เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 22
  พิมพ์  
อ่าน: 96083 ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 09:18

คำถามข้อที่ ๕๖.

1.Terminalia bellirica  (Gaertn.) Roxb.

2.Neoalsomitra sarcophylla Hutch.

3.Schefflera leucantha  R. Vig.

4.Pagoda  Plant

5.Platycerium

6.Aristolochia pothieri  Pierre ex Lecomte  

7.ขี้ไพนกคุ่ม

8.พรายสะเลียง

9.White Shrimp Plant

10.มะพร้าวสีดา

คำถามนี้  ใครก็ไม่รู้ส่งมาให้ เกี่ยวกับรามเกียรติ์อย่างไร
ถามเขา เขาก็บอกว่า เกี่ยวแน่นอน  
แล้วให้ตอบอย่างไร  เขาว่า  ให้เลือกทำคนละ ๓ ข้อ  
(ทำซ้ำกันได้ แต่คนตอบหลังได้คะแนนครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม)
โดยให้บอกชื่อในโจทย์ข้างต้นหมายถึงอะไร  จงให้ข้อมูลมา
ถ้าได้ภาพด้วยก็จะดีมาก  

ข้อละ ๕ คะแนน   ตอบหน้าไมค์  เริ่มโพสต์คำตอบตอน ๑๐.๑๕ น.
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 10:15

คำถามข้อที่ ๕๖.

7.ขี้ไพนกคุ่ม

8.พรายสะเลียง

คำถามนี้  ใครก็ไม่รู้ส่งมาให้ เกี่ยวกับรามเกียรติ์อย่างไร
ถามเขา เขาก็บอกว่า เกี่ยวแน่นอน  
แล้วให้ตอบอย่างไร  เขาว่า  ให้เลือกทำคนละ ๓ ข้อ  
(ทำซ้ำกันได้ แต่คนตอบหลังได้คะแนนครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม)
โดยให้บอกชื่อในโจทย์ข้างต้นหมายถึงอะไร  จงให้ข้อมูลมา
ถ้าได้ภาพด้วยก็จะดีมาก  

ข้อละ ๕ คะแนน   ตอบหน้าไมค์  เริ่มโพสต์คำตอบตอน ๑๐.๑๕ น.


อยากรู้จังเลยว่าใครถามมาเนี่ยะ (สงสัยไม่ได้อ่านสักวาของเรา "อย่าอยากใหญ่เดี๋ยวพลอยกันตายหมดเอย")

ขี้ไพนกคุ่ม เป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่ง ชื่อนี้เรียกทางจังหวัดปราจีนบุรี มีอีกชื่อเรียกว่า "สังกรณี"
ชื่ออื่นๆ จุกโรหินี (ชลบุรี);หญ้าหงอนไก่;หญ้าหัวนาค (ภาคเหนือ)
มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า  Barleria strigosa Willd
ลำต้น เป็นพรรณไม้พุ่ม ที่ลำต้นไม่มีหนามแตกกิ่งก้านสาขารอบๆ ต้นมากมาย ตามกิ่งก้านจะมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่
ลำต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ๆ ไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปรีแต่ก็ค่อนข้างจะยาว
ปลายใบแหลมและมีติ่งส่วนโคนใบนั้นก็จะแหลมและค่อยๆ เรียวแหลมจนถึงก้านใบ ขอบใบมีหนาม พื้นใบเป็นสีเขียว
ด้านล่างของใบมีขนยาว ตามเส้นใบ ส่วนด้านบนมีบ้างประปรายดอก ออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ซึ่งจะมีใบประดับห่อหุ้มอยู่ 4 กลีบ
ต่อหนึ่งดอก กลีบใหญ่ 2 เล็ก 2 ส่วนดอกนั้นมีสีฟ้ามีอยู่ 5 กลีบ โคนดอกเป็นหลอดยาว 1-1.5 นิ้ว ตรงปลายอดแยกออก
เป็น 5 กลีบยาว 0.5 นิ้ว กลางดอกมีเกสร 4 อันยา 0.8 นิ้ว ผล เป็นฝักเกลี้ยง ภายในผลจะมีเมล็ดผลละ 4 เมล็ด
สรรพคุณ - ใบ สามารถแก้เจ็บคอ คออักเสบ และรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ได้

พรายสะเลียง เป็นสมุนไพรเช่นกัน มีชื่อเรียกทางภาคกลางว่า "ตรีชะวา"
ชื่อทางพฤกษศาสตร์ Justicia betonica. มีชื่อเรียกอื่น ๆ อย่าง หางกระรอก หางแมว เขียวพระสุจริต  
พุ่ม สูง 1-4 เมตร เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนและยอดอ่อนเป็นเหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน บางข้อมี 3-4 ใบ
เรียงรอบข้อ รูปรียาว โคนใบสอบ ปลายใบเป็นติ่งสั้น ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยช่วงกลางขอบใบไปจนถึงปลายใบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน
ก้านใบสั้น ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด  ดอกสีม่วงอ่อนอมฟ้า กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก
มีขนาดไม่เท่ากัน ผล รูปค่อนข้างกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว แก่เป็นสีดำ เมล็ดเดี่ยว รูปกลมรี สีดำ
สรรพคุณ ทั้งต้น-รักษาโรคเรื้อนกลากเกลื้อน ผล-แก้ไอ ราก-แก้คลื่นเหียน ใบ,ราก,ต้น-รักษาโรคริดสีดวงทวาร

สมุนไพรสองอย่างนี้มีปรากฏในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ตอนพระลักษณ์ถูกหอกโมกขศักดิ์แล้วสลบไป
พิเภกก็ทูลวิธีแก้ไขว่า
"ขอให้ลูกพระพายเทวัญ
ไปห้ามพระสุริยันในชั้นฟ้า
อย่าเพ่อรีบรถบทจร
ข้ามยุคนธรภูผา
แล้วให้ไปเก็บตรีชวา
ทั้งยาชื่อสังกรณี
ยังเขาสรรพยาบรรพต
ปรากฏอยู่ยอดคีรีศรี
กับปัญจมหานที
สรรพยาทั้งนี้มาให้ทัน"
หนุมานก็ไปเก็บตัวยาทั้งสอง (ด้วยความยากเข็ญเพราะเรียกเท่าไรก็ไม่มาหา จนต้องนิรมิตกายใหญ่โตใช้หางรวดยอดเขาถึงได้ตัวยา)
และสิ่งอื่นๆ ได้แล้ว พอผสมกันพอกให้พระลักษณ์ พระองค์ก็ฟื้นสติได้



บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 10:19

คำถามข้อที่ ๕๖.
คำถามนี้  ใครก็ไม่รู้ส่งมาให้ เกี่ยวกับรามเกียรติ์อย่างไร
ถามเขา เขาก็บอกว่า เกี่ยวแน่นอน  
แล้วให้ตอบอย่างไร  เขาว่า  ให้เลือกทำคนละ ๓ ข้อ  
(ทำซ้ำกันได้ แต่คนตอบหลังได้คะแนนครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม)
โดยให้บอกชื่อในโจทย์ข้างต้นหมายถึงอะไร  จงให้ข้อมูลมา
ถ้าได้ภาพด้วยก็จะดีมาก  

ขอตอบค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
ทั้งหมดเป็นพืชที่มีชื่อมาจากเรื่องรามเกียรติ์

3.Schefflera leucantha  R. Vig.= หนุมานประสานกาย
ชื่อสามัญ (Common Name) : หนุมานประสานกาย Hanuman prasan kai (General)
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name): Schefflera leucantha R.Vig.
ชื่อวงศ์ (Family Name) : ARALIACEAE
เป็นไม้พุ่มแกมเถา สูงประมาณ 1-4 เมตร ลักษณะใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับ ใบย่อยรูปรี หรือรูปใบหอก กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. ลักษณะดอก เป็นดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีนวล
ลักษณะผล เป็น รูปกลม
สรรพคุณใบสด แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือดห้ามเลือด สมานแผล สารซาโปนินในใบมีฤทธิ์ ขยายหลอดลม
เหมือนกับหนุมานที่มีความสามารถในการรักษาแผลให้กับร่างกาย คนไทยเลยนำมาตั้งเป็นชื่อสมุนไพรตัวนี้


4.Pagoda  Plant = หนุมานนั่งแท่น
ชื่อสามัญ (Common Name):  Pagoda Plant, Coral Plant, Physic Nut, Guatemala Rhubarb
ชื่อพฤกษศาสตร์ (Scientific Name) : Jatropha Podagrica, Hook.
วงศ์ (Family Name) : Euphorbiaceae

หนุมานนั่งแท่น  มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วไปในแถบประเทศภูมิภาคเอเชีย  และในเขตร้อนชื้นทั่วไป  ใช้เป็นไม้ประดับ  เนื่องจากมีลักษณะลำต้นที่สวยงาม  มีลักษณะคล้ายต้นปาล์มแชมเปญ  เป็นไม้ที่เลี้ยงง่ายเจริญงอกงามดี  เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ใบคล้ายใบตำลึงแต่ใหญ่กว่า  มีแฉก 5 แฉก แต่ละแฉกไม่ลึกมาก มีก้านใบคล้ายกับก้านใบมะละกอแต่เล็กกว่า  ก้านใบไม่มีรูเหมือนก้านมะละกอ  ลักษณะดอกมีก้านยาวขึ้นมาจากยอดเจริญ  คล้ายก้านใบ  มีสีแดงเข้ม  ดอกมีกลีบดอกเล็กมาก  ก่อนดอกบานดูคล้ายหัวไม้ขีดไฟ  เมื่อดอกบานจะเห็นเกสรอยู่เป็นกลุ่มกลางดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ เมื่อดอกได้รับการผสมจะเจริญกลายเป็นผลออกมาคล้ายผลฝิ่นแต่เล็กกว่า  มีเมล็ดอยู่ภายในเพื่อขยายพันธุ์เวลาผลแก่จัดเมล็ดจะแตกออกมา  และดีดตัวออกไปได้ไกล ๆ ถึง 1 – 2 เมตร  ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด  หนุมานนั่งแท่นมียางสีใสข้น  เมื่อยางไหลออกมา  ถ้ายางแห้งจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดงคล้ายหยดเลือดแห้งติดกับวัตถุ  ยางหนุมานนั่งแท่นมีประโยชน์ในการรักษาแผลทุกชนิด แผลเนื้องอกได้ผลดีมาก  จากการทดลองพบว่า  จะรักษาแผลให้หายได้เร็วกว่าการรักษาด้วยยาทางการแพทย์ปัจจุบัน  และแผลจะไม่ค่อยเป็นแผลเป็น จึงเป็นพืชสมุนไพรที่น่าสนใจ

5.Platycerium = ชายผ้าสีดา
ชื่อสามัญ (Common Name) :  ชายผ้าสีดา Platycerium ภาคใต้เรียก "ชายผ้าสีดา" ภาคอีสาน เรียก "กระเช้าสีดา" หรือ"สไบสีดา" และภาคเหนือเรียก "ห่อข้าวสีดา" หรือ "หัวเฒ่าย่าบา"
ชื่อวิทยาศาสตร (Scientific Name) : Platycerium holtumii Jench. & Hennipm.
วงศ์ (Family Name) : POLYPODIACEAE

จากลักษณะที่พริ้วไหว คล้ายชายผ้าของนางสีดา คนไทยเลยนำมาตั้งเป็นชื่อของเฟินชนิดนี้
ซึ่งเป็นเฟินแบบเกาะอาศัย ที่ดูแปลกตาแตกต่างจากเฟินทั่วไป ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีทั้งชนิดที่เจริญเติบโตเป็นต้นเดี่ยว และเป็นกลุ่ม ทั้งต้นประกอบด้วยแผ่นใบหนา เจริญซ้อนทับและประสานกันเป็นกลุ่มก้อน หรือเป็นหัวกระเช้า ทั้งยังมีใบอีกแบบงอกออกมาจากจุกตาบนหัวกระเช้า ในบางชนิดใบงอกออกมาชูตั้งขึ้น บางชนิดเป็นใบห้อยย้อยลงมา หรือใบกึ่งตั้งและปลายห้อยลงมา ก็มี
ลำต้น เป็นเหง้าเป็นแท่ง เลื้อยสั้น มีบางชนิดเหง้าแตกเป็นกิ่งสาขา ระบบรากทำหน้าที่ยึดเกาะต้นกับสิ่งที่เกาะอาศัย ใบปกคลุมด้วยขนรูปดาว ขนทำหน้าปกป้องแสงแดด และรักษาความชื้นไม่ให้ระเหยได้ง่าย รวมถึงยังช่วยดักจับความชื้นในอากาศได้อีกด้วย เกล็ดที่เหง้า (Rhizome Scales) มีความผันแปรของรูปร่าง แม้จะเป็นในต้นเดียวกันก็ตาม แต่ก็ยังพอจะแยกความแตกต่างได้สำหรับเฟินชายผ้าสีดาแต่ละชนิด
ลักษณะใบ ใบมี 2 รูปแบบ (dimorphic) คือ
- ใบกาบ (Base frond, shield frond หรือ sterile frond) ทำหน้าที่ห่อหุ้มระบบราก เพื่อรักษาความชื้นเอาไว้และโอบยึดเกาะที่อยู่อาศัย บางชนิดใบชูตั้งขึ้น เพื่อทำหน้าที่รองรับน้ำ เศษใบไม้และอินทรีย์วัตถุที่ร่วงหล่นมาจากด้านบน กลุ่มนี้มักเป็นชายผ้าสีดาที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างแห้ง บางชนิดใบกาบแผ่หุ้มระบบรากจนมิด ซึ่งกลุ่มนี้มักเป็นชนิดที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชุ่มชื้นหรือฝนชุก sterile frond บางแห่งอาจเรีรยกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ใบกาบ, ใบโล่, ใบโอบ, shield frond, base frond เป็นต้น
- ใบแผ่สยายเป็นริ้ว เรียก ใบชายผ้า หรือใบเขากวาง (fertile frond) บางชนิดเป็นริ้วห้อยสยายลง บางชนิดตั้งชูขึ้น บางชนิดใบมีขนคลุมหนาแน่น ทำหน้าที่ลดการคายน้ำของใบ ใบชายผ้า หรือ fertile frond ในบางแห่งอาจเรียกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ใบชายผ้า ใบเขา, Normal frond, True frond, Foliage frond เป็นต้น
อับสปอร์ เกิดทางด้านล่างของใบชายผ้าอยู่รวมกันเป็นพืด บางชนิดอับสปอร์อยู่ที่ปลายหรือขอบของใบชายผ้า บางชนิดเกิดบนอวัยวะพิเศษที่โคนก้านของใบชายผ้า
ชนิด Species และการจำแนกชนิดของเฟินในสกุลชายผ้าสีดา
เฟินสกุลนี้ นักพฤกษศาสตร์บันทึกไว้มี 18 ชนิด อยู่ในออสเตเรียและอินโดนีเซียมี 5 ชนิด, ในทวีปอาฟริกา 3 ชนิด, บนเกาะมาดากัสกา 4 ชนิด, ในเอเซีย มี 6 ชนิด และอเมริกากลาง มี 1 ชนิด สำหรับในไทยพบ 4 ชนิด ซึ่งเป็นที่นิยมมากของคนรักต้นไม้ ทำให้มีการเก็บจากป่าธรรมชาติ หรือตามสวนยาง สวนผลไม้ออกมาขาย เป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันราคาที่ซื้อ-ขายกัน นับวันขยับแพงขึ้น หาเก็บได้ยากขึ้น หรือต้องเข้าป่าลึกเข้าไปเรื่อยๆ แต่ความต้องการของนักเล่นต้นไม้ นับวันทวีมากขึ้น




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 10:19

Platycerium ชายผ้าสีดาเฟินสกุลชายผ้าสีดา Platycerium (plat-ee-sir-ee-um แพล๊ท-ตี-เซอ-รี-อัม) ในบ้านเรา
ภาคใต้เรียก "ชายผ้าสีดา" ภาคอีสาน เรียก "กระเช้าสีดา" หรือ"สไบสีดา" ที่เรียกดังนี้อาจจะพ้องกับเรื่องรามเกียรติ์ ตอนที่สไบนางสีดา ที่ทำหล่นในตอนที่ทศกัณฑ์มาอุ้มลักพาตัวนางสีดาและเหาะพาไปกรุงลงกา


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 10:20

White Shrimp Plant คือต้นตรีชวา
เกี่ยวข้องกับรามเกียรติ์ในตอนที่พระลักษณ์ถูกหอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณแล้วล้มลงแต่ยังไม่ตาย พิเภกยักษาเข้ามาดูอาการแล้วแถลงไขแก่พระรามว่า หอกนี้มียาแก้พิษคือต้นสังกรณีตรีชวา และน้ำจากปัญจมหานที ให้รีบนำมารักษาก่อนพระอาทิตย์จะขึ้น งานนี้ไม่พ้นหนุมานชาญสมร ต้องไปห้ามล้อพระอาทิตย์แล้วโลดโผนโจนทะยานไปยังเขาสรรพยา
เพื่อจะไปเด็ดเอาสังกรณีตรีชวามาให้ทันการ
 ..ซึ่งพระน้องต้องหอกอสุรินทร์
ยังไม่สิ้นชีวังสังขาร์
แม้นได้สังกรณีตรีชวา
กับปัญจมหานที
ประสมเป็นโอสถบดพอก
ให้แก้หอกโมกขศักดิ์ยักษี
พระลักษมณ์ก็จะคืนสมประดี
ภูมีจงดำริตริการ ฯ..

ตรีชวา (ทั่วไป) ; หางกระรอก, หางแมว (กลาง) ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับให้สวยงาม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 10:23

Schefflera leucantha  R. Vig. หนุมานประสานกายชื่ออื่น: กุชิดอะลั้ง (จีน) ;ชิดฮะลั้ง ;ว่านอ้อยช้าง (เลย)
ส่วนที่ใช้ : ใบสด
สรรพคุณ :
1.รักษาโรคหืด โรคแพ้อากาศ ขับเสมหะ
2.รักษาโรคหลอดลมอักเสบ
3.รักษาวัณโรคปอด แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด
4.ตำพอกแผลห้ามเลือด สมานแผล

สารสำคัญ
มี ๒ ชนิด
1. มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อหลอดลมขยาย แต่ไปหดหัวใจ
2. มีฤทธิ์ ทำให้กล้ามเนื้อหลอดลมตีบ และไปกระตุ้นหัวใจ เป็นสารจำพวก ซาโปนิน

รามเกียรติ์ ตอนพระลักษมณ์ต้องหอกโมกขศักดิ์ ในเนื้อกลอนกล่าวถึงสมุนไพรขนานหนึ่ง ซึ่งเป็น “ยาคู่หอกชัยมีไว้สำหรับแก้กัน” และต้องใช้ให้ลูกพระพายเทวัญคือ หนุมานไปเสาะหาที่ “สรรพยาบรรพต” ให้ได้ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นเสียด้วย สมุนไพรในวรรณคดีตัวนี้มีชื่อไพเราะเพราะพริ้งว่า “สังกรณี” แต่ชาวบ้านมักนิยมเรียกว่า “หนุมานประสานกาย” ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องราวในวรรณคดี


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 10:24


อยากรู้จังเลยว่าใครถามมาเนี่ยะ (สงสัยไม่ได้อ่านสักวาของเรา "อย่าอยากใหญ่เดี๋ยวพลอยกันตายหมดเอย")

ขี้ไพนกคุ่ม เป็นสมุรไพรไทยชนิดหนึ่ง ชื่อนี้เรียกทางจังหวัดปราจีนบุรี มีอีกชื่อเรียกว่า "สังกรณี"
พรายสะเลียง เป็นสมุรไพรเช่นกัน มีชื่อเรียกทางภาคกลางว่า "ตรีชะวา"

สมุนไพรสองอย่างนี้มีปรากฏในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ตอนพระลักษณ์ถูกหอกโมกขศักดิ์แล้วสลบไป
พิเภกก็ทูลวิธีแก้ไขว่า
"ขอให้ลูกพระพายเทวัญ
ไปห้ามพระสุริยันในชั้นฟ้า
อย่าเพ่อรีบรถบทจร
ข้ามยุคนธรภูผา
แล้วให้ไปเก็บตรีชวา
ทั้งยาชื่อสังกรณี
ยังเขาสรรพยาบรรพต
ปรากฏอยู่ยอดคีรีศรี
กับปัญจมหานที
สรรพยาทั้งนี้มาให้ทัน"
หนุมานก็ไปเก็บตัวยาทั้งสอง (ด้วยความยากเข็ญเพราะเรียกเท่าไรก็ไม่มาหา จนต้องนิรมิตกายใหญ่โตใช้หางรวดยอดเขาถึงได้ตัวยา)
และสิ่งอื่นๆ ได้แล้ว พอผสมกันพอกให้พระลักษณ์ พระองค์ก็ฟื้นสติได้

ไม่ขยายความอะไรเพิ่มเติมเลยนะ  
แถมสะกดคำว่า สมุนไพร  ผิดอีกต่างหาก  
เอาไป ๘ คะแนน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 10:29

Terminalia bellirica  (Gaertn.) Roxb สมอภิเภก ชื่ออื่นชิบะดู่ ลัน สมอแหน สะคู้ แหน แหนขาว แหนต้น Ink nut
สรรพคุณ ราก แก้โลหิตอันทำให้ร้อน  เปลือกต้น แก้ปัสสาวะพิการ  แก่นต้น แก้ริดสีดวงลวก ใบ แก้บาดแผล  ดอก แก้โรคตา  ผลอ่อน  แก้ลมแก้ไข้ เป็นยาถ่าย  ผล  แก้ลมแก้ไข้ ทำให้ชุ่มคอ แก้ลมอัมพาต แก้ผิวหนังเป็นตุ่มหนอง

แต่ทำไมเรียกภิเภก มาผสมกับสมอ อาจจะเกี่ยวด้วยกว่า เพื่อให้สอดคล้องกับสมอไทย ซึ่งสมอภิเภกมาจากอินเดีย เลยจัดเรียกว่า "สมอภิเภก" ให้พ้องกับ สมอไทย


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 10:29

คุณดีดี  ตอบดี  เอาไป ๑๕ คะแนน

คุณไซมีส  ตอบมา ๓ ข้อ ซ้ำกับคุณดีดี ๒ ข้อ
ผมต้องทำตามกติกา คือ ให้คะแนนครึ่งเดียวในข้อที่ซ้ำกัน
รวมกันได้ ๑๐ คะแนน (2.5 + 2.5 + 5)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 10:31

Terminalia bellirica  (Gaertn.) Roxb สมอภิเภก ชื่ออื่นชิบะดู่ ลัน สมอแหน สะคู้ แหน แหนขาว แหนต้น Ink nut
สรรพคุณ ราก แก้โลหิตอันทำให้ร้อน  เปลือกต้น แก้ปัสสาวะพิการ  แก่นต้น แก้ริดสีดวงลวก ใบ แก้บาดแผล  ดอก แก้โรคตา  ผลอ่อน  แก้ลมแก้ไข้ เป็นยาถ่าย  ผล  แก้ลมแก้ไข้ ทำให้ชุ่มคอ แก้ลมอัมพาต แก้ผิวหนังเป็นตุ่มหนอง

แต่ทำไมเรียกภิเภก มาผสมกับสมอ อาจจะเกี่ยวด้วยกว่า เพื่อให้สอดคล้องกับสมอไทย ซึ่งสมอภิเภกมาจากอินเดีย เลยจัดเรียกว่า "สมอภิเภก" ให้พ้องกับ สมอไทย

ที่ตอบมานี่ เกินคำสั่งนะ  จะให้หักคะแนนเพิ่มไหม
หรือจะขอแลกข้อกับข้อที่ไปแล้วซ้ำ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 10:38

ตอบใหม่ก็ได้ครับ สำหรับสมอภิเภก ตอบแทนข้อที่ซ้ำกับคุณดีดี ไปชั่วเสี้ยววินาทีเอง ชนกันกลางอากาศ ก็ขอเปลี่ยนเป็นสมอภิเภกแทนขอรับกระผม

และถ้ายังซ้ำกันอีก ก็ขอตอบ บุรหรี่พระรามเพิ่ม ครับ


Neoalsomitra sarcophylla Hutch. บุหรี่พระราม
ชื่ออื่น บุหรี่พระราม, บุหรี่พระราม Buri phra ram, บุหรี่พวง buri phuang (Central); บุหรี่ผี Buri phi (Chiang Mai); บุหรี่อีกวอก Buri i wok, ลอบแลบเ€รือ Lop laep khruea (Northern); ปั๋งแป่ Pang pae (Chon Buri); พวงบุหรี่ Phuang buri (Nakhon Ratchasima, Suphan Buri); มวนยาพระอิ
ไม้เถาชนิด Neoalsomitra sarcophylla Hutch. ในวงศ์ Cucurbitaceae มีมือเกาะ ดอกเป็นช่อออกตามง่ามใบ กลีบดอกติดกันเป็นรูปปากแตรบานๆ ผลเรียวยาวคล้ายกระบองกลมหรือเป็นสามเหลี่ยม เวลาแก่ผลจะแตกที่ปลายเป็น 3 ช่อง เมล็ดสีดำ แบน มีปีกบางๆ ที่ปลาย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 10:43

คำถามข้อที่ ๕๗.
ยกวรรณคดีไทยมา ๒ เรื่อง
ที่ผู้แต่งนำเนื้อเรื่องตอนใดตอนหนึ่ง
หรือเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์

มาแต่งเป็นวรรณคดีที่ไม่ใช่วรรณคดีที่ใช้ในการแสดงมหรสพ
พร้อมอธิบายลักษณะวรรณคดีที่ยกมาด้วย
(ผู้แต่ง สมัยที่แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ เนื้อเรื่อง)

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์ โพสต์ได้ตั้งแต่บ่ายสองโมงยี่สิบสี่นาที
ตอบวรรณคดีซ้ำเรื่องกัน  หักคะแนนคนตอบทีหลัง เรื่องละ  ๒ คะแนน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 10:48

คุณอาร์ท  ได้แก้ไขคำตอบใหม่  จึงแก้คะแนน เป็น  ๑๐ คะแนน
(ตอบอีกข้อ  จะได้ครบตามโควตาที่ให้ตอบ)

ส่วนคุณไซมีส  ขอแลกข้อที่ตอบซ้ำกับคุณดีดี  ๒ ข้อ
กับข้อที่ตอบใหม่  ๒ ข้อ  แก้คะแนนให้เป็น  ๑๕ คะแนน
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 10:51

ยังเหลือโควต้าอีกข้อ

ขอตอบมะพร้าวสีดา
มะพร้าวสีดา เป็นปรงชนิดหนึ่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์:  Cycas cirinalis L.
ชื่อวงศ์:  Cycadaceae
ชื่อสามัญ:  Cycas tree หรือ Cycas palm
ชื่อพื้นเมือง:  กา กาเดาะ กูดหลวา แข่ดู่ ทอคลิ บอกะ มะพร้าวเต่าดอย  มะพร้าวเต่าหลวง มุ่งม่าง มะพร้าวสีดา
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นต้นไม้เปลือกสีน้ำตาล มีรอยแผลใบที่ลำต้น มีเหง้ากึ่งใต้ดิน
    ใบ  ประกอบแบบขนนก เรียงเวียนสลับหนาแน่นช่วงยอดหรือปลายกิ่ง ใบย่อยด้านล่างมักลดรูปเป็นหนามแหลม ใบย่อยรูปแถบ หนา
จำนวนมาก เรียงสลับหรือเกือบตรงข้าม เส้นกลางใบนูนเด่นชัด ไม่มีเส้นแขนงใบย่อย มีเกล็ดหุ้มยอด (cataphyll)
    ดอก  แยกเพศต่างต้น ใบสร้างอับไมโครสปอร์ (microsporophyll) จำนวนมาก รูปลิ่ม ปลายมักแหลมคล้ายหนาม เรียงเวียนเป็นรูปโคน
ตั้งขึ้นที่ยอดลำต้น เรียกว่า male cone หรือ pollen cone ใบสร้างอับเมกาสปอร์ (megasporophyll) ของเพศเมีย เรียงเป็นกลุ่มคล้าย
ใบกระจุกแบบกุหลาบซ้อน (rosette) ไม่เป็นรูปโคน แต่ละสปอร์โรฟิลมีก้าน ปลายก้านเป็นแฉกแบบขนนกรองรับออวุล ออวุลมี 1-5 เม็ด
    เมล็ด  ทรงกลมหรือรี ขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเนื้อสดหนาด้านนอก ด้านในแข็งเป็นเนื้อไม้ ลักษณะคล้ายผลแบบเมล็ดเดียวแข็ง (drupe)
ใบเลี้ยง 2 ใบ ติดกันที่โคน
การปลูก:  เมล็ดของปรงจะงอกได้ช้ามาก ถึงแม้ว่าจะไม่มีการฟักตัวก็ตาม การทำให้เมล็ดปรงงอกได้เร็ว จึงต้องนำเมล็ดปรงมาปอก
เอาเนื้อหุ้มเมล็ด ที่อยู่ชั้นนอกออกให้หมด แล้วจะพบเปลือกแข็งอีกชั้นหนึ่งที่เรียกว่า กะลาห่อหุ้มเมล็ดอยู่ จึงควรนำไปฝนจนกะลาทะลุหรือ
กะเทาะให้แตก เพื่อให้น้ำหรือความชื้นซึมเข้าไปในเมล็ด แล้วเมล็ดจะงอกได้เร็วขึ้น ถ้ามีการแกะกะลาออกให้หมดจะเหลือแต่ endosperm
ก่อนนำไปเพาะ ควรนำไปแช่น้ำยาป้องกันเชื้อราเสียก่อน การเพาะโดยวิธีนี้จะได้ต้นอ่อน ที่มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงและต้นอ่อนมีขนาดสม่ำเสมอกัน
การดูแลรักษา:  ต้องการดินปลูกที่ระบายน้ำดี ต้องการน้ำน้อย
การขยายพันธุ์:  การแยกหน่อและการเพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    ใบใช้ ในงานพิธีต่างๆ
    -    ลำต้นของปรงบางชนิด ทำแป้งสาคู
    -    เมล็ดของปรงบางชนิด การสกัดยาจาก แต่การนำมาเป็นอาหารและยา ควรจะระมัดระวัง ให้มากเนื่องจากปรงบางชนิดยังมีสารพิษอยู่ด้วย
แหล่งที่พบ:  ขึ้นอยู่บนภูเขา ตามหน้าผาหรือเกาะอยู่กับโขดหิน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 10:55

คำถามข้อที่ ๕๗.
ยกวรรณคดีไทยมา ๒ เรื่อง
ที่ผู้แต่งนำเนื้อเรื่องตอนใดตอนหนึ่ง
หรือเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์

มาแต่งเป็นวรรณคดีที่ไม่ใช่วรรณคดีที่ใช้ในการแสดงมหรสพ
พร้อมอธิบายลักษณะวรรณคดีที่ยกมาด้วย
(ผู้แต่ง สมัยที่แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ เนื้อเรื่อง)

ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์ โพสต์ได้ตั้งแต่บ่ายสองโมงยี่สิบสี่นาที
ตอบวรรณคดีซ้ำเรื่องกัน  หักคะแนนคนตอบทีหลัง เรื่องละ  ๒ คะแนน



แบบนี้ตอบเรื่อง "หนุมานพบจับโบ้เอ" ได้ไหมครับ  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง