เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 173350 ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 13:34

กองทหารสยาม


ภาพนี้ถ่ายจากมุมสูง   ไม่ทราบว่าคนถ่ายควรจะยืนอยู่บนอะไรสูงๆ ที่ท้องสนามหลวง  ในสมัยรัชกาลที่ ๕   
ไม่มีสิ่งก่อสร้างสูงเลยสมัยนั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 13:41


 Gustave-Rolin-Jacquemyns   กุสตาฟ โรลัง ยัคมินส์ เจ้าพระยาอภัยราชา
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 13:46

อาจารย์เทาครับ

ความเห็นที่ 180 ถ่ายจากกำแพงวังหน้าได้หรือไม่ครับ ฮืม
ช่วงที่ถ่ายรูปอาจจะยังไม่รื้อกำแพง ฮืม
ดูขนาดท้องสนามหลวงก็ประมาณครึ่งหนึ่งของสมัยนี้พอดี
(ขนาดเท่ากับยุคเริ่มแรก)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 13:56

ขอคุณนวรัตนและคุณหนุ่มสยาม  โปรดสังเกตว่าทหารทั้งสองรูป สวมรองเท้าหนังแท้ แต่ไม่ใช่หนังเท้า อย่างรูปก่อนๆในกระทู้นี้  ไม่รู้ว่ายศชั้นไหนหรือกรมกองอะไร

ภาพถ่ายรูปทหารนุ่งโจงกระเบน พร้อมดาบปลายปืน ซึ่งไม่ใช่มีดพก แต่ใช้ดาบยาวมากๆ ที่นำมาให้ชมนี้ ต้องเป็นภาพถ่ายก่อนปี พ.ศ. ๒๔๓๙ เนื่องจากทรงมีพระราชดำรัสรับสั่งให้ยกเลิกทหารทุกประเภท นุ่งโจงพร้อมเครื่องแบบ ให้นุ่งกางเกงแทน
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 14:03

นายทหารคนงซ้ายสวมหมวกเฮลเม็ตทรงสูงแต่สวมเสื้อราชปะแตนกระดุม ๕ เม็ด  ไม่ใช่เสื้อทูนิคที่กระดุม ๗ เม็ด  เลยดูยากหน่อยว่าจะเป็นทหารหน่วยไหน  อาจจะเป็นกรมล้อมพระราชวังซึ่งเดิมเป็นกรมเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง 

ที่แน่ๆ คือ ที่เห็นสวมทับรองเท้ายาวขึ้นมาถึงใต้หัวเข่านั้นคือ "สนับแข้ง"  ทำด้วยหนังใช้สวมทับรองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อแทนการใช้รองเท้าบู๊ท  เพื่อกันสัตว์ร้ายฉกกัด  บางคราวอาจสวมสนับแข้งแต่ไม่สวมรองเท้าก็มี  ส่วนนายทหารในภาพซ้ายดูจากบั้งที่แขนซ้ายซึ่งมี ๓ บั้ง  มียศเป็นนายสิบเอกครับ  ถ้า ๔ บั้งเป็นจ่านายสิบ  สองบั้งเป็นนายสิบโท  และ ๑ บั้งเป็นนายสิบตรี 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 14:14

อาจารย์เทาครับ

ความเห็นที่ 180 ถ่ายจากกำแพงวังหน้าได้หรือไม่ครับ ฮืม
ช่วงที่ถ่ายรูปอาจจะยังไม่รื้อกำแพง ฮืม
ดูขนาดท้องสนามหลวงก็ประมาณครึ่งหนึ่งของสมัยนี้พอดี
(ขนาดเท่ากับยุคเริ่มแรก)

กำแพงวังหน้า ทำมุมประมาณ 90 + -  องศากับกำแพงวังหลวงไม่ใช่หรือคะ    แต่จากมุมที่ถ่ายเหมือนถ่ายประจัญหน้ากับกำแพงวัง  เดาว่าประตูวังทางขวาคือประตูวิเศษไชยศรี   ถ้างั้นกำแพงวังหน้าก็ต้องอยู่ทางทิศด้านขวาของผู้ถ่าย

เอาเถอะ เดาต่อไปเดี๋ยวผิด  รอคนชี้ขาดดีกว่า

ขอบคุณคุณV_Mee สำหรับคำอธิบายค่ะ เร็วทันใจดีจริง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 14:19

กองทหารปืนใหญ่

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 15:04

อาจารย์เทาครับ

ความเห็นที่ 180 ถ่ายจากกำแพงวังหน้าได้หรือไม่ครับ ฮืม
ช่วงที่ถ่ายรูปอาจจะยังไม่รื้อกำแพง ฮืม
ดูขนาดท้องสนามหลวงก็ประมาณครึ่งหนึ่งของสมัยนี้พอดี
(ขนาดเท่ากับยุคเริ่มแรก)

กำแพงวังหน้า ทำมุมประมาณ 90 + -  องศากับกำแพงวังหลวงไม่ใช่หรือคะ    แต่จากมุมที่ถ่ายเหมือนถ่ายประจัญหน้ากับกำแพงวัง  เดาว่าประตูวังทางขวาคือประตูวิเศษไชยศรี   ถ้างั้นกำแพงวังหน้าก็ต้องอยู่ทางทิศด้านขวาของผู้ถ่าย

เอาเถอะ เดาต่อไปเดี๋ยวผิด  รอคนชี้ขาดดีกว่า

ขอบคุณคุณV_Mee สำหรับคำอธิบายค่ะ เร็วทันใจดีจริง

ดูจากภาพกองกำลังสยามนี้ เป็นภาพที่ตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ที่ต่างประเทศ ในห้วงระยะเวลา ร.ศ. ๑๑๒ บอกเล่าประวัติประเทศสยาม ราชวงศ์ไทย และด้านต่างๆให้ชาวต่างประเทศรับรู้ข้อมูล จากที่คุณ Art47 และ อ.เทาชมพู สงสัยเรื่องการวางระยะถ่ายภาพนั้น ก็น่าจะเป็นตำแหน่งบนกำแพงวังหน้า ตำแหน่ง "ป้อมไพฑูรย์" ซึ่งมีความสูงกว่าระดับกำแพงวังและยังมีขาตั้งกล้องอีก ส่วนเรื่องมุมเอียงกี่องศานั้น การถ่ายภาพก็สามารถหมุนกล้องไปทิศที่ต้องการได้

มาดูว่าวังหน้า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ สวรรคต พ.ศ. ๒๔๒๘ และมีการเลิกตำแหน่งอุปราช และมีการตั้งตำแหน่งสยามมงกุฎราชกุมารขึ้นมา จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๖ ซึ่งเป็นเวลากว่า ๙ ปี ที่พื้นที่วังหน้า ยังไม่ได้ถูกรื้อปราบลงเป็นสนามหลวง ก็กินเวลามากอยู่


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 15:33



ทหารไทยจากเว็บฝรั่งเศสอีกรูปหนึ่งค่ะ  คนหน้าข้างซ้ายน่าจะเป็นทหาร คนขวาคงเป็นขุนนางพลเรือน(ชั้นผู้น้อย?)   ทุกคน เท้าหนังธรรมชาติทั้งหมด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 15:36


... ตำแหน่ง "ป้อมไพฑูรย์" ซึ่งมีความสูงกว่าระดับกำแพงวังและยังมีขาตั้งกล้องอีก ส่วนเรื่องมุมเอียงกี่องศานั้น การถ่ายภาพก็สามารถหมุนกล้องไปทิศที่ต้องการได้

ลืมไปว่ากำแพงวังหน้าล้ำมาถึงเกือบครึ่งท้องสนามหลวงปัจจุบัน   น่าจะถ่ายจากป้อมบนกำแพง
ส่วนเรื่องหมุนกล้องยังไม่เข้าใจ    แต่เอาเถอะ  ปล่อยไว้ก่อน ยังไม่ซัก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 15:46

ได้มาอีก ๒ รูปให้ท่านผู้รู้ช่วยขยายความกันค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 16:09

อีกรูป


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 16:26

ได้มาอีก ๒ รูปให้ท่านผู้รู้ช่วยขยายความกันค่ะ

ภาพนี้เป็นภาพที่ตีพิมพ์ลงบนรูปยาซิกาแรต เป็นภาพโรงทหารหน้า ซึ่งมีรายละเอียดของสิ่งก่อสร้างดังนี้

โรงทหารหน้า
ใน พ.ศ.๒๔๒๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า ทหารที่เหลือประจำรักษาพระนครนั้น มีจำนวนน้อยไม่เพียงพอแก่การป้องกันบ้านเมืองในยามฉุกเฉินประกอบกับในปีนี้มีงานมหกรรมใหญ่หลายงาน เช่น งานฉลองพระนครครบ ๑๐๐ ปี และงานพระเมรุเป็นต้น จึงโปรดให้รับสมัครคนเข้ารับราชการทหารในกรมทหารหน้าอีก ๕,๐๐๐ คน ทำให้เพิงพักสำหรับหลับนอนของทหารคับแคบ ต้องกระจัดกระจายไปอยู่ตามที่ต่างๆ ไม่สะดวกต่อการ
ควบคุมและฝึกอบรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถ จัดสร้างโรงทหารหน้าเป็นการถาวรขึ้นที่ฉางหลวงเก่า ใกล้ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เลียบริมคลองหลอด ถึงสะพานช้างโรงสี โดยตกลงก่อสร้างเป็นแบบตึก ๓ ชั้น เพื่อบรรจุทหารให้ได้ถึง ๑ กองพลน้อย และได้ทำสัญญาจ้างนายกราซี เป็นผู้รับเหมา เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๒๗ โดยมีรายละเอียดการก่อสร้าง คือ

ด้านหน้า (ทิศตะวันตก) เฉพาะตอนกลางที่เป็นมุข ๓ ชั้น ชั้นบนเป็นที่เก็บสรรพสาตราวุธ และพิพิธภัณฑ์ทหาร ชั้นกลางเป็นที่ประชุมนายทหาร ชั้นล่างเป็นที่ฝึกหัดการฟันดาบ

ตึกสามชั้นด้านขวา (ทิศเหนือ) ชั้นบนเป็นที่อยู่ของนายทหารและพลทหาร โดยแบ่งออกเป็นตอนๆ ละ ๑ กองร้อย ชั้นกลางเป็นที่ประชุมอบรมนายทหาร ชั้นล่างเป็นคลังเก็บครุภัณฑ์มีหน่วยต่างๆ ทหารปืนใหญ่ โรงพยาบาลทหาร โรงม้า โรงฝึกม้า ต่อจากตึก ๓ ชั้น ไปทางด้านเหนือได้ดัดแปลงโรงม้าเก่าให้เป็น ๒ ชั้น โดยให้ทหารม้าอาศัยอยู่ข้างบน

ตึกสามชั้นด้านซ้าย (ทิศใต้) จัดแบ่งแต่ละชั้นให้ทหารราบและทหารช่างอยู่ ปลายสุดของตึกสร้างเป็นหอนาฬิกา ชั้นล่างเป็นโรงงานของทหารช่าง ชั้นสองเป็นที่เก็บยุทธภัณฑ์ ชั้นสามเป็นถังเหล็กเก็บน้ำ ชั้นสี่เป็นหน้าปัดนาฬิกาเห็นได้สองด้าน ชั้นห้าเป็นทหารรักษาการณ์มีไฟฉายและโทรศัพท์พร้อม

ด้านหลัง (ทิศตะวันออก) มีสระน้ำให้ทหารอาบ ต่อจากสระมีฉางสำหรับเก็บข้าวสารตุนเอาไว้ให้ทหารกิน

เมื่อการก่อสร้างโรงทหารหน้าใกล้จะเสร็จเรียบร้อยนั้น เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายขอพระราชทานนามโรงทหารหน้า เพื่อจากรึกไว้ที่หน้ามุข ได้ทรงพระราชทานนามว่า โรงทหารหน้าและให้ระบุปีศักราชที่สร้างขึ้นไว้ด้วย โรงทหารแห่งนี้จึงมีนามว่า "โรงทหารหน้า" สิ้นค่าก่อสร้างเฉพาะตัวโรงทหาร ๗,๐๐๐ ชั่ง หรือเป็นเงิน ๕๒๐,๐๐๐ บาท เครื่องตกแต่งและเครื่องประกอบอีก ๑๒๕ ชั่ง หรือประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำพิธีเปิด เมื่อวันศุกร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก ร.ศ.๑๐๓ ตรงกับวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗



บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 16:33


ภาพนี้เป็นภาพที่ตีพิมพ์ลงบนรูปยาซิกาแรต เป็นภาพโรงทหารหน้า


โรงทหารหน้า ก็คือกระทรวงกลาโหมในปัจจุบันนี้
แต่เท่าที่รู้ตอนนี้ไม่มีหอนาฬิกา รื้อเมื่อใดไม่ทราบได้

เคยเห็นรูปเต็มๆ อยู่เหมือนกัน ซึ่งคงไม่เหลือกำลังคุณไซมีส
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 16:39

ส่วนภาพต่อมา เป็นภาพลายเส้นจากหนังสือแนะนำสยามประเทศ โดยนาย Fournereau, Lucien 1894 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๔๓๗

ภาพลายเส้นนำเสนอ "New Road" หรือถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนตัดใหม่ในรัชกาลที่ ๔ ในภาพนี้มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่หลายอย่าง คือ

๑. รถรางครั้งแรกในสยาม ที่ใช้ม้าลาก ซึ่งเป็นการสัมปทานโดยชาวต่างชาติ
๒. ตึกแถวลักษณะอย่างจีน มีการข้องใส่ไก่ วางเกะกะอยู่
๓. มีรถลาก มีหาบเร่ขายของ เป็นวิถีชีวิตในอดีต
๔. สองข้างถนน มีการวางสายระบบไฟฟ้าเกิดขึ้นแล้ว


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 20 คำสั่ง