เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 174117 ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 240  เมื่อ 02 ก.พ. 11, 11:38

"แล้วถึงกองขุนสิทธิ์ติดกระชั้น       มีซายัน (Sergeant) ควงกระบอกคล่องหนักหนา
ทหารแถวสองข้างหนทางมา          ล้วนถืออาวุธสิ้นดูภิญโญ
แล้วถึงคอโปราล (Coporal) ถมดูคมขำ     ขี่ม้านำทหารประมาณโหล
คุมปืนแคทะลิ่งกัน สนั่นโต้    มีเดโชยิ่งกว่าปืนอื่นทั้งปวง"
                                              จาก นิราศหนองคาย
                                                          หลวงพัฒนพงศ์ภักดี

ปืนแก็ตลิ่งรุ่นแรกนำมาใช้ในสมัย ร.๕  เป็นรุ่นวางบน ๓ ขา   ผลิตโดยบริษัท แก็ตลิ่ง (Gatling Gun Company , Connecticut USA) ในอเมริกา อัตราการยิง ๔๐๐ นัดต่อนาที เป็นปืนกลรุ่นแรก



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 241  เมื่อ 02 ก.พ. 11, 11:52

ปืนแก็ตลิ่งรุ่นแรกนำมาใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๕

ดูกันชัด ๆ

 ยิงฟันยิ้ม

http://reocities.com/Colosseum/bench/6511/_x1_O_OeED3O1a_P/_x1_A/gatling.html


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 242  เมื่อ 02 ก.พ. 11, 16:31

ปืนใหญ่หลังช้าง จากหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส  เป็นภาพช้างศึกและกองทัพสยามในลาว ปี 1893


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 243  เมื่อ 02 ก.พ. 11, 17:54

เกิดความสงสัยนิดหนึ่ง ฮืม

ภาพทหารและปืนใหญ่บนช้างนั้น คุณไซมีสบอกว่า เกณฑ์จากมณฑลพิษณุโลก เพื่อไปปราบฮ่อครั้งแรก ปี 2418
ผมเลยสงสัยว่ามณฑลพิษณุโลกไม่น่าจะมีทหารเรือนะครับ
แม่ทัพที่คุมกำลังพลไปก็เป็นเจ้าเมือง คือ พระยาพิชัย (ดิศ) ไม่ใช่เจ้ากรมทหารอะไรในบางกอก
อีกอย่างถ้ามีปืนใหญ่ ปืนกล ก็คงจะรบชนะพวกฮ่อที่เมืองเวียงกัดแล้ว
คงไม่ต้องรั้งรอจนทัพกรุงขึ้นมาช่วยถึงชนะหรอกครับ

และผมไปเจอมาว่า การปราบฮ่อครั้งแรก พ.ศ. 2418 และครั้งที่ 2 พ.ศ. 2426 นั้น
เป็นการจัดทัพอย่างโบราณ คือเกณฑ์พลเรือนไปรบ ยังไม่ได้จัดทหารที่ฝึกฝนอย่างยุโรปไปทำการรบเลย
เพิ่งจะจัดไปก็คราวที่ 3 พ.ศ. 2428 โดยใช้กรมทหารรักษาพระองค์ และกรมทหารหน้า
ช่วยกันปราบฮ่อทางเมืองพวน และทางหลวงพระบาง
ซึ่งครั้งนี้อาวุธยุทโธปกรณ์น่าจะดีกว่าทั้งสองครั้งแรกมากๆ รวมถึงอาจจะมีปืนใหญ่ และปืนกลติดกองทัพไปด้วย

ผมว่าครั้งหลังมากว่าที่มีทหารเรือตามไป กับมีปืนใหญ่อย่างที่เราเห็นกันในภาพถ่าย
คิดเห็นกันอย่างไรบอกผมด้วย ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 244  เมื่อ 02 ก.พ. 11, 21:05

ขอคั่นรายการปืนใหญ่ด้วยภาพของปาวี ชื่อ Une halte de nuit sur les bords du Mékong  พักแรมริมแม่น้ำโขง



บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 245  เมื่อ 02 ก.พ. 11, 21:15

อยากให้คุณart47 ลองอ่านสุดสองทวีป ของ จ่าน้อม ทหารหน้าดู น่าที่จะครบทุกคำตอบ และนิราศหนองคายที่เล่าถึงปืนชนิดนี้ครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 246  เมื่อ 03 ก.พ. 11, 13:19

เมื่อม.ปาวี ราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ดำเนินการโดยพลการ สั่งให้เรือรบทั้ง๒ลำเดินทางเข้ามาทอดสมออยู่ในปากอ่าว เตรียมพร้อมที่จะตลุยเข้ามาในกรุงเทพนั้น  ในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม เสนาบดีว่าการต่างประเทศของไทยได้มีโทรเลขไปยังอัครราชฑูตไทยประจำกรุงปารีส แจ้งเรื่องเรีอรบฝรั่งเศส จะเข้ามาขู่เข็ญไทย ขอให้นำความไปร้องเรียนต่อ ม.เดอ แวลล์ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศฝรั่งเศสโดยด่วน

เดอ แวลล์ตอบว่า รัฐบาลฝรั่งเศสไม่ได้เป็นผู้สั่งการให้เรือรบเข้าไปในกรุงเทพ ฯ  และรับรองว่าจะถอนคำสั่งเดิมเสีย
ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖ เดอ แวลล์ ได้มีโทรเลขไปยังปาวี ราชฑูตฝรั่งเศสที่กรุงเทพ ฯ มีความว่าสำคัญว่า ให้บอกแก่กองเรือฝรั่งเศสทราบว่า รัฐบาลฝรั่งเศสตกลงยับยั้งไม่ให้เรือลำใดข้ามสันดอนเข้าไปก่อน โทรเลขฉบับนี้มาถึงสถานทูตฝรั่งเศส ได้รับในกรุงเทพเวลาเช้า ๑๐.๓๐น. ของวันเดียวกันนั้น

ปาวีอยู่ในกรุงเทพมานานพอที่จะรู้ระบบการทำงาน "หลับกลางวัน ทำงานกลางคืน" ของสยามดี  เขาจึงถ่วงเวลาที่จะนำโทรเลขนั้น  ไปแจ้งยังผู้บังคับการกองเรือ ที่กำลังรอปฏิบัติตามคำสั่งที่กำหนดไว้ว่า เมื่อน้ำขึ้นในตอนเย็น จะเป็นเวลาที่ลงลงมือปฏิบัติการ

อันที่จริง สำเนาโทรเลขนั้น กรมโทรเลขสยามก็ได้รับพร้อมๆกัน ไม่มีปัญหาอะไรที่เราจะให้เจ้าหน้าที่ไทย ลงเรือด่วนนำโทรเลขนั้น ไปแจ้งให้ผู้บังคับการทหารเรือฝรั่งเศสเสียเอง เพื่อยุติวิกฤต

แต่ทว่า จะหาผู้หลักผู้ใหญ่ฝ่ายไทยที่มีอำนาจสั่งการดังกล่าวสักคน ก็หาได้ไม่ เวลาล่วงเลยจน ๑๘.๐๕ น . เรือรบฝรั่งเศสจึงวิ่งเต็มฝีจักรช้ามสันดอนเข้ามากรุงเทพ

เจ้าพระยาอภัยราชาฯ (โรลัง ยัคมินส์) ที่ปรึกษาราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวชาวเบลเยียม กล่าวไว้ในจดหมายที่เขียนถึงลูกชายเกี่ยวกับโทรเลขที่ฝรั่งเศสส่งมาไว้ว่า "ลูกอาจถามพ่อว่า ถ้าเราได้รับโทรเลขฉบับนั้นเวลา ๑๐.๓๐นาฬิกา ในตอนเช้าของวันที่ ๑๓แล้ว เหตุใดเราจึงไม่ติดต่อกับปาวีทันที โชคร้ายจริงที่เหตุผลเป็นเรื่องโง่เขลา ลูกก็ทราบนี่ว่า เสนาบดีสยามหลับตอนกลางวัน และทำงานตลอดจนประชุมกันในเวลากลางคืน เรื่องนี้ส่งผลให้เมื่อโทรเลขฉบับนั้นมาถึง จึงได้แต่รอกันเงียบๆ โดยไม่บอกให้พ่อรู้ด้วยซ้ำ จนกรมหลวงเทวะวงศ์ฯ ทรงตื่นจากบรรทม ซึ่งพระองค์ทรงตื่นขึ้นตอนที่มีคนได้ยินเสียงยิงปืนใหญ่ที่ปากน้ำนั่นแล้วด้วยซ้ำ"

ขออภัย ถ้าเริ่มเรื่องม.ปาวี ก็จะต้องท้าวความเรื่องนี้ด้วย พอดีผมจะไม่อยู่บ้านสักสัปดาห์หนึ่ง และคงไม่ได้เปิดเข้าเน็ทจนกว่าจะกลับ เลยยังเล่าไม่หมดว่า การเสียดินแดนครั้งนั้นน่ะ โทษนายปาวีได้ครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งต้องโทษความไม่พร้อมด้วยประการทั้งปวง ของคนไทยเราเอง
ระหว่างนี้ก็เชิญทุกท่านว่ากันต่อไปก่อนครับ

คุณ Navarat.C ยังไม่กลับมา  รูปที่ดิฉันค้นจากเว็บฝรั่งเศสมาคั่นเวลาก็หมดสต๊อคแล้ว  เพื่อดันกระทู้ให้เดินหน้า  ขอกลับไปปูพื้นเรื่องสงครามฝรั่งเศส-สยาม ร.ศ. 112  ให้เห็นที่มาที่ไปกันบ้าง   
ถ้าหากว่าผิดพลาดตรงไหนขอให้ท่านผู้รู้ช่วยแก้ไขให้ด้วย  เพราะต้องแกะข้อความจากฝรั่งเศสเป็นอังกฤษ  แกะจากอังกฤษเป็นไทย   อาจจะพลัดตกช่องแคบฝรั่งเศสและอังกฤษได้ในบางครั้ง

ฝรั่งเศสกับอังกฤษแบ่งกันเป็นเจ้าอาณานิคมมาแล้วทั่วโลก  ในเอเชียอาคเนย์ ก็แบ่งเค้กกันอยู่ในหลายประเทศ    เมื่ออังกฤษได้อินเดียและรุกมาถึงพม่าตั้งแต่รัชกาลที่ ๓   ฝรั่งเศสก็รุกอินโดจีน  ได้เวียตนามไปแล้วยังไม่พอ   ประเทศที่ติดกับเวียตนามคือลาวและเขมรก็เป็นเค้กที่น่าหม่ำไม่ใช่เล่น 
ในตอนนั้นลาวเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม     ถ้าจะเอาลาวไปก็ต้องจัดการกับสยามให้ราบคาบเสียก่อน 
ดูจากแผนที่นี้ จะเห็นว่าฝรั่งเศสกลืนทางตะวันออกของสยามเข้ามาทีละประเทศ  ทีละประเทศจนหมด  ส่วนทางตะวันตก และใต้  อังกฤษก็เคี้ยวกินไปเรียบร้อยแล้ว


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 247  เมื่อ 03 ก.พ. 11, 13:47

ชุดคล้ายทหารเรือ แต่มีปืนใหญ่บนหลังช้าง

ภาพนี้เป็นภาพช้างบรรทุกปืนใหญ่ของกำลังพลเกณฑ์ มณฑลพิษณุโลก กำลังมุ่งหน้าสู่นครหลวงพระบาง ในการปราบฮ่อ ซึ่งมีเครื่องแบบทหารเรือเข้าร่วมด้วย

ทหารหน่วยนี้คือทหารมะรีนอันเป็นต้นกำเนิดของทหารเรือนาวิกโยธินในปัจจุบัน สังกัดกรมช่างแสง โดยมีนายนาวาเอก พระชลยุทธโยธินเป็นผู้บังคับการ โดยได้รับคำสั่งให้ไปร่วมกับกองทัพที่ยกไปปราบฮ่อ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๗ โดยมีเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม) เป็นแม่ทัพ จำนวน ๑ กอง กำลังพลประกอบด้วยนายร้อยตรี ๑ นาย พลทหาร ๒๔ นาย และปืนกลแกตลิง ๒ กระบอก อันเป็นปืนประจำหน่วย
ปืนกลแกตลิง ได้สั่งซื้อมาจากสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘

"คอโปราลถมดูคมขำ" อาจจะหมายถึงนายร้อยตรีถม ที่เป็นผู้บังคับบัญชาทหารหน่วยมะรีนกระมัง ??




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 248  เมื่อ 03 ก.พ. 11, 15:07

เหตุการณ์ที่เรือรบฝรั่งเศส นำเรือมายังอ่าวสยาม เพื่อบังคับขู่เข็ญจากไทยนั้น ได้รู้ล่วงหน้าระหว่าง ม.ปาวี กับพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทววงศ์วโรปการ ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แล้วกว่า ๓ วัน ดังจดหมายโต้ตอบกันดังนี้

                                    วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๙๓
  มองสิเออร์ เอ. ปาวี ราชทุตและกงสุลเยเนราลฝรั่งเศส ทูล พระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหลวงเทววงศ์วโรปการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  ด้วยรัฐบาลฝรั่งเศส ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าแจ้งความให้รัฐบาลของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวทราบว่า รัฐบาลอังกฤษได้ดำริส่งเรือรบหลายลำเข้ามาในกรุงสยาม
โดยอ้างว่าฐานะเหตุการณ์วุ่นวาย และมีความจำเป็นต้องป้องกันรักษาคนในบังคับ
อังกฤษ เหตุฉะนี้รัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้ตั้งใจกระทำตามบ้าง
  เรือรบ ๒ ลำในกองเรือฝรั่งเศส ได้รับคำสั่งให้เข้ามาอยู่ด้วยเรือลูแตงที่กรุงเทพฯ

  ในการนี้ ม. เดอแวลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส ได้ขอให้
ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวโดยชัดเจนว่า การที่ให้เรือรบเข้ามาคราวนี้ ก็มีความประสงค์
อย่างเดียวกันกับประเทศอังกฤษและประเทศอื่นๆ ฉะนั้น
   เรือรบ ๒ ลำที่กำลังเดินทางจะเข้ามานี้ ลำหนึ่งชื่อ โคเมต อีกลำหนึ่งชื่อ แองกองสตังต์
ผู้บัญชาการกองเรือได้แจ้งแก่ข้าพระพุทธเจ้าว่า เรือรบ ๒ ลำนี้จะมาถึงสันดอนในวันที่
๑๕ กรกฎาคม

   เหตุฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าขอใต้ฝ่าพระบาท ได้โปรดมีคำสั่งให้คนนำร่องเรือรบทั้ง ๒
ลำนี้ด้วยเมื่อมาถึง

  ข้าพระพุทธเจ้าขอถือโอกาสทั้งนี้ แสดงความนับถืออย่างสุงสุดมายังใต้ฝ่าพระบาทด้วย

                                         (ลงนาม)    เอ. ปาวี
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 249  เมื่อ 03 ก.พ. 11, 15:20

ในวันเดียวกันนั่นเอง ก็มีจดหมายตามมาด้วยอีก ๑ ฉบับ ข้อความว่า

                                                     วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๙๓
  มองสิเออร์ เอ. ปาวี ราชทุตและกงสุลเยเนราลฝรั่งเศส ทูล พระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหลวงเทววงศ์วโรปการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้รับข่าวจากนายพลเรือ ฮูมันน์ แจ้งมาว่า เรือรบแองกอง
สตังต์จะเข้ามาถึงสันดอนวันที่ ๑๓ กรกฎาคม เวลาเย็น

  เหตุฉะนี้ ข้าพระพุทธเจ้า ขอใต้ฝ่าพระบาท ได้โปรดมีคำสั่งตามธรรมเนียม ดัง
เช่นที่ข้าพระพุทธเจ้า ขอมาในหนังสือฉบับก่อน ของข้าพระพุทธเจ้าลงวันเดียว
กันนี้

  ผู้บัญชาการกองเรือว่า เรือรบลำนี้ควรเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ได้ ตามหนังสือสัญญา
ทางพระราชไมตรี ด้วยรัฐบาลฝรั่งเศสได้แจ้งแก่ผู้บัญชาการฯ แล้วว่า รัฐบาลฝรั่ง
เศสพิเคราะห์ดูเห็นว่า การทั้งนี้เป็นอันชอบธรรมแท้ (an unquestionable right)

  ข้าพระพุทธเจ้าขอถือโอกาสทั้งนี้ แสดงความนับถืออย่างสูงสุดมายังใต้ฝ่าพระบาทด้วย

                                         (ลงนาม)     เอ. ปาวี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 250  เมื่อ 03 ก.พ. 11, 15:25

สวัสดีค่ะคุณลุงไก่  หายไปเสียนาน ยิ้ม

(ต่อ)

คนที่เป็นกำลังสำคัญของฝรั่งเศสในการฮุบลาวจากไทยคือนายออกุสต์ ปาวี อย่างที่เกริ่นกันมาแล้วก่อนหน้านี้ แกเป็นรองกงศุลฝรั่งเศสประจำหลวงพระบาง    ถูกส่งมาเป็นทูตฝรั่งเศสประจำสยาม เพื่อบีบคั้นให้รัฐบาลสยามยอมตกลงเรื่องดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง     ฝรั่งเขียนไว้ว่ารัฐบาลของเราเข้าใจผิดว่าอังกฤษจะหนุนหลัง  ก็เลยเล่นไม้แข็งกับฝรั่งเศส   แต่เอาเข้าจริงอังกฤษก็ไม่ได้ช่วยสยามอย่างที่คิด

หลักฐานทางฝรั่งเศสบันทึกไว้ว่า มีอีก ๒ เรื่องที่เป็นตัวเร่งให้ฝรั่งเศสกับสยามตึงเครียดหนักขึ้น   เรื่องแรกคือเจ้าเมืองหนองคายกับ Khammuan (คำม่วน? ไม่รู้ว่าลาวออกเสียงว่าอะไร) เนรเทศชาวฝรั่งเศส ๓ คนข้อหาลักลอบขนฝิ่น   ข้อสองคือกงสุลฝรั่งเศสคนก่อนปาวี  ฆ่าตัวตาย  ด้วยอาการกดดันอย่างแรง  จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม    แต่สองเรื่องนี้ พอข่าวไปถึงปารีส ทางฝรั่งเศสก็ถือโอกาสปลุกระดมให้เห็นว่าสยามเป็นฝ่ายผิด   เพื่อปลุกความรู้สึกชาตินิยมให้เกลียดชัง และต่อต้านการกระทำของสยาม     ทีนี้จะลงมติในสภา รุกรานสยามก็เป็นของง่าย
ข้ออ้างข้อหนึ่งของฝรั่งเศสก็คือเวียตนามตกอยู่ในปกครองของฝรั่งเศสไปแล้ว   ลาวซึ่งขึ้นกับเวียตนามก็ต้องตกอยู่ในปกครองของฝรั่งเศสด้วย

กงสุลเก่าตาย ตำแหน่งนี้ก็ตกอยู่กับปาวี   แกก็เริ่มดำเนินงานทันที ยื่นคำขาดให้สยามถอนกำลังทหารออกจากลาวให้หมด   อ้างว่าดินแดนนี้เป็นของเวียตนาม     พูดไม่พูดเปล่า  เรือรบจากฝรั่งเศสก็บุกเข้ามาลอยลำอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าสถานกงสุลฝรั่งเศส   ให้รู้ว่า ไม่ได้ขู่แค่คำพูด แต่ลงมือทำจริง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 251  เมื่อ 03 ก.พ. 11, 15:29

เรือรบลำแรกที่เข้ามาก่อน  มาลอยลำป๋ออยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาชื่อ เลอลูแตง  ส่วนโคแมต กับแองกองสตังต์ เข้ามาทีหลัง   ปิดปากอ่าวไทยเอาไว้

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 252  เมื่อ 03 ก.พ. 11, 15:35

นายพลเรือ ฮูมันน์


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 253  เมื่อ 03 ก.พ. 11, 16:05

อ้างถึงบุคคลฝ่ายฝรั่งเศสอีกสองท่าน " ม. เดอแวลล์ รัฐมนตีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส" และ "ม. เลอมีร เดอ วิลลีเอรส์"

ม. เลอมีร เดอ วิลลีเอรส์ จะเดินทางออกจากฝรั่งเศสมายังโคชินไชน่า เพื่อสมัครเป็นผู้แทนราษฎร ในเดือน ตุลาคม ค.ศ. ๑๘๙๓ และออก
เดินทางลงเรือที่มารเซลส์ในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พร้อมกำลังทหารเพื่อเพิ่มกำลังที่ไซ่ง่อน เดินทางไม่กี่วัน ก็เกิดวิกฤตการรบที่ปากน้ำในวันที่
๑๓ กรกฎาคม

ดังนี้รัฐบาลฝรั่งเศสจึงเปลี่ยนเข็มให้ ม. เลอมีร เดอ วิลลีเอรส์ เข้ามาทำสัญญาสงบศึกและอนุสัญญาต่างๆ ซึ่งได้ถือหนังสือมาด้วยจาก
ม. เดอแวลล์ รัฐมนตีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส ซึ่งถือติดมือมาตั้งแต่วันที่ ๘ กรกฎาคม ความว่า

"เนื่องจากเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำโขง และอาการกิริยาที่ประเทศสยามได้แสดงแก่เรานั้น รัฐบาลฝรั่งเศสคิดว่าจะถือ
โอกาสในการที่ท่านจะเดินทางไปไซ่ง่อน มอบให้ท่านเอาธุระรับหน้าที่เจรจาปัญหาที่ยังคาราคาซังกันอยู่ให้สิ้นไป ถ้าสามารถทำได้

เพระได้ปรึกษาหารือกับท่านแล้ว เหตุนี้จึงส่งท่านไปกรุงเทพฯ เพื่อการนี้ เป็นราชการพิเศษ ในจดหมายฉบับนี้ ได้สอดหนังสือสำคัญ
ให้อำนาจแก่ท่านอย่างกว้าง เพื่อแสดงต่อพระเจ้าแผ่นดินสยาม จะได้สั่งให้เรือรบลำหนึ่งมาคอยรับท่านที่สิงคโปร์ และนำท่านส่งยัง
กรุงเทพฯ ทันที

เท่าที่ท่านทราบอยู่แล้ว การเรียกร้องของเราต่อประเทศสยามในครั้งนี้ มีอยู่ ๒ ข้อ

ข้อ ๑ เราได้ทำการให้ประเทศสยามถอนกองทหารที่ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นการเหนียบย่ำสิทธิของญวนและของเขมร

ข้อ ๒ เราได้เรียกค่าปรับไหมในการที่ไทยสบประมาทธงฝรั่งเศสที่ทุ่งเชียงคำ ในการย่ำยีและขับไล่บุคคลร่วมชาติของเรา ๒ คน คือ
         ม. เอสคีลาต์ และ ม.ชัมเปอนัวส์ ให้ได้รับทุกข์ที่ท่าอุเทนเมื่อปีกลาย ในการข่มขี่ชาวฝรั่งเศสชื่อ บาโรตอง ในการจับกุมนาย
         ร้อยเอกโทเรอร์ โดยไม่รู้ตัว และในการที่ข้าหลวงไทยประจำคำม่วนทำการฆาตกรรมผู้ตรวจการโกรส์กูแรง

ในปัญหาเหล่านี้ ผู้แทนของเราที่กรุงเทพฯ ได้เรียกร้องไปแล้ว แต่ไร้ผล เราได้รับแต่คำตอบชนิดชักความยาวสาวความยืดจากรัฐบาล
สยาม เพราะฉะนั้น ที่จะให้ท่านเรียกร้องต่อรัฐบาลสยาม มีหัวข้อดังนี้

๑. ให้รัฐบาลสยามรับรองข้อเรียกร้องดินแดนของเราบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
๒. ให้ใช้ค่าเสียหายตามพฤฒิการณ์ที่เป็นขึ้น ดังที่กล่าวมาข้างต้น กับให้เสียค่าปรับไหมด้วย

ในกรณีที่รัฐบาลสยามไม่ยอมให้ความยุติธรรมเท่าที่เรียกร้องไปตามหัวข้อต่างๆนี้แล้ว ถึงระยะเวลาที่ท่านจะต้อง
กำหนดให้ ให้ท่านนำธงฝรั่งเศสออกจากกรุงเทพฯ พร้อมกับเจ้าหน้าที่ในสถานกงสุล และบรรดาเรือรบที่จอดอยู่
ณ ท่านั้น แล้วให้ท่านแจ้งแก่ผู้บัญชาการกองเรือให้ประกาศปิดอ่าวอย่าได้ช้า"



เมื่ออ่านดูจดหมายฉบับนี้แล้วแข็งกร้าวมาก และตั้งใจที่จะใช้ปัญหาเหล่านี้ ยึดดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงทั้งหมด และหากเราไม่ยินยอมก็ใช้
กำลังปิดอ่าว  โกรธ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 254  เมื่อ 03 ก.พ. 11, 20:18


ทหารหน่วยนี้คือทหารมะรีนอันเป็นต้นกำเนิดของทหารเรือนาวิกโยธินในปัจจุบัน สังกัดกรมช่างแสง โดยมีนายนาวาเอก พระชลยุทธโยธินเป็นผู้บังคับการ โดยได้รับคำสั่งให้ไปร่วมกับกองทัพที่ยกไปปราบฮ่อ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๗ โดยมีเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม) เป็นแม่ทัพ จำนวน ๑ กอง กำลังพลประกอบด้วยนายร้อยตรี ๑ นาย พลทหาร ๒๔ นาย และปืนกลแกตลิง ๒ กระบอก อันเป็นปืนประจำหน่วย
ปืนกลแกตลิง ได้สั่งซื้อมาจากสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘

"คอโปราลถมดูคมขำ" อาจจะหมายถึงนายร้อยตรีถม ที่เป็นผู้บังคับบัญชาทหารหน่วยมะรีนกระมัง ??


จะว่าเป็นทหารมะรีนก็ดูได้เช่นนั้นจริงๆ ยิ่งบอกว่าขึ้นไปพร้อมทัพเจ้าหมื่นไวยวรนารถ (เจิม) ก็ยิ่งเป็นไปได้ เพราะเป็นกองทหารกรุงเทพเหมือนกัน
แต่นิราศหนองคาย แต่งเมื่อปราบฮ่อครั้งแรกไม่ใช่หรือครับ ที่หลวงพัฒนพงศ์ (ทิม) ขึ้นไปพร้อมเจ้าพระยามหินทร์ (เพ็ง)
ดูๆ มันจะขัดแย้งกันนะครับ ฮืม
ผมก็ไม่เคยอ่านนิราศหนองคายสักที ไม่รู้ว่าในนิราศจะมีการกล่าวถึงทหารมะรีนหรือไม่
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 20 คำสั่ง