เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 10750 ขอความอนุเคราะห์สืบประวัติบุคคลครับ..จาก... "เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 05 ก.พ. 11, 19:01

ในประกาศเดียวกันกับค.ห. 7   มีอีกตอนหนึ่ง ที่เอ่ยถึงหน้าที่การงานของพระยาพิไชยบุรินทราไว้   

ขออธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อสมเด็จพระจอมเกล้าฯจะเสด็จประพาสออกนอกเขตพระนคร ไปนานเกือบหนึ่งเดือน ถือเป็นเรื่องใหญ่    พระองค์ท่านก็ทรงสั่งงาน มอบหมายแจกจ่ายหน้าที่การงาน กำชับกำชาขุนนายใหญ่ๆเอาไว้ว่าระหว่างนี้ ถ้าเกิดเหตุอะไรขึ้นมาจะต้องทำอะไรบ้าง     เปรียบง่ายๆเหมือนเจ้าของบ้านไม่อยู่  นอกจากมอบหมายให้น้องชายดูแลบ้านแทน  ก็ต้องบอกบริวารในบ้านด้วยว่า ถ้ามีเรื่องนั้นเรื่องนี้เกิดขึ้นจะต้องประสานงานกันอย่างไรแบบไหน
ตอนหนึ่งบอกว่า
" การในกรมพระนครบาลนั้น  ให้เจ้าพระยายมราช   พระยาพิไชยบุรินทราแลพระยาเพ็ชรปาณี  พระยาเพ็ชร์ชฎา   ช่วยกันชำระผู้ร้ายรายเมืองสระบุรีแลรายอื่นๆ  ให้ได้ตัวสำคัญเสียให้ได้     แล้วกราบทูลพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว   แลกราบทูลเจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ แลปฤกษาท่านเสนาบดีให้เห็นพร้อมกัน   ควรจะทำโทษอย่างไร   ทำที่ไหนจะควรจะไม่เปนเยี่ยงเปนอย่างต่อไป  ก็จงทำโทษเถิดอย่าเก็บไว้คอยเลย   ผู้ร้ายรายอื่นมันจะกำเริบขึ้น    การรักษาระวังพระนคร ก็จงจัดแจงให้กวดขันตามเคยอย่างเมื่อเราพระเจ้ากรุงสยามไม่อยู่แต่ก่อนๆนั้น    ถ้าการผู้ร้ายลักฉกฤๅตีรันฟันแทงคนนอกประเทศที่มาอยู่   ก็จงเร่งชำระให้ได้ตัวได้ความแล้วให้กรมท่านำไปพร้อมกับกงสุลให้เขารู้ด้วย   แล้วปฤกษากันทำโทษฤๅปรับไหมให้เขาโดยสมควรแก่กฎหมายแลแบบอย่างนั้นเถิด"

จากประกาศพระบรมราชโองการ  ก็พอมองเห็นว่าขอบเขตงานของพระยาพิไชยบุรินทรา คือมีอำนาจหน้าที่ในกรมพระนครบาล  เป็นอันดับสองรองจากเจ้าพระยายมราช  ดูจากการลำดับชื่อข้างบนนี้
หน้าที่คือ
๑  ปราบปรามคนร้ายทั้งในและนอกพระนคร  ในหัวเมืองอื่นๆด้วย
๒  ดูแลความสงบเรียบร้อยในพระนคร
๓  ดูแลความปลอดภัยของชาวต่างประเทศในสยาม    ทั้งฝรั่ง จีน แขก และชาติอื่นๆ
๔  ประสานงานกับกรมท่าเพื่อแจ้งกงสุลให้รู้ในกรณีมีผู้ร้ายทำอันตรายชาวต่างประเทศ
๕  ทำหน้าที่ตุลาการตัดสินลงโทษและปรับค่าเสียหายด้วย  คือเป็นทั้งศาลอาญาและศาลแพ่งด้วยในตัว
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 07 ก.พ. 11, 23:37

คุณรามจิตติญาณคร้บ สาแทรกสกุลที่โพสต์ลงนั้นผมขอแก้ไขสักแห่งเถิด

ลำดับชั้นลูก คนที่ 2. อำมาตย์ตรี หลวงบรรพตภูมาธิการ (อำพร ปัทมาคม) ไม่ใช่อำมาตย์เอกครับ

ส่วนที่ถามว่า ผู้ที่ได้รับพระราชทาน นามสกุล ในรัชสมัย ร.6 คือ นายร้อยเอก หลวงประมาณพลนิกาย (ทองคำ ปัทมาคม) หรือไม่

ใช่ครับ แต่ยศนายร้อยเอกนั้น เป็นยศสุดท้ายในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นะครับ
หลังเปลี่ยนแปลงแล้วคุณหลวงจะได้รับพระราชทานยศสูงขึ้นหรือไม่ผมยังไม่ได้ตรวจสอบ

ได้รับพระราชทานยศเป็น          นายร้อยโท               เมื่อ พ.ศ. 2458
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น  ขุนประมาณพลนิกาย     เมื่อ พ.ศ. 2469
ได้รับพระราชทานยศเป็น          นายร้อยเอก              เมื่อ พ.ศ. 2472
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น  หลวงประมาณพลนิกาย   เมื่อ พ.ศ. 2473

ส่วนคุณหลวงประมาณพลนิกาย กับคุณหลวงบรรพตภูมาธิการ จะรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ใดในช่วงเวลา 2474 แล้ว
คงต้องวานคุณวันดีช่วยเหลือด้วย
บันทึกการเข้า
รามจิตติญาณ
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 02:26

เรียนคุณ art47

ขอกราบขอบพระคุณในความอนุเคราะห์ที่ได้เมตตา ค้นคว้าข้อมูลที่คาดว่าจะสาบสูญไป ให้กลับมาดังเดิม
คาดว่าใกล้ความเป็นจริงแล้วขอรับ กระผมก็ได้สัมภาษณ์คุณย่าเพิ่มมาแล้ว
ข้อมูลกระผมก็จะเร่งพิมพ์แล้วนำมาลงให้เป็นข้อมูลเพิ่มเติม ในการพิจารณาต่อไปขอรับ

ปล. ได้แจ้งให้ผู้ใหญ่ในฝั่งสายตระกูลผมทราบแล้วว่า อำมาตย์เอก หลวงบรรพตภูมาธิการ (อำพร ปัทมาคม) แท้จริงแล้วเป็น อำมาตย์ตรี หลวงบรรพตภูมาธิการ (อำพร ปัทมาคม) นอกเสียจากว่า ลูกหลาน ทางฝั่งคุณหลวงทวดอำพร จะมีข้อมูลที่ยืนยันได้จริงว่า ท่านได้รับพระราชทานยศเป็น อำมาตย์เอก เมื่อ วัน เดือน ปี ใด อย่างไรครับ ส่วนตัวกระผมก็ได้ทำการแก้ลงในสาแหรกแล้วเพื่อป้องกัน การหลงลืม ขอขอบพระคุณทุก ๆ ท่านอีกครั้งขอรับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 06:54


ประมาณพลนิกาย  หลวง  (คำ  ปัทมาคม)  นายร้อยเอก   สัสดีจังหวัดอุบลราชธานี

(อ้างอิง  หนังสือ  พิพิธภัณฑ์สัพพะสยามกิจ  ศักราช ๒๔๗๔   หน้า ๑๐๔๓)



บรรบตภูมาธิการ    หลวง   (อำพร   ปัทมาคม)  อำมาตย์ตรี   ปลัดจังหวัดพิษณุโลก
(อ้างอิงเดิม  หน้า ๙๘๘)




โล่งใจที่สมาชิกพรรค  สามารถแกะรอยกันคนละก้าวสองก้าว

คุณรามจิตติญาณ  โปรดเข้าใจสักนิดนะคะ    ว่าเราอาจจะต้องใช้เวลานานมากทีเดียว  แต่จะไม่มีใครลืมเป็นอันขาด




มีเพื่อนอยู่สองคน  คนหนึ่งเก็บข้อมูลตระกูลและประวัติขุนนางภาคกลาง     อีกคนหนึ่งเก็บข้อมูลภาคตะวันออก

แน่ใจว่าเขาทั้งสองและทีมงานอ่านกระทู้นี้อยู่เหมือนกัน   ถ้ามีข้อมูลใดๆ   เขาก็คงส่งมาให้อยู่แล้วโดยไม่ต้องออกปาก

เพราะทีมงานยังติดต่อดิฉันอยู่ทุกวัน  แลกเปลี่ยนข้อมูล

ดิฉันห่างไกลเพื่อนสองคน และ คุณหลวงเล็ก มากนัก          เพียงมีเอกสารสำคัญอยู่บ้างเท่านั้น

การเก็บข้อมูลของเพื่อนเป็นระบบ  ทั้งกว้างและลึก  และใช้เวลานับสิบปี

ภูมิใจในคุณอาร์ต47  เป็นกำลัง   คงมีโอกาสได้แนะนำให้รู้จักกับทีมงานค้นเอกสาร ในงานหนังสือเร็ว ๆ นี้

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 07:38

บรรดาศักดิ์ หลวง ในสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นเป็นได้เพียง อำมาตย์ตรี ซึ่งเทียบเท่า นายพันตรี เท่านั้นครับ  แธนั้นข้อมูลที่ว่า หลวงบรรพตภูมาธิการ (อำพร ปัทมาคม) มียศเป็นอำมาตย์เอกนั้น  น่าจะเป็นการเข้าใจผิด  เพราะยศหลวงนั้นอาจเป็นรองอำมาตย์เอก หรือ อำมาตย์ตรีเท่านั้น  ถ้าจะเป็นอำมาตย์เอกต้องมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา  หรือเป็นพระเป็นอย่างน้อย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 09:11

จากกระทู้ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4184.180 "เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"

"ลำดับ ๑๙๔๘   ปัทมาคม   พระราชทานให้ นายร้อยตรีคำ สัสดีเมืองบุรีรัมย์ ปู่ชื่อ พระยาพิไชยบุรินทรา (ทิม) บิดาชื่อหลวงอนุรัฐนฤผดุง (แถม)"


ออกตัวก่อนนะคะ  ว่า  ค.ห.นี้ไม่เกี่ยวกับผู้สืบสกุลปัทมาคม  แต่เป็นการตั้งข้อสังเกตเรื่องที่มาของชื่อนามสกุล

ทีแรก เมื่อเห็นนามสกุลพระราชทานว่า "ปัทมาคม" ก็เดาไว้ล่วงหน้าว่า บรรพบุรุษน่าจะชื่อ "บัว" หรืออะไรที่แปลว่าดอกบัว   เพราะปัทมาคม แปลว่า "มาจากบัว"
นามสกุลพระราชทาน มักจะตั้งขึ้นจากชื่อหรือราชทินนามของบรรพบุรุษ    ตามที่ผู้ขอนำประวัติของสกุลตนขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ประกอบการขอพระราชทานนามสกุล     ถ้าหากว่าเป็นราชสกุล ก็พระราชทานจากพระนามของเจ้าฟ้าหรือพระองค์เจ้าที่เป็นต้นราชสกุล   ถ้าเป็นสามัญชนก็จากชื่อปู่ชื่อทวด
ทำไมปัทมาคม ไม่มีชื่อบัว  มีแต่ชื่อเจ้าคุณพิไชยฯ(ทิม)  และคุณหลวงอนุรัฐฯ (แถม)  ดิฉันสงสัยอยู่หลายวันถึงที่มา
ในที่สุดนึกขึ้นได้จากชื่อ "ทิม" ว่าคงโยงเข้ากับคำว่า "ทับทิม"   ซึ่งโบราณเรียกทับทิมว่า  ปัทมราค  หรือ ปัทมราช  
จึงกลายเป็น "ปัทมาคม" = มาจากทับทิม น่ะเอง 
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 11:34

หลวงอนุรัฐนฤผดุง (แถม  ปัทมาคม)

ผมไม่แน่ใจว่า  ที่ผมเจอข้อมูลนี้เป็นคนเดียวกันไหม

ประกาศกระทรวงมหาดไทย  เรื่องย้าย ปลด บรรจุข้าราชการ
และข้าราชการเวนคืนตำแหน่ง

ให้ปลดอำมาตย์ตรี พระอนุรัฐนฤผดุง  นายอำเภอสามพราน
จังหวัดนครปฐม  ออกรับพระราชทานบำนาญ  เนื่องจากยุบเลิก
ตำแหน่งต่างๆ

ย้ายรองอำมาตย์โท  หลวงประสานประศาสน์  นายอำเภอจระเข้สามพัน
จังหวัดสุพรรณบุรี  เป็นนายอำเภอสามพราน  จังหวัดนครปฐม

๓๐ เมษายน  ๒๔๗๕  จาก ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๙

ใครมีคู่มือฝากค้นชื่อตัวให้ทีนะ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 13:24


ข้อมูล ๒๔๗๔ ถึง ต้นปี ๒๔๗๕


ชื่อตัวของ อำมาตย์ตรี พระ อนุรัฐนฤผดุง   นายอำเถอสามพราน  จังหวัดนครปฐม

คือ  ล้อม  นมะหุต    ค่ะ
บันทึกการเข้า
รามจิตติญาณ
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 21:07

กราบเรียน   ท่านอาจารย์ผู้เชียวชาญทุกท่านและทีมงานผู้รวมรวมข้อมูล

กระผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการขอบพระคุณทุกท่าน ในแต่ละข้อมูลเช่นเคย
คุณเทาชมพู คุณluanglek คุณWandee  คุณart47 คุณV_Mee

...ทำไมในข้อมูลเป็น "ล้อม นมะหุต" นะขอรับ ท่านเปลี่ยนชื่อเป็น "ทองแถม (แถม)" หรืออย่างไรในภายหลัง
คุณย่าท่านก็ยืนยันเลยนะครับ เสียงแข็งมาก แบบกระผมตกใจมาก ไปถามธรรมดาๆหน่ะขอรับ
ท่านว่าคุณปู่ท่านชื่อ "หลวงอนุรัฐนฤผดุง (แถม ปัทมาคม)"
คืออารมณ์ประมาณว่า บอกชื่อปู่ท่านผิด แบบตามธรรมชาติของเราหน่ะขอรับ
ก็เลยกลายเป็นข้อสงสัยว่า หาก...นายล้อม นมะหุต เป็น คุณปู่ของคุณย่าของผมจริงหรือ ?
แล้ว "แถม ปัทมาคม" ชื่อนี้มายังไงหรือนั่น ? เป็นที่งงงวยในตอนนี้จริงๆ

**********************************************************

และแล้วกระผมก็ได้ค้นเจอ นามสกุลพระราชทาน "นมะหุต" และ "ปัทมาคม" ไม่ใกล้เคียงกันเลยขอครับ ขุนประกอบธนกิจ (ล้อม) อยู่จังหวัดเชียงใหม่ ปู่ยังชื่อหนำ อีกด้วย ส่วนลูกของหลวงอนุรัฐนฤผดุง (แถม) ชื่อนายร้อยตรีคำ เป็นสัสดีเมืองบุรีรัมย์ ปู่ชื่อ พระยาพิไชยบุรินทรา (ทิม) ซึ่งนายร้อยตรีคำนี้ ต่อมายศสุดท้ายคือ หลวงประมาณพลนิกาย  ขอรับ ทั้งนี้ ที่กระผมนำมาอ้างอิง ควรจะเป็นปีเดียวกันที่มีราชกิจจานุเบกษานะขอรับ กระผมจึงคิดทึกทักเอาเองซึ่งคำนวณจากระยะเวลาปี ว่าไม่น่าจะใช่ "ล้อม นมหุต" ที่เป็น คุณปู่ของคุณย่าผม คงจะเป็น ชื่อตำแหน่งที่รับราชการ "อนุรัฐนฤผดุง" หรือไม่ขอรับ กระผมก็ยังเยาว์อยู่ไม่สามารถเข้าใจเรื่องพวกนี้ได้ดีนัก ขอกราบอภัยด้วยขอรับ หากผิดถูกอย่างไร ได้โปรดเมตตาชี้แนะด้วยขอรับ

อ้างอิง สมุดภูมิพิสัยพิสุทธิวรพงศ์ น
นามสกุลเลขที่ ๓๗๐๕  นามสกุล  นมะหุต  นามสกุลอักษรโรมัน Namahutta พระราชทาน ขุนประกอบธนกิจ (ล้อม) เจ้าพนักงานสุรายาฝิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ปู่ชื่อหนำ จากราชกิจจานุเบกษา ๑๙/๑/๑๖

อ้างอิง สมุดภูมิพิสัยพิสุทธิวรพงศ์ ป..๒
นามสกุลเลขที่ ๑๙๔๘  นามสกุล  ปัทมาคม  นามสกุลอักษรโรมัน Padma^gama พระราชทาน นายร้อยตรีคำ สัสดีเมืองบุรีรัมย์ ปู่ชื่อพระยาพิไชยบุรินทรา (ทิม) บิดาชื่อหลวงอนุรัฐนฤผดุง (แถม) จากราชกิจจานุเบกษา ๑๐/๓/๑๔


**********************************************************

ขออนุญาตไปเรียบเรียงข้อมูลที่สัมภาษณ์คุณย่า ท่านต่อก่อนขอครับ ใกล้จะได้ข้อมูลเยอะขึ้นครับ ท่านก็นึกออกทีละอย่างๆ ข้อมูลกำลังเข้มข้นมากครับ แต่ละท่านก็ช่วยกระผมค้นหาข้อมูลและได้ข้อมูลมาประติดประต่อทีละอย่าง ทีละอย่าง ซึ่งครานี้ คุณย่า และกระผมขอถึงโอกาสอนุโมทนาในกุศลบุญราศรีทักษิณานุปทานกิจ สำหรับข้อมูลสำคัญๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับบรรพบุรุษของกระผม ผู้ซึ่งได้จากโลกนี้กันไปแล้วด้วยขอรับ ขอกราบขอบพระคุณ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 21:25

หลวงอนุรัฐนฤผดุง (แถม ปัทมาคม) คงเป็นคนที่ได้ดำรงราชทินนามนี้ก่อน พระอนุรัฐนฤผดุง (ล้อม นมะหุต)
และการที่พระอนุรัฐนฤผดุง (ล้อม นะมหุต) จะได้ดำรงราชทินนามนี้ ก็ต้องรอให้ หลวงอนุรัฐนฤผดุง (แถม ปัทมาคม)
เสียชีวิต หรือเลื่อนไปรับราชทินนามอื่นเสียก่อน
ซึ่งข้อมูลการรับพระราชทานราชทินนาม "อนุรัฐนฤผดุง" ของคุณพระ (ล้อม นมะหุต) นี้ ยังหาไม่ได้ว่าเมื่อไร

และอีกประการหนึ่งเราไม่รู้ว่าขณะที่ได้รับพระราชทานนามสกุล "ปัทมาคม" นั้น
หลวงอนุรัฐนฤผดุง (แถม) เสียชีวิตหรือยัง
เพราะถ้ารู้ข้อมูลตรงนี้จะกำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบได้ดีขึ้นอีก ว่าคุณหลวง (แถม) น่าจะเกิดในสมัยใด
และบิดา คือ พระยาพิไชยบุรินทรา (ทิม) น่าจะรับราชการในช่วงใด

(ตรวจสอบการเสียชีวิตได้ใน "ข่าวตาย" ของราชกิจจานุเบกษา)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 09 ก.พ. 11, 09:14

กราบเรียน   ท่านอาจารย์ผู้เชียวชาญทุกท่านและทีมงานผู้รวมรวมข้อมูล

กระผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการขอบพระคุณทุกท่าน ในแต่ละข้อมูลเช่นเคย
คุณเทาชมพู คุณluanglek คุณWandee  คุณart47 คุณV_Mee

...ทำไมในข้อมูลเป็น "ล้อม นมะหุต" นะขอรับ ท่านเปลี่ยนชื่อเป็น "ทองแถม (แถม)" หรืออย่างไรในภายหลัง
คุณย่าท่านก็ยืนยันเลยนะครับ เสียงแข็งมาก แบบกระผมตกใจมาก ไปถามธรรมดาๆหน่ะขอรับ
ท่านว่าคุณปู่ท่านชื่อ "หลวงอนุรัฐนฤผดุง (แถม ปัทมาคม)"
คืออารมณ์ประมาณว่า บอกชื่อปู่ท่านผิด แบบตามธรรมชาติของเราหน่ะขอรับ
ก็เลยกลายเป็นข้อสงสัยว่า หาก...นายล้อม นมะหุต เป็น คุณปู่ของคุณย่าของผมจริงหรือ ?
แล้ว "แถม ปัทมาคม" ชื่อนี้มายังไงหรือนั่น ? เป็นที่งงงวยในตอนนี้จริงๆ



ขออนุญาตไปเรียบเรียงข้อมูลที่สัมภาษณ์คุณย่า ท่านต่อก่อนขอครับ
ใกล้จะได้ข้อมูลเยอะขึ้นครับ ท่านก็นึกออกทีละอย่างๆ ข้อมูลกำลังเข้มข้นมากครับ
แต่ละท่านก็ช่วยกระผมค้นหาข้อมูลและได้ข้อมูลมาประติดประต่อทีละอย่าง ทีละอย่าง
ซึ่งครานี้ คุณย่า และกระผมขอถึงโอกาสอนุโมทนาในกุศลบุญราศรีทักษิณานุปทานกิจ
สำหรับข้อมูลสำคัญๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับบรรพบุรุษของกระผม ผู้ซึ่งได้จากโลกนี้กันไปแล้วด้วยขอรับ ขอกราบขอบพระคุณ

การค้นหาข้อมูลข้าราชการเก่า ซึ่งลำพังรู้จักแต่ชื่อ
เป็นการยากอย่างยิ่ง  เพราะต้องเดินเข้ากองเอกสารแล้วเปิดดูทีละหน้า
จะเจอที่ต้องการเมื่อไรไม่รู้   เพราะเบาะแสที่ให้มายังน้อย
หากว่าท่านผู้ถาม พอจะมีเอกสารอื่นใดเกี่ยวกับคนที่ในสกุลปัทมาคมอยู่บ้าง
แลเห็นว่าเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่คนที่เพียรค้นข้อมูล ก็เชิญเขียนมาเถิด

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 09 ก.พ. 11, 10:01


ข้อมูล ๒๔๗๔ ถึง ต้นปี ๒๔๗๕


ชื่อตัวของ อำมาตย์ตรี พระ อนุรัฐนฤผดุง   นายอำเถอสามพราน  จังหวัดนครปฐม

คือ  ล้อม  นมะหุต    ค่ะ

อย่างน้อยเราก็รู้แล้วว่า ราชทินนาม"อนุรัฐนฤผดุง" เป็นของข้าราชการระดับนายอำเภอ    แปลว่าเป็นข้าราชการสังกัดกรมการปกครอง
แต่ทุกคนที่เป็น "อนุรัฐนฤผดุง"  เป็นนายอำเภอประจำที่อ.สามพราน จ.นครปฐม หรือเปล่าไม่แน่ใจ

ไปค้นประวัติกรมการปกครองมา ว่าก่อนหน้าจะมีชื่อ "กรมการปกครอง"  สมัยนั้น ราชการไทยเรียกว่าอะไรมาก่อน  ได้ความว่า
•พ.ศ. 2458กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือกรมปกครองและกรมฝ่ายเหนือ
•พ.ศ. 2459 กรมพลำภังมีส่วนราชการย่อย คือกรมปกครองท้องที่และกรมการเมือง
•พ.ศ. 2460กรมปกครองมีส่วนราชการ2แผนกคือแผนกปกครองท้องที่และแผนกการเมือง
•พ.ศ. 2466กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือกรมปกครอง และกรมการเมือง
•พ.ศ. 2467กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือ การภายในกรมภายนอก และกรมทะเบียน
•พ.ศ. 2469กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือ กรมปกครอง กรมทะเบียนและกรมราชทัณฑ์

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตยแล้วในปี พ.ศ. 2476กรมพลำภังได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมมหาดไทยต่อมาในปี พ.ศ. 2505 จึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ "กรมการปกครอง" จนถึงปัจจุบัน

--------------------------------------------------------------------------------
ดังนั้น ถ้าสืบได้ว่าหลวงอนุรัฐฯ พ่อของคุณทวดวีระ  รับราชการก่อนปี 2475  ท่านก็เป็นนายอำเภอ สังกัดกรมพลำภัง    แต่อยู่ส่วนราชการย่อยอะไรต้องดูอีกทีว่านายอำเภอต่างจังหวัดภาคกลาง อยู่ในกรมปกครองท้องที่ หรือกรมปกครอง

สิ่งที่ดิฉันอยากให้คุณรามจิตติญาณบอกมาก็คือคุณทวดวีระเกิดเมื่อพ.ศ. อะไร   เผื่อจะเป็นร่องรอยสืบต่อได้ว่าบิดาและปู่ท่านน่าจะรับราชการในรัชกาลไหน
ฝากเรียนถามคุณย่าว่า คุณทวดวีระเกิดที่นครปฐมหรือไม่ หรือว่าตอนเล็กๆใช้ชีวิตกับบิดามารดาที่จังหวัดไหน  จะได้พอแกะรอยได้ว่าคุณหลวงอนุรัฐฯ (แถม) รับราชการอยู่ที่ไหนกันแน่

ป.ล.  ขอถามนอกเรื่องอีกหน่อยว่าทำไมใช้นามแฝงว่า รามจิตติญาณ    ทราบหรือไม่ว่า รามจิตติ เป็นพระนามแฝงในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 24 ก.พ. 11, 17:20

๒.  คุณหญิงนก ภรรยาของ พระยาพิไชยบุรินทรา ที่บรรพบุรุษได้เล่าสืบมาว่าเป็นพระพี่เลี้ยงในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัว เป็นจริงอย่างไรครับ

 ทราบแค่ว่าท่านชื่อคุณหญิงนก ไม่ได้ระบุนามสกุลเพราะแต่เดิมคงไม่มีอยู่แล้ว เป็นธิดาของใคร มีเหล่าเชื้ออย่างไรถึงได้ไปเป็นพระพี่เลี้ยงฯ

 ได้เพราะในประวัติศาสตร์น้อยนักที่จะระบุไว้ ถึงระบุกระผมก็จนด้วยเกล้าที่จะหาข้อมูลลึกลับอย่างนั้นมา พอมีคำแนะนำที่จะไปสืบหาที่ไหนได้บ้างครับ



       ค้นเอกสารที่บันทึกไว้    ไม่ตรงกับคำถามค่ะ    มีแต่พระนมนางในพระบาทสมด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระบวรราชวังในรัชกาลที่ ๔  กรุงเทพฯ

ชื่อพระนมกลิ่นค่ะ   มีสายสกุลตามสมควร  มีรายชื่อบุตรและธิดา  และคู่สมรส และประวัติความเป็นมา     และบุตรเขยของพระนมกลิ่นคนหนึ่ง    

เป็นหลานปู่ของ เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์​(กุน)  ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของเรา


        ขออภัยที่ไม่สามารถตอบคำถามที่ได้ถามมาได้       ได้ตรวจสอบบันทึกและหนังสือเก่าเท่าที่มีอยู่แล้วค่ะ  ไม่ได้ลืมเรื่องเลย

       โดยทั่วไปนักอ่านก็แลกข้อมูลกันค่ะ

       บุตรและสายสกุลของขุนนางผู้ใหญ่ก็ไม่มีการบันทึก  ถ้าไม่ได้รับราชการค่ะ

บันทึกการเข้า
kissty
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 02 มี.ค. 11, 23:46

http://www.naewna.com/news.asp?ID=218851

อันนี้เป็นต้นตระกูลจิงๆของนมะหุตค่ะ   เเต่ก้อได้มาจากคุณพ่อของเราค่ะ
ซึ่งเคยอยู่ในบ้านหลังนี้มาก่อน ซึ่งชื่อเล่นคือ ปู่หนำ ค่ะ ไม่มีการเปลี่ยนชื่อเเต่อย่างใด (เท่าที่ทราบมาเบื้องต้น)

พอดีผ่านมาเห็นเลยมาตอบนะคะ

นมะหุต
บันทึกการเข้า
รามจิตติญาณ
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 26 มี.ค. 11, 01:27

ขอกราบขอบพระคุณ ผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน กระผมต้องขออภัยที่กระผมไม่ได้เข้ามาตอบคำถามท่านผู้เชี่ยวชาญเลยเพราะติดภาระกิจ วันนี้พอว่าง กระผมจึงได้รีบเข้ามาแจ้งเพื่อไม่ให้เป็นที่น่าเกลียดเหมือนจะทิ้งกระทู้ไป ตอนนี้ติดภาระกิจ ที่จะต้องทำให้เสร็จก่อน เดือนพฤษภาคมขอรับ ไว้หลังเดือน พฤษภาคม กระผมจะกลับมาใหม่ ข้อมูลที่ท่านผู้เชี่ยวชาญทุกท่านได้ให้ไว้นั้น กระผมได้ข้อมูลมามากมาย และจากการศึกษาส่วนตัวของกระผมเอง ก็เรียบเรียงไปเรื่อยๆ ประวัติบุคคลก็พอทราบเกือบหมดแล้วขอรับ ต้องขอขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน มา ณ ที่นี้

งานยังไม่เสร็จ ยังคงมีเรื่องให้สอบถาม อีกซักหน่อย ไว้มีโอกาสกระผมจะรีบเข้ามาขอรับ

ขอกราบขอบพระคุณ
รามจิตติญาณ
 ๒๖  มีนาคม  ๒๕๕๔  เวลา ๑.๒๕ นาฬิกา
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.086 วินาที กับ 20 คำสั่ง