ตำแหน่งจางวางนี้
ต้องอธิบายให้เข้าใจว่า ไม่ได้มีหน้าที่บังคับบัญชาโดยตรง
แม้จะได้ชื่อว่า เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกรมนั้น
จางวาง ถ้าเทียบกับตำแหน่งราชการปัจจุบัน ก็คือ ที่ปรึกษาราชการ
อันนี้ ยกเว้น จางวางมหาดเล็ก รึเปล่าครับ เพราะเห็นหลายท่านเป็นกันแต่ยังหนุ่ม ๆ

ต้องดูด้วยว่าเป็นสมัยใด เพราะมหาดเล็กเป็นหน่วยงานพิเศษที่ขึ้นตรงกับพระเจ้าแผ่นดิน
และมหาดเล็กมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนคนอยู่เสมอ
ผู้ที่เป็นจางวางมหาดเล็กอาจจะไม่จำเป็นต้องมีอายุมากที่สุด
แต่อาจจะเป็นผู้ที่รับราชการมหาดเล็กมานานเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย
บางอาจจะพ่วงไปอีกว่าเป็นข้าหลวงเดิมมาก่อน
ดังประกาศกรมมหาดเล็ก เมื่อ ๒๔๕๙ ข้อหนึ่งว่า
"ตำแหน่งจางวางนั้น จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน
เปนตำแหน่งพิเศษแก่ผู้ที่ทรงคุ้นเคย และมีความดีความชอบต่าน่าที่ราชการมาช้านาน"
(ตามประกาศนี้ โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนตำแหน่งจางวางกรมกองต่างๆ ในกรมมหาดเล็กและกรมขึ้นนั้น
เป็นตำแหน่งเจ้ากรม เจ้ากรมเป็นปลัดกรม ปลัดกรมเป็นผู้ช่วยปลัดกรม)
เรื่องตำแหน่งในกรมมหาดเล็กนี้ มีการเปลี่ยนแปลงและเป็นราชการกรมที่มีแตกต่างจากกรมอื่นมาก
ต้องนับเป็นกรณีพิเศษผิดกับกรมอื่นๆ จะเอามารวมพิจารณาร่วมกับกรมอื่นจะไขว้เขวได้
(แต่บรรดาศักดิ์ยังคงอยู่ เพียงแต่ไม่ได้ทำราชการตามตำแหน่งเท่านั้น
และจะแต่งตั้งใครมาซ้ำราชทินนามเดียวกันไม่ได้ จนกว่าคนเก่าจะวายชนม์
(แต่ก็มีเหมือนที่แต่งตั้งคนอื่นมีราชทินนามซ้ำกัน แต่มีชั้นบรรดาศักดิ์กัน
คนเก่าอาจจะเป็นพระ... พอตั้งใหม่ คนใหม่จะมีบรรดาศักดิ์น้อยว่า คือเป็นขุนหรือหลวง...)
เฉพาะในรัตนโกสินทร์ รึเปล่าครับ เพราะเห็นในสมัยอยุธยา มี หมื่นราชเสน่หา(ในราชการ) กับ หมื่นราชเสน่หานอกราชการ
เท่าที่มีหลักฐานสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ เท่าที่เคยพบหลักฐานเอกสาร
บางทีท่านก็ตั้งข้าราชการซ้ำตำแหน่งเหมือนกัน บรรดาศักดิ์ชั้นเดียวกัน
เพื่อกันความสับสน ท่านจึงใส่คำว่า นอกราชการบ้าง คนเก่าบ้าง ต่อท้ายราชทินนาม
ยิ่งตำแหน่งข้าราชการหัวเมือง มีตำแหน่งเหมือนกันทุกหัวเมือง
อ่านเอกสารบางทีก็งงว่า เอ ขุนนี้ทำไมเที่ยวไปอยู่ทุกเมืองเลย
ที่ไหนได้ เป็นตำแหน่งข้าราชการที่มีทุกหัวเมือง คนไม่รู้ก็เข้าใจว่าเป็นคนคนเดียวกัน
สุนทรภู่คงจะได้ถวายตัวทำราชการกับรัชกาลที่ ๒ มาตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ ๑
เมื่อรัชกาลที่ ๒ ยังทรงพระอิสริยยศเป็นวังหน้า (ประทับที่พระราชวังเดิม)
จะด้วยว่า สุนทรภู่มีฝีมือด้านกาพย์กลอนเป็นที่พอพระราชหฤทัย
จึงได้มาอยู่ในสโมสรกวีของรัชกาลที่ ๒ และได้ตามรับใช้ใกล้ชิด
เมื่อรัชกาลที่ ๒ เสวยราชย์แล้ว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้มีบรรดาศักดิ์
(ก่อนหน้านั้นอาจจะเป็นมหาดเล็กกระมัง)
ต้องขอออกตัวว่า ผมไม่ทราบประวัติโดยละเอียดของสุนทรภู่
ด้วยเหตุนี้ จึงยังเห็นว่า สุนทรภู่ เป็นหลวงสุนทรโวหาร ตามทำเนียบขุนนางวังหน้า
แต่จะโปรดเกล้า ฯ ให้มารับราชการในวังหลวงตั้งแต่แรก
หรือสมเด็จกรมพระราชวังบวร สวรรคตก่อน ถึงเข้ามาสมทบในวังหลวง
อันนี้ผมไม่ทราบจริง ๆ

ก็มีทางคิดได้ ๒ อย่าง คือสุนทรภู่ เป็นหลวงสุนทรโวหารมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ ทรงเป็นวังหน้า
หรือโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้สุนทรภู่เป็นหลวงสุนทรโวหารในรัชกาลที่ ๒ เสวยราชย์แล้ว
โดยไมมีการตั้งตำแหน่งนี้ในวังหน้าสมัยรัชกาลที่ ๒
แต่ที่ว่า อาจจะมีการโยกสุนทรภู่จากวังหน้ารัชกาลที่ ๒ มาสบทบวังหลวง
หลังสมเด็จกรมพระราชวังบวรรัชกาลที่ ๒ เสด็จทิวงคต ผมไม่คิดว่าเป็นเช่นนั้น
เพราะไม่มีรายละเอียดที่ใช้อ้างอิงสนับสนุนความคิดเช่นนั้นได้