เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 22
  พิมพ์  
อ่าน: 96244 ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 09 ก.พ. 11, 15:32

ไม่รู้จะถูกหรือเปล่านะครับ ตกใจ

คำถามข้อที่ ๕๘.

การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเกี่ยวข้องอย่างไรกับเรื่องรามเกียรติ์
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบให้เห็นชัดเจน
ข้อนี้ ให้สูงที่สุด  ๒๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์   เริ่มตอบเวลา  ๑๔.๐๐ น.

(อันที่จริงจากคำตอบอย่างนี้แล้ว ยังสามารถตอบได้อีกอย่างหนึ่งด้วย
ตอบอย่างไหน  ไม่บอก   แต่ใครตอบได้  ผมมีคะแนนพิเศษให้อีก ๕ คะแนน)

ตอบว่า

ในการพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยานั้นย่อมจะต้องอ่านโองการแช่งน้ำไปด้วยพร้อมๆ กันในเวลาที่พราหมณ์สวด
และทำการแทงพระแสงศาสตราวุธลงในขันน้ำเพื่อให้ข้าราชการดื่มกินสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
ผู้ที่ถือน้ำในพิธีดื่มน้ำสาบานได้แก่ข้าราชการประจำ ศัตรูที่เข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ทหารที่ถืออาวุธ การถือน้ำของข้าราชการ
ประจำทำปีละ ๒ ครั้ง คือในเดือนห้า ขึ้น ๓ ค่ำ และในเดือนสิบ แรม ๑๓ ค่ำ พิธีนี้กระทำต่อกันมาจนถึงพ.ศ. ๒๔๗๕
ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยจึงได้เลิกไปในที่สุด

ส่วนอันว่าการพระราชพิธีนี้มีสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับรามเกียรติ์นั้น
อาจเป็นเพราะในบทโองการแช่งน้ำมีเนื้อหาที่พูดถึงตัวละครในรามเกียรติ์ด้วยหลายตัว คือ

ชื่อทุณพีตัวโตรด   ลมฝนฉาวทั่วฟ้าช่วยดู
หมายถึง ขอให้ถูกทุณพี (สันนิษฐานว่าหมายถึงควายที่ชื่อทรพี ในเรื่องรามเกียรติ์) ตัวเปลี่ยวขวิด
สิบหน้าเจ้าอสุรช่วยดู
หมายถึง ขอให้อสูรผู้มีสิบหน้า คือทศกัณฐ์ มาช่วยดู
พระรามพระลักษณชวักอร แผนทูลเขาเงือกปล้ำช่วยดู ฯ
หมายถึง ขอเชิญพระรามและพระลักษมณ์ผู้ติดตามนางสีดา ผู้ปราบพญานาคมาช่วยดู (ชวัก แปลว่า ชัก ตาม)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 09 ก.พ. 11, 16:09

คุณอาร์ทตอบมา   ให้ ๒๕ คะแนน
แต่หักค่าแปลความคำประพันธ์ผิดไปหน่อย ๒ คะแนน และยังตอบไม่ครบด้วย หัก ๑ คะแนน
ได้  ๒๒  คะแนน (เพราะเป็นคะแนนพิเศษ จึงหักมากเป็นพิเศษ)

(อันนี้ถือว่าชดเชยกับที่ได้ข้อ สักวา ไป ตั้ง ๔๐ คะแนน) ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 09 ก.พ. 11, 20:31

คำถามข้อที่ ๕๙.
ดูภาพแล้วเล่าประวัติของวัตถุที่ปรากฏในภาพ
ข้อนี้ ๑๐ คะแนน ตอบหน้าไมค์ ตอบได้ตั้งแต่  ๒๐.๓๐  น.

คำตอบ - ในภาพนี้คือพระแสงศรกำลังราม

ได้พระแสงศรกำลังราม
   ในวันจุดเทียนชัยพิธีตรุษนั้น กรมหลวงดำรงราชานุภาพได้นำพระแสงสรกำลังรามมาให้ ศรนี้มีพร้อมทั้งลูกศรและคันธนู
ทำด้วยสัมฤทธิ์ ตามประวัติที่กรมหลวงดำรงทรงเล่ามีความว่า เดิมพระอธิการรุ่ง วัดหนองตานวล ท้องที่กิ่งอำเภอตาคลี อำเภอพยุหคีรี
จังหวัดนครวรรค์ได้คุมคนกับช่างไปตัดไม้อยู่ที่ในดงหนองคันไถ ครั้นเมื่อ ณ วันอังคาร เดือนยี่ แรม ๓ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๑๗ มกราคม
พ.ศ. ๒๔๕๓ พระอธิการรุ่งได้ใช้ให้นายตี่กับเด็กแบนผู้เป็นศิษย์ไปเที่ยวหาใบตองกล้วยป่ามามวนบุหรี่ นายตี่กับเด็กแบนก็ขึ้นไปที่บน
เขาชอนเดื่อ เมื่อถึงไหล่เขามีศิลาสองก้อนอยู่เคียงกัน นายตี่แลเห็นหัวนาคโผล่จากใบไม้ร่วงที่สะสมอยู่ในซอกศิลา สำคัญว่าเป็น
พระพุทธรูปจึงหยิบยกขึ้นมา เห็นเป็นธนูทั้งคัน เด็กแบนได้ค้นที่ซอกศิลาต่อไปจึ่งได้ลูกศร ของทั้งสองสิ่งนี้ศิษย์ได้นำไปถวายแด่อาจารย์
ในเวลานั้นขุนวิจารณ์พยุพหล ปลัดว่าการกิ่งอำเภอตาคลี กำลังเดินทางตรวจราชการในท้องที่ ได้ข่าวเรื่องศรนี้จึงไปขอดู แล้วรายงานไป
ยังมณฑลนครสวรรค์ พระยาศิริชัยบุรินทร์ (สุข โชติกเสถียร ภายหลังเป็นพระยารณชัยชาญยุทธ) สมุหเทศาภิบาล จึ่งได้พาพระอธิการรุ่ง
กับนายตี่ และเด็กแบน พร้อมด้วยศร เข้ามากรุงเทพฯ เพื่อนำของสำคัญนั้นถวาย
   คันธนูนั้นทำด้วยเหล็ก สายเป็นเหล็ก แต่หัวและหางนาคกับเครื่องแต่งทำด้วยสัมฤทธิ์ หัวนาคหันเข้าหาตัวผู้ยิง ไม่ใช่หันออก
อย่างธนูธรรมดา และลวดลายตกแต่งงามๆ ก็อยู่ทางด้านโค้งในทั้งนั้น หางนาคนั้นในวันที่เอามาให้แรกชำรุดอยู่หน่อย ๑ กับปลอกธนูหายไป
๑ ปลอก กรมหลวงดำรงเล่าว่าได้ตรัสถามนายตี่แล้ว ได้ความว่าเมื่อแรกพบธนูยังบริบูรณ์ดีอยู่ แต่เมื่อยกขึ้นนั้นสายผุขาด หางหลุดตกกระทบ
ศิลาหักไปหน่อย ๑ กับปลอกได้หลุดด้วยปลอก ๑ และนายตี่ได้เก็บชิ้นนั้นมอบพระอธิการรุ่งไว้แล้ว แต่เมื่อข่าวเรื่องได้ของประหลาดเลื่องลือ
ได้มีคนไปขอดูกันมาก ปลอกกับชิ้นปลายหางจึงได้หายไป ขุนวิจารณ์พยุหพลรับจะขึ้นไปสืบเสาะติดตามมาดูโดยเต็มกำลัง ในวันนั้นออกจะมิ
ได้มีใครหวังว่าจะได้ชิ้นนั้นมา ต่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๔ กรมหลวงดำรงจึ่งได้ทรงนำชิ้นปลายหางนาคนั้นมาให้ และทรงเล่าว่า
ขุนวิจารณ์พยุหพลไปค้นพบที่ในดงหนองคันไถนั้นเอง ได้จับชิ้นที่ได้มานี้ต่อเข้ากับธนู ก็เข้ารอยกันเรียบร้อยดี จึ่งได้สั่งให้พระยาอนุรักษ์
จัดการต่อให้ได้คงรูปเดิม
   ส่วนลูกศรนั้นแกนเป็นเหล็กหุ้มสัมฤทธิ์ มีขนนกสามใบ ปลายคมเป็นรูปวัชระ ซึ่งออกจะแปลกและยังมิได้เคยเห็นที่ไหนเลย
   ธนูและศรสำรับนี้ฉันได้พิจารณาดูพร้อมด้วยกรมหลวงดำรงและสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัตติวงศ์ ไม่เห็นมีร่องรอยว่าจะ
มีมือถือ จึ่งสันนิษฐานกันว่าคงไม่ใช่สำหรับเทวรูปถือ คงจะได้ทำขึ้นเป็นเครื่องบูชาหรือทำพิธีอย่างใดอย่าง ๑ เช่นชุบทำน้ำมนต์เป็นต้น
ส่วนฝีมือนั้นดีมาก และเป็นของโบราณแน่นอนไม่ต้องสงสัย ฉันจึ่งได้รดน้ำสังข์และเจิม ให้ชื่อว่า “พระแสงศรกำลังราม” ให้ขึ้นตั้งบนพระ
แท่นมณฑล และสั่งไว้ว่าให้ใช้ศรชุบในเวลาแช่งน้ำในพระราชพิธีศรีสัจจปานการต่อไป

(ประวัติต้นรัชกาลที่ 6 พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 06:48

ภาพเล็กมาก เลยเห็นเพียงคันธนู และลูกธนู
๑.   พิธียกมหาธนูโมฬี เป็นธนูของพระอิศวร ผู้ใดมีบุญญาธิการก็สามารถยกขึ้นได้อย่างง่ายดาย จัดพิธีขึ้นเพื่อเลือกคู่ให้กับนางสีดา ซึ่งพระรามก็สามารถยกได้
๒.   ศรนาคบาศ เป็นอาวุธที่พระพรหมประทานให้อินทรชิต และมีการทำพิธีชุบศรขึ้น
๓.   ศรพรหมาสตร์  เป็นอาวุธที่พระอิศวรประทานให้กับอินทรชิต เช่นเดียวกัน
๔.   ศรวิษณุปาณัม เป็นศรที่พระนารายณ์ประทานให้อินทรชิต
๕.   ศรพลายวาต เป็นศรประจำตัวพระลักษณ์
๖.   ศรเหราพต เป็นศรของบรรลัยจักร ซึ่งมีตอนทำพิธีชุบศรนี้และถูกองคตและอสรุผัดทำลายพิธี
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 08:35

คุณอาร์ทตอบถูกอีกแล้ว   เอาไป ๑๐ คะแนน

ส่วนคุณไซมีส ผมขอแสดงความเสียใจด้วย
ที่สันนิษฐานมาไม่ถูกเลย  เอาไว้แก้มือคำถามข้อหน้านะครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 08:54

คุณอาร์ทตอบถูกอีกแล้ว   เอาไป ๑๐ คะแนน

ส่วนคุณไซมีส ผมขอแสดงความเสียใจด้วย
ที่สันนิษฐานมาไม่ถูกเลย  เอาไว้แก้มือคำถามข้อหน้านะครับ ยิงฟันยิ้ม

 ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 08:57

หนูดีดี ขออนุญาตไปธุระค่ะ ต่อให้นักรบท่านอื่นๆ รบกันไปก่อนนะคะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 10:28

เรียนนักรบทั้งหลายที่กำลังเฝ้ารอคำถามของวันนี้

ด้วยผมมีธุระด่วนต้องรีบปฏิบัติในช่วงเช้าต่อเนื่องไปจนเวลาบ่าย
ของวันนี้  จึงไม่อาจจะเข้ามาตั้งคำถามและตามดูคำตอบได้จนกว่า
ปฏิบัติกิจเสร็จสิ้น  

ในระหว่างนี้   ขอให้นักรบทั้งหลายเล่นกระทู้อื่นไปพลางๆ ก่อน
หรือไม่ก็ไปหาหนังสือเกี่ยวกับรามเกียรติ์มาอ่านระหว่างเวลาพักรบ
ส่วนท่านนักรบผู้ใดเห็นว่า  กิจกรรมที่ผมแนะนำไม่เหมาะแก่ท่าน
และท่านเห็นว่าทำอย่างอื่นดีกว่า  เช่น  นั่งร้องไห้เสียดายคะแนน
ที่ถูกหักไป  หรือนั่งซึมเศร้าที่เดาคำตอบที่ผ่านมาไม่ถูก  
หรือจะลงข้อความวิพากษ์วิจารณ์คนออกคำถามรามเกียรติ์ เป็นต้น
เราก็ไม่ว่ากัน  เชิญปฏิบัติได้ตามอัธยาศัยของท่านเถิด

ผมจะกลับมาตั้งคำถามในเวลาเย็นย่ำค่ำสนธยา   จึงเรียนมา
เพื่อทราบโดยทั่วกัน

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 10:48


หรือจะลงข้อความวิพากษ์วิจารณ์คนออกคำถามรามเกียรติ์ เป็นต้น
เราก็ไม่ว่ากัน  เชิญปฏิบัติได้ตามอัธยาศัยของท่านเถิด

ใครจะกล้าทำได้ลงคอ มิกล้าหักหาญน้ำใจท่านดอก  แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 11:17


  
       หักหาญน้ำใจ           โถ...

       นี่เป็นประโยคของตะละแม่กุสุมา  นะ      ตอนกุสุมาครวญ

      
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 19:20

คำถามข้อที่ ๕๙.

โขนหลวงหรือโขนกรมศิลปากรกับโขนสดของชาวบ้านแตกต่างกันอย่างไร
สรุปมาเป็นข้อๆ อย่างน้อย  ๕  ข้อ   ข้อละ ๒ คะแนน 
คะแนน เต็ม ๑๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตอบได้ตั้งแต่  ๒๐.๐๐ น.
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 19:34

คำถามข้อที่  ๖๐.

ตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ดังต่อไปนี้  มีพฤติกรรมที่ดีและไม่ดีอย่างไร
จงยกตัวอย่างพฤติกรรมในบทละครรามเกียรติ์มาประกอบการอธิบายด้วย
ข้อละ  ๕  คะแนน  (ยกมาด้านดีและไม่ดีของตัวละครอย่างละ ๑ ด้านก็พอ)

๑.พระราม

๒.หนุมาน

๓.สุครีพ

๔.นางสีดา

๕.ทศกัณฐ์

๖.ไมยราพ

๗.อินทรชิต

๘.นางมณโฑ

เลือกทำ  ๒  ข้อ  กรณีที่มีการเลือกทำซ้ำข้อกัน  
คนที่ตอบทีหลังจะได้คะแนนครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็มในแต่ละข้อ
และไม่ให้เปลี่ยนข้อหลังจากตอบไปแล้ว
เริ่มตอบได้ตั้งแต่เวลา  ๐๙.๐๐  น. ของวันที่  ๑๑  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 19:58

นักรบอยู่ไหม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 20:00

คำถามข้อที่ ๕๙.

โขนหลวงหรือโขนกรมศิลปากรกับโขนสดของชาวบ้านแตกต่างกันอย่างไร
สรุปมาเป็นข้อๆ อย่างน้อย  ๕  ข้อ   ข้อละ ๒ คะแนน  
คะแนน เต็ม ๑๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตอบได้ตั้งแต่  ๒๐.๐๐ น.

คำตอบ
การแสดงโขนสดเป็นหนึ่งในศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคกลาง เป็นศิลปะการแสดงที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในอดีต
ปรับปรุงมาจากการแสดงโขนให้เรียบง่ายขึ้น มีลักษณะนำเอารูปแบบของการแสดง 3 ชนิด คือ โขน ลิเก และหนังตะลุง มาผสมผสานกัน
เนื้อเรื่องที่ใช้แสดงนั้นส่วนใหญ่จะนำมาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์เพียงเรื่องเดียว

ข้อแตกต่างของโขนหลวง (กรมศิลป์) กับโขนสด คือ

1. โขนหลวงมีรูปแบบการแสดงที่แช่มช้อย เฉื่อยช้า เพราะต้องแสดงถึงแบบแผนท่ารำ การแต่งกาย การขับร้อง คำพากย์
ส่วนโขนสดจะมีรูปแบบการแสดงที่รวดเร็ว รวบรัดกว่า ลดแบบแผนทั้งท่ารำ และเจรจา การร้องก็นำลิเกมาประสมประสานเข้ากับลีลา
ท่าทางการเต้นในแบบของโขน

2. โขนหลวงมีผู้พากย์เจรจาโดยเฉพาะไม่เกี่ยวข้องกับนักแสดง ส่วนโขนสดผู้แสดงต้องเป็นผู้ร้องเจรจาเอง

3. โขนหลวงผู้แสดงต้องสวมหัวโขนทั้งศีรษะไม่เห็นหน้าตาผู้แสดง ส่วนโขนสดผู้แสดงสวมหัวโขนจึงไม่ครอบหมดทั้งศีรษะ
จะใส่ไว้เพียงแค่ด้านบนเพื่อให้รู้ว่าแสดงเป็นตัวอะไรเท่านั้น เพราะจะเปิดหน้าผู้แสดงไว้เพื่อให้สามารถร้องบทได้

4. โขนหลวงเมื่อการพากย์หรือเจรจาจะไม่มีดนตรีประกอบ ยกเว้นแต่ตอนพากย์จบแล้วที่มีการตีตะโพนรับและกลองทัดตาม
ส่วนโขนสดในการร้องและเจรจานั้นจะมีกลองตุ๊ก (กลองชาตรี) และโทนคอยตีประกอบด้วย

5. โขนสดจะมีผู้อาวุโสที่สุดในคณะแต่งกายเป็นฤาษีออกมาร้องบทไหว้ครูบริเวณกลางเวที และร้องบทอำนวยอวยพรให้กับผู้ชมและ
คณะของตน (เช่นออกแขกของลิเก) แต่การแสดงโขนหลวงไม่มีเช่นนี้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 20:01

ขอสรุปเป็นตารางแยกประเภท จะได้อ่านได้เป็นข้อๆ สรุปออกมาได้ ๙ ข้อตามนี้ครับ  ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์

คำถามข้อที่ ๕๙.

โขนหลวงหรือโขนกรมศิลปากรกับโขนสดของชาวบ้านแตกต่างกันอย่างไร
สรุปมาเป็นข้อๆ อย่างน้อย  ๕  ข้อ   ข้อละ ๒ คะแนน  
คะแนน เต็ม ๑๐ คะแนน  ตอบหน้าไมค์  ตอบได้ตั้งแต่  ๒๐.๐๐ น.


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง