เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 173951 ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 27 ม.ค. 11, 12:28

ถนนสายหนึ่งในพระนคร สมัยรัชกาลที่ ๕ จากหนังสือของปาวี
เขาบอกสั้นๆว่า Une rue à Bangkok   ไม่ได้บอกว่าถนนอะไร


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 27 ม.ค. 11, 14:02

นายปาวี บุคคลท่านนี้แสบมาก ทำวีรกรรมไม่ดีกับสยามประเทศไว้เป็นอย่างมาก ขออนุญาตเล่าประวัตินายปาวี คร่าวๆ ดังนี้..

"ม.ปาวี ไวซ์ กงสุลฝรั่งเศสประจำเมืองหลวงพระบางคนแรกผู้นี้ เดิมทีเป็นเสมียนโทรเลข เข้ามาในประเทศสยามกับนายช่างฝรั่งเศสที่เข้ามาสร้างสายโทรเลขระหว่างกรุงเทพ-ไซ่ง่อน เมื่อ ค.ศ.1884 ต่อจากนี้ ม.ปาวี ผู้นี้มีคุณสมบัติสำคัญ คือ ใคร่ต่อการศึกษายิ่งนัก ระหว่างที่ทำแผนที่อยู่ ณ ตำบลใดก็ได้ อุตส่าห์สอบสวนประวัติการ ของชาวภูมิประเทศนั้นๆ จนซึมทราบถึงฐานะความเป็นอยู่ของชนพวกนั้นได้เป็นอย่างดี สามารถแต่งหนังสือขนาดใหญ่เป็นทำนองเกล็ดพงศาวดารไทย ลาว เขมร ไว้หลายเล่ม

ใน ค.ศ.1886  เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสตั้งไวซ์ กงสุสขึ้นที่เมืองหลวงพระบาง ก็เลือกเอา ม.ปาวี เป็นผู้ทำการในตำแหน่งนี้ แต่มียศเป็นกงสุลชั้น 2 และเป็นหัวหน้าคณะข้าหลวงสำรวจดินแดนของฝ่ายฝรั่งเศส

ณ วันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1892 ม.ปาวีได้เข้ามาประเทศสยาม มีตำแหน่งเป็นราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุเทพฯ การที่ ม.ปาวี ได้รับตำแหน่งเป็นราชทูตคราวหนี้ ต้องนับว่าเป็นพฤติการณ์ที่สำคัญสัมพันธ์อยู่กับประวัติกาลของชาติไทย เพราะม.ปาวี เป็นผู้ชำนิชำนาญ ได้เรียนรู้ถึงความเป็นไปแห่งท้องที่ บริเวณที่แก่งแย่งกันอย่างหลับตาเห็น

ฉะนั้นจึงเป็นกำลังทำให้รัฐประศาสโนบายของฝรั่งเศสก้าวหน้ายิ่งขึ้น"

คัดจากหนังสือสังเขปเอกสารประวัติศาสตร์ ร.ศ. ๑๑๒

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 27 ม.ค. 11, 14:18

ในหนังสือ ชีวิต ๕ แผ่นดินของข้าพเจ้า โดย พลโทประยูร ภมรมนตรีว่าเขียนถึง ม. ปาวี ว่า

มองซิเออร์ปาวี อัครราชทูตเป็นตัวตั้งตัวตี โดยมองซิเออร์ผู้นี้ทางราชการได้จ้างมาทำแผนที่ในประเทศ เคยถูกพวกจีนฮ่อทำร้ายในเมืองหลวงพระบาง แต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยได้ช่วยชีวิตไว้ เลยสนองพระคุณสำรวจดินแดนทำแผนที่ทั้งปวงให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศสเป็นมูลฐานประกอบการยึดดินแดน

ที่ปารีส ภายหลังเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ไปแล้ว ๑๔ ปี รัชกาลที่ ๕ ทรงได้พบ ม. ปาวี ตัวต่อตัว  ทรงเล่าไว้ในพระราชหัตถเลขาฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐ พิมพ์ในงานพระเมรุกรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร พ.ศ. ๒๔๙๑ ตอนหนึ่งว่า

...เธอคงอยากรู้เปนอันมาก ว่าฉันได้พูดกับอ้ายปาวีอย่างไร มันเจ้าก้า [นบนอบเป็นอย่างยิ่ง] เหลือสติกำลัง เข้ามารับอาสาเปนล่ามฉัน พูดกับลูกสาวเปรสิเดนต์ ฉันก็ออกจะไม่อยากพูดกับมัน จำใจต้องพูด ครั้นเวลาเลิก มันบอกว่ามันมีความยินดีที่การตกลงกันเรียบร้อย [เรื่องเมืองเสียมราฐและพระตะบอง] ฉันว่าข้าต้องการจะให้เรียบร้อยมานานนักหนาแล้ว มันเรียบไม่ได้ก็เพราะเจ้า ถ้าเจ้าพูดเสียตรง ๆ อย่างเช่นที่ได้ตกลงกันครั้งนี้ ที่ไนมันจะลำบากมาเปนสิบเอ็ดสิบสองปี ข้าไม่โทษคนอื่นโทษเจ้าทั้งนั้น มันหัวร่อเรี่ยมากจนหน้าแดง บอกว่ามีความเสียใจเปนอันมาก ที่จริงความที่วุ่นวายมากไป 'เพราะอังกฤษเข้าแทรก' ฉันเห็นพอแล้วก็เลยพูดเรื่องอื่นต่อไป...

 เจ๋ง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 27 ม.ค. 11, 14:29

ฝรั่งเศสได้สร้างอนุสาวรีย์ของนายปาวีกำลังได้รับการกราบไหว้จากชาย-หญิงลาว ตั้งอยู่ในกรุงเวียงจันทน์ ซึ่งหลังจากประเทศลาวได้รับเอกราช อนุสาวรีย์ของนายปาวีได้ถูกแยกชิ้นส่วนนำไปทิ้งแม่น้ำโขง ต่อมาสถานทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเวียงจันทน์ได้กู้นำไปเก็บรักษาไว้ที่สถานทูต ส่วนรูปหล่อชาย-หญิงลาว นำไปเก็บรักษาที่สนามหน้าหอพระแก้ว กรุงเวียงจันทน์



http://pavie.culture.fr/mediatheque.php?rubrique_id=32&lg=en#media171

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 27 ม.ค. 11, 14:36

รูปของปาวีที่นำมาลงในหน้าก่อน คงถ่ายสมัยอยู่ปารีส  ถ่ายในร้านถ่ายรูปเลยดูโก้หน่อย  แต่พอแกมาบุกป่าฝ่าดงอยู่แถวนี้  ก็หมดสง่าราศี เป็นคนละคน
ในรูปนี้ ปาวีคือคนที่สามจากขวา  ส่วนชาวเอเชียในภาพนี้เป็นล่ามเขมร ไม่ใช่คนสยาม  ฝรั่งอีกคนชื่อ Pierre Lefèvre-Pontalis


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 27 ม.ค. 11, 14:40

ย้ายพระรูปเจ้านายสยามจากค.ห. 164 ตามมาที่นี่   จำได้ไหมว่าพระองค์ไหนในรัชกาลที่ ๕

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 27 ม.ค. 11, 14:44

อนุสาวรีย์ของปาวี ที่ตั้งอยู่บนสนามหญ้า ในบริเวณสถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศลาว ในปัจจุบัน

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 27 ม.ค. 11, 15:05

ตอบรูปในความเห็นที่ ๑๗๐

สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช 
ตอนนั้นน่าจะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 27 ม.ค. 11, 19:01

ถูกต้องค่ะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 27 ม.ค. 11, 21:51

เมื่อม.ปาวี ราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ดำเนินการโดยพลการ สั่งให้เรือรบทั้ง๒ลำเดินทางเข้ามาทอดสมออยู่ในปากอ่าว เตรียมพร้อมที่จะตลุยเข้ามาในกรุงเทพนั้น  ในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม เสนาบดีว่าการต่างประเทศของไทยได้มีโทรเลขไปยังอัครราชฑูตไทยประจำกรุงปารีส แจ้งเรื่องเรีอรบฝรั่งเศส จะเข้ามาขู่เข็ญไทย ขอให้นำความไปร้องเรียนต่อ ม.เดอ แวลล์ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศฝรั่งเศสโดยด่วน

เดอ แวลล์ตอบว่า รัฐบาลฝรั่งเศสไม่ได้เป็นผู้สั่งการให้เรือรบเข้าไปในกรุงเทพ ฯ  และรับรองว่าจะถอนคำสั่งเดิมเสีย
ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖ เดอ แวลล์ ได้มีโทรเลขไปยังปาวี ราชฑูตฝรั่งเศสที่กรุงเทพ ฯ มีความว่าสำคัญว่า ให้บอกแก่กองเรือฝรั่งเศสทราบว่า รัฐบาลฝรั่งเศสตกลงยับยั้งไม่ให้เรือลำใดข้ามสันดอนเข้าไปก่อน โทรเลขฉบับนี้มาถึงสถานทูตฝรั่งเศส ได้รับในกรุงเทพเวลาเช้า ๑๐.๓๐น. ของวันเดียวกันนั้น

ปาวีอยู่ในกรุงเทพมานานพอที่จะรู้ระบบการทำงาน "หลับกลางวัน ทำงานกลางคืน" ของสยามดี  เขาจึงถ่วงเวลาที่จะนำโทรเลขนั้น  ไปแจ้งยังผู้บังคับการกองเรือ ที่กำลังรอปฏิบัติตามคำสั่งที่กำหนดไว้ว่า เมื่อน้ำขึ้นในตอนเย็น จะเป็นเวลาที่ลงลงมือปฏิบัติการ

อันที่จริง สำเนาโทรเลขนั้น กรมโทรเลขสยามก็ได้รับพร้อมๆกัน ไม่มีปัญหาอะไรที่เราจะให้เจ้าหน้าที่ไทย ลงเรือด่วนนำโทรเลขนั้น ไปแจ้งให้ผู้บังคับการทหารเรือฝรั่งเศสเสียเอง เพื่อยุติวิกฤต

แต่ทว่า จะหาผู้หลักผู้ใหญ่ฝ่ายไทยที่มีอำนาจสั่งการดังกล่าวสักคน ก็หาได้ไม่ เวลาล่วงเลยจน ๑๘.๐๕ น . เรือรบฝรั่งเศสจึงวิ่งเต็มฝีจักรช้ามสันดอนเข้ามากรุงเทพ

เจ้าพระยาอภัยราชาฯ (โรลัง ยัคมินส์) ที่ปรึกษาราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวชาวเบลเยียม กล่าวไว้ในจดหมายที่เขียนถึงลูกชายเกี่ยวกับโทรเลขที่ฝรั่งเศสส่งมาไว้ว่า "ลูกอาจถามพ่อว่า ถ้าเราได้รับโทรเลขฉบับนั้นเวลา ๑๐.๓๐นาฬิกา ในตอนเช้าของวันที่ ๑๓แล้ว เหตุใดเราจึงไม่ติดต่อกับปาวีทันที โชคร้ายจริงที่เหตุผลเป็นเรื่องโง่เขลา ลูกก็ทราบนี่ว่า เสนาบดีสยามหลับตอนกลางวัน และทำงานตลอดจนประชุมกันในเวลากลางคืน เรื่องนี้ส่งผลให้เมื่อโทรเลขฉบับนั้นมาถึง จึงได้แต่รอกันเงียบๆ โดยไม่บอกให้พ่อรู้ด้วยซ้ำ จนกรมหลวงเทวะวงศ์ฯ ทรงตื่นจากบรรทม ซึ่งพระองค์ทรงตื่นขึ้นตอนที่มีคนได้ยินเสียงยิงปืนใหญ่ที่ปากน้ำนั่นแล้วด้วยซ้ำ"

ขออภัย ถ้าเริ่มเรื่องม.ปาวี ก็จะต้องท้าวความเรื่องนี้ด้วย พอดีผมจะไม่อยู่บ้านสักสัปดาห์หนึ่ง และคงไม่ได้เปิดเข้าเน็ทจนกว่าจะกลับ เลยยังเล่าไม่หมดว่า การเสียดินแดนครั้งนั้นน่ะ โทษนายปาวีได้ครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งต้องโทษความไม่พร้อมด้วยประการทั้งปวง ของคนไทยเราเอง
ระหว่างนี้ก็เชิญทุกท่านว่ากันต่อไปก่อนครับ


บันทึกการเข้า
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 27 ม.ค. 11, 23:48

เข้ามาลงชื่อครับ คุณครูทุกๆท่าน
เสียดายมาตอบช้า มัวแต่เพลิดเพลินจากเทศกาลวันหยุดยาวช่วงปีใหม่ ต่อเนื่องจนเกือบปลายเดือน

รูปชุดแรกๆ ที่กระทู้ถาม ผมดันมีสำเนาติดมือเก็บอยู่กับตัว
เป็นหนังสือประมวลภาพฯโดยคุณไกรฤกษ์ นานา ครับ

เห็นภาพปุ๊บ จำได้ปั๊ป  พลิกดูอีกครั้งก็พบว่าเป็นหนังสือ L'Illustration  21 Janvier, 1905  หน้า 44-45 คอลัมภ์ "เพื่อนบ้านของเรา"สยาม"
กะว่าจะเข้ามาตอบ  แต่คุณครูใหญ่ตอบไปแล้ว

บทความ ก็เป็นการบรรยายแนะนำประเทศสยามแบบคร่าวๆ
แต่ภาพประกอบพร้อมคำบรรยาย ไม่ได้สอดคล้องกับบทความแต่อย่างใด
คำบรรยายภาพ ก็เป็นการบรรยายแบบลวกๆ อย่างที่คุณครูหลายท่านว่าไว้แหละครับว่า
เป็นการจับภาพเหตุการณ์ต่างๆ มาตัดแปะแล้วบรรยายแบบหยาบๆ

ส่วนภาพอื่นๆนั้น ในชุดต่อมา
บางภาพ ผมเคยผ่านตาว่ามีปรากฎอยู่ในหนังสือรวมเล่ม,รวมภาพ กระจัดกระจายหลายๆเล่ม
ของคุณเอนก นาวิกมูลที่ไปค้นมาจากหอจดหมายเหตุฯบ้าง แหล่งอื่นบ้าง ฯลฯ

ดังนั้น ผมขออนุญาต นั่งอ่านอยู่เงียบๆ ต่อไปนะครับ
 อายจัง ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 11:16

คุณนวรัตนยังไม่กลับขึ้นเวที   ดิฉันมาคั่นโปรแกรมหน้าม่าน ดึงกระทู้ขึ้นมาก่อนตกจอ
คุณ Diwali พอจะสแกนภาพมาให้ชมกันบ้างไหมคะ?
********************
ข้อความต่อไปนี้นำมาจากกระทู้เก่า  เจ้าพระยามหิธร  เป็นเหตุการณ์ร.ศ. ๑๑๒ ตอนฝรั่งเศสปิดปากอ่าวไทยพอดี   ทางกรุงเทพชุลมุนวุนวายมากขนาดไหน ลองอ่านดู

ในวิฤติการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ เมื่อฝรั่งเศสเอาเรือรบมาปิดปากอ่าวไทย   นายลออ(หมายถึงเจ้าพระยามหิธร) เป็นเสมียนโท ได้มีโอกาสรู้เห็นบรรยากาศตึงเครียดติดต่อกันหลายวันหลายคืน   ในพระบรมมหาราชวัง

มีเกร็ดเล็กๆน่าขำที่นายลออจำได้ก็คือ ตอนเกิดเรื่องที่เรือรบฝรั่งเศสรุกล้ำอ่าวไทย  เข้ามาจอดลอยลำถึงหน้าสถานทูตฝรั่งเศส   
ผู้บัญชาการทหารเรือไทยในตอนนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญชาวเดนมาร์คที่ไทยจ้างมาฝึกทหารเรือ  ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาชลยุทธโยธี  ได้รับรายงานเรื่องนี้ก็เดือดดาลมาก    ถือว่านอกจากฝรั่งเศสดูถูกคนไทยแล้วยังเป็นการสบประมาทถึงเดนมาร์คด้วย

พระยาชลยุทธฯก็ไม่รอช้า  ถือว่าถึงขั้นรบกันก็ต้องรบ   ออกคำสั่งให้ติดไฟเรือพระที่นั่งมหาจักรีซึ่งเป็นเรือรบที่มีอานุภาพมากที่สุดของไทยในตอนนั้น  เตรียมพร้อมรบเต็มกระบวนศึก
แล้วท่านก็แต่งเครื่องรบเต็มที่ รีบลงเรือกรรเชียงจากฝั่งไปขึ้นเรือกลางแม่น้ำ เพื่อจะบัญชาการรบ

พอถึงเรือมหาจักรี   พระยาชลยุทธฯใจร้อนเผ่นจากเรือกรรเชียงขึ้นบันไดเรือรบ    บังเอิญคืนนั้นมืดมากมองอะไรไม่เห็น   ท่านก็เลยพลาดบันไดเรือ หล่นตูมลงในแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งชุดเครื่องรบ  ทำให้ทหารเรือไทยต้องโดดน้ำตามลงไปช่วยผู้บัญชาการกันจ้าละหวั่น  ฉุดเอาตัวขึ้นมาได้ 
การตกน้ำแทนที่จะทำให้พระยาชลยุทธฯใจเย็นลง กลับทำให้โกรธมากขึ้น 

เคราะห์ดีก่อนเรือมหาจักรีจะออกไปยิงกับฝรั่งเศส   เจ้าพระยาอภัยราชา(โรแลง ยัคมินส์) ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญชาวเบลเยี่ยม   ได้รับรายงานเข้าเสียก่อน 
เห็นว่าถ้าถึงยิงกันจะเกิดเรื่องลุกลามใหญ่โต  จึงรีบนำความขึ้นกราบบังคมทูล ขอให้มีพระบรมราชโองการห้าม  พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงห้ามเสียทัน  พระยาชลยุทธฯจึงไม่ได้รบกับฝรั่งเศส

อย่าง ไรก็ตาม  เหตุการณ์ในช่วงนั้นไม่มีใครขำออกเลย    เพราะมีแต่ความตึงเครียดไปทั้งเมืองตั้งแต่พระบรมมหาราชวังถึงชาวบ้านร้านถิ่น   
ภายในพระบรมมหาราชวัง มีการลากปืนใหญ่เข้าประจำที่   หัดทหารกันทั้งวันทั้งคืนและเกณฑ์ทหารใหม่เข้าเพิ่มเผื่อรับมือ   พระเจ้าอยู่หัวและเสนาบดีเข้าประชุมกันตลอดทั้งวันทั้งคืน  ไม่มีใครกลับบ้าน  ออฟฟิศหลวงเปิดตลอด ๒๔ ชั่วโมง    ข้าราชการประจำรวมทั้งนายลออต้องมาประจำหน้าที่ไม่ได้กลับบ้านติดต่อกันหลายวัน   กินนอนกันอยู่ในออฟฟิศนั่นเอง

พอ ตกกลางคืน  เจ้านายสำคัญๆและเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ที่มาปรึกษางานกันเคร่งเครียดตลอดวันก็เอาที่นอนหมอนมุ้งไปปูนอนกันตามระเบียงพระที่นั่งจักรี 
ตอนดึก พระเจ้าอยู่หัวบรรทมไม่หลับ  เสด็จออกมา  เจ้านายและเสนาบดีก็ลุกจากมุ้งไปเข้าเฝ้า ประชุมกันต่อไม่เป็นอันหลับนอนจนเช้า

ส่วน เจ้านายฝ่ายในตลอดจนบรรดาข้าหลวงทั้งหลาย  ออกมาประชุมปะปนกับผู้ชายไม่ได้ก็จริง แต่ก็รวบรวมข้าวของและเงินทอง เตรียมพร้อม ทูลเกล้าฯถวายเพื่อเป็นค่าซื้อปืนสู้กับฝรั่งเศส 
ในเหตุการณ์นี้เองที่ได้มีการดำริตั้งสภาอุณาโลมแดงขึ้น  ซึ่งต่อมาคือสภากาชาดไทย  สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินี(หรือสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรม ราชินีนาถ)ทรงเป็นนายกสภา  เพื่อจะได้ช่วยรักษาพยาบาลทหารที่บาดเจ็บจากสงคราม

ทางฝ่ายราษฎรใน เมืองหลวงก็ไม่ประมาท   พวกผู้หญิงพากันคั่วข้าวตากทำเป็นเสบียง  เตรียมตัวพร้อมจะอุ้มลูกจูงหลานหลบหนีเข้าป่าเผื่อข้าศึกบุกเข้ามาถึงเมือง
ส่วนผู้ชายก็คึกคักพร้อมรบ  ไม่กลัวฝรั่งเศส   นัดยกพวกแห่กันไปริมแม่น้ำใกล้เรือรบ ด่าว่าท้าทายต่างๆจนฝรั่งเศสไม่กล้าลงจากเรือรบ  ยันกันอยู่อย่างนั้น

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1190.msg20842;topicseen#msg20842
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 13:21

ไปค้นรูปสงครามไทย-ฝรั่งเศส ร.ศ. 112  ในเว็บฝรั่งเศส  เจออยู่หลายรูปที่เกี่ยวกับสยาม
รูปนี้  มีคำบรรยายว่า    1866-garde-royale    
ดูอีกที  โขลน น่ะเอง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 13:27

ช้างศึกสมัยรัชกาลที่ ๕


ทหารสยาม

       

ขอคุณนวรัตนและคุณหนุ่มสยาม  โปรดสังเกตว่าทหารทั้งสองรูป สวมรองเท้าหนังแท้ แต่ไม่ใช่หนังเท้า อย่างรูปก่อนๆในกระทู้นี้  ไม่รู้ว่ายศชั้นไหนหรือกรมกองอะไร
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 13:32

"เคราะห์ดีก่อนเรือมหาจักรีจะออกไปยิงกับฝรั่งเศส   เจ้าพระยาอภัยราชา(โรแลง ยัคมินส์) ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญชาวเบลเยี่ยม   ได้รับรายงานเข้าเสียก่อน  
เห็นว่าถ้าถึงยิงกันจะเกิดเรื่องลุกลามใหญ่โต  จึงรีบนำความขึ้นกราบบังคมทูล ขอให้มีพระบรมราชโองการห้าม  พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงห้ามเสียทัน  พระยาชลยุทธฯจึงไม่ได้รบกับฝรั่งเศส"

ผมได้อ่านหนังสือประมวลภาพ ร.ศ. ๑๑๒ ของ อ.ไกรฤกษ์ นานา ระบุไว้ในเนื้อหาเรื่องนี้แต่เป็นรายละเอียดปลีกย่อย คือ หากเห็นว่าสยามเพลี่ยงพล้ำแก่เรือข้าศึกแล้ว จะใช้วิธีการสุดท้ายคือ การขอพระบรมราชานุญาตนำเรือพระที่นั่งมหาจักรี นำเข้าพุ่งชนให้เรือรบฝรั่งเศสจมในท้องน้ำเจ้าพระยา ซึ่งภายหลังได้มีพระบรมราชานุญาตห้ามไว้ทัน จึงมิได้มีเหตุการณ์ใหญ่โตขึ้นไปมากกว่านี้

ก่อนที่เรือรบจากฝรั่งเศสจะลุยเข้ามายังปากน้ำเจ้าพระยาและนำมาจอดทอดสมอที่หน้าสถานกงสุลฝรั่งเศส ก่อนจะยื่นคำขาดมายังราชสำนัก ยื่นข้อเรียกร้องต่างๆ หากไม่กระทำการที่ประสงค์แล้ว เรือรบพร้อมจะนำล่วงเข้าสู่หน้าพระบรมมหาราชวัง และจะยิงถล่มในอีกไม่นาน บรรยากาศบ้านเมืองคงเงียงเหงา ประตูเมืองพระนครปิดสนิท ทุกคนหวาดกลัว ข้าราชการทุกคนล้วนมุ่งตรงมายังพระบรมมหาราชวัง ศูนย์กลางแห่งพระราชอำนาจ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงมีพระราชดำรัสมายังเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เพื่อปลุกใจทหารและข้าราชการของพระองค์ และทรงวางพระหัตถ์ที่บ่าของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี พร้อมกับทรงเอ่ยว่า "ไม่เขา ก็เรา"
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง