เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 173171 ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 24 ม.ค. 11, 09:23

ย้อนกลับไปอ่านบรรยายภาพนี้ของผม ที่ใช้สำนวนแปลแบบหมัดรุ่นๆไม่ได้ใส่นวมนั้น ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะไม่เข้าใจว่า ทำมั้ย เห็นรถม้าพระที่นั่งออกโทนโท่ ผมยังดั้นเขียนว่าเป็นรถทารกมีวงเล็บว่า Pram ซะด้วย

อยากจะอธิบายความคิดหน่อยน่ะครับ คือผมอ่านที่ Google Translation แปลภาษาอังกฤษมาให้ทั้งบทแล้ว เห็นว่าฝรั่งผู้เขียนจะออกแนวประชดประชันอยู่บ้าง เลยนึกว่าในเมืองของเขาคงจะมีฉายาเรียกรถม้า ที่ดูโปร่งโล่งเบา ไม่อลังการแบบรถม้าพระที่นั่งของราชวงศ์ฝรั่งนี้ว่า “รถทารก” เหมือนที่เขาเรียกรถออสตินมินิอันโด่งดังว่า “Baby Car” ฉะนั้น

เพราะนึกว่าเขามาอารมณ์นี้  จึงพยายามจะรักษาอารมณ์ของเขาไว้ แต่กลับกลายเป็นตรงกันข้าม ผมก็เลยประดักประเดิดอยู่พอสมควร ดูงี่เง่าชอบกล เลยต้องเขียนมาระบายไว้หน่อยครับว่าต่อไปนี้ อาตมาเข็ดแล้ว



บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 24 ม.ค. 11, 10:16

มีพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง
ที่ดูแล้วไม่ทรงท้วมนักมาให้ดูเปรียบเทียบค่ะ..



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 24 ม.ค. 11, 10:46

ย้อนกลับไปอ่านบรรยายภาพนี้ของผม ที่ใช้สำนวนแปลแบบหมัดรุ่นๆไม่ได้ใส่นวมนั้น ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะไม่เข้าใจว่า ทำมั้ย เห็นรถม้าพระที่นั่งออกโทนโท่ ผมยังดั้นเขียนว่าเป็นรถทารกมีวงเล็บว่า Pram ซะด้วย

อยากจะอธิบายความคิดหน่อยน่ะครับ คือผมอ่านที่ Google Translation แปลภาษาอังกฤษมาให้ทั้งบทแล้ว เห็นว่าฝรั่งผู้เขียนจะออกแนวประชดประชันอยู่บ้าง เลยนึกว่าในเมืองของเขาคงจะมีฉายาเรียกรถม้า ที่ดูโปร่งโล่งเบา ไม่อลังการแบบรถม้าพระที่นั่งของราชวงศ์ฝรั่งนี้ว่า “รถทารก” เหมือนที่เขาเรียกรถออสตินมินิอันโด่งดังว่า “Baby Car” ฉะนั้น

เพราะนึกว่าเขามาอารมณ์นี้  จึงพยายามจะรักษาอารมณ์ของเขาไว้ แต่กลับกลายเป็นตรงกันข้าม ผมก็เลยประดักประเดิดอยู่พอสมควร ดูงี่เง่าชอบกล เลยต้องเขียนมาระบายไว้หน่อยครับว่าต่อไปนี้ อาตมาเข็ดแล้ว

ระบบแปลของกูเกิ้ล จะเล่นสภาโจ๊กกัน ก็ไม่เตือนคุณ Navarat.C ล่วงหน้าว่าจะเล่นไม้นี้     และคงไม่ได้เตือนใครต่อใครอีกหลายล้านคนที่ใช้บริการ   รวมทั้งดิฉันด้วย
ดิฉันลองลอกประโยคปัญหาไปถามในกูเกิ้ลแปลภาษา บ้าง  

Descendant, sur le front des troupes, d'un magnifique landau aux grandes glaces, la reine Sowaya Pongsi met pied à terre dans un costume inattendu et qui paraît des plus seyants.

กูเกิ้ลก็ตอบมาอย่างเดียวกันที่คุณ N.C. เจอ

Descending on the front of the troops, a beautiful pram for large ice queen Sowaya Pongsi alighted in a costume that seems unexpected and the most becoming.

จากนั้น   ดิฉันไปหาคำแปลจากอังกฤษเป็นไทย ด้วยฝีมือน้องกุ๊กดูบ้าง  ก็ได้ชนิดหงายตกเก้าอี้ลงมาว่า
 
Descending ที่ด้านหน้าของกองกำลัง, เรือท้องแบนสวยงามสำหรับราชินีน้ำแข็งขนาดใหญ่  Sowaya Pongsi alighted ในชุดที่ดูเหมือนว่าไม่คาดคิดและที่สุดกลายเป็น.

เพราะน้องกุ๊กแปล landau จากฝรั่งเศสว่า pram  และจากอังกฤษ แปลคำว่า pram เป็นไทยว่า เรือท้องแบน  ทั้งๆเรือท้องแบนกับ landau มันเป็นพาหนะคนละชนิดกันโดยสิ้นเชิง

ส่วน becoming  ซึ่งแปลว่า งามรับกัน( เช่นเสื้อผ้างามรับกันกับผู้สวม)    น้องกุ๊กแปลแบบเดียวกับ become  ซึ่งแปลว่า กลายเป็นก็ได้ รับกันก็ได้   ในที่นี้เลือกแปลว่า กลายเป็น

แถมท้ายด้วยรูปรถ landau(รถม้าสี่ล้อ)   แบบ five-glass คือมีหน้าต่างประตูกระจกรวม ๕ บาน ค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 24 ม.ค. 11, 10:50

มีพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง
ที่ดูแล้วไม่ทรงท้วมนักมาให้ดูเปรียบเทียบค่ะ..
เห็นแล้วค่ะ  พระวรกายซูบลงไปมาก ตอนปลายรัชกาลที่ ๕ และต้นรัชกาลที่ ๖  ในพระรูปปริศนานั้นยิ่งผิดกันจนเหมือนคนละพระองค์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 24 ม.ค. 11, 11:03

ระบบแปลของกูเกิ้ล จะเล่นสภาโจ๊กกัน ก็ไม่เตือนคุณ Navarat.C ล่วงหน้าว่าจะเล่นไม้นี้     และคงไม่ได้เตือนใครต่อใครอีกหลายล้านคนที่ใช้บริการ   รวมทั้งดิฉันด้วย......

จากนั้น   ดิฉันไปหาคำแปลจากอังกฤษเป็นไทย ด้วยฝีมือน้องกุ๊กดูบ้าง  ก็ได้ชนิดหงายตกเก้าอี้ลงมา....

น้องกุ๊กแปลไทยเป็นอังกฤษ ก็ทำให้หงายตกเก้าอี้ลงมาเช่นกัน

 ยิงฟันยิ้ม
 


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 24 ม.ค. 11, 11:25

อ้างถึง
น้องกุ๊กแปลไทยเป็นอังกฤษ ก็ทำให้หงายตกเก้าอี้ลงมาเช่นกัน

ลองสุ่มชื่อสมาชิกเรือนไทยไปให้กูเกิ้ลแปลดูแล้ว   ออกมาไม่จืดเลยเชียว

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 24 ม.ค. 11, 13:42

Défilé des princesses de la famille royale. Parade 
กระบวนเสด็จของเจ้าหญิงในพระราชวงศ์

ที่เห็นเป็นขบวนในลานพระราชวัง คือพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดินที่ดูมีความกระฉับกระเฉง ในชุดแต่งกาย เสื้อสีขาว กางเกงสีดำ รองเท้ามีสายรัดเช่นเดียวกัน เราชื่นชมเรือนร่างของพวกเธอที่ดูปราดเปรียวและสมส่วนดี นึกถึงคำพูดของนายโมว์หุตนักเดินทางผจญภัยเก๋ากึ๊กที่ว่า ด้วยผิวเป็นสีโอลีฟ กระดูกแก้มที่โดดเด่น นัยน์ตาสีดำรูปอัลมอนด์และเฉียงขึ้นเล็กน้อย หญิงสาวเหล่านี้ไม่มีอะไรที่ต้องอิจฉา "กับรูปแกะสลักปฏิมากรรมแบบประจำชาติของพวกเรา” แม้น้อย 


คุณ Navarat.C นอกจากเข็ดกูเกิ้ลแล้วคงกำลังเซ็ง    กระทู้เลยไม่เดิน   เอาอย่างนี้ดีกว่า  เราไม่ต้องไปง้อสภาโจ๊กของกูเกิ้ลให้พาเตลิดออกนอกทาง     ช่วยกันเองคนละไม้คนละมือก็ได้   
ผู้อ่านที่รออ่านและรอดูพระรูปหายาก  จะได้ไม่พลอยเซ็งไปด้วย

พี่มนันยายังไม่ตอบเมล์ที่ส่งไปให้   งานเธอคงเยอะในตอนนี้    ดิฉันก็เลยลองแปลเองดูก่อน
นี่คือข้อความภาษาฝรั่งเศสที่คุณ Navarat.C แปลเป็นอังกฤษแล้วค่อยแปลเป็นไทยอีกที   ดิฉันจะไม่ลงภาษาอังกฤษให้คนอ่านสับสนกันหนักเข้าไปอีก  ขอลงแต่ภาษาเดิมของเขา

Et c'est dans ce même costume, blouses blanches, culottes noires, souliers à boucles, que s'avance, dans une cour du palais, l'alerte troupe des princesses, filles du roi. On admirera leur corps souple et bien proportionné. Selon l'expression d'un ancien voyageur, Mouhot, ces jeunes femmes n'ont rien à envier «aux modèles convenus de notre statuaire». Le teint est olivâtre, les pommettes des joues saillantes, les yeux noirs, taillés en amande et légèrement bridés.

ภายในฉลองพระองค์แบบเดียวกันคือเสื้อสตรีสีขาว  โจงกระเบนสีดำ  รองเท้าหุ้มส้นแบบมีหัวเข็มขัดประดับ( เดี๋ยวจะอธิบายว่าคืออะไร)  บรรดาพระเจ้าลูกเธอเสด็จล่วงหน้าอย่างกระฉับกระเฉงเข้าไปก่อนแล้วในลานพระบรมมหาราชวัง   เรานึกชมพระวรกายที่อ่อนช้อยและได้สัดส่วน   ต้องใช้คำของนักเดินเรือเก่า Mouhot  (อ่านว่ามูโฮต์หรืออะไรยังไม่ทราบ) ว่า "สตรีเหล่านี้ไม่มีสิ่งใดน้อยหน้ารูปสลักหญิงงามตามแบบฉบับของฝรั่งเศสเลย" พระฉวีเป็นสีน้ำตาลอมแดง   กระดูกพระปรางสูง พระเนตรดำเรียวยาวและเฉียงปลายขึ้นเล็กน้อย

ถือโอกาสแยกซอย  สอนวิชาการแปลให้คนอ่านที่สนใจ   ถ้าไม่สนใจลากเม้าส์ข้ามไปได้เลยค่ะ

รองเท้าหุ้มส้นแบบมีหัวเข็มขัด  ฝรั่งเศสเรียกว่า  souliers à boucles   อังกฤษเรียกว่า buckled shoes   คือเป็นรองเท้าสวมกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๘   มีเครื่องประดับหลังเท้าหน้าตาคล้ายหัวเข็มขัด   เลยไม่รู้จะเรียกอะไรนอกจากหัวเข็มขัด     จะเรียกว่าหัวรองเท้าก็ไปซ้ำกับส่วนหุ้มปลายเท้า
ในพระรูปสมเด็จพระพันปีทรงก้าวลงจากรถม้า  ก็ทรงสวมฉลองพระบาทบัคเคิลชูส์นี่ละค่ะ


รองเท้าแบบนี้ยังพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน



มีอีกแยะในกูเกิ้ล    มีสารพัดแบบ แต่ถ้ามีอะไรคล้ายๆหัวเข็มขัดประดับอยู่เขาก็เรียกกันอย่างนี้ละค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 24 ม.ค. 11, 14:00

ต่อไปคือคำว่า Le teint est olivâtre  หรือ olive complexion แปลว่าผิวสีโอลิฟ 
ตอนเรียนหนังสือเจอคำนี้     olive แปลว่ามะกอก   
มะกอกที่รู้จัก ไม่ว่ามะกอกสดหรือมะกอกดอง ผิวมันสีเขียว  อย่างที่เรามีศัพท์เรียกว่าเขียวมะกอก  ก็ได้แต่สงสัยว่าฝรั่งอะไรผิวสีเขียวมะกอก  ราวกับยักษ์ในภาพผนังโบสถ์เรื่องรามเกียรติ์
จนวันหนึ่งไปเห็นรูปมะกอกในแมกกาซีนฝรั่ง ว่ามันไม่ได้มีแต่สีเขียว  มันมีสีน้ำตาลออกแดงๆด้วย ก็เลยสว่างขึ้นมา
ไปเห็นสาวผิวสีมะกอกเมื่อไปอิตาลีครั้งแรก   เธอขับรถสปอร์ตเปิดประทุนโฉบผ่านไปตามถนน   ผิวอาบแดดเป็นสีน้ำตาลแดง  สวย เปล่งปลั่ง   ไม่ขาวซีดอย่างผิวชาวอังกฤษหรืออเมริกัน     เลยจำติดตาว่าผิวสีมะกอกเป็นยังงี้เอง
แต่เวลาแปล  ถ้าแปลตรงตัวว่าผิวสีมะกอก  คนอ่านไทยจำนวนไม่น้อยอาจงงเหมือนดิฉันเคยงง   ก็เลยแปลได้ชัดลงไปเลยว่าผิวสีน้ำตาลแดง

les yeux noirs, taillés en amande  หรือ  almond eyes 
นัยน์ตาสีดำรูปอัลมอนด์ คืออะไร  มันเป็นรูปแบบดวงตาที่ฝรั่งมักใช้เรียกคนจีนหรือคนเอเชีย    คือเป็นรูปเรียวยาว และมักจะชั้นเดียว   ไม่กลมโตและเปลือกตาลึกอย่างดวงตาฝรั่ง
ที่เรียกอย่างนี้ เขาเทียบกับเมล็ดอัลมอนด์ ซึ่งเป็นเมล็ดผลไม้รูปเรียวปลาย
ถ้าแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายๆ  ก็คือดวงตาเรียวยาวนั่นเอง  ไม่ต้องใส่คำว่าอัลมอนด์ลงไปให้ยุ่งยาก
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 24 ม.ค. 11, 17:37

รองเท้าหุ้มส้นแบบมีหัวเข็มขัดนั้นในรัชกาลที่ ๖ เรียกว่า ค๊อตชู  ทีแรกก็เจ้าใจว่ามีรูปลักษณะแบบรองเท้าที่เราเรียกกันว่า คัตชู  แต่พิจารณาจากรูปแบบฉลองพระบาทที่จัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (เดิมคือ กรมการรักษาดินแดน)  เป็นรองเท้าผ้าไหมสีต่างๆ  รูปทรงคล้ายรองเท้าผู้หญิงมีโบว์ติดที่รองเท้า  เหมือนกับที่ใช้ในราชสำนักยุโรป  จึงได้ความว่า รองเท้าค๊อตชูนั้นมาจากศัพท์ Court Shoe  ค๊อตชูนั้นมีชื่อเรียกอีกแบบว่า รองเท้าโบว์เข็ม  ดังฉลองพระบาทที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงในภาพข้างล่าง



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 ม.ค. 11, 18:19 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 24 ม.ค. 11, 18:18

รู้แต่ว่ารองเท้าคัตชูคือรองเท้าหุ้มส้น      รองเท้าสีดำของนักเรียนหญิง ก็เรียกว่าคัตชู  แต่ไปดูในรูป มันคือ court shoes
Court shoes เป็น British English   American English เรียกว่า pumps   หมายถึงรองเท้าส้นสูง
มารู้เมื่อคุณ V_Mee เล่าให้ฟังนี่เองค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 24 ม.ค. 11, 19:09

ขอแยกซอยเรื่องรองเท้า อีกที
บางคนบอกว่ารองเท้าคัตชู มาจากคำว่า casual shoes  คือรองเท้าหุ้มส้นของผู้ชายที่ไม่ผูกเชือก  ถือว่าสวมลำลองมากกว่ารองเท้าแบบผูกเชือก
เอารูปรองเท้า casual มาให้ดูกันค่ะ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 24 ม.ค. 11, 20:17

อ้างถึง
ภาพสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๕๓ หลังจากเหตุการณ์ในภาพที่แล้ว ๕ปี สังเกตุได้ว่าพระวรกายค่อนข้างซูบผอม ไม่ทรงท้วมอย่างภาพหลายภาพที่เราเคยชิน

ข้อความข้างบนนี้ มีคนสนิทกันประท้วงมาหลังไมค์  ข้าพเจ้าพลาดอีกแล้วสมควรตาย ที่ถูกต้องจะต้องเป็นเช่นนี้ครับ

การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กระทำเป็นสองคราว คราวแรกเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร  เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓ อีกคราวเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช  ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๑๐ ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๔๕๔ โดยมีบรรดาผู้แทนพระองค์พระมหากษัตริย์ของประเทศที่มีสัมพันธไมตรีกับประเทศไทย  กับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นตัวแทนของประมุขประเทศต่างๆ

ส่วนในภาพที่เอามาลงนั้น สมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกครั้งไหน แหล่งข่าวมิได้แจ้ง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 24 ม.ค. 11, 21:04

อ้างถึง
ส่วนในภาพที่เอามาลงนั้น สมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกครั้งไหน แหล่งข่าวมิได้แจ้ง

ขยายรูปที่คุณ Navarat.C นำมาลง  ให้เห็นกันชัดๆ
ไม่อาจเดาได้ว่าครั้งไหน     เห็นจะต้องพึ่งคำตอบจากคุณ V_Mee อีกครั้ง


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 25 ม.ค. 11, 08:24

ภาพข้างบนสมเด็จพระพันปีหลวงทรงขาวทั้งชุด  น่าจะอยู่ในระหว่างไว้ทุกข์ใหญ่ คือ ไว้ทุกข์ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งมีกำหนด ๑ ปี นับแต่เสด็จสวรรคต  ภาพนี้จึงน่าจะทรงฉายในคราวบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๖ ครั้งแรก  ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓  ซึ่งมีประกาศให้ออกทุกข์เป็นการชั่วคราวในระหว่างการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  เมื่อครบกำหนดไว้ทุกข์ ๑ ปีแล้ว  สมเด็จพระพันปีหลวงก็ทรงดำมาตลอดตราบจนเสด็จสวรรคต
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 25 ม.ค. 11, 08:35

อ้างถึง
จากคุณปูยำ
เห็นรูปสาวชาววังในความคิดที่ ๓๙ แล้วอยากรู้ว่าใครออกแบบ สวยถูกใจ อยากให้เป็นเอกลักษณ์สาวไทยปัจจุบันจัง

เช้านี้เสี่ยงหน้าแตกอีกแล้ว เพราะจะเอาเรื่องแฟชั่นผู้หญิงที่ผมไม่ประสีประสาเลยสักนิดมานำเสนอ  เอ้า…ไม่เป็นไร ถือว่าดูรูปไปก็แล้วกันครับ ส่วนบรรยายภาพนั้น ถ้าผมปล่อยไก่ไปบ้าง เดี๋ยวก็จะมีท่านผู้รู้มาจับเข้าเล้าเองนั่นแหละ

เป็นที่ทราบกันในสมัยโน้นว่าผู้นำแฟชั่นฝ่านสตรีในสังคมสยามก็คือ เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ สะใภ้หลวงในรัชกาลที่๔ ผู้ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงสู่ขอให้สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ในปี ๒๔๑๐ ในภาพท่านยังชื่อแพ ถ้ามีนามสกุลก็ต้องนามสกุลบุนนาค แต่ตอนนั้นคนไทยยังไม่มีนามสกุล คุณแพอายุ๑๓เอง ก็โพสต์ท่าถ่ายรูปแล้ว และเราก็ได้ทราบว่ากุลสตรีไทยสมัยนั้นยังนุ่งผ้า ใส่เสื้อแขนกระบอก แล้วห่มสะใบทับ

สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ทรงแก่กว่าคุณแพ๑ปี เพราะชอบล้ำนำสมัยนี่เอง คุณแพจึงเป็นสตรีคนแรกที่ “เข้าตา” เจ้าฟ้าหนุ่มในตอนนั้น


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง