เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21
  พิมพ์  
อ่าน: 173347 ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 16:15

ปืน Gatling กับอูฐ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 16:24

เส้นทางบุกตีทัพฮ่อ สีน้ำเงินจากพิษณุโลก เข้าน่าน ไปหลวงพระบาง

เส้นสีเขียว โคราช อุบล รวมกันที่อุดร ขึ้นหนองคาย เข้าเวียงจันทน์

ส่วนสีแดงเป็นทัพฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ แยกบุกหลวงพระบาง และเวียงจันทน์


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 16:29

ภาพนี้ถ่ายเมื่อ 21 กันยายน พ.ศ. 2428 จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เมื่อครั้งยังเป็นนายพันเอก จมี่นไวยวรนาถ แม่ทัพปราบฮ่อ ถ่ายภาพร่วมกับเจ้าราชวงศ์ (คำสุก) แห่งนครหลวงพระบาง (ต่อมาขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์หลวงพระบาง ทรงพระนามว่า พระเจ้าสักรินทรฤทธิ์) ที่กองบัญชาการปราบฮ่อฝ่ายไทย ณ เมืองซ่อน ในเขตประเทศลาวปัจจุบัน
ธงในภาพ คือธงจุฑาธุชธิปไตย ซึ่งเป็นธงชัยเฉลิมพลที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหารครั้งแรกของไทย เมื่อ พ.ศ. 2427


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 21:40

ตอนนี้ ตกลงกันได้หรือยังคะ เรื่องปราบฮ่อ
ไม่เคยเห็นรูปจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯ เมื่อเป็นนายพันเอก จมี่นไวยวรนาถ แม่ทัพปราบฮ่อ มาก่อนเลยค่ะ   
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 22:04

ภาพปืนใหญ่หลังช้างของคุณลุงไก่ หนังสือนิราศเมืองหลวงพระบางและรายงานปราบเงี้ยวฉบับกรมศิลปากร ๒๕๔๘ อธิบายภาพว่า

ช้างบรรทุกปืนใหญ่ ซึ่งแม่ทัพคิดขึ้นใหม่ จะได้เดิรกระบวนเข้ากองทัพไปทางเมืองน่านถึงเมืองหลวงพระบาง (ครั้งที่ ๑)

อธิบายความตามหนังสือ แม่ทัพในที่นี้คือเจ้าหมื่นไวยวรนารถ ซึ่งเป็นแม่ทัพยกไปปราบฮ่อเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๒๘ ครับ ไม่ได้หมายความว่าศึกนี้เป็นศึกฮ่อครั้งที่ ๑

ถูกผิดอย่างไรผมไม่เกี่ยวนะครับ เป็นเพียงพลนำสาร

ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 05 ก.พ. 11, 22:31

คั่นรายการหน่อย ผู้สูงอายุตาลายหมดแล้ว
ก็เจ้าคุณแพ สายบุนนาคนี่เองยอดแห่งสาวสยาม
ถ้าอยู่ถึงปัจจุบันนักศึกษาสาวสยาม จะได้รับการยกย่องแบบนี้ไหมหนอ

ถูกใจ ๒๐๓ อีกแล้ว ทรงผมนำสมัยทั้งสองท่าน
ดูแต่รูปคนกับเรือเท่านั้น ไม่อยากเห็นหน้า ปาวีหลอก
ขอบคุณ คุณเทาชมพู
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 06 ก.พ. 11, 08:23

ภาพปืนใหญ่หลังช้างของคุณลุงไก่ หนังสือนิราศเมืองหลวงพระบางและรายงานปราบเงี้ยวฉบับกรมศิลปากร ๒๕๔๘ อธิบายภาพว่า

ช้างบรรทุกปืนใหญ่ ซึ่งแม่ทัพคิดขึ้นใหม่ จะได้เดิรกระบวนเข้ากองทัพไปทางเมืองน่านถึงเมืองหลวงพระบาง (ครั้งที่ ๑)

อธิบายความตามหนังสือ แม่ทัพในที่นี้คือเจ้าหมื่นไวยวรนารถ ซึ่งเป็นแม่ทัพยกไปปราบฮ่อเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๒๘ ครับ ไม่ได้หมายความว่าศึกนี้เป็นศึกฮ่อครั้งที่ ๑

ถูกผิดอย่างไรผมไม่เกี่ยวนะครับ เป็นเพียงพลนำสาร

ยิงฟันยิ้ม

ผมกลับไปค้นตามเวปต่างๆ ที่แสดงภาพนี้ไว้ ก็มีการอธิบายภาพไว้ทั้ง ๒ อย่าง คือ เป็นภาพเหตุการณ์ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ และ พ.ศ. ๒๔๒๘ ยังฟันธงไม่ได้
จากข้อมูลที่คุณ Crazy Horse นำเสนอไว้ ก็เป็นความเห็นหนึ่งเพื่อนำไปสู่ความถูกต้องต่อไป ...







บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 06 ก.พ. 11, 13:21

ฝรั่งเศสได้สร้างอนุสาวรีย์ของนายปาวีกำลังได้รับการกราบไหว้จากชาย-หญิงลาว ตั้งอยู่ในกรุงเวียงจันทน์ ซึ่งหลังจากประเทศลาวได้รับเอกราช อนุสาวรีย์ของนายปาวีได้ถูกแยกชิ้นส่วนนำไปทิ้งแม่น้ำโขง ต่อมาสถานทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเวียงจันทน์ได้กู้นำไปเก็บรักษาไว้ที่สถานทูต ส่วนรูปหล่อชาย-หญิงลาว นำไปเก็บรักษาที่สนามหน้าหอพระแก้ว กรุงเวียงจันทน์



http://pavie.culture.fr/mediatheque.php?rubrique_id=32&lg=en#media171

 ยิงฟันยิ้ม

ภาพอนุสาวรีย์ของนายปาวีในอีกมุมหนึ่ง

เครดิตภาพให้แก่คุณ Keng จาก bwfoto.net .. ขอขอบคุณไว ณ ที่นี้





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 07 ก.พ. 11, 22:37

ระหว่างที่ท่านทั้งหลายไปปราบฮ่อกันอยู่   ดิฉันขอกลับไปสังเกตการณ์ฝรั่งเศสปิดปากอ่าวก่อน       เพราะศึกยังไม่จบ  ยิงฟันยิ้ม

ขอต่อจากที่คุณ Navarat.C โพสค้างเอาไว้ ในเรื่องสงครามปิดปากอ่าวไทยครั้งนั้น   มีบันทึกถึงความไม่พร้อมรบทางฝ่ายสยามกันอยู่  ไม่ใช่แค่ฝรั่งเศสบุกเข้ามาแบบเจ้าพ่อเท่านั้น  

ทางฝ่ายสยาม มีเรือรบ ๒ ลำ คือ เรือมกุฎราชกุมาร และ เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ ที่เอาไว้ต่อกรกับข้าศึก  แต่ก็เป็นเรือล้าสมัย เพราะเป็นเรือโดยสารไม่ใช่เรือรบ  ส่วนกองทัพบกก็ล้าสมัย  มีทหารทำหน้าที่รักษาพระนครรอบนอก กระจายกำลังไปตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยา ตั่งแต่เมืองสมุทรปราการยันพระโขนง  ภายในกำแพงพระนครก็ได้กระจายกำลังไปรักษาพื้นที่ย่านสระปทุม บางรักและฝั่งธนบุรี  พร้อมกันนั้นยังมีทหารอาสาสมัคร ของพระยาสุรศักดิ์มนตรี  อีกประมาณ 1,800 คน กระจายกำลังกันรักษาพระนครอยู่ทั่วไป

คืนวันที่  13  กรกฎาคม  เรือรบฝรั่งเศสก็บุกผ่านเข้าปากแม่น้ำเจ้าพระยามา โดยมีเรือ เจ.เบ.เซย์ (Jean Baptist Say) เป็น เรือนำร่อง ป้อมพระจุลจอมเกล้าจึงได้ยิงปืนใหญ่เข้าสกัด ต่างฝ่ายก็ระดมยิงตอบโต้กัน เรือรบไทยที่จอดอยู่เหนือป้อม ก็เข้าระดมยิงไปยังเรือรบฝรั่งเศส เรือนำร่องของฝรั่งเศสถูกยิงจนไปเกยตื้นอยู่ริมฝั่ง การรบดำเนินไปได้เพียงครึ่งชั่วโมงเศษ  ก็สิ้นสุดลงเพราะเป็นคืนเดือนมืด เรือรบฝรั่งเศสทั้งสองลำจึงสามารถตีฝ่าแนวป้องกันของสยาม เข้ามาได้เทียบเท่าอยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสในพระนครได้สำเร็จ และได้หันปืนใหญ่เข้าสู่พระบรมมหาราชวัง  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ก.พ. 11, 12:59 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 07 ก.พ. 11, 22:40

       ฝรั่งวิเคราะห์ว่า กองทัพของสยามในยุคนั้น เพิ่งได้พบกับศึกใหญ่ที่มีความทันสมัยเป็นครั้งแรก ศักยภาพของกองทัพในเวลานั้นมีไม่มากนักหรือจะเรียกว่า"ต่ำมาก"  ระบบการศึกษาทางทหารมีไว้เพื่อประดับเกียรติยศและไม่เคร่งครัดตามแบบแผนตะวันตกจริง ๆ  จนมีคำกล่าวว่า "สยามรับวิธีการของฝรั่งมา โดยไม่เอาจิตวิญญาณของฝรั่งติดมาด้วย"
        นอกจากนี้ยังระบุว่า แม้แต่ทหารที่ประจำอยู่บนเรือรบก็เป็นทหารที่เพิ่งเกณฑ์มาจากท้องนา      นอกจากผู้บัญชาการบนเรือรบแล้ว ก็ไม่มีใครอื่นที่รู้วิธียิงปืนรบ    นายทหารสามนายที่รักษาการณ์อยู่ก็มีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่พูดภาษาสยามได้ อีกสองนายเป็นชาวเดนมาร์กจากกรมแผนที่ และเพิ่งเดินทางเข้ามายังสยามได้ไม่นาน รวมทั้งเป็นอาสาสมัครที่พูดภาษาสยามไม่ได้แม้แต่คำเดียว ในระหว่างการต่อสู้กันนั้น นายทหารเหล่านี้วิ่งจนหอบแฮ่กๆ  ไปที่ปืนแต่ละกระบอกสลับกัน พร้อมทั้งออกคำสั่งเป็นภาษาที่ทหารชาวสยามฟังไม่เข้าใจ !!!

       หมายเหตุ : ฝรั่งว่า แต่ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า  โปรดพิจารณา

       อย่างไรก็ตาม  สยามมี "เรือพระที่นั่งมหาจักรี" ซึ่งเป็นเรือลาดตระเวนติดปืนอาร์มสตรอง พร้อมระวางขับน้ำ 2,400 ตัน ความเร็ว 15 น็อต ปืนขนาด 4.7 หอต่อสู้ 2 หอ และหัวเรือที่ใช้ชนได้ ระวางขับน้ำของเรือลำนี้ “สูงกว่า” เรือทั้งสามของฝรั่งเศสรวมกันถึง 600 ตัน เรือที่มีสมรรถนะสูงลำนี้กลับไม่ได้ร่วมสมรภูมิรบ

      ในหนังสือ  Peoples and Politics of the Far East ของเฮนรี่ นอร์แมน กล่าวไว้ว่า
     ".....คำตอบนั้นง่ายและเจ็บปวด รวมทั้งเป็นตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่งที่ว่า ในสยามนั้น พระเจ้าแผ่นดินมาก่อนประเทศชาติ เรือพระที่นั่งมหาจักรีจอดอยู่หน้าพระบรมมหาราชวัง ภายใต้คำสั่งที่เข้มงวดไม่ให้เคลื่อนย้าย ยกเว้นเมื่อจำเป็นต้องใช้เป็นพาหนะให้พระเจ้าอยู่หัว... แต่ถึงจะมีความตั้งใจใช้เรือลำนี้ก็ตาม คงเป็นไปได้ยาก ข้าพเจ้าเชื่อว่า ตั้งแต่เรือลำนี้มาถึงสยาม ยังไม่มีการลองยิงปืนเลย ไม่มีใครในราชอาณาจักรนี้ ยกเว้นนายทหารชาวเดนมาร์ก 2 หรือ 3 นายเท่านั้นที่รู้วิธีใช้ กระสุนปืนถูกขนขึ้นเรือเป็นครั้งแรกเพียง 2 - 3 ชั่วโมง ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ที่ปากน้ำ นอกจากนั้นเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่และยุ่งยาก ก็ต้องอาศัยวิศวกรชาวอังกฤษควบคุม ไม่มีชาวสยามคนใดรู้วิธีจัดการกับเครื่องยนต์นี้แม้แต่คนเดียว ส่วนคนในอารักขาของอังกฤษก็ไม่สามารถยื่นมือเข้าช่วยได้..... "
      อีกสาเหตุหนึ่งคือ
      “... แม้แต่การประชุมของเหล่าเสนาบดีมีสภาพคล้ายกับการทะเลาะกันในร้าน เหล้า...เหล่าเสนาบดีไม่มีการทำงานที่ประสานกันเป็นหนึ่งเดียว หรือแนวคิดและนโยบาย เมื่อคราวเกิดวิกฤตการณ์ปากน้ำ ร.ศ.112  ข้าราชการในคณะรัฐบาลสยามขณะนั้นมีความคิดเห็นแตกเป็น 2 ฝ่าย... ฝ่ายหนึ่งนำโดยพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ สนับสนุนการใช้กำลังตอบโต้ฝรั่งเศส อีกฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มของกรมหลวงเทวะวงศ์ ฯ ซึ่งสนับสนุนให้ใช้การทูตเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา แต่หลังจากทรงไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดสินพระทัยดำเนินพระราโชบายตามข้อเสนอแนะของกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ การนองเลือดจึงไม่เกิดขึ้น !!!...."

       การ ขาดแคลนทั้งกำลังพลที่ได้รับการฝึกฝนอย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ขาดผู้ชำนาญการใช้อาวุธที่เป็นชาวสยามเอง ขาดอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหมาะสมและทันสมัย ขาดแม่ทัพนายกองที่มีกลยุทธ ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่ทันมัย และที่สำคัญการขาดความสามัคคีของขุนนางและชนชั้นผู้ปกครอง ปรากฏเป็นรอยร้าวแทรกตัวอยู่ในทุกหัวระแหงของราชสำนัก นำมาสู่ความอ่อนแอในทุก ๆ ด้านของประเทศสยาม !!!

       เพียงเรือรบไม้สองลำที่แล่นฝ่าเข้ามาถึงชานพระนคร ก็สามารถสั่นสะเทือน ทำลายความเชื่อมั่นของ "จิตวิญญาณ" แห่งราชสำนักสยามให้พังทลายลงได้อย่างรวดเร็ว !!!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ก.พ. 11, 20:09 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 07 ก.พ. 11, 22:44

ข้างบนนี้ดูเหมือนฝรั่งว่าสยามฉอดๆ อยู่ข้างเดียว     ดิฉันก็เลยไปหาหลักฐานเพิ่ม 

มีหลักฐานทั้งทางฝรั่งเศสและอังกฤษพูดตรงกันว่า  ในศึกระหว่างฝรั่งเศสกับสยาม ซึ่งทางฝรั่งเศสเรียกว่า la guerre franco-siamoise de 1893  ในตอนแรก สยามเข้าใจว่าอังกฤษจะสนับสนุนถือหางทางฝ่ายสยาม     แต่เอาเข้าจริงอังกฤษกลับไม่ทำ   เหตุผลคืออะไร ดิฉันกำลังหาข้อมูลอยู่   ถ้าใครเจอข้อมูล กรุณาโพสต์ลงไปได้เลยไม่ต้องรอ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 07:51

ข้างบนนี้ดูเหมือนฝรั่งว่าสยามฉอดๆ อยู่ข้างเดียว     ดิฉันก็เลยไปหาหลักฐานเพิ่ม 

มีหลักฐานทั้งทางฝรั่งเศสและอังกฤษพูดตรงกันว่า  ในศึกระหว่างฝรั่งเศสกับสยาม ซึ่งทางฝรั่งเศสเรียกว่า la guerre franco-siamoise de 1893  ในตอนแรก สยามเข้าใจว่าอังกฤษจะสนับสนุนถือหางทางฝ่ายสยาม     แต่เอาเข้าจริงอังกฤษกลับไม่ทำ   เหตุผลคืออะไร ดิฉันกำลังหาข้อมูลอยู่   ถ้าใครเจอข้อมูล กรุณาโพสต์ลงไปได้เลยไม่ต้องรอ


คงจะเป็นเรื่องผลประโยชน์ ที่ค้ำคอทั้งสองประเทศระหว่างอังกฤษ และฝรั่งเศส เป็นอันดับแรกใช่ไหมครับ

ทั้งนี้เหตุการณ์ในก่อนที่เรือรบบุกล่วงเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา หลายเดือนก่อนหน้านี้วันที่ ๒๗ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๙๓ ลอร์ดโรซเบอรี่ ได้ยินเรื่องราวเหตุการณ์ดังกล่าวว่า ฝรั่งเศสจะทำการปิดอ่าวสยาม เพื่อเรียกร้องดินแดนฝ่ายซ้ายแม่น้ำโขง จึงมีหนังสือดังนี้ออกมาว่า

"ข้าพเจ้าได้รับบัญชาท่านเอิลโรสเบอรี่ ให้ส่งสำเนาข้อความโทรเลขที่ได้รับจากกัปตันโยนซ์ (ราชทูตอังกฤษที่กรุงเทพฯ) ตอบคำถามของเรา ซึ่งสอบถามไปว่า เรือ ๒ ลำซึ่งแน่ใจว่าอยู่ที่กรุงเทพแล้ว จะพอแก่การที่จะคุ้มครองคนในบังคับอังกฤษ หรือปราบปรามจีนเมื่อลุกฮือขึ้น ในคราวที่จำเป็นได้หรือไม่

ท่านลอร์ดโรสเบอรี่จึงมีบัญชาให้นำเรือรบ ปาลลาส (Pallas) และเรือปิกมี (Pigmy) ซึงเข้าใจว่าจอดที่สิงคโปร์ไปยังกรุงเทพฯ โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้"
และท้ายสุดเรือปาลลาส มาถึงกรุงเทพฯ วันที่ ๑ กรกฎาคม ส่วนเรือปิกมี ไม่มาด้วย แต่ส่งเรือลินเนต (Linnet) มาแทนซึ่งมาถึงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๔.๐๐ น.


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 07:58

ขออนุญาตคัดลอกข้อความจากเวปเจ้าของเรื่องนะครับ

สำเนาเอกสารเสร็จ ยังพอเหลือเวลาอีกครึ่งชั่วโมงก่อนการประชุม ผมได้ดำดิ่งลงไปสู่จินตนาการอันคล้อยตามผู้เขียนบทความภายในเล่ม หน้า 136 เรื่อง “โทรเลขในโฉมหน้าประวัติศาสตร์ไทย” ใจความมีว่า...

    ...ปี พ.ศ. 2436 ประวัติศาสตร์ไทยอาจบันทึกเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ไปอีกแบบ หากโทรเลขจากปารีสฉบับหนึ่งส่งถึงมือผู้รับ
         เป็นที่ทราบกันดีว่า สมัยนั้นสยามกำลังเผชิญหน้ากับลัทธิล่าอาณานิคม ดินแดนรอบๆ บ้านเราเวลานั้นล้วนตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจอย่างอังกฤษ และฝรั่งเศสไปแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นพม่า กัมพูชา หรือเวียดนาม
        ในครั้งนั้นฝรั่งเศสมีท่าทีคุกคามอย่างเห็นได้ชัด จากการที่ส่ง ออกุส ปาวี (Auguste Pavie) หรือที่คนไทยรู้จักในนาม “ม. ปาวี” มาเป็นทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย (จะกล่าวถึงคุณสมบัติชายผู้นี้ตอนท้าย)
         ชายผู้นี้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญที่พยายามดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ซึ่งขณะนั้นยังมีฐานะเป็นประเทศราชของสยาม ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสให้ได้
         เมื่อการหาเรื่องกระทบกระทั่งด้วยกำลังทหารในเขตอินโดจีน และยั่วยุให้สยามตอบโต้ (เพื่อให้เรื่องบานปลายแล้วฝรั่งเศสจะได้มีข้ออ้างในการใช้กำลังยึดดินแดน) ไม่เป็นผล ปาวี จึงตัดสินใจขออนุญาตรัฐบาลของตนนำเรือรบบุกเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมประกาศปิดอ่าวไทยทันที สถานการณ์สยามจึงวิกฤตถึงขีดสุด...
         ในช่วงเวลาอันคับขันนั้น ณ อีกซีกโลกหนึ่ง ทูตไทยที่ปารีสได้พยายามทำทุกทางเพื่อโน้มน้าวรัฐบาลฝรั่งเศสให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว จนในที่สุด ทางการฝรั่งเศสก็ได้มี โทรเลขด่วนถึงมิสเตอร์ ปาวี และกัปตันเรือรบ ให้ระงับปฏิบัติการเสีย ทว่า... โทรเลข ฉบับชี้เป็นชี้ตายนั้นกลับไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง เนื่องจาก
           “... ปาวี ใช้อุบายของตนแกล้งให้เข้าใจผิด โดยไม่มอบคำสั่งด่วนจากปารีสให้ผู้บังคับการเรือรบ วิธีการของ ปาวี คือ นำ โทรเลข ฉบับสำคัญนั้นใส่รวมในถุงจดหมายฉบับอื่นๆ ของเมลปรกติที่ส่งถึงนายทหารบนเรือรบ...” (ไกรฤกษ์ นานา ใน “ราชการลับ เมื่อ ร. 5 เสด็จประพาสเยอรมนี ไม่ใช่เรื่องลับในยุโรป”, ประวัติศาสตร์นอกพงศาวดารรัชกาลที่ 5 พระพุทธเจ้าหลวงในโลกตะวันตก, มติชน 2546)
           ส่งผลให้เกิดการปะทะกันตามแผนที่ ปาวี วางไว้ เรือรบฝรั่งเศสบุกเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงหน้าสถานทูตของตน โดยที่ปืนทุกกระบอกอยู่ในสภาพพร้อมรบ เมื่อเหตุการณ์มาถึงขั้นนี้ รัฐบาลฝรั่งเศสเองก็ต้อง “ตามน้ำ” จนกลายเป็น “นโยบายเรือปืน” ที่โด่งดังที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์

คราวนี้มาดูท่าทีของทางฝ่ายอังกฤษบ้าง

          ห้างวอลเลซ บราเธอร์ (Wallace Brother) เอเย่นต์ของ บริษัทบอมเบย์เบอร์ ได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษ ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2436 มีความว่า " บัดนี้ความยุ่งยากภายในได้เกิดขึ้นแล้วทั้งที่กองเรือฝรั่งเศสยังไม่ทันเข้าไปถึงกรุงเทพ ฯ หากกองเรือฝรั่งเศสได้เข้าไปจริง ถึงจะไม่มีการรบพุ่งกันก็ตามเหตุการณ์ภายในเมืองคงร้ายแรงกว่านี้ การที่ฝรั่งเศสยึดเกาะเสม็ด ก็ยิ่งเพิ่มให้เกิดผลร้ายขึ้นอีก เป็นธรรมดาของรัฐบาลทางตะวันออก ที่ยังบกพร่องในวิธีดำเนินการปกครอง เมื่อได้ประสบความยุ่งยากที่สลับซับซ้อนโดยเร็วเช่นนี้แล้ว ก็ย่อมได้รับความลำบากเป็นอย่างยิ่ง และถึงแม้จะเป็นรัฐบาลที่มั่นคงก็ตาม แต่ก่อนที่จะสามารถจัดการอะไรลงไปได้ ชีวิต และทรัพย์สินเป็นอันมากก็ย่อยยับไปเสียก่อนแล้ว เพราะฉะนั้นถ้ามีเรือรบอังกฤษหลาย ๆ ลำเข้าไปจอดอยู่ในกรุงเทพ ฯ และเตรียมพร้อมที่จะส่งทหารของเราขึ้นบกได้ทุกเมื่อที่จำเป็นแล้ว จะเป็นการช่วยระงับเหตุการณ์จลาจลในบ้านเมืองได้"
        
         กัปตันโยนส์ ราชฑูตอังกฤษประจำกรุงเทพฯ ได้มีโทรเลขไปถึง ลอร์ด โรส เบอรี รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษ ลงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2436 มีความว่า "รัฐบาลไทยได้รับคำเตือนจากรัฐบาลฝรั่งเศสว่า บัดนี้รัฐบาลฝรั่งเศสได้สั่งให้กองเรือรบเดินทางมาไซ่ง่อนแล้ว และถ้าเหตุการณ์ถึงคราวจำเป็น รัฐบาลฝรั่งเศสจะส่งกองเรือรบนั้นเข้ามากรุงเทพฯ รัฐบาลไทยมีความตั้งใจจะปิดปากน้ำเจ้าพระยา และต่อสู้ป้องกันปากน้ำตามกำลังที่จะกระทำได้”

          ลอร์ด โรส เบอรี่ ได้มีโทรเลขตอบกัปตันโยนส์ ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2436 มีความว่า "ได้ส่งสำเนาโทรเลขของกัปตันโยนส์ ลงวันที่ 26 มิถุนายน ไปให้กระทรวงทหารเรือทราบแล้ว กระทรวงทหารเรือได้มีคำสั่งไปถึง พลเรือตรี ฟรีแมนเติลแล้ว เพื่อให้จัดส่งเรือรบอีกลำหนึ่งไปยังกรุงเทพ ฯ และให้จัดเตรียมเรือรบลำที่สามไว้ให้พร้อมเผื่อเรียกได้ทันท่วงที"
        
         มิสเตอร์ฟิปปส์ มีโทรเลขถึง ลอร์ด โรส เบอรี ลงวันที่ 29 มิถุนายน มีความว่า ม.เดอ แวลล์ ได้กล่าวถึงเรื่องที่ได้รับรายงานว่า ทหารเรืออังกฤษ ได้สอนให้พวกไทยหัดยิงตอร์ปิโด เขายังได้กล่าวอีกว่า รัฐบาลฝรั่งเศสจะไม่ทำการรุนแรงอย่างใดที่กรุงเทพฯ โดยไม่บอกกล่าวให้รัฐบาลอังกฤษทราบเสียก่อน และยังได้แสดงความพอใจที่ ลอร์ด โรสเบอรี ได้กล่าวในที่ประชุมรัฐสภาเมื่อวานนี้ด้วย"

            ลอร์ด โรสเบอรี มีโทรเลขถึง มิสเตอร์ ฟิปปส์ ลงวันที่ 29 มิถุนายน มีความว่า "ได้สอบสวนเรื่อง ม.เดอแวลล์ กล่าวถึงว่า พวกไทยได้รับคำสั่งสอนจากทหารเรืออังกฤษ ในวิธียิงตอร์ปิโดร์นั้น ยังไม่ได้ข่าวถึงเรื่องเช่นนี้เลย แต่อาจจะมีชาวอังกฤษซึ่งรับราชการอยู่ในราชนาวีไทยบ้างก็เป็นได้"

           ในที่สุดทางการทหารเรืออังกฤษได้กำหนดว่าจะส่งเรือพาลลาส (Pallas) และเรือพิกมี (Pigmy) ซึ่งประจำอยู่ที่สิงคโปร์เข้าไปกรุงเทพ ฯ แต่เนื่องจากเรือพิกมีติดราชการอื่น จึงได้ส่งเรือพาลลาส ซึ่งเป็นเรือธงของผู้บังคับกองเรืออังกฤษ ประจำช่องมะละกามากรุงเทพฯ ก่อน และจะส่งเรือพลัฟเวอร์ (Pluver) ซึ่งมาแทนเรือพิกมีตามมาภายหลัง

          เรือพาลาสเดินทางมาถึงสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ต่อมาจึงส่งเรือลินเนต (Linnet) มาแทนเรือพิกมี มาถึงปากน้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมพ.ศ. 2436
ลอร์ด โรสเบอรี โทรเลขถึงมิสเตอร์ฟิปปส์ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ให้ยืนยันแก่ ม.เดอแวลล์ว่า เรือรบอังกฤษจะไม่ข้ามสันดอนปากน้ำเจ้าพระยาเข้าไป และในวันเดียวกันก็ได้มีโทรเลขไปถึงกัปตันโยนส์มีความว่า "เรือพาลลาส จะข้ามสันดอนปากน้ำเข้าไปไม่ได้ ให้จัดการให้เรือพาลลาส และเรือพลัฟเวอร์ทั้งสองลำ จอดอยู่ทางเข้าแม่น้ำภายนอกสันดอน และให้เจรจากับรัฐบาลไทยให้แจ้งเรื่องนี้ให้ราชฑูตฝรั่งเศส (ที่กรุงเทพ ฯ) ทราบด้วย"

          มิสเตอร์ฟิปปส์ได้โทรเลขถึง ลอร์ด โรสเบอรี เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม แจ้งเนื้อความการเจรจากับ ม.เดอแวลล์มีความว่า "ม.เดอแวลล์แจ้งว่าเรือฝรั่งเศส ที่ส่งไปจะอยู่นอกสันดอน คงให้เรือลูแตงอยู่ในกรุงเทพ ฯ และแจ้งว่าตามข้อ 15 แห่งหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ค.ศ. 1856 ให้เรือฝรั่งเศสเข้าไปในลำแม่น้ำเจ้าพระยาได้จนถึงสมุทรปราการ และเมื่อแจ้งให้รัฐบาลไทยทราบแล้วให้ล่วงเข้าไปถึงกรุงเทพ ฯ ได้”

          จากนั้นมิสเตอร์พิปปส์แจ้งว่า ความตั้งใจของรัฐบาลอังกฤษมีหลักอยู่ว่า มีความจำเป็นจะต้องคุ้มครองผลประโยชน์ของเราในกรุงเทพ ฯ ซึ่งอังกฤษมีส่วนในการค้าขายอยู่ถึงสามในสี่ส่วน และถ้าหากว่ามหาประเทศใดซึ่งมีปัญหาระหว่างประเทศต้องพิพาทกับประเทศที่มีกำลังน้อย แล้วยกกำลังกองทัพเรือใหญ่โตมาขู่ขวัญภายในอาณาเขตเช่นนี้ ก็เหมือนกับว่าตัดสิทธิประเทศนั้นเสียในอันจะป้องกันตัวเอง

             ม.เดอแวลล์ตอบว่า ม.โกรสกูแรง ถูกฆ่าตาย และได้มีการฆ่าฟันทหารญวนด้วย กับเรื่องการปล่อยตัวร้อยเอกโทเรอซ์ ดังนั้นโดยเกียรติยศของฝรั่งเศส จะไม่ยอมให้ต่างประเทศเข้ามาแทรกแซง และจะต้องได้รับข้อเรียกร้องอันชอบธรรมนี้ ซึ่งถ้าไม่ได้รับแล้วก็จะต้องบังคับเอา "    
    
        เมื่อฝรั่งเศสได้ทราบว่าอังกฤษได้จัดส่งเรือรบเข้ามาเพิ่มเติมในน่านน้ำสยามอีก และรู้สึกว่ามีทีท่าในทางส่งเสริมให้กำลังใจฝ่ายสยาม จึงจำเป็นต้องดำเนินการให้หนักหน่วงยิ่งขึ้น ดังนั้นในวันที่ 8กรกฎาคม พ.ศ. 2436 รัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้โทรเลขมายัง ม.ปาวี ราชฑูตฝรั่งเศสที่กรุงเทพ ฯ ให้แจ้งแก่รัฐบาลสยามมีความว่า รัฐบาลอังกฤษมีดำริส่งเรือรบหลายลำเข้ามายังกรุงเทพ ฯ เพื่อป้องกันรักษาชนชาติอังกฤษ ฝ่ายเราเห็นสมควรจะต้องเพิ่มกำลังทางเรือของเราที่กรุงเทพ ฯ ให้แจ้งแก่รัฐบาลไทยเป็นการล่วงหน้าว่า จะมีเรือรบฝรั่งเศสไปรวมกำลังกับเรือลูแตง โดยชี้ให้เห็นชัดว่าการดำเนินการครั้งนี้อย่างเดียวกับประเทศอังกฤษ และประเทศอื่น ๆ ได้กระทำก่อนแล้ว ให้เป็นที่เข้าใจว่า จะไม่ทำการรุกรบอย่างใด ๆ โดยไม่แจ้งให้ทราบเสียก่อน เว้นไว้แต่ในกรณีที่เรือของฝรั่งเศสถูกโจมตี และถูกบังคับ จึงจะยิงโต้ตอบกับฝ่ายข้าศึกได้

                 ม.ปาวี ได้มีหนังสือทูลพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีว่าการต่างประเทศ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม มีความว่า "รัฐบาลฝรั่งเศสขอให้แจ้งว่ารัฐบาลอังกฤษได้ดำริจะให้เรือรบหลายลำเข้ามาในกรุงเทพ ฯ อ้างว่ามีเหตุจำเป็นจะให้มาป้องกันรักษาคนในบังคับอังกฤษ ในสมัยที่เกิดการวุ่นวายกันนี้ เหตุฉะนี้รัฐบาลฝรั่งเศสจึงตั้งใจจะกระทำตามบ้าง เรือรบสองลำในกองทัพเรือฝรั่งเศส ได้รับคำสั่งให้เข้ามาอยู่ร่วมกับเรือลูแตงที่กรุงเทพ ฯ การที่เรือรบเข้ามาคราวนี้ ก็มีความประสงค์อย่างเดียวกันกับประเทศอังกฤษ และประเทศอื่น ๆ ที่ได้กระทำมาก่อน เรือรบสองลำที่ออกเดินทางมาแล้วนั้น ชื่อโคแมต (Comete) และแองดองสตังค์ (Inconstang) จะเดินทางมาถึงสันดอนในวันที่ 15 กรกฎาคม จึงขอได้โปรดมีคำสั่งให้มีนำร่องคอยไว้สำหรับเรือรบสองลำนี้"  แต่ในที่สุดเรือฝรั่งเศสก็ล้ำอธิปไตยเข้ามา และถูกฝ่ายสยามระดมยิงใส่เรือปืน

...สุดท้ายผมได้มาเจอหนังสือเล่มหนึ่งยืนยันโทรเลขฉบับประวัติศาสตร์ ที่ทางการฝรั่งเศสระงับคำสั่งรบนั้นมีจริง ใน “สยามกู้อิสรภาพตนเอง” ซึ่งผู้เขียนเป็นสุดยอดนักเขียนประวัติศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ห้า นั่นคือคุณ ไกรฤกษ์ นานา ซึ่งเขียนหนังสือเล่มนี้ ได้อย่างน่ายกย่องทั้งวิธีการเรียบเรียง ทั้งรวบรวมข้อมูลที่มากมาย และการลงทุนชีวิตทุ่มเทกับงาน โดยเฉพาะในหน้า 204 ที่ยังได้มีบทวิเคราะห์ถึงกลยุทธ์ของฝรั่งเศสไว้หลายประเด็น แต่ผมขอยกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการโทรเลขที่สำคัญฉบับนั้นซึ่งติดอยู่ในใจผม จึงนำมาเล่าดังนี้

            ...ก่อนการปะทะ 1 วัน คือวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ภายหลังพระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ อัครทูตสยามประจำกรุงปารีส เจรจาให้นายเดอแวล (M. Devell) รัฐมนตรีต่างประเทศของฝรั่งเศส ถอนคำสั่งเรือรบ 2 ลำที่แล่นเข้ากรุงเทพฯ โดยได้ส่งโทรเลขด่วนถึงกองเรือรบฝรั่งเศสให้ระงับการเดินทางผ่านสันดอนเข้ามา แต่ทว่า...โทรเลขฉบับนี้มาไม่ถึงกัปตันเรือทั้งสองลำ ดังที่กล่าวมาเบื้องต้นที่ ม. ปาวี ได้รับโทรเลขระงับคำสั่งถอนเรือรบ แต่ขัดขืนไม่ปฎิบัติตาม ย่อมมีโทษทางวินัยร้ายแรง ...ยกเว้น ได้รับสัญญาณจากผู้ใหญ่

            แน่นอนทางการทหารนั้น เมื่อออกคำสั่งแล้วอ้างว่าไม่ได้รับหรือขัดคำสั่งนั้นย่อมมีโทษร้ายแรง แต่กลับเป็นว่าผู้บัญชาการเรือรบในครั้งนั้นได้รับเลื่อนยศ ติดเหรียญกล้าหาญ และม. ปาวี ก็ได้บำเหน็จรับความดีความชอบ

         ...ตอนจบของวิกฤติ รศ. 112 ม. ปาวี ตัวแสบ ได้อำนาจเป็นตัวแทนฝรั่งเศสยื่นคำขาดต่อรัฐบาลสยาม ทั้งร้องเอาดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และยังต้องจ่ายเงินถึง 3 ล้านฟรังก์ เพื่อชดใช้ความเสียหายแก่ฝรั่งเศส

บทความของคุณปรเมศวร์ กุมารบุญ จากเวปโทรคมดอทคอม




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 08:26

เมื่อจดหมายฉบับดังกล่าวเผยแพร่ทางสื่อมวลชน ได้เกิดการโต้แย้งกันขึ้นระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส  โดยฝรั่งเศสต่อว่าอังกฤษและอ้างเหตุผลที่จะต้องเข้าครอบครองดินแดนและเหตุการณ์ต่างๆที่มีกับสยาม แต่การที่อังกฤษในสภาปาเลียเม้นท์ ได้ส่งเรือรบไปน่านน้ำกรุงเทพ เป็นข้อยุยงส่งเสริมให้มีน้ำใจทำการขัดขืนไม่ยินยอมมากขึ้น ซึ่งเรา (ฝรั่งเศส)ยังคงเชื่อมั่นว่าอังกฤษจะไม่คิดเอาธุระในเรื่องที่เรากับสยามเกิดพิพาทกันขึ้น"

กล่าวโดย ม.เดอแวลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรางการต่างประเทศฝรั่งเศส


แต่ภายหลังวิกฤตการณ์ร.ศ. ๑๑๒ แล้ว ฝรั่งเศสปิดอ่าวสยาม และท่าทีของอังกฤษกับฝรั่งเศส ก็ยังคงมีปัญหาคือ
๑. ฝรั่งเศสประกาศยึดดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมด ทำให้ทางอังกฤษไม่พอใจ เนื่องจากเกรงว่า ทางตอนเหนือแม่น้ำโขงซึ่งติดกับดินแดนจีนและแว่นแคว้นอื่นๆและเป็นดินแดนอินเดียที่อังกฤษปกครอง เกรงว่าฝรั่งเศสจะทำการยึดดินแดนต่อไป

๒. เพื่อป้องกันปัญหาพิพาทระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ได้มีการตกลงเรื่อง "รัฐกันชน หรือ Buffer State"

๓. อังกฤษเริ่มรู้ว่าเหตุการณ์ได้พิพาทกว้างขวาง ซึ่งเดิมเชื่อว่าจะเป็นเรื่องผิดใจกันการปักปักดินแดนระหว่างสยามกับฝรั่งเศสทางดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้เท่านั้น บัดนี้กินอาณาเขตกว้างขวางมาก (ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมด) ซึ่งทำให้ดินแดนฝรั่งเศสประชิดกับดินแดนอิทธิพลอังกฤษมาก และยังให้เกิดการหวั่นไหวในวงการบริหารการแผ่นดินของรัฐบาลแห่งพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าอยู่หัว

๔. ฝรั่งเศสอ้างเหตุผลการยึดดินแดนหลวงพระบางว่า เป็นเมืองขึ้นของญวน และฝรั่งเศสถือสิทธิ์เหนือฝั่งแม่น้ำโขงมาแต่โบราณ ข้อนี้อังกฤษแย้งกันว่า หยิบยกประวัติการยุ่งยากพอๆกันกับ ฝรั่งเศสส่งคืนแคว้นนอร์มังดี คาสโคนีย์ และเกียนน์ ซึ่งเป็นทำนองเดียวกันกับที่ฝรั่งเศสอ้างสิทธิ์หลวงพระบาง ซึ่งเป็นดินแดนของสยามมาแต่เดิม

และอังกฤษเองกับฝรั่งเศสก็ทำสัญญากันเองจัดสรรดินแดนรัฐกันชน ไม่ก้าวล่วงละเมิดอำนาจกัน โดยที่สยามไม่รับรู้เลย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 08 ก.พ. 11, 08:37

มิสเตอร์ฟิปปส์ (Phipps)  (อุปฑูตอังกฤษประจำปารีส )ได้โทรเลขถึง ลอร์ดโรสเบอรี (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ) เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม แจ้งเนื้อความการเจรจากับ ม.เดอแวลล์(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส)มีความว่า "ม.เดอแวลล์แจ้งว่าเรือฝรั่งเศส ที่ส่งไปจะอยู่นอกสันดอน คงให้เรือลูแตงอยู่ในกรุงเทพ ฯ และแจ้งว่าตามข้อ ๑๕ แห่งหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ค.ศ.๑๘๕๖ ให้เรือฝรั่งเศสเข้าไปในลำแม่น้ำเจ้าพระยาได้จนถึงสมุทรปราการ และเมื่อแจ้งให้รัฐบาลไทยทราบแล้วให้ล่วงเข้าไปถึงกรุงเทพ ฯ ได้
จากนั้นมิสเตอร์พิปปส์แจ้งว่า ความตั้งใจของรัฐบาลอังกฤษมีหลักอยู่ว่า มีความจำเป็นจะต้องคุ้มครองผลประโยชน์ของเราในกรุงเทพ ฯ ซึ่งอังกฤษมีส่วนในการค้าขายอยู่ถึงสามในสี่ส่วน  และถ้าหากว่ามหาประเทศใดซึ่งมีปัญหา ระหว่างประเทศต้องพิพาทกับประเทศที่มีกำลังน้อย แล้วยกกำลังกองทัพเรือใหญ่โตมาขู่ขวัญภายในอาณาเขตเช่นนี้ ก็เหมือนกับว่าตัดสิทธิประเทศนั้นเสียในอันจะป้องกันตัวเอง
ม.เดอแวลล์ตอบว่า ม.โกรสกูแรงถูกฆ่าตาย และได้มีการฆ่าฟันทหารญวนด้วย กับเรื่องการปล่อยตัวร้อยเอกโทเรอซ์ ดังนั้นโดยเกียรติยศของฝรั่งเศส(กรณีพิพาทพระยอดเมืองขวาง) จะไม่ยอมให้ต่างประเทศเข้ามาแทรกแซง และจะต้องได้รับข้อเรียกร้องอันชอบธรรมนี้ ซึ่งถ้าไม่ได้รับแล้วก็จะต้องบังคับเอา "



สรุปว่า อังกฤษคิดว่าไม่พร้อมที่จะทะเลาะกับฝรั่งเศสเรื่องสยาม เพราะไม่คุ้ม สู้ถ้อยทีถ้อยแบ่งผลประโยชน์กันในภูมิภาคนี้ดีกว่า
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.096 วินาที กับ 20 คำสั่ง