เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22
  พิมพ์  
อ่าน: 96218 ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้และผู้สนใจ) ๓
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 300  เมื่อ 17 ก.พ. 11, 16:16



ใช้ภาษาไม่สุภาพ

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 301  เมื่อ 17 ก.พ. 11, 16:29



ใช้ภาษาไม่สุภาพ



นาร้ายย...นารายณ์...ต้องชวนกันไปยังเขาไกรลาศ ไปฟ้องพระอิศวรกัน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 302  เมื่อ 17 ก.พ. 11, 16:51

ข้อที่ ๖๘.

คุณอาร์ท ตอบมาละเอียดดี เสียดายไม่มีรูปประกอบด้วย
จึงให้  ๑๗  คะแนน

คุณดีดี  ตอบมาละเอียดเหมือนกัน  มีรูปประกอบครบ
แต่ประเด็นซ้ำกับของคุณอาร์ท
เอาไป  ๑๖   คะแนน

คุณไซมีส  ตอบมาละเอียดและแปลกกว่าคนอื่นๆ  มีภาพประกอบ
และยังมีราคาเช่าด้วย  เอาไป ๒๐ คะแนน 

ส่วนคุณวันดี  ตอบช้ากว่า ๑๕.๑๕ น.  หักก่อน ๒ คะแนน
ตอบมากว้างครอบคลุม  และแปลกแหวกแนวไม่ซ้ำใคร
แต่ไม่มีภาพ  ให้คะแนน  ๑๙  คะแนน หักออก ๒ คะแนน เหลือ ๑๗  คะแนน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 303  เมื่อ 17 ก.พ. 11, 18:05




น้อมรับ

แต่เรามิใช่ประสันตาต่อไก่ ขุดไม้ดัด และเล่นหนัง หรือเป็นพี่เลี้ยงใคร


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 304  เมื่อ 17 ก.พ. 11, 18:23

(ภาค 2)


๏ สพฺพสตฺรู วิธํเสตุ                     ๏ ศัตรูอันร้ายกาจ จงขยาดกำจัดหนี
สพฺพโสตฺถี ภวนฺตุ เต                   สวัสดีอันมั่งมี ให้จงได้แก่ท่านแล
๏ อายฺนตุ โภนฺโต อิธ ทานสีลา         ๏ ดูกรพระสมภาร คือพระทานและพระศีล
เนกฺขมฺมปญฺญา วิริยญฺจขนฺติ           ปัญญาบ่โหดหีน เพื่อออกสู่พิเนษกรม
๏ สจฺจาธิฎฺฐานา สห เมตฺตุเปกฺขา       ๏ สัจจาอธิษฐาน อุเบกขาจงเทายล
ยุทฺธาย โว คณฺหถ อาวุธานิ             ถืออาวุธนฤมิตรบิดตน เพื่อจักรบพระยามาร
๏ ปารมิโย วิทิตฺวาน                    ๏ บารมีพระรู้แล้ว ว่าพระแก้วคอยรำพึง
โพธิสตฺตสฺส สนฺติกํ                     เสด็จมาบ่ทันหึง มาอยู่เฝ้าล้อมพระองค์
๏ เกสรราชาว อาคญฺฉุง                ๏ เสด็จมาดูองอาจ คือสิงหราชออกจากแดน
โพธิสตฺตสฺส สนฺติกํ                     กล่าวว่าพระอย่าแคลน ตูข้าท่านขออาสา
๏ มยํ ปารมิตา โยธา                   ๏ ตูข้าหมู่บารมี พระชินสีห์สร้างมานาน
จรเณน ตยาภตา                       เป็นพวกพลทหาร จะประยุทธด้วยมารา
๏ อชฺช ทสฺสาม เต จีรํ                  ๏ วันนี้ตูข้าพระเจ้า มาอยู่เฝ้าอยู่รักษา
ชยภทฺทํ นมตฺถุ เต                     จงชำนะแก่มารา ตูข้าไหว้แต่งถวายกร
๏ ชยนฺโต โพธิยา มูเล                 ๏ จงชำนะชวยโชติ พระมหาโพธิบวร
สากฺยานํ นนฺทิวฑฺฒโน                จำเริญโลกทั้งผอง อีกสากยราชราชา
๏ เอวํ ตฺวํ วิชโย โหหิ                  ๏ ชำนะมีแก่พระเจ้า แพ้สร้อยเศร้าได้แก่มาร
ชยสฺสุ ชยมงฺคเล                      ฝูงคนทั่วสงสาร พระเจ้าให้เป็นมงคล
๏ พุทฺโธ จ มชฺฌิโม เสฎฺโฐ            ๏ ชำนะแล้วพระล้ำเลิศ พระประเสริฐอยู่ท่ามกลาง
สาริปุตฺโต จ ทกฺขิเณ                  อยู่มาบ่ทันนาน พระสาริบุตรอยู่เบื้องขวา
๏ ปจฺฉิเมปิ จ อานนฺโท                ๏ เบื้องหลังพระอานนท์ น้องทสพลร่วมเผ่าพานธุ์
อุตตฺเร โมคฺคลฺลานโก                 หนซ้ายพระโมคคลานะ มาอยู่เฝ้านพนอบคัล
๏ โกณฺฑญฺโญ ปุรภาเค จ             ๏ หนบูรพ์ลูกพระเจ้า อันผ่านเฝ้าชื่อโกณฑัญญะ
ภายพฺเพ จ ควมฺปติ                    เบื้องพายัพพระภัควัม อันมีฤทธิเรืองฉาย
๏ อุปาลี หรติฐาเน                     ๏ หรดีทิศหนใต้ คฤท่านไทอุบาลี
อาคเนยฺเย จ กสฺสโป                  พระกัสสปผู้เรืองศรี นั่งอยู่เฝ้าทิศอาคเนย์
๏ ราหุโล เจว อีสาเณ                  ๏ เจ้าราหุลผู้เป็นบุตร เฝ้าพระพุทธทิศอีสาณ
สพฺเพ เต พุทฺธมงฺคลา                 อรหันต์มีสมภาร ให้มงคลแก่ชินวรณ์
๏ โย ญตฺวา ปูชิโต โลเก              ๏ คนใดใครรู้แล้ว ตั้งใจแผ้วนพบูชา
นิทุกฺโข นิรุปทฺทโว                   ปราศจากอุปัทวา ทุกข์และภัยบ่ใกล้ตน
๏ มหาเทโว มหาเตโช                 ๏ คนนั้นมีเดชะ มีตะบะยิ่งฝูงคน
ชยโสตฺถี ภวนฺตุ เต                    สวัสดีชัยมงคล จงสัมฤทธิศรัทธา
๏ ปทุมุตฺตโร จ ปุรพายํ               ๏ ปทุมุตรสร้อยสมโพธิ ธ เสด็จอยู่ฝ่ายหนบูรพ์
อาตเนยฺเย จ เรวโต                   พระเรวัตผู้อาดูร เสด็จสถิตย์ทิศอาคเนย์
๏ ทกฺขิเณ กสฺสโป พุทฺโธ             ๏ ทักษิณแห่งหนภพ พระกัสสปผู้ทรงนาม
หรติเย สุมงฺคโล                       สุมงคลรสงาม เสด็จอยู่ฝ่ายหนหรดีศรี
๏ ปจฺฉิเม พุทฺธสีขี จ                   ๏ หนฝ่ายปัจฉิมทิศ ผู้สถิตย์ชื่อสีขี
พายพฺเพ จ เมธงกโร                  พายัพพระผู้มีศรี อันเสด็จอยู่ชื่อเมธังกร
๏ อุตฺตเร สากฺยมุนี เจว                ๏ สากยมุนีอยู่หนเกล้า ผู้เป็นเจ้าอยู่อุดร
อีสาเณ สรณงกโร                     พระพุทธสรณังกร อยู่เบื้องทิศหนอีสาณ
๏ ปถวิยํ กกฺกุสนฺโธ                   ๏ กักกุสนธ์พงศ์ชินสีห์ เรืองรูจีทั่วดินดล
อากาเส จ ทีปงฺกโร                    อากาศเวหาบน พระเป็นเจ้าทีปังกร
๏ เอเต ทส ทิสา พุทฺธา               ๏ สิบทิศย่อมพระเจ้า ผู้ผ่านเกล้าอันบวร
ราชธมฺมสฺส ปูชิตา                      ผู้ใดธรรมสั่งสอน ท่านย่อมให้เป็นมงคล
๏ นตฺถิโรคภยํ โสกํ                    ๏ พระย่อมบรรเทาโศก ย่อมดับโรคอันตราย
เขมํ สมฺปตฺติทายกํ                     เกษมสุขเปรียบปราย บ่ห่อนยากด้วยโรคา
๏ ทุกฺขโรคภยํ นตฺถิ                   ๏ ถอยทุกข์ถอยความไข้ อีกถอยโรคโรคา
สพฺพสตฺรู วิธํเสนตุ                     ศัตรูอันหึงษา ย่อมกระจัดแพ้พ่ายพัง
๏ เตสญฺญาเณน สีเลน                 ๏ เดชะแห่งศรัทธา ศีลปัญญามีสมภาร
สํยเมน ทเมน จ                       เดชะพระทรมาน อินทรีย์แล้วอยู่เย็นใจ
๏ เต ปิ ตํ อนุรกฺขนฺตุ                  ๏ พระเจ้าย่อมรักษา ผู้ศรัทธาบ่หวั่นไหว
อาโรคฺเยน สุเขน จ                    ให้สุขอยู่เย็นใจ ให้ถอยไข้ได้เรี่ยวแรง
๏ อานาคตสฺส พุทฺธสฺส                ๏ เดชะพระเจ้าข้า อันจะมาอนาคตกาล
เมตฺเตยฺยสฺส ยสฺสสิโน                ชื่อพระพุทธศรีอาริย์ มากยศศักดิ์ไมตรีคาม
๏ มหาเทโว มหาเตโช                 ๏ มีเดชะเดโชมาก ทั่วโลกธาตุถึงพรหมา
สพฺพโสตฺถี ภวนฺตุ เต                  เดชะพระนั้นมา ให้สวัสดีแก่หญิงชาย
๏ นโม เต พุทฺธวีรตฺถุ                 ๏ ราหูคาบจันทร์ได้ ยกมือไหว้พระผู้มีเพียร
วิปฺปมุตฺโตสิ สพฺพธิ                    พระผู้ทรงเปรียญ มาช่วยข้าพ้นจากกลัว
๏ สมฺพาธปฏิปนฺโนสฺสมิ               ๏ ข้าพเจ้าอัปทรัพย์ ถึงแค้นคับเป็นทุกข์ทน
ตสฺส เม สรณํ ภว                      จงพระทศพล เป็นที่พึ่งข้าอย่าคลา
๏ ตถาคตํ อรหนฺตํ                     ๏ พระจันทรเทพบุตร เอาพระพุทธอรหันต์
จนฺทิมา สรณํ คโต                     เป็นที่พึ่งนพนอบคัล ปล่อยพ้นแล้วจากราหู
๏ ราหุ จนฺทํ ปมุญฺจสฺสุ                ๏ พระเจ้าช่วยกรุณา ให้ราหูวางพระจันทร์
พุทฺธา โลกานุกมฺปกา                 พระเจ้าผู้ทรงธรรม์ อนุเคราะห์ด้วยคาถา
๏ กินฺนุ สตฺตรมาโน ว                 ๏ ราหูเอยอย่าด่วนได้ จงท่านไทเร่งวางจันทร์
ราหุ จนฺทํ ปมุญฺจสิ                    ผู้ส่องโลกทุกคืนวัน ให้รุ้งแจ้งแก่โลกา
๏ สํวิคฺครูโป อาคมฺม                  ๏ ท่านไทมีรูปหลาก สมเพชมากดูคลาดคลา
กินฺนุ ภีโต ว  ติฏฺฐสีติ                 มิกลัวพุทธคาถา บีเบียดท่านให้มุ่นหมอง
๏ สตฺตธา เม ผเล มุทฺธา               ๏ ผิท่านบ่วางจันทร์ หัวพระนั้นแตกเจ็ดภาค
ชีวนฺโต น สุขํ ลเภ                    เลี้ยงชีพมามาก บ่ร้างสุขสถาพร
๏ พุทฺธคาถาภิคีโตมฺหิ                 ๏ เร่งกลัวพุทธคาถา มีวาจาอันยืนยัน
โน เจ มุญฺเจยฺย  จนฺทิมนฺติ           ผิท่านบ่วางจันทร์ หัวจะแตกเป็นธุลี
๏ นโม เต พุทฺธวีรตฺถุ                 ๏ ราหูเหวยวางอาทิตย์ ให้เปลื้องปลิดวันทนา
วิปฺปมุตฺโตสิ สพฺพธิ                   แก่พระศรีศาสดา ช่วยโปรดข้าจากราหู
๏ สมฺพาธปฏิปนฺโนสมิ                ๏ ข้านี้เป็นยากนัก จงจอมจักรช่วยค้ำชู
ตสฺส เม สรณํ ภว                     เป็นที่พึ่งแก่ตูข้า ท่านผู้คำนึงถึงทุกวัน
๏ ตถาคตํ  อรหนฺตํ                   ๏ อาทิตย์เอาพระพุทธ อันใสสุดแลอรหันต์
สุริโย สรณํ คโต                      อีกทั้งพระไญยธรรม์ เป็นที่พึ่งที่รักษา
๏ ราหุ  สุริยฺ  ปมุญฺจสฺสุ              ๏ ราหูวางอาทิตย์ จงไปล่ปลิดจากชิวหา
พุทฺธา โลกานุกมฺปกา                พระเจ้าผู้กรุณา ย่อมช่วยยากแก่ฝูงคน
๏ โย อตฺธกาเร ตมสี ปภงฺกโร         ๏ อาทิตย์มีตะบะ อันใสสระในอันธการ
เวโรจโน มณฺฑลิ อุคฺคเตโช           รุ่งเรืองรัศมีงาม ย่อมเขจรไปกลางหาว
๏ มา ราหุ คิลิ จรํ อนฺตลิกฺเข          ๏ ราหูเอยจงไปล่ปลิด ให้อาทิตย์เดินทางบน
ปชํ  มม ราหุ ปมุญฺจ สุริยนฺติ          จงวางด้วยอาคม ตถาคตกล่าวคาถา
๏ กินฺนุ สนฺตรมาโนว                    ๏ ราหูเอยอย่าด่วนนัก ค่อยค่อยจักวางอาทิตย์
ราหุ สุริยํ ปมุญฺจสิ                     ราหูเอยอย่าเปลื้องปลิด ปล่อยอาทิตย์จากโรคา
๏ สํวิคฺครูโป อาคมฺม                    ๏ ราหูทูลพระเจ้า หัวข้าเถ้าจะแตกคราก
กินฺนุ ภีโต ว ติฏฺฐสีติ                  แล่งลงเป็นเจ็ดภาค ชีวิตข้าบ่คืนคง
๏ สตฺตธา เม ผเล มุทฺธา                ๏ ผิบ่วางสุริยนต์ หัวข้านั้นแตกเจ็ดภาค
ชีวนฺโต น สุขํ ลเภ                     เลี้ยงชีพมามาก บ่ร้างสุขสถาผล
๏ พุทฺธคาถาภิคีโตมฺหิ                 ๏ ข้ากลัวสัตย์วาจา พระคาถาจอมสากล
โน เจ มุญฺเจยฺย สุริยนฺติ               ผิบ่วางสุริยนต์ หัวข้าแตกเป็นธุลี
๏ นโม  พุทฺธสฺส  นโม  ธมฺมสฺส   นโม สงฺฆสฺส เสยฺยถีทํ หุลู หุลู หุลู สวาหาย
๏ เหฏฺฐิมา จ อุปริมา จ วิตฺถาริกา จ ติริยญฺ จ สพฺเพ สตฺตา สพฺเพ ปานา สพฺเพ ภูตา สพฺเพ ปุคฺคลา สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนฺนา สพฺพา อิตฺถิโย,สพฺเพ ปุริสา สพฺเพ อริยา สพฺเพ  อนริยา สพฺเพ เทวา สพฺเพ มนุสฺสา สพฺเพ วินิปาติกา สจิตฺตกา อจิตฺตกา สชีวิกา สพฺเพ อเวราโหนฺตุ อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ อนีฆา โหนฺตุ ทีฆายุกา โหนฺตุ อโรคา โหนฺตุ สมฺปตฺตี สมิชฺฌนฺตุ สุขํ อตฺตานํ ปริหรนฺตุ สพฺเพ มํ รกฺขนฺตุ จุปทฺทวา

(เหลืออีก 9 หน้าจะพยายามพิมพ์ในครบภายในพรุ่งนี้ โปรดติดตามภาคต่อไป)
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 305  เมื่อ 17 ก.พ. 11, 18:35

สรุปคะแนน กำลังดำเนินการอยู่ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม

คำถามข้อที่ ๗๐.
ข้อนี้  ราคา  ๔๐  คะแนน
มีมนต์ของไทยโบราณบทหนึ่ง
แต่งด้วยภาษาบาลีผสมสันสกฤต
ซึ่งปรากฏชื่อพระรามในมนต์ด้วย
ถามว่ามนต์บทนั้นชื่อว่าอะไร 
เนื้อหามนต์ทั้งบทนั้นมีว่าอย่างไร
จงคัดมาลงให้เต็ม
ตอบหน้าไมค์ ได้นับแต่บัดเดี๋ยวนี้
จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

ขอตอบมั่งนะคะ (เผื่อจะได้คะแนน)  ยิงฟันยิ้ม

พระมหาทิพย์พระมนต์ (มนต์ใหญ่)
 (ต้นฉบับบาลี)
 นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส(ว่าสามหน)
 ชย ชย ปฐวีสพฺพํ             ชย สตฺถา รหตปํ
 ชย  ชย  ปจฺเจกสมฺพุทธํ             ชย  อิสิมเหสฺสุรํ
 อินโท  จ  เวนเตยฺโย  จ              ชย  กุเวโร  วารุโณปิ  จ
 อคฺคิ วาโย  ปชุณโณ  จ             กุเวโร  จตุโลกปาลโก
 ชย  ชย  หโรหริเทวา                ชย  พรหมา  ธตรฏฺฐกํ
 ชย  ชย  นาโค  วิรุฬฺหโก           วิรูปกฺโข  จนฺทิมา  รวิ
 อฏฺฐารส  มหาเทวา                   สิทฺธิตาปสอาทโย
 อสีติ  สาวกา  สพฺเพ                  ชย – ลาภา ภวนฺตุ  เต
 ชย  ชย  ธมฺโม  จ  สงฺโฆ  จ       ทส  ปาโล  จ  เชยฺยกํ
 เอเตน  ชย  สิทฺธิเตเชน              ชย  โสตฺถี  ภวนฺตุ  เต
 อฏฺฐาธิกสตํ  ยสฺส                     มงฺคลํ  จรณทฺวเย
 จกฺกลกฺขณสมฺปนฺนํ                   นเมตํ  โลกนายกํ
 อิมินา  มงฺคลเตเชน                   สพฺพสตฺตหิเตสิโน
 เอเตน  มงฺคลเตเชน                   ชย  โสตฺถี  ภวนฺตุ  เต
 เอเตน  มงฺคลเตเชน                   มมํ  รกฺขนฺตุ  สพฺพทา
 เอเตน  มงฺคลเตเชน                   สพฺพสิทฺธี  ภวนฺตุ  เต
 เอเตน  มงฺคลเตเชน                   สพฺพสิทฺธี  ภวนฺตุ  เต
 สพฺพสตฺตุ  วิธํเสนฺตุ                  สพฺพสิทฺธี  ภวนฺตุ  เต
 อายนฺตุ  โภนโต  อิธ  ทานสีลา  เนกฺขมฺมปญฺญาวิริยญฺจขนฺติ
 สจฺจาธิฏฺฐานา  สห  เมตฺตุเปกฺขายุทฺธาย โว  คณฺหถ อาวุธานิ
 ปารมิโย  วิทิตฺวาน                    โพธิสตฺตสฺส  สนฺติกํ
 เกสรราชา  ว  อาคณฺฉุงฺ             โพธิสตฺตสฺส  สนฺติกํ
 มยํ  ปารมิตา  โยธา                   จรเณน  ตยาภตา
 อชฺช  ทสฺสาม  เต  จีรํ                ชย  ภทฺทํ  นมตฺถุ  เต
 ชยนฺโต  โพธิยา  มูเล                 สกฺยานํ  นนฺทิวฒฺฒโน
 เอวํ  ตวํ  วิชโย  โหหิ                ชยสฺสุ  ชยมงฺคเล
 พุทโธ  จ  มชฺฌิโม  เสฏโฐ        สาริปุตฺโต  จ  ทกฺขิเณ
 ปจฺฉิเม  ปิจ   อานนฺโท              อุตฺตเร  โมคฺคลฺลานโก
 โกณฺฑญฺโญ  ปูรภาเค  จ            พายพฺเพ  จ  ควมฺปติ
 อุปาลี  หรติฏฺฐาเน                    อาคเณยฺเย  จ  กสฺสโป
 ราหุโร  เจว  อิสาเณ                  สพฺเพเต  พุทฺธมงฺคลา
 โย  ญตฺวา  ปูชิโต  โลเก            นิทฺทุกฺโข  นิรูปทฺทโว
 มหาเทโว  มหาเตโช                 ชย  โสตฺถี ภวนฺตุ  เต
 ปทุมุตฺตโร  จ  ปุรพายํ               อาคเณยฺเย  จ  เรวตฺโต
 ทกฺขิเณ  กสฺสโป  พุทฺโธ           หรติเย  สุมงฺคโล
 ปจฺฉิเม  พุทฺธสิขี  จ                   พายพฺเพ  จ  เมธงฺกโร
 อุตฺตเร  สากฺยมุนี  เจว                สาเณ  สรณงฺกโร
 ปฐวิยํ  กกุสนฺโธ                       อากาเส   จ  ทีปงฺกโร
 เอเต  ทสทิสา  พุทฺธา                ราชธมฺมสฺส  ปูชิตา
 นตฺถิ  โรคภยํ  โสกํ                   เขมํ  สมฺปตฺติทายกํ
 ทุกฺขโรคภยํ   นตฺถิ                    สพฺพสตฺตรู  วิธํเสนฺตุ
 เตสญฺญาเณน  สีเลน                 สํยเมน  ทเมน  จ
 เตปิ  ตํ  อนุรกฺขนฺตุ                   อาโรคเยน  สุเขน  จ
 อนาคตสฺสส  พุทฺธสฺส              เมตฺเตยฺยสฺส  ยสสฺสิโน
 มหาเทโว  มหาเตโช                 สพฺพโสตฺถี   ภวนฺตุ  เต
 นโม  เต  พุทฺธวีรตฺถุ                  วิปฺมุตฺโตสิ  สพฺพธิ
 สมฺพาธปฏิปนฺโนสมิ                 ตสฺส  เม  สรณํ  ภว
 ตถาคตํ  อรหนฺตํ                       จนฺทิมา  สรณํ  คโต
 ราหุ  จนฺทํ  ปมุญฺจสฺสุ               พุทฺธา  โลกานุกมฺปกา
 กินฺนุ  สตฺตรมาโน  ว                 ราหุ  จนฺทํ  ปมุญฺจสิ
 สํวิคฺครูโป  อาคมฺม                   กินฺนุ  ภีโต  ว   ติฏฺฐสีติ
 สตฺตธา   เม   ผเล  มุทฺธา           ชีวนฺโต  น  สุขํ  ลเภ
 พุทฺธคาถาภิคีโตมฺหิ                  โน  เจ  มุญฺเจยฺย   จนฺทิมนฺติ
นโม  เต  พุทฺธวีรตฺถุ                  วิปฺปมุตฺโตสิ  สพฺพธิ
 สมฺพาธปฏิปนฺโนสมิ                 ตสฺส  เม  สรณํ  ภว
 ตถาคตํ  อรหนฺตํ                       สุริโย  สรณํ  คโต
 ราหุ  สุริยฺ  ปมุญฺจสฺสุ                พุทฺธา  โลกานุกมฺปกา
 โย  อตฺธกาเร  ตมสี  ปภงฺกโร   เวโรจโน  มณฺฑลิ  อุคฺคเตโช
 มา  ราหุ  คิลิ  จรํ  อนฺตลิกฺเข   ปชํ  มม  ราหุ   ปมุฯจ  สุริยนฺติ
 กินฺนุ  สนฺตรมาโน  ว                ราหุ  สุริยํ  ปมุญฺจสิ
 สํวิคฺครูโป  อาคมฺม                   กินฺนุ  ภีโต  ว  ติฏฺฐสีติ
 สตฺตธา  เม  ผเล  มุทฺธา             ชีวนฺโต  น  สุขํ  ลเภ
 พุทฺธคาถาภิคีโตมฺหิ                  โน  เจ  มุญฺเจยฺย   สุริยนฺติ
 นโม  พุทฺธสฺส  นโม  ธมฺมสฺส   นโม สงฺฆสฺส เสยฺยถีทํ
 หุลู หุลู หุลู สวาหาย,เหฏฺฐิมา  จ  อุปริมา  จ  วิตฺถาริกา 
 จ ติริยญฺ จ สพฺเพ  สตฺตา  สพฺเพ ปานา,
 สพฺเพ ภูตา  สพฺเพ ปุคฺคลา  สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนฺนา
 สพฺพา อิตฺถิโย,สพฺเพ ปุริสา  สพฺเพ อริยา  สพฺเพ
 อนริยา สพฺเพ เทวา  สพฺเพ มนุสฺสา ,
 สพฺเพ วินิปาติกา สจิตฺตกา อจิตฺตกา สชีวิกา
 สพฺเพ อเวราโหนฺตุ,อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ  อนีฆา  โหนฺตุ
 ทีฆายุกา  โหนฺตุ อโรคา โหนฺตุ,สมฺปตฺตี สมิชฺฌนฺตุ
 สุขํ  อตฺตานํ ปริหรนฺตุ สพฺเพ  มํ  รกฺขนฺตุ จุปทฺทวา,
 ชลฏฺฐา  วา  ถลฏฺฐา  วา             อากาโสปิ  จ  อนฺตลิเข
 ปพฺพตฏฺฐา  สมุทฺทา  จ              รกฺขนฺติ  จ  ลตาสิโน
 เตปิ  ตํ  อนุรกฺขนฺตุ                   อาโรคเยน  สุเขน  จ
 สุริยํ  จนฺทองฺคารํ                      พุทฺธพฤหสฺสปติฏฺฐิตา
 สุกฺรโสรราหุเกโส                    นวคฺรหา  จ  สพฺพโส
 เตสํ  พเลน  เตเชน                    อานุภาเวน  เตน  จ
 เตปิ  ตํ  อนุรกฺขนฺตุ                   อาโรคเยน  สุเขน  จ
 เจตฺรวิสาขเชฏฺเฐ  จ                   อาสาเธ  สวเน  ตถา
 ภทฺทปเท  จ  อาสุชฺเช                กตฺติเก  มิคสริเก
 ปุสฺเส  มาเฆ  ผคฺคุเณ  จ            โลกํ  ปาเลนฺติ  ธมฺมตา
 เอเต ทวาทส  จ  มเส                 อานุภาเวน  มหาภูต
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 306  เมื่อ 17 ก.พ. 11, 18:48

คำถามข้อที่ ๗๐.
ข้อนี้  ราคา  ๔๐  คะแนน
มีมนต์ของไทยโบราณบทหนึ่ง
แต่งด้วยภาษาบาลีผสมสันสกฤต
ซึ่งปรากฏชื่อพระรามในมนต์ด้วย
ถามว่ามนต์บทนั้นชื่อว่าอะไร  
เนื้อหามนต์ทั้งบทนั้นมีว่าอย่างไร
จงคัดมาลงให้เต็ม
ตอบหน้าไมค์ ได้นับแต่บัดเดี๋ยวนี้
จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

ขอตอบอีกอันนะคะ (เผื่อจะได้คะแนน คาถาบูชาฤาษีของท่าน siamese ยังได้คะแนนเลย... )  ยิงฟันยิ้ม

ท่อง นะโม ๓ จบ
จตุคามรามะเทวัง โพธิสัตตัง มะหาคุณัง มะหิทธิกัง อะหังปูเชมิ สิทธิลาโภ นิรันตะรัง

บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 307  เมื่อ 17 ก.พ. 11, 18:51

คำถามข้อที่ ๗๐.
ข้อนี้  ราคา  ๔๐  คะแนน
มีมนต์ของไทยโบราณบทหนึ่ง
แต่งด้วยภาษาบาลีผสมสันสกฤต
ซึ่งปรากฏชื่อพระรามในมนต์ด้วย
ถามว่ามนต์บทนั้นชื่อว่าอะไร  
เนื้อหามนต์ทั้งบทนั้นมีว่าอย่างไร
จงคัดมาลงให้เต็ม
ตอบหน้าไมค์ ได้นับแต่บัดเดี๋ยวนี้
จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

ขอตอบอีกบทค่ะ  (เผื่อจะได้คะแนน) ยิงฟันยิ้ม

โย โส  ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ

        สวากขาโต  เยนะ  ภะคะวะตา  ธัมโม

        สุปะฏิปันโน  ยัสสะ ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ

        ตัมมะยัง  ภะคะวันตัง  สะธัมมัง  สะสังฆัง

        อิเมหิ  สักกาเรหิ  ยะถาระหัง  อาโรปิเตหิ  อะภิปูชะยามะ

        สาธุ  โน  ภันเต  ภะคะวา  สุจิระปะรินิพพุโตปิ

        ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา

        อิเม สักกาเร  ทุคคะตะปัณณาการะภูเต  ปะฏิคคัณหาตุ

        อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ. ฯ

                อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา

                พุทธัง  ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)

                สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม

                ธัมมัง  นะมัสสามิ  (กราบ)

                สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ

                สังฆัง  นะมามิ  (กราบ)

(นำ)  หันทะ  มะยัง  พุทธัสสะ  ภะคะวะโต  ปุพพะภาคะนะมะการัญเจวะ

          พุทธานุสสะตินะยัญจะ  กะโรมะ  เส ฯ

(บางแห่งนำว่า)  ยะมัมหะ  โข  มะยัง  ภะคะวันตัง  สะระณัง  คะตา

อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง,  ยัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ  ปัพพะชิตา,

ยัสมิง  ภะคะวะติ  พรัหมะจะริยัง  จะรามะ, ตัมมะยัง  ภะคะวันตัง

สะธัมมัง  สะสังฆัง  ยะถาระหัง  อาโรปิเตหิ  สักกาเรหิ  อะภิปูชะยิตวา

อะภิวาทะนัง  กะริมหา, หันทะทานิ  มะยัง  ตัง  ภะคะวันตัง  วาจายะ

อะภิคายิตุง,  ปุพพะภาคะนะมะการัญเจวะ  พุทธานุสสะตินะยัญจะ

กะโรมะเส ฯ

(รับ)  นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ

          นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

          นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ

           ตัง โข  ปะนะ  ภะคะวันตัง  เอวัง  กัลยาโณ  กิตติสัทโท  อัพภุค-

คะโต,  อิติปิ โส ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ,  วิชชาจะระณะสัม-

ปันโน  สุคะโต  โลกะวิทู,  อะนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ  สัตถา-

เทวะมะนุสสานัง  พุทโธ  ภะคะวาติ ฯ

(นำ)       หันทะ  มะยัง  พุทธาภิคีติง  กะโรมะ เส ฯ

(รับ)                  พุทธวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต

                          สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ  สะมาคะตัตโต

                          โพเธสิ โย สุชะนะตัง  กะมะลังวะ  สูโร

                          วันทามะหัง  ตะมะระณัง  สิระสา ชิเนนทัง

พุทโธ โย  สัพพะปาณีนัง                    สะระณัง  เขมะมุตตะมัง

ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง                      วันทามิ  ตัง  สิเรนะหัง

พุทธัสสาหัสมิ  ทาโส วะ                     พุทโธ  เม  สามิกิสสะโร

พุทโธ  ทุกขัสสะ  ฆาตา  จะ               วิธาตา  จะ หิตัสสะ เม

พุทธัสสาหัง  นิยยาเทมิ                      สะรีรัญชีวิตัญจิทัง

วันทันโตหัง  จะริสสามิ                      พุทธัสเสวะ  สุโพธิตัง

นัตถิ เม  สะระณัง อัญญัง                   พุทโธ  เม สะระณัง  วะรัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ                         วัฑเฒยยัง  สัตถุ  สาสะเน

พุทธัง เม วันทะมาเนนะ                      ยัง  ปุญญัง  ปะสุตัง  อิธะ

สัพเพปิ  อันตะรายา  เม                       มาเหสุง  ตัสสะ  เตชะสา ฯ


                        กาเยนะ วาจายะ  วะ เจตะสา  วา

                        พุทเธ  กุกัมมัง  ปะกะตัง  มะยา ยัง

                        พุทโธ  ปะฏิคคัณหะตุ  อัจจะยันตัง

                        กาลันตะเร สังวะริตุง  วะ พุทธา ฯ


(นำ)  หันทะ  มะยัง  ธัมมานุสสสะตินะยัง   กะโรมะ  เส ฯ

(รับ)  สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม,  สันทิฏฐิโก อะกาลิโก  เอหิ-

ปัสสิโก, โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ  วิญญูหีติ ฯ

(นำ)           สวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ  เสยโน

                  โย  มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท

                  ธัมโม  กุโลกะปะตะนา  ตะทะธาริธารี

                  วันทามะรัง  ตะมะหะรัง  วะระธัมมะเมตัง

ธัมโม  โย สัพพะปาณีนัง               สะระณัง  เขมะมุตตะมัง

ทุติยานุสสะติฏฐานัง                    วันทามิ  ตัง สิเรนะหัง

ธัมมัสสาหัสมิ  ทาโส วะ                ธัมโม  เม สามิกิสสะโร

ธัมโม  ทุกขัสสะ ฆาตา  จะ            วิธาตา  จะ หิตัสสะ เม

ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ                   สะรีรัญชีวิตัญจิทัง

วันทันโตหัง จะริสสามิ                  ธัมมัสเสวะ  สุธัมมะตัง

นัตถิ  เม สะระณัง  อัญญัง             ธัมโม  เม สะระณัง  วะรัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ                   วัฑเฒยยัง  สัตถุ  สาสะเน

ธัมมัง  เม วันทะมาเนนะ                ยัง  ปุญญัง  ปะสุตัง  อิธะ

สัพเพปิ   อันตะรายา เม                 มาเหสุง  ตัสสะ  เตชะสา ฯ


                        กาเยนะ  วาจายะ  วะ เจตะสา วา

                        ธัมเม  กุกัมมัง  ปะกะตัง  มะยา ยัง

                        ธัมเม ปะฏิคคัณหะตุ  อัจจะ ยันตัง

                        กาลันตะเร  สังวะริตุง  วะ ธัมเม ฯ


(นำ)  หันทะ มะยัง  สังฆานุสสะตินะยัง  กะโรมะ เส ฯ

(รับ)  สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต   สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน  ภะคะ-

วะโต  สาวะกะสังโฆ,  ญายะปะฏิปันโน  ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สามีจิปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,  ยะทิทัง  จัตตาริ

ปุริสะยุคานิ  อัฏฐะ  ปุริสะปุคคะลา, เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,

อาหุเนยโน  ปาหุเนยโย  ทักขิเณยโย  อัญชะลีกะระณีโย,  อะนุตตะรัง

ปุญญักเขตตัง  โลกัสสาติ ฯ

(นำ)  หันทะ มะยัง  สังฆาภิคีติง  กะโรมะ เส ฯ

(รับ)               สัทธัมมะโช  สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต

                       โยฏฐัพพิโธ  อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ

                       สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต

                       วันทามะหัง  ตะมะริยานะ  คะณัง  สุสุทธัง

สังโฆ  โย สัพพะปาณีนัง                       สะระณัง  เขมะมุตตะมัง

ตะติยานุสสะติฏฐานัง                           วันทามิ  ตัง สิเรนะหัง

สังฆัสสาหัสมิ  ทาโส วะ                         สังโฆ เม  สามิกิสสะโร

สังโฆ  ทุกขัสสะ ฆาตา จะ                      วิธาตา จะ หิตัสสะ  เม

สังฆัสสาหัง  นิยยาเทมิ                           สะรีรัญชีวิตัญจิทัง

วันทันโตหัง  จะริสสามิ                           สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง

นัตถิ  เม สะระณัง  อัญญัง                       สังโฆ  เม  สะระณัง  วะรัง

เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                            วัฑเฒยยัง  สัตถุ  สาสะเน

สังฆัง  เม วันทะมาเนนะ                          ยัง  ปุญญัง ปะสุตัง  อิธะ

สัพเพปิ  อันตะรายา  เม                              มาเหสุง  ตัสสะ  เตชะสา ฯ


                        กาเยนะ  วาจายะ วะ  เจตะสา วา

                        สังเฆ  กุกัมมัง  ปะกะตัง  มะยา ยัง

                        สังโฆ  ปะฏิคคัณหะตุ   อัจจะยังตัง

                        กาลันตะเร  สังวะริตุง วะ สังเฆ ฯ

บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 308  เมื่อ 17 ก.พ. 11, 18:56

ขอตอบอีกบทค่ะ   ยิงฟันยิ้ม

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( 3 จบ )
นะโม เม สัพพะพุทธานัง      อุปปันนานัง มะเหสินัง
ตัณหังกะโร มะหาวีโร       เมธังกะโร มะหายะโส
สะระณังกะโร โลกะหิโต       ทีปังกะโร ชุตินธะโร
โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข       มังคะโล ปุริสาสะโภ
สุมะโน สุมะโน ธีโร       เรวะโต ระติวัฑฒะโน
โสภีโต คุณะสัมปันโน       อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
ปะทุโม โลกะปัชโชโต       นาระโท วะระสาระถี
ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร       สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
สุชาโต สัพพะโลกัคโค       ปิยะทัสสี นะราสะโภ
อัตถะทัสสี การุณิโก       ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
สิทธัตโถ อะสะโม โลเก      ติสโส จะ วะทะตัง วะโร
ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ                    วิปัสสี จะ อะนูปะโม
สิขี สัพพะหิโต สัตถา       เวสสะภู สุขะทายะโก
กะกุสันโธ สัตถะวาโห                        โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
กัสสะโป สิริสัมปันโน                         โคตะโม สักยะปุงคะโว ฯ
เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม วะจะสา มะนะสา เจวะ
วันทาเมเต ตะถาคะเต สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา   

นะโม อะนาคะเต สัมพุทโธ เมตไตยยา เมตไตยโยนามะ ราโมจะรามะสัมพุทโธ
โกสะโลธรรมราชาจะ  มาระมาโรธรรมสามี  ทีฆะชังฆีจะนาระโท โสโณรังสีมุนีตะถา สุภูเตเทวะเทโว โตไทยโยนะระสีหะโก  ติสโสนามะธะนะปาโล  ปาลิไลยโยสุมังคะโล เอเต ทะสะพุทธา นามะ ภะวิสสันติ อะนาคะเต กัปเป สะตะสะหัสสานิ ทุคะติง โส นะ คัจฉะติ 

นะโม อะนาคะเต รุกขะ ศรีมหาโพธิ์
เมตไตโยนาคะรุกโขจะ      พระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้กากะทิง
รามะพุทโธปิจันทะนัง      พระรามพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้จันทน์แดง
ธรรมราชานาคะรุกโข      พระธรรมราชาพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้กากะทิง
สาละรุกโขธรรมสามี      พระธรรมสามีพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้รังใหญ่
นาระโทจันทะรุกโขจะ      พระนาระโทพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้จันทน์แดง
รังสีมุนีจะปิปผลิ         พระรังสีมุนีพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้เลื้อย
เทวะเทโวจะจำปะโก           พระเทวเทพพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้จำปา
ปาตะลีนะระสีโหวะ                   พระนรสีห์พุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้แคฝอย
นิโครโธติสสะสัมพุทโธ      พระติสสะพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้ไทร
สุมังคะโลนาคะรุกโขจะ         พระสุมังคลพุทธเจ้า ตรัสรู้ ณ ไม้กากะทิง
เอเต ทะสะรุกขาศรีมหาโพธิ์ ภะวิสสันติ  อะนาคะเต อิเมทะสะจะสัมพุทเธ โยนะโรปิ
นะมัสสะติ กัปปะ สะตะสะหัสสานิ นิระยังโส นะ คัจฉะติ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ
จะพะกะสะ ฯ แม้ผู้ใดสวดเป็นนิจ จะไม่ตกนรกตลอดแสนกัป มีแต่ความเจริญ ถึงพระนิพพานในที่สุด สาธุ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 309  เมื่อ 17 ก.พ. 11, 19:07

ผมเกิดความสงสัยเรื่อง "พระรามพระพุทธเจ้า" นั้นจะหมายถึง พระรามในรามเกียรติ์หรือไม่ ซึ่งในเวปนี้บอกไว้ชัดเจนครับ

http://board.palungjit.com/f13/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3-33949.html


http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cycle-of-life&month=11-2007&date=15&group=6&gblog=3
พระรามพุทธเจ้า
เมื่อพระศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรยเสื่อมไปแล้ว จะเกิดมีสุญญกัปซึ่งมีอายุ ๑ อสงไขย เมื่อสุญญกัปล่วงไปแล้วจะบังเกิดมัณฑกัป ซึ่งปรากฏมีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ พระรามพุทธเจ้า และพระธรรมราชาพุทธเจ้า
ในกาลสมัยของพระกัสสปะพุทธเจ้า พระบรมโพธิสัตว์ได้มาบังเกิดเป็น นารทมาณพ
ในกาลนั้น นารทมาณพได้เห็นพระบรมศาสดา ซึ่งสมบูรณ์ด้วยลักษณะมหาบุรุษ พร้อมทั้งแวดล้อมด้วยเทพ พรหม เทวดา จึงตั้งจิตว่า “ พระกัสสปะพุทธเจ้า เราได้พบยากแสนยากเราจะมีประโยชน์อะไรด้วยอัตภาพที่น่ารังเกียจ เราจะกระทำตนให้เป็นประหนึ่งประทีปทองบูชาพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า” คิดดังนั้นจึงเอาผ้า ๒ ผืนชุบน้ำมันให้ชุ่ม แล้วพันรอบตั้งแต่ศีรษะจนถึงฝ่าเท้า และจุดไฟบนศีรษะบูชาพระพุทธเจ้าตลอด ๑ ราตรี กระทำดังนั้นแล้วจึงตั้งความปารถนาว่า
“ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ
ด้วยการถวายร่างกาย และชีวิตนี้
ขอจงเป็นปัจจัยแห่งสัพพัญญุตญาณเถิด”
ในกาลนั้นพระกัสสปะพุทธเจ้าได้ทรงพุทธพยากรณ์นารทมาณพว่า ด้วยผลแห่งการถวายพระวรกาย และชีวิต พระรามราชโพธิสัตว์ จักเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ทรงพระนามว่า พระพุทธรามบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยผลแห่งการบูชาด้วยสรีระ จักมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก ด้วยผลแห่งการถวายชีวิต จักมีพระชนมายุ ๙ หมื่นปี ด้วยผลแห่งพระวรกายมีไฟลุกโพลงตลอด ๑ คืน แสงสว่างแห่งพระพุทธรัศมี จะส่องสว่างตลอดกลางวัน และคืนเป็นนิจ
ด้วยพุทธานุภาพในสมัยนั้นจะบังเกิดมีต้นกัลปพฤกษ์ ๑ ต้น เพื่อให้มหาชนทั้งปวงอาศัยเลี้ยงตนตลอดกาลเป็นนิจ
จบอุเทศที่ ๒ ด้วยพระพุทธพยากรณ์ดังนี้แล
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 310  เมื่อ 17 ก.พ. 11, 19:11

คำถามข้อที่ ๗๐.

ข้อนี้  ราคา  ๔๐  คะแนน
มีมนต์ของไทยโบราณบทหนึ่ง
แต่งด้วยภาษาบาลีผสมสันสกฤต
ซึ่งปรากฏชื่อพระรามในมนต์ด้วย
ถามว่ามนต์บทนั้นชื่อว่าอะไร  
เนื้อหามนต์ทั้งบทนั้นมีว่าอย่างไร
จงคัดมาลงให้เต็ม
ตอบหน้าไมค์ ได้นับแต่บัดเดี๋ยวนี้
จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 311  เมื่อ 17 ก.พ. 11, 19:58

งั้นตามคุณ ดีดี สักหน่อย  ยิงฟันยิ้ม

ตัวนี้อ่านว่า "นะ เดินดง" เป็น ๑ ใน ๑๐๘ นะปถมัง ครับ


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 312  เมื่อ 18 ก.พ. 11, 14:53



ท่านนายกองสะอาด   

       คัดจบหรือยัง     ส่งใจมาช่วยนา    ข้าพเจ้าไม่มีฉบับแปลไทย  เลยไม่กล้ามาเทียบรัศมี

พระเดชพระคุณจะออกว่าราชการที่ทำเนียบเย็นนี้  โปรดระวังตัวโดยทั่วกัน

บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 313  เมื่อ 18 ก.พ. 11, 16:32

(ภาค 3)

๏ ข้าไหว้ข้าวันทา                         แต่ศาสดาแลพระธรรม
นพนอบด้วยเยงยำ                        แต่พระสงฆ์ทรงวินัย
๏ จักกล่าวให้ปรากฏ                      ฦๅพระยศทั่วแดนไตร
ทุกเทพดาใด                             อยู่เบื้องใต้ชื่อเหฎฐา
๏ เบื้องบนอันปรากฏ                     สูงโสฬศถึงพรหมา
รอบขอบทั่วจักรพาฬา                    แต่เทพอยู่ก็เย็นใจ
๏ สรรพสัตว์มีอินทรีย์                    อีกฝูงผีแห่งใดใด
จงอยู่สำราญใจ                          ด้วยเดชะไหว้วันทา
๏ หญิงขายอันเป็นชี                      แลชัยอารีย์อีกเทพา
อย่าผูกกรรมเวรา                         อย่าขึ้งเคียดเป็นโทษา
๏ อย่าผูกพยาบาท                       ทำร้ายกาจให้มรณา
จงอยู่แลทีฆา                             อายุยืนอยู่จำนง
๏ เลี้ยงตนก็เป็นสุข                       อยู่สนุกแลยืนยง
ดับทุกข์ดับกังวล                          สัมฤทธิเดโชไชย
๏ ได้ธรรมสิบประการ                     อันพิสดารมหิมา
อายุแลรูปา                               สุขกำลังเกิดมีศรี ฯ
๏ ชลฏฺฐา วา ถลฏฺฐาวา                   ๏ เทพาอันเลิศล้ำ อยู่ในน้ำและดินแดน
อากาโสปิ จ อนฺตลิเข                     ทั้งเทพอยู่เมืองแมน เบื้องอากาศเวหา
๏ ปพฺพตฏฺฐา สมุทฺทา จ                  ๏ ทั้งเทพอยู่ภูเขา ทั้งเทพเฝ้าพระคงคา
รกฺขนฺติ จ ลตาสิโน                       ทั้งเทพรักษา ทุกต้นไม้และเครือวัลย์
๏ เตปิ ตํ อนุรกฺขนฺตุ                      ๏ เทพาทั้งหลายนั้น จงพากันมารักษา
อาโรคเยน สุเขน จ                       ฝูงท่านอันศรัทธา ให้อยู่สุขพ้นรำคาญ
๏ สุริยํ จนฺทองฺคารํ                       ๏ อาทิตย์ผู้บวร อีกจันทรและอังคาร
พุทฺธพฤหสฺสปติฏฺฐิตา                     พุธพฤหัสครูอาจารย์ อันเลี้ยงโลกโดยธรรม์
๏ สุกฺรโสรราหุเกโส                       ๏ สุกรเสาร์ราหูเกตุ ผู้วิเศษถ้วนวันวาน
นวคฺรหา จ สพฺพโส                        นพเคราะห์ย่อมเทวา อันอยู่ถ้วนยังรังยา
๏ เตสํ  พเลน  เตเชน                     ๏ เดชะกำลังพล เทพทุกตนมีฤทธา
อานุภาเวน เตน จ                         อานุภาพมหิมา ทั้งเดชะเดโชไชย
๏ เตปิ  ตํ  อนุรกฺขนฺตุ                    ๏ นพเคราะห์จงมาชุม ช่วยรักษาคุ้มพยาบาล
อาโรคเยน สุเขน จ                      ให้อยู่สุขสำราญ ดับอาพาธภายใน
๏ เจตฺรวิสาขเชฏฺเฐ จ                     ๏ เดือนห้าตั้งเป็นอาทิ เดือนหกคลาดับกันมา
อาสาเธ สวเน ตถา                       เดือนเจ็ดชื่อเชฎฐา เดือนแปดชื่ออาสาธศรี
๏ ภทฺทปเท จ อาสุชฺเช                  ๏ เดือนเก้าเดือนสิบ สิบเอ็ดนั้นตามบาฬี
กตฺติเก มิคสริเก                         เดือนสิบสองเดือนอ้ายยี่ ฤดูสี่ดับกันมา
๏ ปุสฺเส มาเฆ ผคฺคุเณ จ                ๏ เดือนสามและเดือนสี่ เดือนห้ามีดับกันมา
โลกํ ปาเลนฺติ ธมฺมตา                   เลี้ยงโลกเป็นธรรมดา ให้รู้จักอัชฌาไศรย
๏ เอเต ทวาทส จ มเส                   ๏ ชาวเจ้าแต่ฝูงเดือน ช่วยตักเตือนในแดนไตร
อานุภาเวน มหาภูต                      โลกาหมู่ใดใด จงช่วยกันหมู่อันตราย
๏ เต ปิ ตํ อนุรกฺขนฺตุ                    ๏ เดือนทั้งสิบสองนั้น จงมากันซึ่งอันตราย
อาโรคฺยน จ สุเขน จ                    รักษาท่านทั้งหลาย อย่าให้มีโรคโรคา

(ภาค 4 จะติดตามมาในวันพรุ่งนี้ช่วงเย็นๆ เพราะกระผมได้รับสาส์นด่วนจากเกลอสนิทว่าให้ไปช่วยงานทางด้านศิลปะ)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 314  เมื่อ 18 ก.พ. 11, 20:47

มาตรวจคำตอบคุณดีดี  ซึ่งไปหามาลงยาวเหยียด
แต่ต้องไม่ลืมนะครับว่า นี่คือกระทู้รามเกียรติ์
ต่อให้คุณดีดีเอามนต์บทยาวเท่าใดมาลง
และมนต์บทนั้นมีคำว่าพระรามอยู่ก็จริง 
แต่เป็นพระรามต่างเรื่องผมก้ให้คะแนนไม่ได้

อุปมาเหมือนผมไปร้านอาหารสั่งข้าวผัด
แต่แม่ครัวทำเส้นใหญ่ราดหน้ามาให้ผม
ผมจะถือว่าแม่ครัวทำอาหารตามที่ผมสั่งได้หรือ

1.พระมหาทิพย์พระมนต์ (มนต์ใหญ่)  (ต้นฉบับบาลี)
มนต์บทนี้ เป็นของใหม่  ที่เอาของเก่ามาแต่งย่อความลง
และมีการชำระให้เป็นบาลี ไม่มีสันสกฤตปะปน
และบททิพมนต์บทนี้ ไม่ปรากฏชื่อพระราม  ให้คะแนนไม่ได้

2.
ขอตอบอีกอันนะคะ (เผื่อจะได้คะแนน คาถาบูชาฤาษีของท่าน siamese ยังได้คะแนนเลย... )  ยิงฟันยิ้ม

ท่อง นะโม ๓ จบ
จตุคามรามะเทวัง โพธิสัตตัง มะหาคุณัง มะหิทธิกัง อะหังปูเชมิ สิทธิลาโภ นิรันตะรัง

ขอให้ทำความเข้าใจโจทย์ทั้งหมดในข้อที่ ๗๐. ให้ดี
รามะในคาถาบูชาจตุคามรามเทพ   เป็นมนต์ค่อนข้างใหม่ ดูจากภาษา
จริงอยู่ว่า  จตุคามรามเทพ  เป็นเทพประจำถิ่นของชาวลังกามาก่อน
อันมีประวัติว่าเป็นเทพที่เกี่ยวเนื่องกับพระรามในรามายณะอยู่
และเข้ามาอยู่ในสังคมไทยมาช้านาน ดังมีหลักฐานเก่าที่สุด
ในโองการดำน้ำลุยเพลิง ที่อยู่ในกฎหมายตราสามดวง
แต่จตุคามรามเทพก็ดูจะห่างๆ ออกจากรามเทพในรามเกียรติ์ไปเป็นพระโพธิสัตว์
ไปเสียแล้ว  ฉะนั้น  มนต์บทนี้ จึงไม่สามารถให้คะแนนได้
และโปรดเข้าใจด้วยว่า  ที่ผมให้คะแนนคุณไซมีสนั้น
เพราะมนต์ที่ไซมีสยกมา พระรามในมนต์บทนั้นเป็นพระรามในรามเกียรติ์แน่นอน
ถึงมนต์บทนั้นจะไม่เก่าแก่นัก   แต่ยังพอเข้าเค้าเข้าเกณฑ์คำถามอยู่บ้าง
ผมจึงให้คะแนน

3.ในความเห็นที่ ๓๐๗
เป็นมนต์บทยาว   ที่รามะปรากฏแต่นั่นก็ไม่ รามะในรามเกียรติ์
ขออภัย  ที่ผมให้คะแนนไม่ได้จริงๆ

4.ในความเห็นที่ ๓๐๘
อันที่จริงเหตุผลนั้น คุณไซมีสตอบแทนผมไปแล้ว  ผมจึงไม่ต้องอธิบายมาก
รามะ ในบทมนต์นั้น เป็นพระนามของพระอนาคตพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง
ข้อนี้ย่อมไม่เข้าเกณฑ์ตามโจทย์ต้องการ   เพราะเราต้องรามในรามเกียรติ์
ฉะนั้นที่คุณดีดี คิดว่า  "ปรากฏชื่อพระรามในมนต์"  เท่านี้แล้ว
ผมจะให้คะแนนนั้น  ย่อมเป็นความเข้าใจที่ไม่ตรงกับโจทย์ถาม
ผมจึงไม่สามารถให้คะแนนข้อนี้แก่คุณดีดีได้ 


แต่ผมก็ขอขอบคุณในความมานะพยายาม
ความสนใจพากเพียรของคุณดีดีที่มีต่อกระทู้รามเกียรติ์นี้มาตั้งแต่ต้นจนบัดนี้
คุณดีดีคงเข้าใจคำอธิบายของผมนะครับ
และคิดว่าคุณดีดีจะยังคงช่วยกันเล่นกระทู้นี้ต่อไปจนจบ ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 19 คำสั่ง