คำถามข้อที่ ๕๖.
คำถามนี้ ใครก็ไม่รู้ส่งมาให้ เกี่ยวกับรามเกียรติ์อย่างไร
ถามเขา เขาก็บอกว่า เกี่ยวแน่นอน
แล้วให้ตอบอย่างไร เขาว่า ให้เลือกทำคนละ ๓ ข้อ
(ทำซ้ำกันได้ แต่คนตอบหลังได้คะแนนครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม)
โดยให้บอกชื่อในโจทย์ข้างต้นหมายถึงอะไร จงให้ข้อมูลมา
ถ้าได้ภาพด้วยก็จะดีมาก
ขอตอบค่ะ

ทั้งหมดเป็นพืชที่มีชื่อมาจากเรื่องรามเกียรติ์
3.Schefflera leucantha R. Vig.= หนุมานประสานกาย
ชื่อสามัญ (Common Name) : หนุมานประสานกาย Hanuman prasan kai (General)
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name): Schefflera leucantha R.Vig.
ชื่อวงศ์ (Family Name) : ARALIACEAE
เป็นไม้พุ่มแกมเถา สูงประมาณ 1-4 เมตร ลักษณะใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับ ใบย่อยรูปรี หรือรูปใบหอก กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. ลักษณะดอก เป็นดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีนวล
ลักษณะผล เป็น รูปกลม
สรรพคุณใบสด แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือดห้ามเลือด สมานแผล สารซาโปนินในใบมีฤทธิ์ ขยายหลอดลม
เหมือนกับหนุมานที่มีความสามารถในการรักษาแผลให้กับร่างกาย คนไทยเลยนำมาตั้งเป็นชื่อสมุนไพรตัวนี้
4.Pagoda Plant = หนุมานนั่งแท่น
ชื่อสามัญ (Common Name): Pagoda Plant, Coral Plant, Physic Nut, Guatemala Rhubarb
ชื่อพฤกษศาสตร์ (Scientific Name) : Jatropha Podagrica, Hook.
วงศ์ (Family Name) : Euphorbiaceae
หนุมานนั่งแท่น มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วไปในแถบประเทศภูมิภาคเอเชีย และในเขตร้อนชื้นทั่วไป ใช้เป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีลักษณะลำต้นที่สวยงาม มีลักษณะคล้ายต้นปาล์มแชมเปญ เป็นไม้ที่เลี้ยงง่ายเจริญงอกงามดี เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ใบคล้ายใบตำลึงแต่ใหญ่กว่า มีแฉก 5 แฉก แต่ละแฉกไม่ลึกมาก มีก้านใบคล้ายกับก้านใบมะละกอแต่เล็กกว่า ก้านใบไม่มีรูเหมือนก้านมะละกอ ลักษณะดอกมีก้านยาวขึ้นมาจากยอดเจริญ คล้ายก้านใบ มีสีแดงเข้ม ดอกมีกลีบดอกเล็กมาก ก่อนดอกบานดูคล้ายหัวไม้ขีดไฟ เมื่อดอกบานจะเห็นเกสรอยู่เป็นกลุ่มกลางดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ เมื่อดอกได้รับการผสมจะเจริญกลายเป็นผลออกมาคล้ายผลฝิ่นแต่เล็กกว่า มีเมล็ดอยู่ภายในเพื่อขยายพันธุ์เวลาผลแก่จัดเมล็ดจะแตกออกมา และดีดตัวออกไปได้ไกล ๆ ถึง 1 – 2 เมตร ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด หนุมานนั่งแท่นมียางสีใสข้น เมื่อยางไหลออกมา ถ้ายางแห้งจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดงคล้ายหยดเลือดแห้งติดกับวัตถุ ยางหนุมานนั่งแท่นมีประโยชน์ในการรักษาแผลทุกชนิด แผลเนื้องอกได้ผลดีมาก จากการทดลองพบว่า จะรักษาแผลให้หายได้เร็วกว่าการรักษาด้วยยาทางการแพทย์ปัจจุบัน และแผลจะไม่ค่อยเป็นแผลเป็น จึงเป็นพืชสมุนไพรที่น่าสนใจ
5.Platycerium = ชายผ้าสีดา
ชื่อสามัญ (Common Name) : ชายผ้าสีดา Platycerium ภาคใต้เรียก "ชายผ้าสีดา" ภาคอีสาน เรียก "กระเช้าสีดา" หรือ"สไบสีดา" และภาคเหนือเรียก "ห่อข้าวสีดา" หรือ "หัวเฒ่าย่าบา"
ชื่อวิทยาศาสตร (Scientific Name) : Platycerium holtumii Jench. & Hennipm.
วงศ์ (Family Name) : POLYPODIACEAE
จากลักษณะที่พริ้วไหว คล้ายชายผ้าของนางสีดา คนไทยเลยนำมาตั้งเป็นชื่อของเฟินชนิดนี้
ซึ่งเป็นเฟินแบบเกาะอาศัย ที่ดูแปลกตาแตกต่างจากเฟินทั่วไป ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีทั้งชนิดที่เจริญเติบโตเป็นต้นเดี่ยว และเป็นกลุ่ม ทั้งต้นประกอบด้วยแผ่นใบหนา เจริญซ้อนทับและประสานกันเป็นกลุ่มก้อน หรือเป็นหัวกระเช้า ทั้งยังมีใบอีกแบบงอกออกมาจากจุกตาบนหัวกระเช้า ในบางชนิดใบงอกออกมาชูตั้งขึ้น บางชนิดเป็นใบห้อยย้อยลงมา หรือใบกึ่งตั้งและปลายห้อยลงมา ก็มี
ลำต้น เป็นเหง้าเป็นแท่ง เลื้อยสั้น มีบางชนิดเหง้าแตกเป็นกิ่งสาขา ระบบรากทำหน้าที่ยึดเกาะต้นกับสิ่งที่เกาะอาศัย ใบปกคลุมด้วยขนรูปดาว ขนทำหน้าปกป้องแสงแดด และรักษาความชื้นไม่ให้ระเหยได้ง่าย รวมถึงยังช่วยดักจับความชื้นในอากาศได้อีกด้วย เกล็ดที่เหง้า (Rhizome Scales) มีความผันแปรของรูปร่าง แม้จะเป็นในต้นเดียวกันก็ตาม แต่ก็ยังพอจะแยกความแตกต่างได้สำหรับเฟินชายผ้าสีดาแต่ละชนิด
ลักษณะใบ ใบมี 2 รูปแบบ (dimorphic) คือ
- ใบกาบ (Base frond, shield frond หรือ sterile frond) ทำหน้าที่ห่อหุ้มระบบราก เพื่อรักษาความชื้นเอาไว้และโอบยึดเกาะที่อยู่อาศัย บางชนิดใบชูตั้งขึ้น เพื่อทำหน้าที่รองรับน้ำ เศษใบไม้และอินทรีย์วัตถุที่ร่วงหล่นมาจากด้านบน กลุ่มนี้มักเป็นชายผ้าสีดาที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างแห้ง บางชนิดใบกาบแผ่หุ้มระบบรากจนมิด ซึ่งกลุ่มนี้มักเป็นชนิดที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชุ่มชื้นหรือฝนชุก sterile frond บางแห่งอาจเรีรยกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ใบกาบ, ใบโล่, ใบโอบ, shield frond, base frond เป็นต้น
- ใบแผ่สยายเป็นริ้ว เรียก ใบชายผ้า หรือใบเขากวาง (fertile frond) บางชนิดเป็นริ้วห้อยสยายลง บางชนิดตั้งชูขึ้น บางชนิดใบมีขนคลุมหนาแน่น ทำหน้าที่ลดการคายน้ำของใบ ใบชายผ้า หรือ fertile frond ในบางแห่งอาจเรียกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ใบชายผ้า ใบเขา, Normal frond, True frond, Foliage frond เป็นต้น
อับสปอร์ เกิดทางด้านล่างของใบชายผ้าอยู่รวมกันเป็นพืด บางชนิดอับสปอร์อยู่ที่ปลายหรือขอบของใบชายผ้า บางชนิดเกิดบนอวัยวะพิเศษที่โคนก้านของใบชายผ้า
ชนิด Species และการจำแนกชนิดของเฟินในสกุลชายผ้าสีดา
เฟินสกุลนี้ นักพฤกษศาสตร์บันทึกไว้มี 18 ชนิด อยู่ในออสเตเรียและอินโดนีเซียมี 5 ชนิด, ในทวีปอาฟริกา 3 ชนิด, บนเกาะมาดากัสกา 4 ชนิด, ในเอเซีย มี 6 ชนิด และอเมริกากลาง มี 1 ชนิด สำหรับในไทยพบ 4 ชนิด ซึ่งเป็นที่นิยมมากของคนรักต้นไม้ ทำให้มีการเก็บจากป่าธรรมชาติ หรือตามสวนยาง สวนผลไม้ออกมาขาย เป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันราคาที่ซื้อ-ขายกัน นับวันขยับแพงขึ้น หาเก็บได้ยากขึ้น หรือต้องเข้าป่าลึกเข้าไปเรื่อยๆ แต่ความต้องการของนักเล่นต้นไม้ นับวันทวีมากขึ้น