เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 173174 ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 22:38

คุณหนุ่มครับ

พอขยายดู ภาพนี้มันหลอนๆชอบกลเหมือนภาพตัดแปะมาซ้อนกัน โปรดสังเกตุขอบเสื้อคนยืนหลัง  ตำแหน่งต่างๆผิดperspective
อีกอย่างหนึ่ง วัดบวรไม่น่าจะมีฉากหลังทึบเป็นป่าดิบขนาดมีต้นไม้สูงใหญ่อย่างนั้น


เป็นวัดบวรนิเวศ ครับ ขอนำภาพถ่ายวัดบวรนิเวศเก่า จะเห็นว่าต้นไม้ที่อยู่อย่างครึ้ม ตั้งอยู่ในพื้นที่ของคณะรังษี (เดิมคือวัดรังษี) ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 22:43

และภาพนี้เป็นบรรยากาศบริเวณถนน ซึ่งเห็นว่าเจ้านายทรงถ่ายภาพขณะขึ้นไปยืนบนกำแพงเมือง ครับ สำหรับกล้องที่ทั้งสองถือควรจะเป็นกล้องส่องทางไกลมากว่ากล้องถ่ายภาพ เนื่องจากการถ่ายภาพในยุคนั้นยังต้องใช้กระจกและขาตั้งกล้อง จะถือสองมือไม่ได้ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 23:03

๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๔ การพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก ทรงพระกรุณาโปรดให้ตั้งพระราชพิธีสงฆ์ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์

ไม่แน่ใจว่าเป็นช่วงเดียวกับการถวายผ้าพระกฐินด้วยหรือไม่ แต่ได้แนบภาพถ่ายงานดังกล่าว รบกวนข้อมูล

อีกทั้ง "ทรงอยุ่ในช่วงไว้ทุกข์" ครับ ดังภาพ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 22 ม.ค. 11, 08:08

ที่คุณหนุ่มสยามยืนยันว่าเป็นวัดบวร โดยถ่ายจากมุมสูงบนกำแพงพระนครก็เป็นไปได้ครับ หลังคาซุ้มทรงจีนก็ดูใช่อยู่ แม้เสาโรมันที่เห็นจะดูประหลาด แต่ก็อาจเป็นการตกแต่งรับเสด็จเป็นการชั่วคราว แต่แสงสีขาวบนแขนนายทหารองครักษ์ยังไม่เนียนว่าภาพไม่ได้ตัดแปะมา

ตรงที่เห็นเป็นป่า ถ้าใช่วัดบวร ตรงนั้นเป็นคณะตำหนักครับ ไม่ใช่คณะรังสี หรือวัดรังสีเก่าที่อยู่บริเวณโรงเรียนบวรนิเวศปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 22 ม.ค. 11, 08:26

เอาภาพทางอากาศของวัดบวรมาฉายซ้ำอีกที

คณะตำหนักอยู่ในแนวเดียวกับพระอุโบสถ

คณะรังสี คือหมู่กุฏิสงฆ์ของวัดบวรนิเวศ(ธรรมยุติ)ที่อยู่หลังรั้วกั้น แยกบริเวณกันระหว่างพระอุโบสถและวิหารร้างของวัดรังสี(มหานิกาย)สมัยรัชกาลที่๓เดิม ไม่เห็นในภาพ วัดรังสีคงสภาพเป็นวัดร้างไม่มีภิกษุจำพรรษา แม้วัดบวรจะดูแลอยู่แต่ก็ไม่ได้ใช้งานจริงจัง สภาพชำรุดทรุดโทรม

ภาพล่างถ่ายเมื่อเร็วๆนี้ พระอุโบสถและวิหารร้างของวัดรังสีปัจจุบันวัดบวรได้ทำการบูรณะใหม่ ดูเหมือนพระวิหาร(สีขาว)จะใช้งานเป็นห้องสมุดทั่วไป ส่วนพระอุโบสถยังมีพระประธาน ประชาชนเข้าไปสักการะได้ครับ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 22 ม.ค. 11, 08:41

คณะตำหนัก คือหมู่กุฏิสงฆ์วัดบวรที่เจ้านายเมื่อทรงผนวชจะพำนักอยู่ ปัจจุบันพระสามัญชนก็อยู่จำพรรษาได้

ส่วนหน้าที่สงวนไว้ จะเป็นพระตำหนักปั้นหยาที่ประทับของพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ประกอบด้วยตำหนักเพชร ที่เสมือนท้องพระโรงของพระองค์ไว้รับรองผู้มาเฝ้า
 
ส่วนหน้าของตำหนักเพชรยังมีไม้ใหญ่อยู่มาก แต่ที่สูงชลูด เป็นลำต้นเดี่ยวขนาดใหญ่ในภาพปริศนานั้น ไม่มีเสียแล้ว



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 22 ม.ค. 11, 08:50

อนึ่ง เมื่อได้เห็นภาพกำแพงพระนครที่คุณหนุ่มสยามบรรยายว่าอยู่หน้าวัดบวร ผมก็ยังงงๆอยู่ เพราะโตทันนั่งรถรางก่อนที่ท่านจะสั่งเลิกไป สายที่วิ่งผ่านหน้าวัดนี้จะอยู่ด้านกำแพงครับ

พอดีค้นได้รูปรถรางหน้าวัดบวรมายืนยันด้วย

ดังนั้นคุณหนุ่มสยามต้องทำการบ้านต่อว่า รูปที่คุณนำมาลงนั้นอยู่ที่ไหน จะระดมแกงค์ซ้อนลูกน้ำมาช่วยด้วยก็ได้นะครับ ไม่ผิดกติกา



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 22 ม.ค. 11, 08:58

ใช่ครับ แนวต้นไม้ครึ้มนั้นควรอยู่บริเวณหน้าหมู่ตำหนัก วัดบวรนิเวศ ครับ และผมมีข้อสังเกตุอีกประการหนึ่งว่า

๑. กระบวนแห่โดยเสด็จทางสถลมารค ไปยังวัดบวรนิเวศ กับ กระบวนแห่ผ้าพระกฐินโดยทางชลมารค น่าจะเสด็จไปต่างวัดกัน ซึ่งการถวายผ้าพระกฐินทางชลมารค เท่าที่อ่านดูในราชกิจจาฯ จะเน้นไปทางวัดประยุรฯ วัดกัลยาฯ วัดอรุณฯ ตลอดจนเลี้ยวเข้าคลองฝั่งธนบุรีเป็นหลัก  ส่วนวัดในพระนครซึ่งอยู่ในกำแพงพระนคร จะเสด็จรถที่ประทับออกจากพระที่นั่งจักรีฯ หรือ พระราชวังสวนดุสิตฯ เสด็จมายังพระที่นั่งจักรีฯ เพื่อตั้งขบวนแล้วจึงเสด็จทางสถลมารคไปยังวัดนั้นๆต่อไป



ภาพที่สองรถรางวิ่งผ่านหน้าวัดบวรฯ ริมกำแพงถูกแล้วครับ สำหรับภาพแรกที่นำมาลง คงต้องจัดใหม่  อายจัง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 22 ม.ค. 11, 09:07

เอาเข้าแล้ว..ผม
อย่างนี้ใช่ไหมที่เขาเรียกว่า ชงเองกินเอง

พอดูใหม่อีกที พลันก็บรรลุว่าเสากระโดงที่เห็น ไม่ใช่พญาไม้ที่ไหน เสาไฟฟ้าที่อยู่ข้างๆกำแพงพระนครนั่นเอง
วัดนี้ เป็นวัดบวรแน่นอนครับคุณหนุ่ม ไม่มีข้อสงสัยใดแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 22 ม.ค. 11, 09:28

และผมยังคิดว่า รูปในบทความของฝรั่งเศสคราวนี้ เอาภาพเหตุการณ์ต่างกรรมต่างวาระมาลง แบบจับแพะชนแกะ
รูปเจ้านายฝ่ายหญิง ฉลองพระองค์ขาวดำ หรือครึ่งทุกข์อย่างที่คุณหนุ่มสยามว่า เป็นงานเก็บพระอัฐิพระองค์ใดหรือเปล่าครับ

ส่วนรูปเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ทั้งโดยสถลมารคไปวัดบวร และกระบวนเรือพระราชพิธีเสด็จโดยชลมารค ก็คนละวันกันอยู่แล้ว

คนเขียนบทความนี้ คงได้รูปมาจากคนอื่น ฟังอธิบายรูปไม่เข้าใจ ก็เขียนมั่วตามสติปํญญาของตน เอาเรื่องพระบรมอัฐิมาปนกับการถวายผ้าพระกฐินให้คนฝรั่งด้วยกันอ่าน พวกอ่านแล้วก็แล้วไปนั้นก็ช่างเถอะ แต่บางคนก็ชอบลอกคนอื่นไปขยายขี้เท่อต่อโดยไม่วิเคราะห์กลั่นกรองน่ะซี พวกนี้แสบ ทำให้ละครหรือหนังฝรั่งแบบKing and Iบังเกิดขึ้นได้ ยิ่งสร้าง ยิ่งไกลความจริงขึ้นไปทุกที
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 22 ม.ค. 11, 09:43

ก็เข้ามายันอีกครั้งว่า เป็น "วัดบวรนิเวศ"  ยิงฟันยิ้ม ส่วนเรื่องเสาโรมันเป็นเสาประดับ ประดับธงก็เป็นเพียงเสาหลอกไว้เท่านั้นครับ

สำหรับภาพแรกแนวกำแพงพระนครและประตูพระนครนั้น อาศัยจับทิศการวางรางรถรางแล้วพบว่า
๑. ตัวราง อยู่ฝั่งตรงข้ามกับกำแพงพระนคร ซึ่งผมก็รีบลงไปดูในแผนที่รถราง พบว่า เส้นทางเดินของรถราง
    ในพระนครจะอยู่ชิดกับแนวกำแพงเสมอ ยกเว้นมีอยู่ช่วงหนึ่งเท่านั้นที่วางรางตรงข้ามกับกำแพง และมีประตู
    พระนครตั้งอยู่ด้วย ซึ่งก็คือ "ตั้งแต่หัวมุมโรงเรียนราชินี - ประตูศรีสุดาวงศ์" เท่านั้น

๒. เมื่อทราบตำแหน่งแล้วก็เจาะไปยังแผนที่วัดโพธิ์ฯ พบว่าแนวรถรางหน้าภาพ มีการหักมุมเล็กน้อย และมีกำแพงตั้งตรง
     กันกับแนวหักพอดีจึงได้กำหนดซึ่งน่าจะเป็นตรงนี้ ด้วยมีประตูเมือง (ตรงกับเขตสังฆาวาส) เหนือประตูจะเป็นที่ตั้ง
     ของป้อมมหายักษ์ ท้ายวัดโพธิ์

๓. อีกจุดหนึ่งซึ่งยืนยันความถูกต้องของภาพคือ จุดวงกลม ๒ จุดอยู่เยื้องกัน ในแผนที่มีจุดวงกลม อยู่พอสังเกตุได้ว่า
     เป็นตำแหน่งของ "หัวก๊อกประปา" ซึ่งก็มีอยุ่ในภาพ และมีอยู่ในแผนที่

สรุปว่า ภาพที่ผมลงให้เห็นภาพแรก เป็นภาพถนนมหาราช รถรางวิ่งผ่านท้ายวัดโพธิ์ ช่วงเขตสังฆาวาส ครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 22 ม.ค. 11, 09:58

เยี่ยมครับ

ฉะนั้น ภาพตึกที่ขวางถนนอยู่ข้างหน้าคือ สถานที่แห่งใด
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 22 ม.ค. 11, 10:24

เยี่ยมครับ

ฉะนั้น ภาพตึกที่ขวางถนนอยู่ข้างหน้าคือ สถานที่แห่งใด

ดังนี้แล้ว อาคารมีหลังคาคลุมนี้ ควรจะเป็นป้อมมหาฤกษ์ อยู่ตรงโรงเรียนราชินี ในปัจจุบันครับ แต่ด้วยพื้นขาว เลยทำให้ความขาวกลืนเป็นพื้นหลังไปหมด ไม่เห็นรายละเอียดใบเสมาครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 22 ม.ค. 11, 10:43

Défilé des princesses de la famille royale. Parade 
กระบวนเสด็จของเจ้าหญิงในพระราชวงศ์

ที่เห็นเป็นขบวนในลานพระราชวัง คือพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดินที่ดูมีความกระฉับกระเฉง ในชุดแต่งกาย เสื้อสีขาว กางเกงสีดำ รองเท้ามีสายรัดเช่นเดียวกัน เราชื่นชมเรือนร่างของพวกเธอที่ดูปราดเปรียวและสมส่วนดี นึกถึงคำพูดของนายโมว์หุตนักเดินทางผจญภัยเก๋ากึ๊กที่ว่า ด้วยผิวเป็นสีโอลีฟ กระดูกแก้มที่โดดเด่น นัยน์ตาสีดำรูปอัลมอนด์และเฉียงขึ้นเล็กน้อย หญิงสาวเหล่านี้ไม่มีอะไรที่ต้องอิจฉา "กับรูปแกะสลักปฏิมากรรมแบบประจำชาติของพวกเรา” แม้น้อย 



ในภาพนี้ก็น่าสนใจ ติดใจที่ฉากหลังของภาพ เป็นการก่ออิฐเป็นผนังอย่างเรียบร้อย ทำให้ตีความว่า
๑. กำแพงเก่า ปูนร่อนหมดแล้ว
๒. กำลังก่อสร้างอะไร
๓. สถานที่ตรงไหนบ้าง

แต่ในความคิดแรก (อาจจะไม่แน่เสมอไป) นึกถึงการเสด็จไปยังท่าราชวรดิษฐ์ แต่สังเกตุว่า รั้วกำแพงพระบรมมหาราชวัง ไม่มีจุดไหนที่ปล่อยให้โทรมขนาดนี้ และขบวนจากขวาไปซ้าย และเหมือนจากในออกนอก ก็แล้วแต่ไม่ยืนยัน

ความคิดที่สองก็บังเกิดว่า แนวอิฐอันงามนี้เคยผ่านตา "การก่อสร้างวัดเบญจมบพิตรฯ" จึงได้นำภาพมาให้ชมประกอบ ซึ่งอาจจะไม่ถุกหรือถูก ก็ช่วยเสริมด้วย
ซึ่งภาพที่นำมาร่วมประกอบเป็นภาพงานก่อพระเจดีย์ทราย ครับ

๑. ภาพเจ้านายในภาพ อาจจะมางานก่อพระเจดีย์ / งานตรวจความคืบหน้า / งานแห่พระพุทธชินราชจำลอง เข้าโบสถ์ ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 22 ม.ค. 11, 11:20

วัดเบญจมบพิตรสร้างปี ๒๔๔๑
ส่วนบทความนี้ เขียนในปี ๒๔๕๐

ห่างกันถึง ๙ ปี ไกลไปหน่อยหรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 19 คำสั่ง