เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 6510 ผมอยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับบุพการีกองทัพอากาศครับ
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 02 ก.พ. 11, 15:02

นายทหาร ๓ นายนั้นไปเรียนการบินที่ประเทศฝรั่งเศสแล้วกลับมาได้ฝาฝึกนายทหารไทยเป็นนักบินได้แก ๕ ตน  ก็พอดีเกิดสงครามในยุโรป (สงครามโลกครั้งที่ ๑) ขึ้น  เมื่อประเทศสยามประกาศสงครามกับเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี ในปี พ.ศ. ๒๔๖๐  ได้มีพระบรมราชโองการให้กระทรวงกลาโหมรับพลอาสามสมัครไปร่วมรบในสงครามทวีปยุโรป  โดยจัดเป็นกองบินทหารบกกว่า ๓๐๐ คน ในบังคับนายพันเอก พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี  สุวรรณประทีป)

เมื่อเดินทางถึงประเทศฝรั่งเศสได้มีการทดสอบร่างกาย  มีผู้ผ่านการทดสอบร่างกายไปเรียนการบิน ๑๒๕ นาย  ส่วนที่เหลือได้ไปเรียนการซ่อมสร้างเครื่องบิน  เมื่อสงครามเลิกมีผู้สอบไล่ได้ประกาศนียบัตรนักบิน ๙๗ คน  กับนายช่างซ่อมสร้างเครื่องบินอีกกว่า ๒๐๐ นาย  เมื่อเดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ แล้ว ท่านเหล่านี้ได้ช่วยกันสร้างและพัฒนากรมอากาศยานทหารบกจนเป็นกองทัพอากาศในเวลาต่อมา  และได้นำความรู้ที่ร่ำเรียนกันมานั้นมาออกแบบจัดสร้างเครื่องบินแบบ "บริตร" ขึ้นในช้ในราชการในตอนต้นรัชกาลที่ ๗

สงครามสงบลงแล้ว  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้กองบินทหารบกเดินทางกลับกรุงเทพฯ  แต่โปรดเกล้าฯ ให้นายพันเอก พระยาเฉลิมอากาศ คงอยู่ที่ฝรั่งเศสเพื่อเลือกซื้อเครื่องบินรบที่เหลือใช้จากสงครามที่ยังมีสภาพดีกลับมาใช้ในราชการอีกด้วย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 02 ก.พ. 11, 15:31

การทดลองทดสอบการขับเสมือนจริง ในยุคนั้นครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 02 ก.พ. 11, 15:52

บัตรประจำตัวนักเรียนการบิน First to receive a pilots license, Major Kuang Sakdi in 1912 แต่ผมอ่านแล้ว อ่านว่า "ทิพย์" มากกว่า


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 02 ก.พ. 11, 16:54



เต้ยเลย  สหาย

เมื่ออ่านแล้วสงสัย ต้องใฝ่รู้ และค้นคว้า  ดั่งนี้แล
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 02 ก.พ. 11, 16:55

พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ไปศึกษาโรงเรียนการบิน ที่ตำบลวิล์ลาคูเบลย์ เรียนแบบนักบินพลเรือน ส่วนอีกสองคนนั้นเข้าศึกษาโรงเรียนการบินของบริษัทนิเอเปอร์ต เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2455

        หลวงศักดิ์ศัลยาวุธฝึกบินด้วยเครื่องบินเบรเกต์ปีกสองชั้น หลวงวุธสิขิกรกับร้อยโททิพย์ เกตุทัต ฝึกด้วยเครื่องบินนิเออปอร์ปีกชั้นเดียวจนถึงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2455 พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธสอบไล่ได้ตามหลักสูตรสโมสร การบินพลเรือนของประเทศฝรั่งเศส

        การศึกษาการบินของบุคคลทั้งสามสอบไล่ได้ในเวลาใกล้ๆกัน แล้วเดินทางไปดูการบินในที่ต่างๆ เช่น ประเทศอังกฤษและรัสเซียเป็นต้น และในระหว่างเรียนการบินอยู่นั้นได้ ติดต่อซื้อเครื่องบินให้กระทรวงกลาโหมด้วยเป็นจำนวน 7 เครื่อง เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2456 ได้เลื่อนยศเป็นนายพันโท และในวันนั้นเองจะต้องสอบการบินเดินทางไกล 200 กิโลเมตร กับวันที่ 30 พฤษถาคม พ.ศ.2456 ต้องบินแบบสามเหลี่ยม 300 กิโลเมตร บังเอิญเครื่องชำรุดก้านสูบขาดจึงต้องร่อนลงสู่พื้นดิน แก้ไขจนใช้การได้จึงบินขึ้นใหม่ ขณะบินขึ้นต้องเลี่ยงหลบยอดไม้ เครื่องบินจึงแฉลบตกลงกระแทกพื้นดิน เครื่องบินเสียหายมากแต่พันโทหลวงศักดิ์ศัลยาวุธมิได้รับอันตรายใดๆเลย จะอย่างไรก็ดี เมื่อทำการ สอบใหม่ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2456 ก็สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของกองทัพบกฝรั่งเศส และมีฐานะเป็นนักบินทหาร

        เมื่อเรียนจบการบินทหารและการบินพลเรือนแล้วเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2456



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 02 ก.พ. 11, 17:17

เพิ่มเติม บัตรประจำตัวของทั้ง ๓ ท่าน

และกระทู้นี้ อ.Navarat C. ได้ลงเรื่องบุคคลที่ขึ้นบินครั้งแรกในสยาม และมีเรื่องเกี่ยวโยงถึงบุพการีแห่งกองทัพอากาศ ซึ่งในหัวข้อที่ ๒๕ อ่านให้ดี มีการกล่าวถึงเครื่องบินอีกรุ่นหนึ่ง

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/07/K8138478/K8138478.html


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 02 ก.พ. 11, 22:38



เป็นโชคที่คุณไซมีสวิ่งตามญาติมาถึงเรือนไทย

และอยู่เป็นกำลังให้กับเพื่อน ๆ ทุกคน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 03 ก.พ. 11, 08:46

พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ไปศึกษาโรงเรียนการบิน ที่ตำบลวิล์ลาคูเบลย์

ประวัติที่ตั้งของตำบลวิล์ลาคูเบลย์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปารีส ซึ่งในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ใช้พื้นที่แห่งนี้ในการล่าสัตว์ ในคริสศตวรรตที่ 19 พื้นที่บริเวณนี้ใช้เป็นสนามรบในสงครามปรัสเซีย เมื่อ ค.ศ. 1815 ซึ่งผลแห่งสงครามบ้านเรือนได้ถูกเผาไฟหมด

เมื่อกองทัพอากาศก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1909 ได้มีการตั้งโรงเรียนฝึกการบินที่ตำบลแห่งนี้ด้วย ปัจจุบันสนาบินได้กลายเป็นสนามบินแห่งกองทัพฝรั่งเศส หน่วย Base Air Force 107


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 03 ก.พ. 11, 08:47

ลักษณะทั่วไปของพื้นที่เป็นทุ่งโล่ง


บันทึกการเข้า
twato
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 03 ก.พ. 11, 23:48


ผมกลับบ้านต่างจังหวัดช่วงตรุษจีน กลับมาอีกทีได้ข้อมูลเพียบเลยครับ
ขอบคุณ คุณ siamese คุณ Wandee และทุกๆท่านครับ

- จากภาพการบินที่สนามบิน Villacoublay เมื่อ ค.ศ. 1912 http://albindenis.free.fr/Site_escadrille/debut_aviation_militaire4.htm
ที่คุณ  siamese  กรุณาบอกมา ผมสนใจมากเลยครับ แต่ผมแปลคำอธิบายภาพไม่ค่อยได้ครับ  ถ้าคุณ siamese สะดวก ผมรบกวนด้วยครับ

- อีกเรื่องที่ผมสนใจคือ เรื่องของการซ่อม - สร้างเครื่องบิน ได้เองของกองทัพในสมัยนั้น ซึ่งเราได้หาวัสดุในการซ่อมแซม และ ผลิตเครื่องบินโดยพยายามหาวัสดุที่มีภายในประเทศ
แทนของที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ได้ยินมาว่าใบพัดที่เราผลิตขึ้นเองนั้นทำจากไม้โมก (เข้าใจว่าเป็นไม้โมกมัน) (ยังไม่ยืนยันข้อมูล)  แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์
ของคนในยุคนั้น จนเราสามารถผลิตเครื่องบินได้เอง คือ เครื่องบินบริพัตร และ เครื่องบินประชาธิปก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 07:25


ผมกลับบ้านต่างจังหวัดช่วงตรุษจีน กลับมาอีกทีได้ข้อมูลเพียบเลยครับ
ขอบคุณ คุณ siamese คุณ Wandee และทุกๆท่านครับ

- จากภาพการบินที่สนามบิน Villacoublay เมื่อ ค.ศ. 1912 http://albindenis.free.fr/Site_escadrille/debut_aviation_militaire4.htm
ที่คุณ  siamese  กรุณาบอกมา ผมสนใจมากเลยครับ แต่ผมแปลคำอธิบายภาพไม่ค่อยได้ครับ  ถ้าคุณ siamese สะดวก ผมรบกวนด้วยครับ



ใช่ครับ เวปที่ส่งให้ ลองเลื่อนไปล่างสุด คลิกซ้ายก็ย้อนกลับไปปี ค.ศ. 1911 และด้านขวาก็คลิกไป ค.ศ. 1913 ได้นะครับ สำหรับเรื่องภาษาฝรั่งเศสนั้น มิถนัดครับผม


การสร้างเครื่องบินขึ้นใช้เอง

นับตั้งแต่ได้จัดตั้งแผนกการบินขึ้นจนได้รับการยกฐานะจัดตั้งเป็นกองบินทหารบก นายพันโทพระเฉลิมอากาศ ผู้บังคับการกองบิน ได้พิจารณาเห็นว่า กองบินทหารบกของไทย มีเครื่องบินอยู่เพียง ๘ เครื่องเท่านั้น และต้อง ปฏิบัติการฝึกบินทุกวัน ย่อมจะต้องชำรุดทรุดโทรมลงทุกวันและยากแก่การซ่อมบำรุง การจัดหาชิ้นอะไหล่ เครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ ยังหาไม่ได้ในประเทศไทย จึงมีการสร้างและทดลองเครื่องบิน ที่สร้างขึ้นเองหลายครั้ง เช่น วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๘

นายพันโท พระเฉลิมอากาศ ผู้บังคับกองบินทหารบก ได้ทำการทดลองบินเครื่องปีกสองชั้นแบบเบรเกต์ ซึ่งโรงงานของกองบินทหารบก สร้างตามสัดส่วนที่ถูกต้อง ด้วยการประกอบโครงสร้างลำตัวของเครื่องบินด้วยพันธุ์ไม้และวัสดุที่มีในประเทศได้สำเร็จ



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 08:24

มิกล้า  มิกล้า  เครดิตเป็นของคุณไซมีสแต่ผู้เดียวค่ะ

เธอและดิฉัน ชะตากรรม และความอยากรู้อยากเห็นพาไปตกอยู่ในกระทู้พิลึก กระทู้หนึ่งค่ะ

เลยมีความเห็นอกเห็นใจกัน เพราะไหน ๆ ก็ได้ แลกเปลี่ยนข้อมูล พยายามจะช่วยกันตอบกระทู้

ถามข้อสอบกันไปมา  แล้วไม่มีใครเชื่อใครเลยค่ะ   ต่างคนต่างตอบ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง