เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4202 ภาษิต จิตรภาษา(สันต์ สุวรรณประทีป) เขียน "อิเหนา" บอกอะไรแก่เราบ้าง
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 30 ม.ค. 11, 16:33



ขอแสดงความอาลัย


ในการจากไปของ  สันต์  สุวรรณประทีป หรือ "ภาษิต  จิตรภาษา"

เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๔  ที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

ป่วยเป็นโรคพาร์คินสันมาเป็นเวลา ๑ - ๒ ปี     อายุ ๘๒ ปี

ฌาปนกิจ ณ วัดลประทานรังสฤษฎ์  เมื่อวันพุธที่ ๒๖ มกราคม  ๒๕๕๔


ตามอ่านบทความของ ภาษิต  จิตรภาษา ใน ศิลปวัฒนธรรม  มาเป็นเวลานาน   จึงขอยกบทความ

ใน ปีที่ ๑๗  ฉบับที่ ๑๐   สิงหาคม  ๒๕๓๙   มาแสดงว่า นักเลงวรรณคดี อย่างที่ ภาษิต  จิตรภาษา เรียกตนเอง  อ่านหนังสืออย่างไร

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 30 ม.ค. 11, 16:55


       ภาษิต  จิตรภาษา เพิ่งจับอ่าน อิเหนา อย่างเต็มคราบเมื่อวันสองวันมานี้เอง(สิงหาคม ๒๕๓๙)

เพราะไปได้หนังสือลดราคามาจากศึกษาภัณฑ์ ฯ ในงานหนังสือลดราคา

เพลงไทยเดิมที่ใช้เนื้อเพลงจากอิเหนามีมากมาย  เช่น



"เขมรราชบุรี

ชะรอยกรรมจำพรากต้องจากไกล                  
จะผ่อนผันฉันใดนะอกเอ๋ย
แม้นเขามิสงสัยมิไปเลย
จะอยู่ชมเชยแก้วกัลยา                                            


ธรณีกันแสง

แล้วว่าอนิจจาความรัก
พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล
ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป
ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา
สตรีใดในภิภพจบแดน
จะมีใครได้แค้นเหมือนอกข้า  ฯลฯ


ลมพัดชายเขา

เวลาดึกเดือนตกนกร้อง
กระเวนไพรไก่ก้องกระชั้นขัน
เสียงดุเหว่าเร้าเรียกหากัน
ฟังหวั่นว่าเสียงทรามวัย
พระลุกขึ้นเหลือบแลชะแง้หา
เจ้าตามมาร้องเรียกหรือไฉน
ลมชวยรวยรสสุมาลัย
หอมเหมือนกลิ่นสไบบังอร"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 30 ม.ค. 11, 17:13


"นางครวญ

โอ้ว่าป่านนี้พระพี่เจ้า
จะโศกเศร้ารัญจวนหวลหา
ตั้งแต่พระไปแก้สงสัยมา
มิได้พบขนิษฐาในถ้ำทอง


กล่อมนารี

พระแย้มยิ้มพริ้มเพราเย้าหยอก
สัพยอกยียวนสรวลสม
พักตร์เจ้าเศร้าสลดอดบรรทม
พี่จะกล่อมเอวกลมให้นิทรา
สายสมรนอนเถิดพี่จะกล่อม
เจ้างามจริงพริ้งพร้อมดังเลขา
นวลละอองผ่องพักตร์โสภา
ดังจันทราทรงกลดหมดมลทิน
งามเนตรดังเนตรมฤคมาศ
งามขนงวงวาดดังคันศิลป์
อรชรอ้อนแอ้นดังกินริน
หวังถวิลไม่เว้นวายเอย


รายชื่อเพลงที่ยกมายังมี  เขมรปากท่อ   บุหลันลอยเลื่อน   ชมแสงจันทร์   ถอนสมอและล่องลม  เทพบรรทม   แปดบท

แขกมอญทางเดี่ยว  แขกอะหวัง   แขกขาว  แขกปัตตานี  แขกสะดายง  และอะไรต่อมิอะไรแขกอีก ๒๐ กว่าเพลง

นี่คือความไพเราะของคำ  และความนั้นไม่ต้องพูดถึง    เพราะถ้าไม่เพราะจริงคงไม่เป็นหนึ่งในห้าของวรรณคดีเอกของไทย

เพราะความไพเราะนี่แหละ  ปราชญ์ทางสังคีตศิลปจึงได้เอามาใส่ไว้ในเพลงให้ซาบรสทางหู"
บันทึกการเข้า
nakor
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 30 ม.ค. 11, 20:32

ได้อ่านข้อเขียนจำนวนมากของท่านผู้นี้ ขอแสดงความไว้อาลัย...

บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 30 ม.ค. 11, 21:25

ติดตามอ่านในศิลปวัฒนธรรมมานานหลายปี
ได้ความรู้เกี่ยวกับภาษาศาสตร์และวรรณคดีก็มากมาย

แล้วเกิดความสงสัยว่าฉบับเดือนมกราคม 2554 นี้ ทำไมถึงไม่มีบทความของภาษิต จิตรภาษา
จนเพิ่งมาทราบการถึงแก่กรรมของท่านเมื่อไม่นานนี้

ขอแสดงความไว้อาลัยกับคุณสันต์ สุวรรณประทีปด้วย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 30 ม.ค. 11, 21:35

"ไม้ดัด - ไม้ประดับ


       สมเด็จกรมพระยาดำรงท่านบอกว่า  ไม้ดัดนั้นจับเล่นในรัชกาลที่ ๒  จริง - ไม่จริงอย่างไรก็พิจารณาเอาได้จากอิเหนานี้  

เพราะวรรณคดีเรื่องนี้เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒  ได้พรรณาเกี่ยวกับเรื่องไม้ดัดไว้หลายกระบวน

บ้างตั้งไม้กระถางวางรูปสัตว์

รอบจังหวัดบริเวณพระเมรุใหญ่

       นี่คือการเอาไม้ดัดประดับเมรุ


บ้างผลิดอกออกผลพวงดก

ดังไม้ฉากกระจกจีนเขียน

       นี่คือลักษณะหนึ่งของไม้ดัด  คือ "ไม้ฉาก"


ประสันตาผู้มีอัชฌาสัย

เที่ยวเล่นในป่าพนาลัย

แสวงหาต้นไม้ดังจินดา

เห็นตะขบข่อยมะขามสามต้น

เอนชายชอบกลนักหนา

คนเดียวจะขุดสุดปัญญา

หมายตาไว้แล้วก็กลับไป

       นี่คือลักษณะหนึ่งของไม้ดัด  ไม้เอนชาย


ไม้ดอกงอกงามเหนือคีรี

ดูท่วงทีดีดังต้นไม้ดัด

ตะขบข่อยขึ้นเบียดเยีดยัด

เอาไว้ตัดเมื่อมาจำป่าไว้


ตะขบข่อยโคนดีมีหลายต้น

ประสันตาสั่งคนให้ขุดถวาย

ตะโกกุ่มพุ่มดีแต่มีคลาย

เอาไว้หลายปีไปเห็นได้การ


       ประสันตานี่เป็นนักเล่นต้นไม้จริง ๆ   และเป็นนักเสาะแสวงตัวยงด้วย

พบแล้วเอาไปไม่ได้ก็หมายตาไว้   วันหลังจะกลับมาเอา"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 30 ม.ค. 11, 21:42



       "สำเพ็งของเมืองกาหลังเวลานั้นกำลังดังทีเดียว   คนต่างเมืองมาต้องพาเที่ยว


พวกเมืองประมอตันนั้นพานเก่ง

เที่ยวตามซอกตรอกสำเพ็งริมวัดเกาะ

ปะผู้หญิงยียวนชวนหัวเราะ

แย่งเพลาะชักชิงวิ่งเข้าโรง"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 30 ม.ค. 11, 21:47

"โรงบ่อนที่ดังในขณะนั้น คือบ่อนนายตรา         แต่โรงละคอนที่ดังขณะนั้นไม่รู้ละคอนใคร  ไม่ยักบอกชื่อ


พวกเราที่จะไปให้กำชับ

ที่โจทก์จับหนีหลบไม่พบตัว

เร่งให้ตามติดคิดค้นคว้า

โรงละครบ่อนนายตราหาให้ทั่ว"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 30 ม.ค. 11, 21:51



       "แว่นตาก็มีแล้วนะครับในสมัยนั้น


บัดนั้น

ตำมหงงเสนีมียศถา

กระแอมไอพลางใส่แว่นตา

คลี่สาราอ่านถวายพระภูมี"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 30 ม.ค. 11, 21:56



       "แหวนชนิดเปิดหัวแล้วร้องเพลงก็มีแล้ว


ธำมรงค์เรือนฝรั่งฝังพลอย

ระย้าย้อยใต้มณีมีหีบเพลง

ครั้งนี้เป็นทีจะออกหน้า

ไปอวดชาวหมันหยาให้เหมาะเหมง"


คงเป็นหีบเพลงอย่างจิ๋วที่สุด
บันทึกการเข้า
fishstar
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 03:59


  อาลัยนายภาษิต จิตรภาษา

  และขอแสดงความเสียใจต่อญาติมิตรและครอบครัวของคุณสันต์ ด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 19:28


       กาแฟก็เริ่มกินกันแล้ว   แต่ยังไม่มีน้ำตาลทราย  ใช้น้ำตาลกรวดแทน   ฝ่ายที่มีหน้าที่ต้มน้ำและชงชากาแฟคือ กรมท่า

ในปัจจุบันคือกระทรวงต่างประเทศ

บ้างตั้งเครื่องบุชาระย้าแก้ว

เป็นถ่องแถวสดสีไม่มีหมอง

คลังสมบัติจัดขันน้ำพานรอง

กระโถนทองเหลืองตั้งเป็นแถวทิว

กรมท่าต้มน้ำชาเร็วรวด

น้ำตาลกรวดลูกกาแฟ่แก้หิว

ใส่ถ้วยอย่างใหม่ลายริ้วริ้ว

มีหูหิ้วลายทองรองจาน

       งานแต่งงานของอิเหนา  จะเห็นว่าท่านเน้นถ้วยกาแฟว่าสมัยใหม่มีหูจับและจานรอง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 19:36


นาฬิกาเครื่องจักร      ยังใช้นาฬิกาน้ำแบบเดิมอยู่

บัดนี้

พระโหราหาฤกษ์ดิถี

ลอยขันนาฬิกาบนวารี

จมลงถึงที่ให้ลั่นฆ้อง


            ขอคัดลอกเท่าที่เห็นว่าสะดุดตาน่าอ่านมาฝากเพียงเท่านี้  เป็นแรงกระตุ้นให้สนทนากันสืบไปได้

งานของ ภาษิต จิตรภาษา มีมากมายหลายร้อยชิ้น    มีสาระและเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง