เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 21
  พิมพ์  
อ่าน: 173865 ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 255  เมื่อ 03 ก.พ. 11, 20:46

หลวงพัฒน พงศ์ภักดี แต่งนิราศหนองคาย เมื่อวันพุธ เดือน ๑๐ แรม ๘ ค่ำ ปีกุน สัปตศก พุทธศักราช ๒๔๑๘ ขณะเป็นทนายคนใกล้ชิดของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง(เพ็ง เพ็ญกุล)
เจ้าพระยามหินทรฯ ได้รับการแต่งตั้งเป็นแม่ทัพไปปราบฮ่อที่เมืองหนองคาย กองทัพออกจากพระนครโดยทางเรือ    เพื่อไปขึ้นบกที่สระบุรี แล้วเดินทางต่อไปถึงหาดพระยาทด แขวงเมืองสระบุรี   ก็ต้องหยุด ไม่สามารถเคลื่อนทัพได้ เนื่องจากเป็นฤดูฝน ฝนตกหนักน้ำท่วมในดงพระยาไฟ เกรงว่าไพร่พลจะเป็นอันตราย   
ทัพที่ยกไปสมทบคือกองทัพเจ้าพระยาภูธรภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์)  สมุหนายก ให้ยกพลออกจาพระนคร ไปขึ้นบกที่อุตรดิตถ์ เพื่อเดินทางไปยังเมืองหลวงพระบางอีก

ส่วนทางเมืองหนองคาย เจ้าพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) ผู้เป็นข้าหลวงออกไปตั้งกองสักเลกอยู่ในมณฑลร้อยเอ็ด คุมกองทัพเมืองนครราชสีมา กับพระยานครราชเสนี (กาจ สิงหเสนี) แต่ยังเป็นพระยาปลัด  กับพระยกกระบัตรเมืองนครราชสีมา ยกไปตีพวกฮ่อที่เวียงจันทน์จนแตกพ่ายไปอยู่ที่เมืองเชียงขวางในแขวงพวน
ฝ่ายทางพระนครเห็นว่าพวกฮ่อยังไม่หมดกำลัง  อาจกลับมารบใหม่อีก จึงเร่งรัดกองทัพเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง จึงเคลื่อนกองทัพไปถึงเมืองนครราชสีมา ไปทางเมืองพิมาย เมืองพุทไธสง ขณะนั้นกองทัพเจ้าพระยาภูธรราภัยได้ยกไปถึงเมืองหนองคายและได้เข้าโจมตีพวกฮ่อจนแตกพ่ายไป
ทางกรุงเทพ มีท้องตราคำสั่งให้เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง จัดแบ่งทหารออกส่วนหนึ่งให้ไปสมทบกับเจ้าพระยาภูธราภัย อีกส่วนหนึ่งให้เจ้าพระยามหินทรฯ นำกลับมาถึงกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือน ๕ ปีชวด อัฐศก พุทธศักราช ๒๔๑๙ รวมเวลายกกองทัพไป และกลับทั้งสิ้น ๘ เดือน

บรรยายถึงทหารในกองทัพว่า

แล้วถึงทหารอย่างยุโรปครบทหาร      งามตระการเสื้อสีไม่มีสอง
ทั้งข้างแขนพู่บ่าระย้าทอง              ล้วนแต่ของใหม่ใหม่ได้ประทาน
ทั้งตัวนายขี่ม้าอาชาชาติ              ดูองอาจสมกายนายทหาร
ประดุจดังยังพยัคฆ์จักทะยาน      ศัตรูพานพ้องพบรบระอา

หลวงพิชัยเสนาสง่าเหลือ               สอดสวมเสื้อแดงสีมณีฉาย
เข็มกลัดคาดสายกระบี่มีตะพาย      ขี่คอพลายประจญมารชาญศักดา
กรกุมขอข้อขึงดูผึ่งผาย              แล้วยักย้ายท่วงทีดีหนักหนา
ว่าที่แอดดิกงยงศักดา              เป็นผู้รักษาแม่ทัพรบไพรี
แล้วถึงช้างคุณบุตรแอดดิกง               สวมเสื้อส่งสดแสงดูแดงสี
ขี่ช้างพลายโพยมกระโจมมี                ดูท่วงทีผุดผาดสะอาดตา
แล้วถึงทหารหัดใหม่สไนเด้อร์      ไม่เซอะเซ่อท่วงทีดีหนักหนา
เดินในทางสองข้างมรคา               จ้างมาเป็นนายไม่ร้ายรอง

กรุณาตีความกันเองว่ามีมะรีนหรือไม่   ดิฉันอ่านออกแต่ว่ามีขบวนช้างกับขบวนม้า   เสื้อนายทหารสีต่างๆกัน   ไม่รู้ว่าสีไหนหมายถึงมะรีน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 256  เมื่อ 03 ก.พ. 11, 20:58


เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง   รูปขวาถ่ายกับบุตรชาย
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 257  เมื่อ 03 ก.พ. 11, 21:19

จากที่อ่านนิราศหนองคายในตู้หนังสือเรือนไทยมาแล้ว

เห็นได้ว่าในขบวนทัพนี้ มีนายสิบโท ถม กับทหารอีกประมาณ 12 คน พร้อมปืนแกตลิงตันอยู่รวมในกองทัพด้วย
แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นทหารมะรีนหรือไม่
ซึ่งถ้านับทหารเรือในถ่ายภาพของเราแล้ว จะพบว่า มีทหารเรือจำนวนเกินโหลมานิดหน่อย
(14-15 คน) ซึ่งใกล้เคียงกันตามท้องนิราศ

และถ้าภาพนี้เป็นการปราบฮ่อครั้งแรกจริงๆ แล้ว ทหารในรูปคงไม่ใช่พวกมณฑลพิษณุโลกดังคำบรรยายดั้งเดิม
แต่คงจะเป็นทหารจากมณฑลอุดรมากกว่า เพราะกองทัพเจ้าพระยามหินทร์ขึ้นไปทางเวียงจันท์ ไม่ใช่ทางหลวงพระบาง
ซึ่งกองทัพจากพิษณุโลกไปตั้งอยู่ที่เมืองเวียงกัดและสมทบกับทัพเจ้าพระยาภูธราภัยแน่ๆ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 258  เมื่อ 03 ก.พ. 11, 21:31

ผมเองก็ไม่เคยอ่านนิราศหนองคาย แต่เพราะคุณ siamese ทักท้วงมา เลยต้องรีบแจ้นไปหาอ่าน พบแล้วก็อ่านผ่านตามาอย่างลวกๆ ก็พบว่าทหารมะรีนเข้าร่วมกองทัพไปปราบฮ่อครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ จริง แต่ในนิราศฯ ไม่มีการกล่าวถึงทหารมะรีน คงกล่าวถึงปืนแกตลิงเท่านั้น
ผมคงต้องไปทักท้วงเวปต้นฉบับที่ผมไปคัดลอกมาซักหน่อย ให้แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 259  เมื่อ 03 ก.พ. 11, 21:33

จากที่อ่านนิราศหนองคายในตู้หนังสือเรือนไทยมาแล้ว

เห็นได้ว่าในขบวนทัพนี้ มีนายสิบโท ถม กับทหารอีกประมาณ 12 คน พร้อมปืนแกตลิงตันอยู่รวมในกองทัพด้วย
แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นทหารมะรีนหรือไม่
ซึ่งถ้านับทหารเรือในถ่ายภาพของเราแล้ว จะพบว่า มีทหารเรือจำนวนเกินโหลมานิดหน่อย
(14-15 คน) ซึ่งใกล้เคียงกันตามท้องนิราศ

และถ้าภาพนี้เป็นการปราบฮ่อครั้งแรกจริงๆ แล้ว ทหารในรูปคงไม่ใช่พวกมณฑลพิษณุโลกดังคำบรรยายดั้งเดิม
แต่คงจะเป็นทหารจากมณฑลอุดรมากกว่า เพราะกองทัพเจ้าพระยามหินทร์ขึ้นไปทางเวียงจันท์ ไม่ใช่ทางหลวงพระบาง
ซึ่งกองทัพจากพิษณุโลกไปตั้งอยู่ที่เมืองเวียงกัดและสมทบกับทัพเจ้าพระยาภูธราภัยแน่ๆ

การปราบฮ่อครั้งที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ กองทัพได้จัดออกเป็น ๕ ทัพ

ทัพที่ ๑ นำโดย พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยานมิตร) คุมไพร่พลออกจากมณฑลอุดร ร้อยเอ็ด และอุบล
ทัพที่ ๒ นำโดย พระยาพิชัย (ดิศ) คุมไพร่พลจากมณฑลพิษณุโลก  (ดังภาพกองหหารมารีน และช้างปืนใหญ่)
ทัพที่ ๓ นำโดย เจ้าพระยาภูธราชัย (นุช บุณยรัตพันธุ์)
ทัพที่ ๔ นำโดย เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง
ทัพที่ ๕ นำโดย เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิราช (เวก บุญยรัตตพันธ์)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 260  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 09:25

ภาพ ม. เลอมีร เดอ วิลลีเอรส์ ซึ่งได้อธิบายในก่อนหน้านี้ว่า จะเดินทางมาเพื่อเข้าสมัครเลือกตั้งในดินแดนโคชินจีน ที่ไซ่ง่อน แต่เกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ที่ปากน้ำเสียก่อน เลยต้องเข้ามาเจรจากับรัฐบาลสยาม


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 261  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 09:38

ว่าด้วยปราบฮ่อครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘

เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗ เป็นปีที่ ๗ ในรัชกาลที่ ๕ ฮ่อเตรียมทัพที่ทุ่งเชียงคำจะยกลงมาทางเมืองเวียงจันท์ มาตีเมืองหนองคายทัพ ๑ จะยกไปทางเมืองหัวพันห้าทั้งหกไปตีเมืองหลวงพระบางอีกทัพ ๑ ข่าวที่ฮ่อเตรียมจะยกกองทัพเข้ามาครั้งนี้ กรมการเมืองหนองคายได้ทราบความจากพวกท้าวขุนเมืองพวนที่แตกหนีเข้ามาอาศัยอยู่เมืองหนองคาย จึงบอกเข้ามายังกรุงเทพ ฯ ถึงพร้อมกับใบบอกเจ้านครหลวงพระบาง ขณะนั้นพระยามหาอำมาตย์ ( ชื่น กัลยาณมิตร ) เป็นข้าหลวงขึ้นไป สักเลขอยู่ในมลฑลอุบล จึงโปรด ฯ ให้พระยามหาอำมาตย์เกณฑ์กำลังมลฑลอุดร มณฑลร้อยเอ็จ และมลฑลอุบล เป็นกองทัพ ๑ ให้พระยานครราชสิมา (เมฆ) เกณฑ์กำลังนครราชสิมาเป็นกองทัพ อีกทัพ ๑ ให้พระยามหาอำมาตย์เป็นแม่ทัพใหญ่ยกขึ้นไปป้องกันเมืองหนองคาย และโปรด ฯ ให้เกณฑ์กำลังมณฑลพิศณุโลกเข้ากองทัพ ให้พระยาพิชัย ( ดิศ ) คุมขึ้นไปช่วยป้องกันเมืองหลวงพระบางอีกทัพ ๑ ฝ่ายทางกรุงเทพ ฯ โปรดให้เกณฑ์กำลังเข้ากองทัพ ให้เจ้าพระยาภูธราภัยที่สมุหนายกเป็นแม่ทัพ ยกไปปราบฮ่อทางเมืองหลวงพระบาง ทัพ ๑ โปรด ฯ ให้เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรงเป็นแม่ทัพยกไปปราบฮ่อทางเมืองหนองคายทัพ ๑

เมื่อกองทัพพระยามหาอำมาตย์ยกขึ้นไปถึงเมืองหนองคาย ฮ่อก็ลงมาถึงฝั่งน้ำโขงฟากโน้น ตั้งค่ายอยู่ที่วัดจันทน์ในเมืองเวียงจันท์แห่ง ๑ ที่บ้านสีฐานแห่ง ๑ ที่บ้านโพนทานาเลาแห่ง ๑ แล้วข้ามฟากมาตีเมืองปากเหืองแตกเมือง ๑ พระยามหาอำมาตย์กับพระยานคร ราชสิมา ( เมฆ ) พระพรหมภักดี ( กาจ สิงห์เสนี ) ๑ ยกรบัตรเมืองนครราชสิมา ยกขึ้นไปได้รบพุ่งกับพวกฮ่อ ๆ ต่อสู้อยู่วัน ๑ ก็แตกหนีไปหมด จับเป็นได้ก็มาก กองทัพเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรงยกออกจากกรุงเทพฯ โดยทางเรือ เมื่อวันพุฒ เดือน ๑๐ แรม ๘ ค่ำ พ.ศ. ๒๔๑๘ ตั้งโขลนทวาร ที่เหนือท่าขุนนาง เสด็จลงส่งกองทัพที่ท่าราชวรดิษฐ์ตามประเพณีโบราณ กองทัพขึ้นไปตั้งประชุมพลที่ตำบลหาดพระยาทดแขวงเมืองสระบุรี แล้วยกเป็นกองทัพบกขึ้นไปเมืองนครราชสิมาทางดงพระยาไฟ เมื่อกองทัพเจ้าพระยามหินทร ฯ ยกไปแล้ว ได้ข่าวมาถึงกรุงเทพ ฯ ว่าพวกฮ่อที่ลงมาทางเมืองหนองคายแตกทัพพระยามหาอำมาตย์ไปหมดแล้ว เห็นไม่จำเป็นจะให้กองทัพใหญ่ขึ้นไป จึงมีตราให้หากองทัพเจ้า พระยามหินทร ฯ กลับมาจากเมืองผไทยสงฆ์

กองทัพเจ้าพระยาภูธราภัยนั้นยกออกจากกรุงเทพ ฯ เหมือนอย่างครั้งกองทัพเจ้าพระยามหินทร ฯ เมื่อ ณ วันอาทิตย์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ไปตั้งประชุมพลที่เมืองพิชัย แล้วยกกองทัพเดินทางบกต่อไป ฝ่ายกองทัพพระยาพิชัย ( ดิศ ) ซึ่งได้ยกล่วงน่าขึ้นไปก่อน ไปถึงเมืองหลวงพระบางได้ทราบว่ากองทัพฮ่อมาตั้งอยู่ที่เมืองเวียงกัดในแขวงหัวพันห้าทั้งหก พระยาพิชัยก็รีบยกขึ้นไปจากเมืองหลวงพระบาง ไปพบกองทัพฮ่อได้รบกันเมื่อเดือน ๑๒ ปีกุญ แต่กำลังกองทัพพระยาพิชัยไม่พอจะตีฮ่อให้แตกไปได้ จึงตั้งมั่นรักษาด่านอยู่ เมื่อเจ้าพระยาภูธราภัยขึ้นไปถึงเมืองพิชัย ได้ทราบว่าพระยาพิชัยรบพุ่งติดพันอยู่กับพวกฮ่อ จึงจัดกองทัพให้พระสุริยภักดี ( เวก บุณยรัตพันธุ์) เจ้ากรมพระตำรวจ รีบยกขึ้นไปเมืองหลวงพระบางตามไปช่วยพระยาพิชัย กองทัพพระสุริยภักดีขึ้นไปถึงเข้าตีทัพฮ่อแตกยับเยินไป เจ้าพระยาภูธราภัยจึงสั่งให้กองทัพพระยาพิชัย และกองทัพพระสุริยภักดีติดตามตีฮ่อไปจนทุ่งเชียงคำพวกฮ่อก็พากันอพยบหลบหนีไปจากเมืองพวน เป็นเสร็จการปราบฮ่อในคราวนั้น กองทัพเจ้าพระยาภูธราภัยได้ยกขึ้นไป ตั้งอยู่ที่ตำบลปากลายริมแม่น้ำโขงข้างใต้เมืองหลวงพระบาง จนมีตราให้หากลับมา

จากข้อความทั้งนี้
จะเห็นได้ว่ากองทัพมณฑลพิษณุโลกภายใต้การบังคับบัญชาของพระยาพิชัย และพระสุริยภักดี ยกตีตามพวกฮ่อไปถึงทุ่งเชียงคำและเมืองพวน
แต่ไม่ปรากฏว่ากองทัพมณฑลอุดรของพระยามหาอำมาตย์ยกไปไหน ได้ความแค่ว่ารั้งทัพที่เมืองเวียงจันท์หลังตีพวกฮ่อแตกแล้ว
และคงเลิกทัพกลับมาหลังจากนั้นไม่ช้านัก

ดูไม่น่าปืนกลแกตลิงกับทหารมณฑลพิษณุโลกจะมาเจอกันได้ ฮืม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 262  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 09:48

ปืนแก็ทลิ่ง  เป็นปืนกลที่ไทยสั่งซื้อเข้าใช้ในราชการครั้งแรก เมื่อปี ๒๔๑๖
ปืนชนิดนี้ ผลิตขึ้นโดย  นาย  Richard J. Gatling ชาวอเมริกัน  เมื่อราวปี ๒๔๐๕
รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้หมอจันดเล เป็นผู้ติดต่อกับบริษัทผลิตปืนในสหรัฐอเมริกา
เพื่อสั่งซื้อปืนกลชนิดนี้เข้ามาใช้ในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
และใช้ประจำในเรือรบต่างๆ

ครั้นเมื่อเจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) เป็นผู้บังคับการกรมทหารหน้า
ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่ทัพยกพลไปปราบฮ่อที่หลวงพระบาง เมื่อ ปี ๒๔๒๘
ได้นำเอาหน่วยทหารมะรีน และปืนกลแก็ทลิ่ง จำนวน  ๒ กระบอก ไปใช้ในทัพด้วย

ถ้าใครเคยอ่านหนังสือ นิราศหลวงพระบาง  ของนายร้อยเอก หลวงทวยหาญรักษา
(เพิ่ม  อุปลาคม) คงจะทราบรายละเอียดการทัพปราบฮ่อครั้งนั้นเป็นอย่างดี
ในนิราศนั้น ได้เอ่ยถึงพระวิภาคภูวดล (เจมส์ แมคคาธี) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่เมืองน่าน
และนายออกุสต์ ปาวี ด้วย 
บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 263  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 10:00

ขอคั่นรายการปืนใหญ่ด้วยภาพของปาวี ชื่อ Une halte de nuit sur les bords du Mékong  พักแรมริมแม่น้ำโขง


รูปนี้เหมือนกับรูปของ Louise DELAPOTE กับคณะ ที่เคยมาสำรวจ ลาว เขมรและยูนนาน ช่วงปี 1866-1868 มากเลยครับ คำบรรยายภาษาอังกฤษว่า A nocturnal stopover on the bank of the Mekong  นักสำรวจคณะนี้มาสำรวจอินโดจีนก่อน ปาวี ราวๆสิบปี รูปเห็นไม่ค่อยชัดน่าจะเป็นภาพเดียวกันครับ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 264  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 10:05

คุณหลวงเล็กมาทีทำให้ข้อมูลกลับตาลปัตรไปหมด อุตส่าห์จะเชื่อแล้วเชียวว่าภาพนี้ถ่ายในการปราบฮ่อครั้งแรก ร้องไห้

เพราะการปราบอ่อทั้งสองครั้งต่างมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่ามีปืนกลแกตลิงอยู่ในกระบวนทัพด้วย

การปราบฮ่อครั้งแรก บอกว่ามีนายสิบโท ถม คุมทหารหนึ่งโหลพร้อมปืนแกตลิง (ไม่ได้บอกว่าทหารอะไรคุมไปและมีปืนกี่กระบอก)
การปราบฮ่อครัง้ที่สาม บอกว่ามีทหารมะรีนคุมปืนแกตลิงไป 2 กระบอก (ในรูปเห็นชัดกระบอกหนึ่ง อีกกระบอกเห็นไม่แจ่มแจ้ง)

แล้วอย่างนี้จะสืบไปทางไหนต่อดี ฮืม
มิต้องเริ่มกันใหม่เจียวฤๅ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 265  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 10:20

คุณหลวงเล็กมาทีทำให้ข้อมูลกลับตาลปัตรไปหมด อุตส่าห์จะเชื่อแล้วเชียวว่าภาพนี้ถ่ายในการปราบฮ่อครั้งแรก ร้องไห้

เพราะการปราบอ่อทั้งสองครั้งต่างมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่ามีปืนกลแกตลิงอยู่ในกระบวนทัพด้วย

การปราบฮ่อครั้งแรก บอกว่ามีนายสิบโท ถม คุมทหารหนึ่งโหลพร้อมปืนแกตลิง (ไม่ได้บอกว่าทหารอะไรคุมไปและมีปืนกี่กระบอก)
การปราบฮ่อครัง้ที่สาม บอกว่ามีทหารมะรีนคุมปืนแกตลิงไป 2 กระบอก (ในรูปเห็นชัดกระบอกหนึ่ง อีกกระบอกเห็นไม่แจ่มแจ้ง)

แล้วอย่างนี้จะสืบไปทางไหนต่อดี ฮืม
มิต้องเริ่มกันใหม่เจียวฤๅ

เข้ามางงด้วย  ฮืม เอกสารภาพเก่าที่ระบุไว้ในการปฏิรูปการทหารก็ระบุไว้ว่า จากมณฑลพิษณุโลก มีภาพว่าเป็นศึกฮ่อ ครั้งที่ ๑

อีกแหล่งหนึ่งก็ในนี้ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Army_of_Thailand_in_Haw_wars_(1875).jpg เช่นเดียวกัน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 266  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 10:24

คุณหลวงเล็กมาทีทำให้ข้อมูลกลับตาลปัตรไปหมด อุตส่าห์จะเชื่อแล้วเชียวว่าภาพนี้ถ่ายในการปราบฮ่อครั้งแรก ร้องไห้

เพราะการปราบอ่อทั้งสองครั้งต่างมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่ามีปืนกลแกตลิงอยู่ในกระบวนทัพด้วย

การปราบฮ่อครั้งแรก บอกว่ามีนายสิบโท ถม คุมทหารหนึ่งโหลพร้อมปืนแกตลิง (ไม่ได้บอกว่าทหารอะไรคุมไปและมีปืนกี่กระบอก)
การปราบฮ่อครัง้ที่สาม บอกว่ามีทหารมะรีนคุมปืนแกตลิงไป 2 กระบอก (ในรูปเห็นชัดกระบอกหนึ่ง อีกกระบอกเห็นไม่แจ่มแจ้ง)

แล้วอย่างนี้จะสืบไปทางไหนต่อดี ฮืม
มิต้องเริ่มกันใหม่เจียวฤๅ

ถ้าภาพก่อนๆ นั้นมาจากหนังสือเล่มเดียวกัน แสดงว่า ทัพที่ปราบฮ่อครั้งนั้น
ต้องมีพระวิภาคภูวดลเกี่ยวข้อง และนายปาวีต้องเข้ามายุ่งในสงครามครั้งนี้
กลับไปดูที่ภาพพระวิภาคภูวดลที่เมืองน่านอีกที

ทัพที่เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) ยกไปหลวงพระบางนั้น
ไปทางเรือล่องน้ำขึ้นไปจนถึงอุตรดิตถ์ แล้วจึงได้เดินทางต่อไปหลวงพระบาง
ผมว่า อ่านหนังสือประวัติการของเจ้าคุณสุรศักดิ์ฯ น่าจะได้ข้อมูลดี
ถ้าไม่พอ อ่านบันทึกของพระวิภาคฯ เพิ่มอีก  หรือถ้ายังปวดหัวไม่พอ
ไปเอาจดหมายเหตุปราบฮ่อ ทุกครั้งมาอ่าน  

อ้อ ปืนกระบอกข้างๆ นั้น น่าจะเป็นปืนใหญ่ฮอชกิส ปืนกลออชกิสเป็นปืนกล
ที่ใช้แก๊สทำงาน  ระบายความร้อนด้วยอากาศ ป้อนกระสุนด้วยสายกระสุนแถบโลหะ
บรรจุกระสุน ๒๔ - ๓๐ นัด  ผลิตโดยบริษัทฮอชกิส ประเทศฝรั่งเศส
ไม่แน่ใจว่า เอาเข้ามาใช้ในราชการไทยเมื่อใด

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 267  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 10:40

ขอคั่นรายการปืนใหญ่ด้วยภาพของปาวี ชื่อ Une halte de nuit sur les bords du Mékong  พักแรมริมแม่น้ำโขง


รูปนี้เหมือนกับรูปของ Louise DELAPOTE กับคณะ ที่เคยมาสำรวจ ลาว เขมรและยูนนาน ช่วงปี 1866-1868 มากเลยครับ คำบรรยายภาษาอังกฤษว่า A nocturnal stopover on the bank of the Mekong  นักสำรวจคณะนี้มาสำรวจอินโดจีนก่อน ปาวี ราวๆสิบปี รูปเห็นไม่ค่อยชัดน่าจะเป็นภาพเดียวกันครับ

เอารูปในเว็บที่มาของภาพ มาลงให้ดูค่ะ  เป็นเว็บอธิบายถึงหนังสือของปาวี   ในหน้ามีภาพชุดเดียวกันรวม ๔ ภาพ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 268  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 10:45

ส่วนภาพของ Delapote ที่คุณ Pathuma เอ่ยถึง   คงเป็นภาพนี้ละมังคะ 
ชื่อ  French Camp on Banks of River Mekong  จากหนังสือชื่อ 'Atlas du Voyage d'Exploration de Indo-Chine' ของ Louise DELAPOTE
คล้ายคลึง แต่เป็นคนละภาพ คนละแบบกันค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 269  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 15:32

การปราบฮ่อที่เมืองหลวงพระบางใช้ทัพจากเมืองพิษณุโลกเป็นหลักแน่นอนครับ  เพราะการเดินทัพไปหลวงพระบางนั้นปกติใช้เส้นทางบกจากอุตรดิตถ์กับเมืองน่านเป็นหลัก  ส่วนการเดินทัพจากมณฑลอุดรนั้นจะไปเพียงเมืองเวียงจันทร์  เพราะหนทางจากเวียงจันทร์ไปหลวงพระบางยากลำบากและกันดารกว่าเส้นทางเมืองอุตรดิตถ์และเมืองน่านมาก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 ก.พ. 11, 16:05 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง