เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 22
  พิมพ์  
อ่าน: 96082 ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 16:39

ฮ้า!!    
อุ๊บ  อุดปากไว้    

เมื่อไรจะได้ทีละ  ๒๐  ๔๐ บ้างหนอ

ถ้าใต้เท้ากรุณาหลุด...ไปสอนหนังสือเข้า  มิยุ่งกันใหญ่หรือนี่  

รับก็ได้   เราไม่หยิ่งเท่าไร         เอาไว้ทดแทนเวลาพิมพ์ผิด
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 16:57


ดอนไซมีส        ท่านก็ได้ยินแล้วนี่นา       ให้เฉพาะครั้งนี้

ท่านจะพูดเรื่องหนังสือเก่าไปไย         จขกทนั้นนั่งอยู่บนกองหนังสือเก่า  เอนอิงพิงกับกองหนังสือโบราณ

วัน ๆ ก็คอยให้คำแนะนำผู้คนเรื่องร้อยปี สองร้อยปีที่ผ่านมา

ข้าพเจ้าว่าวันจันทร์ท่านมาร้องทุกข์ไหม   

แล้วจะพาท่านไปดูหนังสือใหม่ ๆ ที่กรมศิลป เช่น หนังพระนครไหวเป็นต้น  หน้าละสามบาทเอง

งามอย่างช้อยชด   สีปกยังสวยเลยจะบอกให้   
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 17:00

นี่  นินทากันในระยะเผาขนตาเลยนะ

คำถามน่ะตอบได้หรือเปล่า  ไม่ยากหรอก ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 19:59

คำถามข้อที่  ๖๖.

ลักษณะอันพึงเว้น ๖ ประการ ของแม่นมที่ดี มีอะไรบ้าง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
และเกี่ยวข้องกับรามเกียรติ์ตอนใด

ข้อนี้ ๑๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตอบได้ตั้งแต่บัดเดี๋ยวนี้จนถึง  ๒๐.๐๐  น.ของวันนี้
เกินเวลาที่กำหนด  หักคะแนนครึ่งชั่วโมงละ  ๒  คะแนน

ตามหลักปฎิบัติเบื้องต้นของคนไทยที่จะเลือกแม่นมนั้น    ใช้ตาม คัมภีร์ปฐมจินดา  ของพระฤาษี ฤทธิยาธร  เล่ากันว่าเป็นอาจารย์ของ ชีวกโกมารภัจจ์  ซึ่งคงจะไม่ผิด  แต่ไม่ถูกเต็มที่  เพราะชีวกโกมารภัจจ์สามารถแก้ไข
สตรีผู้มีน้ำนมเป็นโทษได้  ด้วยการรักษาสุขภาพภายใน และอาหาร  และใช้สมุนไพรสามัญบางชนิด

หลักทั่วไปของคือ

น้ำนมต้องโทษ
๑.  หญิงที่กลิ่นตัวคาวดังน้ำล้างมือ  ลูกตาแดง  เนื้อขาวเหลือง  นมยาน  หัวนมเล็ก  พูดเสียงแหบเครือดังการ้อง
      ฝ่ามือและเท้ายาว  จมูกยาว  หนังริมตาหย่อน  สะดือลึก  ไม่พีไม่ผอม  สันทัดคน   กินของมาก
      อธิบายได้ว่าเป็นสุขภาพของตัวบุคคล  จะว่าเป็นยักขินี  มีกามแรง   อย่าเลือก

๒.  หญิงที่มีกลิ่นตัวดังบุรุษ  ตาแดง  ผิวขาว  นมดังคอน้ำเต้า  ริมฝีปากคม  เสียงแข็ง  เสียงดังแพะ   ฝ่าเท้าใหญ่ข้างหนึ่ง    
      เล็กข้างหนึ่ง   เจรจาปากไม่มิดกัน  เดินไปมามักสะดุด   เรียกว่าหญิงหัสดี  กามแรง   น้ำนมจะเป็นพิษ   อย่าเลือก


น้ำนมที่ดี มี ๔ จำพวก  เช่นมีกลิ่นตัวหอม  แก้มใส  เต้านมเหมือนบัวแรกแย้ม  ผิวเนื้อแดง   เต้านมเหมือนบัวบาน  หัวนมงอน  น้ำนมมีรสหวานมัน       หญิงที่มีกลิ่นตัวหอมเผ็ด(อย่าลืมว่าตำราอินเดีย)  นมพวง  น้ำนมขาวดังสังข์  รสนมมันเข้ม (กล่าวโดยย่อ)

ตำราของไทยนั้น  สำหรับแม่นมในวังและในบ้านเสนาบดี   จะเลือกจากผู้ที่รู้จักหัวนอนปลายเท้า  ว่าไม่มีโรคอันพึงรังเกียจในสกุล
เช่นโรคเรื้อน  คุดทะราด  โรคผิวหนังบางชนิดที่ยังไม่แสดงอาการ       มีลูกอ่อนที่กำลังจะโต  จึงจะไม่แย่งดื่มน้ำนมกัน
รสของน้ำนมต้องมีการชิมว่ามีหวานมัน   หลายรายก็เลือกจากญาติห่างๆ


ในรามเกียรติ์  นางนมต้องเว้นจากโทษ ๖ ประการคือไม่สูงหรือต่ำเกินไป   ไม่พีหรือผอม  ไม่ดำหรือขาว  เพราะจะกระทบท่าอุ้ม
พระกุมารหลายประการ  ทำให้พระกุมารทีลักษณะผิดปกติไป   เช่นพระอังสาเอียง   พระกรรณแนบพระเศียร   มีพระอารมณ์หงุดหงิดเพราะได้รับน้ำนมช้าไป เร็วไป 

ต้องหน้าตาดี  สะอาด และน้ำนมหวาน   ( มาจาก เกิดโอรสท้าวทศรถ  พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑  เล่ม ๑)



ตำราแพทย์ไทยก็แตกต่างออกไปบ้างในรายละเอียด         ตำราของนักปราชญ์ท่านหนึ่งลงลึกถึงกับแนะนำว่า  ในระหว่างรับจ้างเป็นแม่นม  ไม่ควรอยู่ร่วมกับสามี(เป็นตำราหายากมากในวงการหนังสือเก่า   ราคาก็สูง  แต่ประเด็นนี้ข้าพเจ้ามิได้เชื่อถือ
เพราะทราบอย่างแน่ชัดว่า  บ้านท่านไม่มีแม่นมเพราะฐานะยากจนกรอบเกรียม)

เด็กไทยสมัยก่อนกินนมกันจนโตวิ่งเล่นได้แล้ว

เป็นแม่นมเจ้านายก็ดีไปอย่าง  ถือว่าท่านเลี้ยงชั่วชีวิต

(รามเกียรติ์  รามเกียรติ์   ท่องไว้  อย่าออกนอกเรื่อง  เพราะ จขกท  ไม่ใช่คนใจดีตลอดเวลา  ท่านไม่
กระแหนะกระแหนนก็ถือว่าบุญรักษาแล้วค่ะ )
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 22:32

คำถามข้อที่ ๕๗.
ยกวรรณคดีไทยมา ๒ เรื่อง
ที่ผู้แต่งนำเนื้อเรื่องตอนใดตอนหนึ่ง
หรือเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์

มาแต่งเป็นวรรณคดีที่ไม่ใช่วรรณคดีที่ใช้ในการแสดงมหรสพ
พร้อมอธิบายลักษณะวรรณคดีที่ยกมาด้วย
(ผู้แต่ง สมัยที่แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ เนื้อเรื่อง)

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์ โพสต์ได้ตั้งแต่บ่ายสองโมงยี่สิบสี่นาที
ตอบวรรณคดีซ้ำเรื่องกัน  หักคะแนนคนตอบทีหลัง เรื่องละ  ๒ คะแนน






ตอบ

ไปค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม

๑. รามเกียรติ์สำนวนท้องถิ่นอีสานที่จะนำมาศึกษาครั้งนี้มี 2 สำนวนด้วยกันคือสำนวนพระลักพระลาม และสำนวนพระรามชาดก
พระลักพระลาม
หนังสือเรื่องพระลักพระลามนี้มี 2 สำนวน สำนวนหนึ่งเป็นหนังสือผูกจารลงในใบลานด้วยตัวอักษรไทยน้อยในลักษณะร้อยกรองโดยคำโคลงเป็นฉบับย่อ สำนวนที่สองเป็นหนังสือมัดมี 2 มัด มัดต้นมี 21 ผูก มัดปลายมี 7 ผูก จารลงในใบลานด้วยตัวอักษรธรรมในลักษณะร้อยแก้วซึ่งคล้ายกับอักษรไทยใหญ่สมัยโบราณ
พระอริยานุวัตร เขมจารี ได้กล่าวว่าเรื่องพระลักพระลามของอีสานที่ท่านชำระ และมูลนิธิ
เสฐียรโกเศศ – นาคะประทีปจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2518 เป็นเรื่องราวโดยย่อมาก มีความยาวเพียง
133 หน้าพิมพ์ เนื้อเรื่องขาดเหตุการณ์สำคัญไปหลายเหตุการณ์ โดยเฉพาะชื่อตัวละครต่างกันจน
เกือบจะเป็นคนละคนทีเดียว

เรื่องพระลักพระลามเป็นเรื่องที่นิยมแพร่หลายมาก ดังความว่า
เรื่อง “พระลักพระนารายณ์ชาดก” ซึ่งไทยโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึง
นิยมนัก ซากเมืองเก่าโบราณ เช่น ฟ้าแดดสูงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น มีใบเสมาใบ
ใหญ่ ๆ นับเป็นร้อย และแกะรูปภาพสลักลงในใบเสมา เป็นรูปภาพเรื่องพระลัก
พระรามยณ์ปฐมสมโพธิทศชาติ แม้ที่เขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ก็มีรูปพระลัก
พระรามยณ์ แกะรูปหนุมานเป็นร้อย ๆ ดังนี้เห็นว่ารามายณะเป็นของเก่าแก่นิยม ซึ่งคาด
คะเนไม่ได้ว่าศตวรรษที่เท่าใด แม้ภาพหน้าปกก็ใช้ภาพหนุมานไปบอกนางสีดาว่า
พระรามจะเข้าตีเมืองลงกา ตามที่พระรามว่า

ผู้แต่ง
เรื่องพระลักพระลามของอีสานไม่ปรากฏในตอนท้ายเรื่องว่าใครเป็นผู้แต่ง
พระอริยานุวัตร เขมจารีกล่าวไว้ว่า

โครงเรื่องใหญ่เรื่องพระลักพระลาม น่าจะมีที่มาจากรามายณะของวาลมีกิเป็นหลักดัง
พระอริยานุวัตรเขมจารี สันนิษฐานว่า เนื่องจากว่าโครงเรื่องใหญ่ของเรื่องรามายณะ และเรื่อง
พระลักพระลามเหมือนกันคือ เป็นเรื่องของการพลัดพรากของตัวเอกฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย เนื่อง
จากว่าฝ่ายหญิงถูกลักพาตัว ตัวเอกฝ่ายชายได้ออกติดตามและได้ผู้ช่วยเหลือร่วมมือกันทำสงคราม
กับฝ่ายอธรรมเป็นเวลานานจนได้รับชัยชนะ และสามารถช่วยตัวเอกฝ่ายหญิงกลับคืนมาได้

+++++++++++++

รามเกียรติ์ฉบับล้านนาไทย มี ๔ สำนวน จะยกตัวอย่างเรื่อง หอรมาน

ลักษณะคำประพันธ์
แต่งเป็นร้อยแก้ว มีคาถาภาษาบาลีแทรกเป็นระยะ ๆ แต่งตามแบบนิทาน
คล้ายในมหาชาติ ตัวอย่างเช่น
นโม ตสฺสตฺถุ ฯ วนฺทิตฺวา สิรสา นมามิ ติรตฺนตฺยํ พุทฺธํ ธมฺมํ สงฺฆญจ ดังนี้ ดูรา
สับปุริสะทังหลาย อาจารย์เจ้าตนวิสัชชนา แต่งแปลงไว้ยังตำนานคร่าวปฐมกัปป์อันนี้
แล เมื่อปฐมกัปป์ตั้งหัวทีนั้นยังมีพรหมตนหนึ่งชื่อว่า ตปรไมสวร ลงมาเกิดเป็นคนก่อน
มีอายุได้อสงไขยปี ลูกตปรไมสวรมี ๓ ชาย ผู้ ๑ ชื่อว่า ธตรัฎฐ ผู้ ๑ ชื่อว่า วุรุฬหะ ผู้ ๑ มี
ชื่อว่า วิรูปักขะ เกิดมาในปีเดียวกันเท่าว่าต่างยามกันแล

เรื่องย่อ
ในปฐมกัปป์พรหมชื่อตปรไมสวรลงมาเกิดเป็นมนุษย์ มีลูกชายต่างมารดากัน
3 คน คือ ธตรัฏฐะ วิรุฬหะ และ วิรูปักขะ เมื่ออายุได้ 16 ปี ตปรไมสวรได้ส่งไปครองเมืองคนละ
เมืองเพื่อป้องกันการแย่งราชสมบัติ
ธตรัฏฐะได้ครองเมืองพาราณสี มีลูก 3 คน คือ ภารี สุครีพ และนางกาสีราชธิดา
พระยาวิรุฬหะมีลูกชาย 3 คน คือ พระยาราพณาสวร พิเภก และอินทรชิต พระยา วิรูปักขะมีลูก
ชาย 2 คน คือ พระยา รามราช และพระลักขณะ
วันหนึ่งพระยาราพณาสวรได้เนรมิตเป็นพระอินทร์ไปสมสู่กับนางสุชาดา ภาย
หลังนางสุชาดาทราบว่าเสียรู้พระยาราพณาสวร จึงได้ขอพรจากพระอินทร์จุติมาเกิดเป็นมนุษย์
เพื่อจะแก้แค้นพระยาราพณาสวร นางสุชาดาไปเกิดเป็นธิดาของพระยาราพณาสวร ปุโรหิต
ทำนายว่านางจะนำความพินาศมาให้บิดา พระยาราพณาสวรจึงนำนางไปลอยแพ มีพระฤๅษีตน
หนึ่งไปอาบน้ำ เห็นกุมารีอยู่ในแพที่บรรจุโกศทองจึงนำไปเลี้ยงให้ชื่อว่า สีตา ต่อมาเลื่อนเป็นสีดา

เมื่อนางสีดาเจริญวัยได้ 16 ปี นางมีรูปร่างงดงามมาก พรานที่ไปล่าเนื้อเห็นความ
งามของนางจึงนำข่าวนี้ไปแจ้งแก่ราชาของตน และราชาอีกร้อยเอ็ดหัวเมืองต่างก็นำบรรณาการไปสู่
ขอนางสีดาเป็นมเหสี พระฤๅษีให้ขึ้นสายธนู แต่ไม่มีใครสามารถขึ้นสายธนูได้
พระยารามราชและพระลักขณะบุตรพระยาวิรูปักขะ ได้พากันไปศึกษาศิลปศาสตร์
ที่เมืองตักศิลา จนจบไตรเพทแล้วเดินทางกลับพระนคร ระหว่างทางได้เดินผ่านอาศรมของพระฤๅษี
ได้ยินเสียงผู้คน ช้างม้า ดังครึกโครมจึงเข้าไปดู พระยารามราชได้สบตากับนางสีดาเกิดมีใจปฏิพัทธ์
กับนางจึงขอขึ้นสายธนูด้วย ปรากฏว่าพระยารามราชสามารถยิงธนูได้และได้นางสีดามาครอง
พระยารามราชและคณะจึงลาพระฤๅษีกลับพระนคร
พระอินทร์ปรารถนาจะช่วยนางสุชาดาให้สมหวังในการแก้แค้นพระยา
ราพณาสวรจึงได้เนรมิตเป็นกวางทองขาเขยกเดินผ่านหน้ากษัตริย์ทั้งสาม นางสีดาอยากได้
กวางทอง พระยารามราชต้องตามกวางไป ส่วนพระลักขณะเห็นพระยารามราชหายไปนานจึงขอ
ออกตามหาพี่ชาย แล้วได้ฝากนางไว้กับแผ่นดิน เมื่อพระลักขณะพบพระยารามราช พระยารามราช
ไม่พอใจที่พระลักขณะฝากนางสีดาไว้กับแผ่นดิน แผ่นดินโกรธจึงวางนางสีดาลง พระยา
ราพณาสวรจึงสามารถลักนางไปได้
พระยารามราชและพระลักขณะ ออกติดตามนางสีดาจนเหนื่อย จึงหยุดพักใต้ต้น
ไม้ พระยารามราชและพระลักขณะไปพบกับสุครีพซึ่งนั่งร้องไห้อยู่ที่ริมลำธารแห่งหนึ่ง
สุครีพเล่าให้ทั้งสองฟังว่า ตนมีพี่ชายชื่อภารี ซึ่งได้น้องสาวที่ชื่อนางกาสีมาเป็นเมีย
ภารีได้ครองราชสมบัติเมืองพาราณสี วันหนึ่งควายทรพีไปอาละวาดทำร้ายผู้คน นางกาสีซึ่งขณะ
นั้นกำลังมีครรภ์แก่ได้อาสาไปปราบควาย นางถูกควายขวิดจนตาบอด เอวหัก นางได้คลอดลูกคา
ช่องคลอด คนทั้งหลายช่วยดึงลูกของนางออกมาให้ชื่อว่า องษ์คด และวรยศ ภารีให้นางนมเอากุมาร
ไปเลี้ยง ส่วนนางกาสีนั้นถูกละเลยตามยถากรรม นางกลิ้งเกลือกไปด้วยความเจ็บปวดจนไปนอนอยู่
ใต้ต้นมะเดื่อ กินลูกมะเดื่อที่หล่นลงมาเป็นอาหาร
กล่าวถึงพระยาธตรัฏฐะประกาศจะให้รางวัลแก่ผู้ที่สามารถปราบนันทยักษ์ซึ่งมี
นิ้วพิษสามารถชี้ใครให้ตายได้ นางคนธรรพ์อาสาปราบนันทยักษ์โดยการหลอกให้นันทยักษ์รำตาม
นาง ครั้นนางชี้นิ้วไปที่กระหม่อม นันทยักษ์ก็ชี้นิ้วตามจนถึงแก่ความตาย พระยาธตรัฏฐะขอให้นาง
ร่ายรำให้ดู ครั้นเห็นลีลาอันอ่อนช้อยของนางก็เกิดกำหนัดน้ำกามไหล นางคนธรรพ์เห็นดังนั้นจึง
เอาใบบอนมาช้อนน้ำกามไว้แล้วนำไปใส่ปากนางกาสี ต่อมานางกาสีก็ตั้งครรภ์ หลังจากนั้นนางก็
ให้กำเนิดบุตรชื่อหอรมาน
กล่าวถึงภารีและสุครีพได้ออกมาปราบควายบ้าง ภารีได้ตามควายเข้าไปในถ้ำ
ก่อนเข้าไปภารีได้สั่งให้สุครีพปิดปากถ้ำทันทีถ้าเลือดที่ไหลออกมาเป็นเลือดใสนั่นย่อมหมายความ

ว่าตนตายแล้ว ครั้นสุครีพเห็นเลือดใสไหลออกมาจากถ้ำเข้าใจว่าพี่ตายจึงกลับไปครองเมือง ครั้น
ภารีออกมาได้จึงตรงเข้าไปจะฆ่าสุครีพ เพราะคิดว่าสุครีพทรยศสุครีพจึงต้องหนีออกมานั่งร้องไห้
อยู่ที่นี่ สุครีพขอให้พระยารามราชจัดการกับภารี และถ้าตนได้ครองเมืองพาราณสีตนยินดีจะนำ
หลาน 3 คน มามอบให้ คือ องค์คด วรยศ และหอรมาน พระยารามราชและพระลักขณะพาสุครีพ
ไปยังเมืองพาราณสี พระยารามราชให้สุครีพไปท้าภารีและล่อให้เข้าไปในแดนของพระยารามราช
สุครีพออกต่อสู้กับภารีจนถึงแดนของพระยารามราช พระยารามราชยิงภารีจนถึงแก่ความตาย
สุครีพพาหลานทั้งสามมามอบให้พระยารามราช พระยารามราชให้หาผู้ทำหน้าที่
ไปสืบข่าวนางสีดา องษ์คดเสนอหอรมาน พระยารามราชถอดแหวนให้หอรมานนำไปให้นางสีดา
หอรมานนำแหวนที่พระยารามราชฝากไปให้แก่นาง หลังจากนั้นก็จุดไฟเผาลงกาจนวอดวาย
พระยารามราชให้ระดมพลสร้างสะพานข้ามมหาสมุทร หอรมานอาสาตอกเสา
และทำโครงสะพานจนสร้างสะพานเสร็จ พระยาราพณาสวรเรียกพิเภกมาทำนายชะตาเมือง พิเภก
บอกว่าชะตาเมืองและตัวของพระยาราพณาสวรไม่ดีมีแต่เสีย พระยาราพณาสวรโกรธจึงขับไล่พิเภก
ออกจากเมือง พิเภกไปพึ่งพระยารามราช
กล่าวถึงพระยาปัตตหลุ่มได้ไปลักเอาพระยารามราชไปขังไว้ในกรงเหล็ก
หอรมานช่วยพระยารามราชออกมาได้ พระลักขณะออกรบกับอินทรชิตจนถูกศรของอินทรชิตไป
ตรึงอยู่ที่เท้า ส่วนอินทรชิตถูกศรของพระลักขณะตาย หอรมานอาสาไปเอายามาให้ ต่อมาพระยา
รามราชออกรบกับพระยาราพณาสวร พระยารามราชทราบสาเหตุที่พระยาราพณาสวรไม่ตายจาก
พิเภกว่า เพราะเขามีเชื้อสายตปรไมสวร และธนูที่จะสังหารเขาได้คือ ธนูพลควาวชิระ หอรมาน
อาสาไปเอาธนูนั้นมา ในที่สุดพระยารามราชก็สามารถแผลงศรฆ่าพระยาราพณาสวรได้ แล้วอภิเษก
พิเภกเป็นเจ้าเมืองแทน
พระยารามราชยกพลกลับนคร มีการปูนบำเหน็จแม่ทัพและส่งพระยาทั้งหลาย
กลับ พระยารามราชครองเมืองอโยธยาด้วยความสุขสืบมา
วันหนึ่งขณะที่นางสีดามีครรภ์แก่ นางสนมขอร้องให้นางสีดาวาดรูปพระยารา
พณาสวรให้ดู พระยารามราชเห็นรูปนั้นก็โกรธจัดต่อว่านางสีดาต่าง ๆ นานา แล้วให้เพชฌฆาตนำ
ไปประหาร พระลักขณะอาสาประหารนาง แต่ด้วยความสงสารจึงปล่อยนางไป นางสีดาได้เดินทาง
ไปด้วยความทุกข์ทรมานจนไปถึงอาศรมของพระฤๅษี พระฤๅษีรับอุปการะนางไว้ ต่อมาไม่นาน
นางก็คลอดลูกชื่อว่าพระบุตร พระบุตรมีเพื่อนเล่นอีกคนหนึ่งซึ่งพระฤๅษีเสกขึ้นมาจากการวาดรูป
ชื่อพระเทียมคิง
วันหนึ่งทั้งสองได้ไปเที่ยวแดนอโยธยาแล้วเดินตามแม่ค้าขายแตงเข้าเมือง
หอรมานมีหน้าที่เก็บอากรตลาด เมื่อเข้าไปเก็บอากรแม่ค้าขายแตง พระบุตร พระเทียมคิงห้ามแม่ค้า

จ่ายอากรแก่หอรมาน หอรมานไม่ยอมจึงเกิดการต่อสู้กันขึ้น พระยารามราชไประงับเหตุ ได้ติดตาม
กุมารทั้งสองไป ทั้งสองฝ่ายสู้รบกัน แต่ก็ไม่สามารถทำอันตรายกันได้ ในตอนหลังจึงรู้ว่าเป็นพ่อ
ลูกกัน พระยารามราชจึงนำกุมารทั้งสองเข้าเมืองไป
พระยารามราชทราบข่าวนางสีดา จึงได้แต่งขบวนพยุหยาตราออกไปรับนาง เมื่อ
สิ้นอายุขัยนางสีดาก็ไปเกิดเป็นนางสุชาดาตามเดิม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 22:36

ตารางเปรียยเทียบชาดกรามเกียรติ์ ๒ สำนวน ซึ่งใช้ชื่อตัวละครต่างกันและเนื้อหาต่างกันโดยสิ้นเชิง


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 16 ก.พ. 11, 08:25

(รามเกียรติ์  รามเกียรติ์   ท่องไว้  อย่าออกนอกเรื่อง  เพราะ จขกท  ไม่ใช่คนใจดีตลอดเวลา  
ท่านไม่กระแหนะกระแหนก็ถือว่าบุญรักษาแล้วค่ะ )


ถูกต้อง  แต่ไม่มีคะแนนให้นะ

คุณวันดีตอบข้อ ๖๖.มา ชัดเจนดี  เอาไป ๑๐ คะแนน
แต่ผมสงสัยต่อไปว่า  แม่นมที่ผิวดำ หรือขาว(เกินไป)  
เป็นลักษณะไม่ดีหรือผลต่อน้ำนมอย่างไร   ฮืม

หมายเหตุ  จริงๆ จะตัดคะแนนด้วยเพราะตอบก่อนเวลากำหนด
ไป ๑ นาที  (เลขเวลาตรงคำตอบฟ้องอยู่) แต่เห็นว่าคำถามนี้ยาก
คนตอบก็ตั้งใจตอบและค้นคว้ามาดี  จึงยกประโยชน์ให้


ส่วนคุณไซมีสที่กรุณาอุตสาหะไปค้นเพิ่มเติมละเอียดพิสดารมาก

อันที่จริง  ตอบไม่ตรงกับที่โจทย์ถาม
แต่เห็นว่าเป็นความรู้ที่มีค่าที่คุณไซมีสพยายามเสาะหามา  
ผมให้คะแนน ๒๐ คะแนน  โดยไม่ลังเลใจ ยิ้มเท่ห์


ข่าวล่าสุดไม่กี่เดือนที่ผ่านมา  
มีการพิมพ์หนังสือพระรามชาดก ฉบับจริง
ที่ไม่ใช่ฉบับย่อความเล่าเรื่องอันเคยมาก่อนหลายหน
ผู้ใดสนใจ  เดี๋ยวผมจะเอาข้อมูลมาลงไว้ให้
อ้อ  หนังสือพระรามชาดก เล่มนี้ไม่มีวางขายนะครับ
ไม่ต้องไปเดินหาหรอก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 16 ก.พ. 11, 08:33

ขอบคุณคุณหลวงเล็กมากครับ ได้มีโอกาสรับรู้ถึงรามเกียรติ์ในสำนวนตามภาคต่างๆ คือ สำนวนล้านนา สำนวนอีสาน สำนวนทางใต้ ซึ่งมีการเล่าเรื่องที่แปลกออกไป แต่สรุปโดยรวมแล้วเป็นชาดกที่สอนใจให้ตระหนักถึงการทำความดีและหลีกหนีความชั่วร้ายต่างๆ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 16 ก.พ. 11, 08:38

ดอนไซมีส

       ข้อมูลที่มีประโยชน์นำมาแบ่งปัน    มีหรือที่ข้าพเจ้าจะไม่ยินดีปรีดาชาลาล้า...ด้วย  

       ภูเขายังปลื้ม

       โปรดรับเลี้ยงไอติม ๒ ก้อนราดวิปครีมที่ร้านยิ้มแย้ม หรือ แย้มยิ้มอะไรนี่  ใกล้ศูนย์กองบัญชาการ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 16 ก.พ. 11, 08:40

(รามเกียรติ์  รามเกียรติ์   ท่องไว้  อย่าออกนอกเรื่อง  เพราะ จขกท  ไม่ใช่คนใจดีตลอดเวลา  
ท่านไม่กระแหนะกระแหนก็ถือว่าบุญรักษาแล้วค่ะ )



แต่ผมสงสัยต่อไปว่า  แม่นมที่ผิวดำ หรือขาว(เกินไป)  
เป็นลักษณะไม่ดีหรือผลต่อน้ำนมอย่างไร   ฮืม




เป็นไปได้ไหมว่า ในขณะที่ชาวอินเดียต่างถือวรรณะกันอย่างเคร่งครัด ลักษณะของวรรณะทั้ง ๔ คือ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร พราหมณ์ นั้น ผมเคยอ่านเจอว่าจะดูเบื้องต้นด้วยการดูสีผิวก่อนเป็นสิ่งแรก ซึ่งผิวสีอ่อน มักจะเป็นวรรณะสูง และผิวสีคล้ำยิ่งเป็นวรรณะต่ำ เนื่องจากมีการก่อกำเนิดจากทางเชื้อชาติเป็นเกณฑ์ คือ อินเดียมีหลายเผ่าพันธุ์ ซึ่งผิวอ่อนกว่า เข้ามารุกรานชาวพื้นเมืองซึ่งมีสีคล้ำกว่า (พวกดราวิเดียน เป็นต้น)

จึงทำให้การอ้างเหตุผลในการที่ผิวของแม่นมที่ขาวเกินไป และดำเกินไป อาจจะมีลักษณะเชื้อชาติที่อินเดียคิดว่าไม่น่าจะเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกับพวกตนก็เป็นไปได้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 16 ก.พ. 11, 08:49

ดอนไซมีส

       ข้อมูลที่มีประโยชน์นำมาแบ่งปัน    มีหรือที่ข้าพเจ้าจะไม่ยินดีปรีดาชาลาล้า...ด้วย  

       ภูเขายังปลื้ม

       โปรดรับเลี้ยงไอติม ๒ ก้อนราดวิปครีมที่ร้านยิ้มแย้ม หรือ แย้มยิ้มอะไรนี่  ใกล้ศูนย์กองบัญชาการ

ยินดีครับไอติม ขอรับ  ยิงฟันยิ้ม

ตอนวัยเยาว์ จำได้ว่า แม่พาไปกินไอติมมะพร้าวอ่อน ของอาแปะที่ขายในตรอกสะพานหัน ติดร้านกับข้าวป๋าทวี ร้านขายอาหารชื่อดังย่านสำเพ็ง-สะพานหัน เป็นไอติมแบบเกล็ดน้ำแข็ง ไม่ใส่กะทิ อร่อยมาก เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 16 ก.พ. 11, 08:49

ขอแนะนำให้อ่านวิทยานิพนธ์เรื่อง "การวิเคราะห์หนุมานในรามเกียรติ์ฉบับต่าง ๆ" โดย นางสาวพัชลินจ์  จีนนุ่น สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Phatchalin_Jeennoon/Fulltext.pdf

เรื่องรามเกียรติ์สำนวนต่าง ๆ อยู่ใน บทที่ ๒

ประวัติรามเกียรติ์และประวัติหนุมานในรามเกียรติ์ฉบับต่าง ๆ
http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Phatchalin_Jeennoon/Chapter2.pdf

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 16 ก.พ. 11, 09:03


นักอ่านหนังสือเก่า  รับเชิญจากเจ้าของร้านหนังสือมือสองที่มีหนังสือแพงกว่าร้านสมัยใหม่    ไปกินไอติมน้ำมะพร้าวปั่นแถวเสาชิงช้าเมื่อเร็วๆมานี่เอง

ขบวนการแวะไปซื้อข้าวเหนียวมะม่วง ก. สัมพันธ์ มากินกันต่อ

มะม่วงแผ่นพอใช้ได้
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 16 ก.พ. 11, 09:06

การที่รามเกียรติ์ในสำนวนท้องถิ่น แต่งด้วยรูปแบบชาดก
น่าจะเป็นเพราะคนท้องถิ่นคุ้นเคยกับการฟังเทศน์ชาดกต่างๆ ในพุทธศาสนา
เมื่อนิทานนิยายต่างถิ่นเข้ามาใหม่  พระภิกษุจะปรับรูปแบบให้เป็นชาดก
ซึ่งทำให้ชาวบ้านสามารถฟังได้เข้าใจ  และยอมรับได้สนิท

เพราะคิดว่ากำลังฟังชาดกนอกนิบาต ที่ไม่ใช่เรื่องประโลมโลกนอกศาสนาไร้สาระ
วิธีการอย่างนี้  แม้วรรณคดีเรื่องอื่นๆ ที่ไปจากภาคกลางก็กลายเป็นชาดกได้
เช่นเรื่องพระอภัยมณีชาดก  เป็นต้น  

ในอีสานอาจจะปรับรูปแบบเป็นกลอนลำต่างๆ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 16 ก.พ. 11, 09:09

(รามเกียรติ์  รามเกียรติ์   ท่องไว้  อย่าออกนอกเรื่อง  เพราะ จขกท  ไม่ใช่คนใจดีตลอดเวลา  
ท่านไม่กระแหนะกระแหนก็ถือว่าบุญรักษาแล้วค่ะ )



แต่ผมสงสัยต่อไปว่า  แม่นมที่ผิวดำ หรือขาว(เกินไป)  
เป็นลักษณะไม่ดีหรือผลต่อน้ำนมอย่างไร   ฮืม




เป็นไปได้ไหมว่า ในขณะที่ชาวอินเดียต่างถือวรรณะกันอย่างเคร่งครัด ลักษณะของวรรณะทั้ง ๔ คือ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร พราหมณ์ นั้น ผมเคยอ่านเจอว่าจะดูเบื้องต้นด้วยการดูสีผิวก่อนเป็นสิ่งแรก ซึ่งผิวสีอ่อน มักจะเป็นวรรณะสูง และผิวสีคล้ำยิ่งเป็นวรรณะต่ำ เนื่องจากมีการก่อกำเนิดจากทางเชื้อชาติเป็นเกณฑ์ คือ อินเดียมีหลายเผ่าพันธุ์ ซึ่งผิวอ่อนกว่า เข้ามารุกรานชาวพื้นเมืองซึ่งมีสีคล้ำกว่า (พวกดราวิเดียน เป็นต้น)

จึงทำให้การอ้างเหตุผลในการที่ผิวของแม่นมที่ขาวเกินไป และดำเกินไป อาจจะมีลักษณะเชื้อชาติที่อินเดียคิดว่าไม่น่าจะเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกับพวกตนก็เป็นไปได้

ไม่เกี่ยวกับเรื่องวรรณะครับ   ในตำรามีคำตอบอยู่แล้วครับ

วิทยานิพนธ์ที่คุณเพ็ญฯ ยกมานั้น ผมเคยอ่านแล้ว
น่าสนใจมาก  แต่ เสียดายว่าใช้พระรามชาดกฉบับย่อความ มาศึกษา
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง