ในสมัยรัตนโกสินทร์ กรมพระสุรัสวดียังอยู่ ตั้งอยู่ที่หอสัสดีซึ่งเป็นที่เก็บรักษาทะเบียนบัญชีคน (หอสัสดีอยู่ใกล้กับศาลหลักเมือง)
แต่อำนาจของกรมพระสุรัสวดีลดลงบังคับบัญชาได้เฉพาะเมืองหลวงและหัวเมืองชั้น ในเท่านั้น ส่วนหัวเมืองฝ่ายเหนือและหัวเมืองปักษ์ใต้
รวมทั้งหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออกอำนาจการบังคับบัญชาและควบคุมบัญชีไพร่พล ขึ้นอยู่กับสมุหนายก สมุหพระกลาโหม
และเจ้าพระยาพระคลังโดยไม่ต้องผ่านกรมพระสุรัสวดี ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๓๕ รัชกาลที่ ๕ โปรด เกล้าฯ ให้ยกกรมพระสุรัสวดีไปขึ้นกับกระทรวง
นครบาล ให้มีหน้าที่จัดทำสำมะโนครัว เมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๓๙ ให้โอนกรมพระสุรัสวดีไปขึ้น  กับกระทรวงกลาโหม ทำหน้าที่จัดการเฉพาะกำลัง
คนฝ่ายทหารเท่านั้น ฝ่ายทหารได้ขอใช้  คำว่า “สัสดี” กับนายทหารที่มีหน้าที่นี้ ส่วนกระทรวงนครบาลถูกยุบไปรวมกับกระทรวงมหาดไทย
ใน พ.ศ. ๒๔๖๕ และตำแหน่ง สัสดีของมหาดไทยเปลี่ยนชื่อเป็นเสมียนตรา ส่วนหน้าที่ทำบัญชีสำมะโนครัวได้ยกไปรวม อยู่ในกรมทะเบียน
กระทรวงมหาดไทยตั้งแต่ นั้น (ปัจจุบันคือกองทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง)   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 16:02

ตอบกันเก่งๆทั้งนั้น
ไหนๆขอแล้ว  ก็ขออีก   ช่วยอธิบายกรมอาลักษณ์กับกรมราชบัณฑิตย์ด้วยได้ไหมคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 16:10


ในทำเนียบ มีราชทินนาม "สุนทรโวหาร" เหมือนกัน แต่คนหนึ่งเป็นพระ อีกคนเป็นหลวง
พระสุนทรโวหาร จางวางกรมอาลักษณ์ ศักดินาตั้ง ๒๕๐๐ ครึ่งหนึ่งของเสนาบดีวังหน้าทีเดียว
แต่หลวงสุนทรโวหาร เป็นเจ้ากรมราชบัณฑิตย์ อยู่กันคนละกรม   ศักดินา ๔๐๐  น้อยกว่าคุณพระตั้ง ๒๑๐๐

ฝากคุณ art ช่วยเช็คพระไอยการฯอีกทีว่า สุนทรโวหาร เป็นขุนหรือหลวง ของวังหลวง
เพราะนึกได้ว่า ตามประวัติ สุนทรภู่ได้เป็นขุน " สุนทรโวหาร" อาลักษณ์วังหลวง ที่ใกล้ชิดรัชกาลที่ ๒     แต่ราชทินนาม "สุนทรโวหาร" ไม่ว่าหลวงหรือพระ กลับขึ้นทำเนียบขุนนางวังหน้า

ตามประวัติยังบอกว่าบั้นปลาย สุนทรภู่ได้พึ่งพระบารมีสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ   ได้เป็น "พระศรีสุนทรโวหาร" เจ้ากรมอาลักษณ์ อีกด้วย 
ไม่ตรงกับหลักฐานในนี้
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 16:18

ฝากคุณ art ช่วยเช็คพระไอยการฯอีกทีว่า สุนทรโวหาร เป็นขุนหรือหลวง ของวังหลวง

ในพระไอยการฯ ไม่มีราชทินนาม "สุนทรโวหาร" ครับ

กรมพระอาลักษณ์
ออกพระศรีภูริปรีชาราชเสนาบดีศรีสาลักษณ์          นา 5000
ขุนสรประเสริฐ (สารประเสริฐ) ราชปลัดทูลฉลอง     นา 1600
ขุนมหาสิทธิโวหาร ปลัดนั่งศาล                        นา 1000
หมื่นเทพกระวี ๑
หมื่นทิพกระวี ๑                                        นาคล 600
นายเทียรฆราช ๑
นายราชสาร ๑
นายชำนิโวหาร ๑
นายชำนายอักษร ๑                                   นาคล 400
หมื่นจ่าพลภักดีศรีไตรลักษณ์ สมุบาญชีย             นา 600
อาลักษณ์เลว                                         นา 200
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 16:46

ขอบคุณค่ะ  คงต้องฝากเป็นการบ้านไว้ว่า
๑ สุนทรภู่  ต้องมีราชทินนามว่า "สุนทร" อะไรสักอย่าง  ชาวบ้านถึงเรียกว่า สุนทรภู่  และเอ่ยถึงราชทินนามตัวเองในนิราศภูเขาทอง ว่า
      โอ้ผ่านเกล้าเจ้าประคุณของสุนทร           แต่ปางก่อนเคยเฝ้าทุกเช้าเย็น
๒ สุนทรภู่ เป็นอาลักษณ์  เคยเอ่ยถึงตัวเองว่า
      เป็นอาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว  เขมรลาวลือเลื่องถึงเมืองนคร
๓  ราชทินนาม สุนทร ที่เจอกันในกระทู้นี้ คือสุนทรโวหาร เป็นทั้งพระและหลวง  คนหนึ่งสังกัดกรมอาลักษณ์ อีกคนสังกัดกรมราชบัณฑิตย์
๔  ถ้าสุนทรภู่เป็นสุนทรโวหารในรัชกาลที่ ๒  ก็ต้องมีตำแหน่งอยู่ในวังหน้าก่อนจะไปเป็นขุนนางวังหลวง  แต่ไม่เคยมีหลักฐานว่าสุนทรภู่เคยเกี่ยวข้องอะไรกับวังหน้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ในรัชกาลที่ ๒    มีแต่เอ่ยถึงวังหลัง 
๕   ถ้าหากว่าสุนทรภู่เริ่มรับราชการในวังหลวง เป็นขุนสุนทรโวหาร   ก็จะเป็นได้ต่อเมื่อ
     ๕.๑  ไม่มีสุนทรโวหารของวังหน้าอยู่อีกคนในขณะนั้น   
     หรือ
     ๕.๒  เป็นได้เมื่อกรมพระราชวังบวรฯสิ้นพระชนม์แล้ว    ขุนนางวังหน้าถูกยุบไปรวมกับวังหลวง    บางตำแหน่งที่ว่างอยู่ ก็เป็นของขุนนางใหม่วังหลวงไปเลย
     ถ้าเป็นข้อนี้ แสดงว่าสุนทรภู่ต้องเข้ารับราชการหลังพ.ศ. ๒๓๖๐ เพราะกรมพระราชวังบวรฯ สิ้นพระชนม์ในปีนั้น   รัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคตปี ๒๓๖๗  สุนทรภู่เป็นอาลักษณ์ในรัชกาลที่ ๒ ได้ไม่เกิน ๗ ปี หรือน้อยกว่านั้น
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 11 ก.พ. 11, 10:03

อ้างอิง ที่คุณเพ็ญชมพู ตอบไว้ในพันทิป

" ชื่อตำแหน่งหลวงสุนทรโวหารของสุนทรภู่ยังเคยปรากฏอยู่ในคำกราบบังคมทูลฟ้องขุนพิพิธภักดี (ทิม สุขยางค์) ผู้แต่งนิราศหนองคาย เขียนโดยสมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านเป็น่คนร่วมสมัยกับสุนทรภู่ คือเกิดเมื่อ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๕๑ หลังสุนทรภู่เพียง ๒๒ ปี

ท่านเขียนไว้ดังนี้

"แผ่นดินพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จางวางเสือ ทำหนังสือทิ้งว่าหม่อมไกรสร ท่านก็เอาโทษ  หมื่อนไวย์เพ็ง นอกราชการ นายเถื่อนคางแพะ พูดจาติเตียนแม่ทัพนายกอง ท่านก็เอาโทษถึงตายทั้งนั้น และผู้ทำนิราศแต่ก่อนมา พระยายมราชกุน หม่อมพิมเสน ครั้งกรุงเก่า หลวงสุนทรภู่ ครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ทำไว้หลายเรื่อง หาได้กระทบกระเทือนถึงการแผ่นดินไม่ ผู้ทำนิราศฉบับนี้ว่าควาก้าวร้าวมาก ด้วยการจะบังคับบัญชารักษาแผ่นดินต่อไป จะเป็นที่ชอบช้ำด้วยถ้อยคำของคนที่กล่าวเหลือ ๆ เกิน ๆ"

การที่ท่านเรียกสุนทรภู่ว่า "หลวงสุนทรภู่" เพราะสุนทรภู่เป็นหลวงสุนทรโวหารอยู่เป็นเวลานาน  แม้ภายหลังได้เลื่อนเป็นพระสุนทรโวหาร ท่านจึงยังคงเรียกเป็น "หลวงสุนทรภู่" อยู่ตามเดิม  "

สุนทรภู่ : เกิดวังหลัง ผู้ดีบางกอก มีวิชารู้เท่าทันโลก


จึงขอเดาตามข้อ ๕.๒ ของ อ. เทาชมพูครับ ว่า

     ๕.๒  เป็นได้เมื่อกรมพระราชวังบวรฯสิ้นพระชนม์แล้ว    ขุนนางวังหน้าถูกยุบไปรวมกับวังหลวง    บางตำแหน่งที่ว่างอยู่ ก็เป็นของขุนนางใหม่วังหลวงไปเลย
     ถ้าเป็นข้อนี้ แสดงว่าสุนทรภู่ต้องเข้ารับราชการหลังพ.ศ. ๒๓๖๐ เพราะกรมพระราชวังบวรฯ สิ้นพระชนม์ในปีนั้น   รัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคตปี ๒๓๖๗  สุนทรภู่เป็นอาลักษณ์ในรัชกาลที่ ๒ ได้ไม่เกิน ๗ ปี หรือน้อยกว่านั้น

โดยตำแหน่ง อยู่กรมราชบัณฑิต แต่คงมาช่วยราชการที่กรมอาลักษณ์

กรมราชบัณฑิต  ถ้าเราพิจารณาตามทำเนียบขุนนาง  ดูเหมือนเป็นกรมที่มีฐานะเทียบเท่ากันกับกรมพระอาลักษณ์   แต่ในความเป็นจริง  กรมราชบัณฑิตนั้นเป็นกรมที่ขึ้นกับกรมพระอาลักษณ์  การที่ข้าราชการกรมราชบัณฑิตจะถูกโยกมาทำราชการที่กรมพระอาลักษณ์ย่อมไม่ใช่เรื่องผิดประหลาดอันใด ยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 11 ก.พ. 11, 10:45

ผมคิดว่า  ถึงแม้สมเด็จกรมพระราชวังบวรในสมัยรัชกาลที่ ๒  จะไม่เสด็จทิวงคต
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็สามารถโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายภู่
เป็นขุนหรือหลวงสุนทรโวหารได้  

ถามว่าทำไม  ก็เพราะเราไม่ทราบว่าในรัชกาลที่ ๒ มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ขุนนางวังหน้าเป็นหลวงหรือพระสุนโวหารหรือไม่  ถึงมีราชทินนามในทำเนียบขุนนางวังหน้า
ก็ไม่ได้หมายความว่า  จะต้องทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เต็มอัตราตามทำเนียบนั้น
อีกทั้งการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขุนนางไม่ว่าจะอยู่สังกัดวังหลวง วังหน้า วังหลัง
เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่จะโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งได้ตามพระราชอัธยาศัย
เมื่อสมเด็จกรมพระราชวังบวรเสด็จทิวงคตลง  ขุนนางวังหน้าจะต้องมารับราชการในวังหลวง
ทั้งนี้  ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสังกัดใหม่ทั้งหมด  โดยทันทีทันใด  อาจจะค่อยเป็นค่อยไป
อาจจะคงสังกัดไว้ตามเดิมจนกว่าผู้ดำรงบรรดาศักดิ์นั้นจะวายชนม์
จากนั้น วังหลวงก็จะดึงบรรดาศักดิ์นั้นมารวมในราชการวังหลวง

ประการต่อมา  สุนทรภู่ ได้เป็นพระสุนทรโวหารในสมัยรัชกาลที่ ๔
เป็นจางวางกรมพระอาลักษณ์วังหน้า   ตำแหน่งจางวางนี้
ต้องอธิบายให้เข้าใจว่า  ไม่ได้มีหน้าที่บังคับบัญชาโดยตรง
แม้จะได้ชื่อว่า เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกรมนั้น  
จางวาง  ถ้าเทียบกับตำแหน่งราชการปัจจุบัน  ก็คือ ที่ปรึกษาราชการ
เราทราบดีว่า  ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีอายุมากแล้ว  แต่เพราะมีประสบการณ์
จากการรับราชการในวังหลวงสมัยรัชกาลที่ ๒ มาก
จึงได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษากรมพระอาลักษณ์วังหน้า
ถ้าถามว่า หน้าที่ของท่านมีมากไหม  คิดว่างานมีไม่มากนักเพราะอายุเยอะแล้ว
คงเป็นแต่คอยชี้แนะระเบียบแบบแผนราชการในกรมนั้น

ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกรมอื่นๆ ก็เหมือนกัน  ถ้ามีอายุมากแล้ว
เห็นว่าจะปฏิบัติราชการตรากตรำมากไม่ได้  ก็จะโปรดเกล้าฯ
ให้เลื่อนขึ้นเป็นจางวางคอยกำกับดูแลให้คำปรึกษาราชการในกรมนั้น
คนที่มีหน้าที่บังคับบัญชาในกรมต่างๆ คือ เจ้ากรมกับปลัดกรม
ข้าราชการเหล่านี้เมื่ออายุมากก็ถูกดันขึ้นเป็นจางวางไป  
หรือไม่ก็ปลดประจำการเป็นนอกราชการไป
(แต่บรรดาศักดิ์ยังคงอยู่  เพียงแต่ไม่ได้ทำราชการตามตำแหน่งเท่านั้น
และจะแต่งตั้งใครมาซ้ำราชทินนามเดียวกันไม่ได้  จนกว่าคนเก่าจะวายชนม์
(แต่ก็มีเหมือนที่แต่งตั้งคนอื่นมีราชทินนามซ้ำกัน  แต่มีชั้นบรรดาศักดิ์กัน
คนเก่าอาจจะเป็นพระ... พอตั้งใหม่  คนใหม่จะมีบรรดาศักดิ์น้อยว่า  คือเป็นขุนหรือหลวง...)

แม้แต่ในหัวเมืองก็เป็นเช่นนี้  เจ้าเมืองแก่มากทำราชการไม่ได้
ก็เพิ่มยศให้เป็นจางวางไป  ตั้งผู้อื่นทำหน้าที่ต่อไป


สุนทรภู่คงจะได้ถวายตัวทำราชการกับรัชกาลที่ ๒ มาตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ ๑
เมื่อรัชกาลที่ ๒ ยังทรงพระอิสริยยศเป็นวังหน้า (ประทับที่พระราชวังเดิม)
จะด้วยว่า  สุนทรภู่มีฝีมือด้านกาพย์กลอนเป็นที่พอพระราชหฤทัย
จึงได้มาอยู่ในสโมสรกวีของรัชกาลที่ ๒ และได้ตามรับใช้ใกล้ชิด
เมื่อรัชกาลที่ ๒ เสวยราชย์แล้ว  จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้มีบรรดาศักดิ์
(ก่อนหน้านั้นอาจจะเป็นมหาดเล็กกระมัง)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 20 คำสั่ง