twato
อสุรผัด

ตอบ: 6
|
ผมอยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ ที่บุพการีกองทัพอากาศ ( พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร และ ร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ) ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส แบบละเอียดครับ โดยเฉพาะภาพถ่ายในขณะนั้น ท่านใดมีหนังสือหรือสามารถแนะนำได้ว่าผมควรไปค้นคว้าที่ไหน รบกวนด้วยครับ
ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 30 ม.ค. 11, 07:39
|
|
สวัสดีค่ะ คุณ twato คำถามของคุณอ่อนโยนน่าฟัง จึงขอตอบเท่าที่ทราบนะคะ
ข้อมูลที่ต้องการ โรงเรียนฝึกการบินในประเทศฝรั่งเศส
ไม่ได้ตอบแบบกำปั้นทุบดินนะคะ ห้องสมุดกองทัพอากาศ มีเอกสารมากมายค่ะ น่าจะเป็นแหล่งแรกที่ไปหาข้อมูลเรื่องประวัติบุคคลและประวัติรับราชการของท่านที่ถามมา
เรื่องรูปนั้นอาจอยู่ในนิตยสารรายเดือนของกองทัพอากาศเอง
เรือนไทยในเวลานี้ มีผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาพเก่ารอบโลก คือ คุณ ไซมีส สหายร่วมรบในวงวรรณกรรมของดิฉัน เรื่องแกะรอยย้อนยุคนั้นเธอสามารถหนักหนา และเธอให้น้ำหนัก
ความสำคัญกับเรื่องที่ถามมาเสมอ เมื่อมีรายละเอียดเรื่องโรงเรียนที่ไปฝึก และช่วงเวลา คุณไซมีสคงพอจะบุกทะลวงไปได้
ดิฉันขอตอบตามที่มีเอกสาร ดังต่อไปนี้นะคะ
หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ พระ (เยี่ยม สุคนธทรัพย์) นายพันโท สังกัดกระทรวงกลาโหม
ข้อมูล ปี ๒๔๗๕
จะใช่ท่านที่ถามมาหรือไม่ ไม่สามารถยืนยันได้ เพราะบรรดาศักดิ์ซำ้กันได้
ส่วนอีกสองชื่อ เอกสารมิได้ลงรายการไว้ค่ะ
หวังว่าท่านต่อไปคงมีข้อมูลเพิ่มค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 30 ม.ค. 11, 08:29
|
|
๓ บุพการีกองทัพอากาศนี่น มีบบรดาศักดิ์ครั้งสุดท้ายดังนี้
นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประทีป) - พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ ร้อยเอกหลวงอาวุธลิขิกร (หลง สินศุข) - นายพันเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ ร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต - นายพันเอก พระยาทยานพิฆาต
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
art47
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 30 ม.ค. 11, 09:22
|
|
ข้อมูลปี 2475
นายพลโท* พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) -เจ้ากรมอากาศยาน นายพันเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ (หลง สินศุข) -ปลัดกรมอากาศยาน นายพันเอก พระยาทยานพิฆาต (ทิพย์ เกตุทัต) -ผู้อำนวยการกองโรงงาน กรมอากาศยาน
*ในขณะนั้นยศของกองทัพอากาศยังไม่มี นายทหารในกรมอากาศยานยังใช้ยศของกองทัพบกอยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
twato
อสุรผัด

ตอบ: 6
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 31 ม.ค. 11, 02:34
|
|
ขอบคุณ คุณWandee และ ทุกท่านครับ
เรื่องของ โรงเรียนฝึกการบินในประเทศฝรั่งเศส ที่บุพการีกองทัพอากาศไปศึกษาวิชาการบินมานั้น
ผมได้ลองค้นข้อมูลที่ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ มาบ้างแล้วครับ มีข้อมูลอยู่บ้างประมาณหนึ่งครับ เผื่อท่านใดมีข้อมูลที่สามารถหาได้จากแหล่งข้อมูลอื่น หรือมีแหล่งข้อมูลอื่นๆแนะนำ ผมต้องรบกวนด้วยครับ
ขอบคุณมากๆครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
twato
อสุรผัด

ตอบ: 6
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 31 ม.ค. 11, 03:56
|
|
เรียนคุณ Wandee ครับ
โรงเรียนที่บุพการีกองทัพอากาศ (2 ใน 3 ท่าน) ไปศึกษาวิชาการบินนั้นมีชื่อว่า
โรงเรียนการบินนิเออปอรต์ (NieuportX ณ สนามบินวิลลากูเบลย์ (Villacoublay) ครับ ท่านไปศึกษาในปี พศ 2454 (1912) ครับ
ผมลองค้นในเว็ปไซด์ และตามห้องสมุดมาบ้าง แต่ผมไม่ค่อยสันทัดเรื่องของภาษาครับ โดยเฉพาะภาษาฝรั่งเศส จึงได้ข้อมูลไม่มากนัก
หากคุณ ไซมีส (สหายร่วมรบในวงวรรณกรรมของคุณ Wandee ) พอจะมีข้อมูลอะไรแนะนำเพิ่มเติม รบกวนแจ้งมาทางนี้ได้เลยนะครับ
ขอบคุณมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 31 ม.ค. 11, 08:13
|
|
มีสถานที่ มีช่วงเวลา น่าจะพากันไปได้
ดิฉันค้นเรื่องเมืองเล็ก ๆ ชานกรุงลอนดอนชื่อ ทวิกเคนนัม(ตามการออกเสียง) ในปี ๑๘๖๖ พอไหวค่ะ
ถ้าไม่ไหวก็คงจะต้องแรงเพื่อนๆมี่สามารถอาจหาญเดินทางเป็นประจำ
บุคคลที่พำนักอยู่ในเมืองเล็กๆนี้เป็นเวลา ๔ - ๕ ปี ต่อมาได้เดินทางเข้ามาสู่สยามอีกครั้งหนึ่ง รับราชการ และได้ทำประโยชน์ให้สยามอย่างมากมาย
ได้สนทนากับคุณไซมีสแล้วในเรื่องโรงเรียนฝึกบินนี้ คุณไซมีสบอกว่าน่าจะไหว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
twato
อสุรผัด

ตอบ: 6
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 31 ม.ค. 11, 14:18
|
|
เรียนคุณ Wandee ครับ
ขอบคุณมากครับ ขอบคุณในความใส่ใจครับ
ผมเองไม่เคยค้นคว้าในเรื่องแบบนี้อย่างจริงจัง
จึงอาจจะยังไม่มีวิธีการที่จะค้นคว้าที่ดีพอ
ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 31 ม.ค. 11, 14:40
|
|
สุภาพสตรีที่ตามอยู่ชื่อ Palacia ค่ะ เป็นศิลปินวาดภาพสีน้ำ นามสกุลของเธอยิ่งใหญ่เพราะสามีรับราชการในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อ่านประวัติของสามีเธอมาสะดุดอยู่ที่ว่า ทำไมเราไม่รู้จักบุตรสองคนของเธอเลย ทั้งๆที่บุตรในเมืองไทยที่เกิดกับแม่ไทย ก็เป็นที่รู้จักดี
ค้นไป ทราบว่าเธอมีบุตร สี่คน บุตรคนแรกคลอดในกรุงเทพและเสียชีวิตตั้งแต่อายุ ๑ เดือน
ได้เห็นภาพวาดสีน้ำของเธอแล้ว ๑ ภาพ งามมากค่ะ แม้จะเป็นภาพขาวดำ มีชีวิตทีเดียว รูปจริงยังเก็บอยู่ในประเทศอังกฤษค่ะ
ยังไม่กล้าไปลงทะเบียนกับร้านขายภาพเก่า คงได้เห็นอีกหลายรูป
ความสงสัยของนักอ่านพาเราไปได้ไกลในโลกของข้อมูลค่ะ
เมื่อสามีถึงแก่กรรม เธอได้รับพระราชทานเงินปีละ ๓๐๐ ปอนด์ตลอดชีวิต และบุตรสองคน ได้รับพระราชทานเงินค่าเล่าเรียนปีละ ๒๐๐ ปอนด์
แล้วจะปล่อยให้ชื่อของเธอสูญไปจากประวัติศาสตร์ของเราหรือคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
twato
อสุรผัด

ตอบ: 6
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 31 ม.ค. 11, 15:45
|
|
เรียนคุณ Wandee ครับ
จริงๆแล้วผมทำงานออกแบบ ไม่ค่อยได้ทำงานเกี่ยวกับการค้นคว้่าเท่าไรนัก พอได้ลองทำก็เริ่มชอบครับ เพราะได้รู้ตัวว่าวันๆ นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ จนลืมไปว่า ไม่เคยอ่านหนังสืออะไรจบเล่มมาหลายปีแล้ว
เห็นสิ่งที่คุณค้นคว้าดูน่าสนุกดีครับ แถมเป็นประโยชน์ด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 02 ก.พ. 11, 13:22
|
|
จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหมได้ทรงปรึกษากับ จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ เสนาธิการทหารบก ถึงความจำเป็นที่ประเทศไทยจำเป็นต้องมีเครื่องบินไว้ ใช้ป้องกันประเทศเหมือนอารยประเทศ ที่เขากำลังเร่งดำเนินการกันอยู่ ด้วยเหตุนี้ กระทรวงกลาโหมจึงได้ดำริจะจัดตั้ง "แผนกการบิน" ขึ้นเป็นแผนกหนึ่งของกองทัพบก ตั้งแต่นั้นมา และได้ทำการคัดเลือกผู้ที่สมัครไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส โดยมีนายทหารบก ๓ คนที่ได้รับคัดเลือก คือ นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุนี สุวรรณประทีป) นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) นายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต
ทั้ง ๓ ท่านนี้ ในเวลาต่อมา ได้รับพระราชทานยศ และบรรดาศักดิ์ ตามลำดับ คือ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ, นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และ นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต และ กองทัพอากาศได้ยกย่องให้เป็น "บุพการีของกองทัพอากาศ" พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ (นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ) (สุณี สุวรรณประทีป) นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ (นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร) (หลง สิน-ศุข) นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต (นายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต)
ในขณะที่นายทหารทั้งสามกำลังศึกษาวิชาการบินอยู่นั้น ทางราชการ ทางราชการก็ได้สั่งซื้อเครื่องบินเป็นครั้งแรก จำนวน ๗ เครื่อง เป็นเครื่องบินแบบเบรเกต์ปีก ๒ ชั้น จำนวน ๓ เครื่อง และเครื่องบินแบบนิเออปอร์ตปีกชั้นเดียว จำนวน ๔ เครื่อง เข้าไว้ประจำการ และเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ได้เห็นความสำคัญของการมีเครื่องบินไว้ใช้ประโยชน์ขอ งทางราชการ จึงได้อุทิศทรัพย์ส่วนตัวซื้อเครื่องบินแบบเบรเกต์ให ้อีก ๑ เครื่อง จึงทำให้ทางราชการมีเครื่องบินไว้ใช้เป็นครั้งแรกรวม ๘ เครื่อง เครื่องบินเบรเกต์ปีก ๒ ชั้น จำนวน ๔ เครื่อง เครื่องบินนิเออปอรต์ปีกชั้นเดียว จำนวน ๔ เครื่อง
อันอาจกล่าวได้ว่า กำลังทางอากาศของไทย เริ่มต้นจากนักบินเพียง ๓ คน และเครื่องบินอีก ๘ เครื่องเท่านั้น การบินของไทยในระยะแรก ได้ใช้สนามม้าสระปทุม หรือราชกรีฑาสโมสรในปัจจุบัน
ภาพเครื่องบินแบบเบรเกต์ รุ่นหลัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 02 ก.พ. 11, 14:00
|
|
คนไทยนี้เก่ง ทำโรงงานผลิตใบพัดเครื่องบินเองเลยครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 02 ก.พ. 11, 14:22
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 02 ก.พ. 11, 15:00
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|