เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 17918 ภารตะนิยาย... ที่ปลายแหลมกุมารี
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


 เมื่อ 29 ม.ค. 11, 09:53

ผมไปอินเดียตั้งแต่เดือน ต.ค. ปี 08 แล้ว...
แต่ก็ไม่ได้เอารูปไปลงที่ไหนให้ใครดูซะที

พอดีมีคนทักเข้ามาหลายคนว่าลงรูปหน่อยเถอะ
เห็นผมพาเที่ยวเมืองไทยมาจนเบื่อแล้ว
ไปต่างประเทศซะบ้างก็ได้...

เลยขอเอาเรื่องเที่ยวอินเดียขึ้นมาเล่าบ้างนะครับ
เพราะความทรงจำดีๆ ของผมอยู่ในชุดภาพชุดนี้หลายรูปเลย



ปล. ที่ตั้งชื่อกระทู้นี้ว่า 'ภารตะนิยาย ที่ปลายแหลมกุมารี'
เนื่องจากอยากให้เกียรติ ศ. ดร. ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา
ผู้เป็นอีกแรงบันดาลใจหนึ่งให้ผมตัดสินใจเรียนประวัติศาสตร์ศิลป์ครับ





บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 ม.ค. 11, 10:04

การเดินทางครั้งนี้ของผม
เริ่มต้นขึ้นที่มหา'ลัยศิลปากร
ที่เพื่อนๆนัดกันมานั่งรถไปสนามบินสุวรรณภูมิ







พวกเรามาถึงสนามบินกัน
ก่อนพระอาทิตย์จะขึ้นเล็กน้อย
ฟ้าสีสวยก็เลยยิ้มรับการเดินทางของพวกเราแต่แรก







หลังจากสวาปามอาหารญี่ปุ่นไปชุดใหญ่แล้ว...
ผมก็ขอถ่ายรูปเล่นซะหน่อยนะคราบบบ



บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 09:39

หลังอาหารญี่ปุ่นมื้อใหญ่...
ผมก็เดินเล่นถ่ายรูปซะหน่อย
รูปนี้ขออนุญาตตั้งชื่อว่า 'รักเมืองไทย ไม่ต้องแคร์สายตาใคร' ครับ
คนแต่รถเด็ดมาก!







แล้วในที่สุด ก็ถึงเวลาเชคอิน
และเตรียมตัวรับกับ 'ความหฤหรรษ์' บนเครื่อง!



บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 01 ก.พ. 11, 11:38

ถ้าใครไม่เคยทราบมาก่อน
Indian airline เป็นสายการบิน
ที่มีแอร์โฮสต์เตทแก่ๆ เยอะที่สุดในโลก







ป้าๆพวกนี้หน้าตาไม่ชวนชื่นใจเลยแม้แต่น้อย
เห็นแล้วนึกว่าแกคงเป็นคนขายโรตีแถวพาหุรัด
แถมบางทีต้องใส่แว่นตาเสิร์ฟอาหารอีกตะหาก!







เอาเถอะ อย่างน้อยอาหารก็ยังไม่แขกนัก
เพราะทำมาจากครัวการบินไทย!
เป็นบุญของติบอต่อไปอีก 1 มื้อ!!!



บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 02 ก.พ. 11, 09:09

ในที่สุด แอร์รุ่นคุณยายทั้งหลาย
ก็พาพวกเรามาส่งถึงที่หมาย
ที่สนามบิน 'เชนไน'

ที่นี่เป็นเมืองปลอดเหล้าครับ...
มีใครอยากดื่มไฮเนเก้นลังนี้ไหม ?







อย่างแรกที่ทัวร์ที่นี่ต้อนรับเรา
คือ การเอามาลัยยาวๆมาคล้องคอเราที่สนามบิน
ก่อนจะต้อนพวกเราขึ้นรถบัสอีกทีนึง











มาลัยพวกนี้มีเรื่องน่าสังเกตในตัวของมันเองอยู่
เพราะมาลัยของอินเดียใต้เป็นมาลัยที่เป็นพวงด้วย
วิธีการ 'มัด' ดอกมะลิทีละดอกเข้ากับเส้นเชือกที่เป็นแกนมาลัย...

ถ้าดูจากกิจกรรมในวิถีชีวิตประจำวันแล้ว
มาลัยแบบอินเดียใต้ออกจะต้องใช้งานกันค่อนข้างสมบุกสมบัน
กว่ามาลัยแบบไทยอยู่มาก..

ทั้งเอาไว้มัดบนผม
หรือโยงประดับตามอาคารต่างๆ
(เหมือนลายประดับแบบสมัยก่อนเมืองพระนครน่ะแหละ)

ลองนึกดูว่าถ้าคนอินเดียหันไปใช้มาลัยร้อยด้วยเข็มอย่างเมืองไทย
มัดผม หรือแขวนประดับอาคาร
ทิ้งไว้ไม่ทันเหี่ยวดอกไม้ที่เริ่มเผละก็จะทรงตัวไม่อยู่
รูดลงมากองกันเป็นหย่อมๆเหมือนหางหนูขี้เรื้อนหมดงามไป...

เพราะฉะนั้นการกรองมาลัยด้วยการมัดดอกไม้ทีละดอก
เอาไว้กับเชือกจึงเหมาะกับการใช้งานแบบแขก
มากกว่าการเอาเข็มร้อยแบบไทยมาก....
ถึงมันจะไม่เนียนสวยเป็นระเบียบเหมือนร้อยด้วยเข็มแบบไทยก็เถอะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 ก.พ. 11, 15:44





เอ๊า ถ่ายมาให้ดูอีกสักรูปครับ
จะได้เห็นกันชัดๆว่า 'ดอกกุหลาบ'
ก็ 'มัด' เข้าไปด้วยน่อ







หลังจากหมดความสนใจในมาลัยแล้ว
ผมก็เริ่มสำรวจเส้นทางที่รถผ่านไป...

ป้ายอันนี้แปะอยู่หน้าโบสถ์คริสต์
ประจำเมืองเชนไนครับ... แรงเอาเรื่อง

วิถีชีวิตของคนอินเดีย
ยังผูกพันอยู่กับศาสนามากครับ
ลองดูตัวอย่างโมเสกประดับอาคารอันนี้ดูได้....



บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 10:11





ถึงถนนหนทางบ้านเมืองจะไม่ได้เจริญมากซักเท่าไหร่
แต่ถ้าใครนึกอยากจะเที่ยวอินเดียให้สนุก
ขอให้มองข้ามรายละเอียดเล็กๆพวกนั้นไป

แล้วเราจะมีความสุขในการ 'รู้จักแขก' ขึ้นอีกเยอะเลยครับ







ของอย่างหนึ่งที่ทำให้เรารู้ได้ว่า 'นี่คืออินเดีย'
คือ การได้เห็นสาวทั้งเอวบางร่างน้อยหรือหุ่นอวบนุ่งห่มส่าหรีสีสดใส
เดินกันขวักไขว่เหมือนนกแก้วมาร์คอว์ยักษ์สาระพัดสีอยู่เต็มถนน







ในที่สุดรถก็มาถึงโรงแรมที่พวกเราพัก
ปล่อยให้เราจัดกระเป๋าเข้าที่เข้าทางกันสักครู่...
แล้วก็ถึงเวลาอาหาร
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 07 ก.พ. 11, 21:26





มื้อแรกเป็นอาหารแขกปนฝรั่งนิดๆ
เป็นอันว่าผมยังโชคดีไปสำหรับมื้อนี้
(ที่ไม่ต้องกินแป้งย่างจิ้มแกงถั่ว)







หลังอาหารกลางวัน
พวกเรามีเวลาพักผ่อนกันให้หายเหนื่อยนิดหน่อย







ก่อนจะต้องออกมาขึ้นรถทัวร์
เพื่อไปทัศนาจรกัน!

ถนนที่นี่ทำให้ผมนึกถึงพม่ายังไงก็ไม่รู้.. เหอๆ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 09 ก.พ. 11, 23:33





ก่อนจะขึ้นรถ...
พวกเราขอแวะทักทายเจ้า
'เพนกวิ้นหลอกหลอน'
ตัวนี้ซะหน่อย...

แน่ล่ะครับมันเป็นถังขยะ

แต่ฝันไปเถอะว่า 'แขก' จะใช้...
ขนาด 'ห้องน้ำ' มีให้พี่แขกยังไม่ใช้เลย
แล้วประสาอะไรกับถังขยะ!!!







ทั่วทั้งเมืองก็เลยมี 'น้องแพะซกมก' พวกนี้
ออกมาเดินกินเศษขยะไปทั่ว...

บางทีก็เผลอลุกลามเข้าไปกิน 'เสื้อผ้า'
ที่เจ้าของเผลอตากไว้

หรือไม่ก็แวะชิม 'หนังสือ'
หน้าร้านขายหนังสือเก่าก็มี..
อะไรมันจะขนาดนั้น!!!







ในที่สุด พวกเราก็มาถึงเทวาลัยกลุ่มแรก
ที่คนเรียน 'เซอร์เนะ' ต้องรู้จัก

แต่คนมามาวลีปุรัมก็ควรจะต้องรู้จักเหมือนกัน...
ที่นี่ชื่อ 'ปัญจรถะ' ครับ แปลว่า 'หมู่เทวลาลัย 5 หลัง'
เป็นเทวาลัยสมัยปัลลวะ
สร้างขึ้นเมื่อราวๆ 1,400 ปีที่แล้ว เห็นจะได้...
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 10 ก.พ. 11, 11:39

มาทำความรู้จักกับอาคารสมัยปัลลวะกันทีละทรงดีกว่าครับ







หลังแรก เรียกว่าทรง 'คชปฤศถ'
หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า 'หลังช้าง'
เพราะมีทางเข้าจากด้านหน้าทางเดียว
ส่วนตอนปลายเป็นโดมเหมือนตูดช้าง (ตัวข้างๆ)

เป็นอาคารทรงพิเศษที่ทำให้รู้ว่าอินเดียใต้กับเหนือ
มีปฏิสัมพันธ์กันมากแล้วสมัยที่สร้างเทวาลัยหลังนี้...
เพราะเป็นผังที่นิยมสร้างวัดถ้ำในอินเดียเหนือ







ส่วนอีก 4 หลังไล่จากซ้ายไปขวา คือ ทรง กูฏะ (ลอมฟาง)
วิมาน (สี่เหลี่ยมจตุรัส)
ศาลา (สี่เหลี่ยมผืนผ้า)
และ วิมาน 2 ชั้น (ชั้น 2 ใช้ได้จริง แต่ยังสลักไม่เสร็จ) ครับ







ที่จริงจะว่าไป 'กูฏะ' ก็ใช้รากเดียวกับคำว่า 'กุฏ' น่ะแหละ
แต่แรกอาจจะมุงด้วยฟาง หรือใบไม้ก็ได้
พอมาทำเทวาลัยหินก็เลยสลักเป็นแบบนี้แทน...

ที่พิเศษมาก คือ เทวาลัยที่นี่ทุกหลังสร้างจาก 'หินก้อนเดียว'
แสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมทมิฬที่มาวลีปุรัม
สัมพันธ์กับวัฒนธรรม Pandukal ในสมัยก่อนหน้า
ที่นิยมสร้างที่ฝังศพเป็นแท่ง หรือแผ่นหินขนาดใหญ่ (Megalith) แบบอินเดียใต้
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 13 ก.พ. 11, 22:59





ส่วนซุ้มมกรคายวงโค้งหันหน้าเข้าหากัน มีคนขี่แบบนี้
หน้าตาคล้ายๆที่เจอะเจอกันบ่อยๆในศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนครยุคไหน...
ไม่บอกละกัน ไว้ไปดูที่เขมรเองนะคราบ....







พระเทวีองค์นี้กับบริวาร ก็สลักจากหินก้อนเดียวกับที่สร้างเทวาลัยน่ะแหละ
ที่ออกจะเห็นชัดอยู่หน่อย คือ อกพระเทวีคาดด้วยผ้าแคบๆ...
แปลว่ากำลังวีนอยู่ น่าจะเป็นพระทุรคา (หรือเปล่า ?) เราก็ไม่ค่อยแน่ใจแฮะ

อยากให้ลองดูว่าตาคนที่นั่งอยู่ข้างล่างฝั่งซ้ายพระเทวี
กำลัง 'เชือดคอตัวเองถวาย' พระเทวีอยู่... ทารุณสุดริด!!!

เอาตาคนนี้ที่ 'เชือดคอตัวเองถวาย' มาให้ดูกันอีกรอบ... น่ากลัวมากมาย



บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 10:59





เทวดาในเทวโกษฐ์องค์นี้
น่าจะเป็นพระอินทร์หรือเปล่าหว่า ?







นี่น่าจะพระกฤษณะ มากับวัวน้อยน่ารัก มี 4 มือด้วย







องค์นี้ 4 หน้า น่าจะเป็นพระพรหม
บันทึกการเข้า
VesinaH
อสุรผัด
*
ตอบ: 18


L'vesinah va tire


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 21:47

อันสุดท้ายที่คุณติบอว่าเป็นพระพรหม เหมือนจะเป็นรูปของพระวิษณุมัธยมโยคสถานกมูรติ

มีสี่กร ทรงสังข์พระหัตถ์ขวาบน แบบเดียวกับที่เจอที่ตะกั่วป่า แต่แปลกอยู่ที่ ที่นี่เป็นพรมภักตร์นะครับ



บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 02:03

ดีใจครับ ที่คุณ VesinaH เข้ามาร่วมด้วยช่วยกันเดา
ปัญหาของคุณ ที่จริงคำตอบง่ายมาก... แต่ผมขอยังไม่เฉลยดีกว่า
ให้ลองเดาเองดูก่อนครับ ว่าเป็นเพราะอะไร อิอิ
บันทึกการเข้า
VesinaH
อสุรผัด
*
ตอบ: 18


L'vesinah va tire


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 15 ก.พ. 11, 15:05

คงไม่ง่ายกับผม คือถ้าตั้งอยู่ในสมมติฐานว่านี่คือพระวิษณุจริง

ก็เดาว่าเป็นลักษณ์เฉพาะประจำถิ่นครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง