เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 173181 ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


 เมื่อ 21 ม.ค. 11, 20:33

ระหว่างที่เข้าไปค้นหาภาพเก่าๆมาประกอบกระทู้ที่กำลังเขียนเรื่องพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ผมได้ลองใช้ภาษาต่างๆนอกจากอังกฤษเข้าไปหาในเวปของยุโรปแต่ละประเทศที่เคยมีสัมพันธภาพกับไทย  และโชคดี ไปเจอภาพสมัยรัชกาลที่๕ชุดนี้ในเวปของฝรั่งเศสเข้า ผมก็ลอกเอาเนื้อเรื่องมาด้วย เห็นว่าน่าสนใจและไม่ยาวนักก็คิดถึงท่านผู้อ่าน เลยตัดสินใจลงมือแปลจากภาษาฝรั่งเศสมาเป็นไทย โดยใช้บริการของ Google Translation ทั้งๆที่ไม่มีความรู้ในภาษานี้เลย แต่ด้วยบริการดังกล่าวของกูเกิลที่ว่า ผมก็ได้ฉบับแปลเป็นภาษาไทยออกมา อ่านแล้วอ่านอีกก็มึนยิ่งกว่าอ่านภาษาไทยที่ท่านแปลมาจากหลักศิลาจารึกภาษาขอม ต้องเอาใหม่ให้แปลจากฝรั่งเศสเป็นอังกฤษก่อน แล้วเอาภาษาอังกฤษนั้นแปลออกมาเป็นภาษาไทยอีกที คราวนี้ค่อยยังชั่ว พอจะอ่านแล้วเข้าใจได้บ้าง แต่พอลงมือจะเกลาออกมาลงในกระทู้ ก็สุดจะทนภาษาฝรั่งมั่วไทยได้ พาลปวดหัวตึ่บ จะจับไข้กับสำบัดสำนวนของกูเกิล เสียเวลาไปสองสามวันกับเรื่องที่ยาวไม่กี่หน้านี่เอง วันนี้ฉลาดขึ้น เอาภาษาอังกฤษที่เขาแปลมานั้น มาแปลเป็นไทยด้วยอัตโนเอง และหันไปพึ่ง Dictionary On Line แทนการพึ่ง Google Translation เป็นหลัก คราวนี้สำเร็จด้วยดีในเวลาอันควร ได้บทความภาษาไทยที่ท่านผู้อ่านทั่วไปไม่น่าจะมีปัญหา แต่ผมให้ตัวเชื่อมกับเวปต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสมาลงไว้ด้วย เพื่อสร้างปัญหาให้ผู้อ่านบางท่าน หากเข้าไปอ่านบทความตัวจริงแล้ว จะแย้งว่าผมแปลมาผิดที่ตรงนั้นตรงนี้ ท่านผู้อ่านอื่นๆก็จะได้รับประโยชน์นี้เป็นของแถม
 
http://www.gutenberg.org/files/33440/33440-h/33440-h.htm

ที่น่าสนุก กระทู้นี้จะแตกประเด็นให้เข้าซอยได้เยอะ มัคคุเทศน์ที่ชำนาญอย่างท่านอาจารย์เทาชมพู คุณเพ็ญ คุณหนุ่มสยาม และท่านอื่นๆทุกท่านขออภัยที่มิได้เอ่ยนาม คงช่วยกันพาท่านผู้อ่านไปแสวงหาความสำราญได้อีกหลายแง่หลายมุม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 20:35

ภูมิหลังของเรื่อง

พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒)  ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบ ๒ ลำ คือเรือแองคองสตังต์และเรือโคเมตได้แล่นสู่กรุงเทพ ข่มขู่ให้สยามให้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงกับเกาะต่างๆในแม่น้ำนั้นให้ฝรั่งเศส และเสียค่าปรับ กับค่าทำขวัญแก่ฝรั่งเศส เป็นเงินไทยประมาณ ๓ ล้านบาท และเงินฝรั่งเศส ๒ ล้านฟรังก์

แม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯจะทรงจำต้องยอมกระทำตามไปแล้ว ฝรั่งเศสก็ยังเข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกันเป็นเวลา ๑๐ ปี แม้แต่เมื่อสยามได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้ว ฝรั่งเศสก็ยังไม่ยอมถอนทหารจากจันทบุรี จนกระทั่งต้องทำสัญญาพ.ศ. ๒๔๔๕ ยอมยกเมืองจำปาศักดิ์ และมโนไพร ในลาวให้แก่ฝรั่งเศสแลกกับเมืองจันทบุรี แต่แล้วฝรั่งเศสกลับไม่ยอมถอนทหารจากจันทบุรี แถมเพิ่มข้อเรียกร้องกลับมาอีก จนปีพ.ศ. ๒๔๔๖ สยามต้องทำสัญญาอีกฉบับหนึ่ง กำหนดเขตแดนระหว่างสยามกับเขมรโดยใช้เทือกเขาบรรทัดเป็นหลัก และยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ตรงข้ามเมืองหลวงพระบางให้แก่ฝรั่งเศส และให้ฝรั่งเศสเช่าที่ทำท่าเรือที่หนองคาย มุกดาหาร และปากน้ำมูลได้

กว่าฝรั่งเศสจะยอมถอนทหารจากเมืองจันทบุรีได้ ก็เข้าในกลางปี พ.ศ. ๒๔๔๘แล้ว แต่ก็ยังไปยึดเอาเมืองตราดอีก เพื่อที่จะให้ฝรั่งเศสออกจากตราด ในคราวนี้สยามต้องยอมยกดินแดนส่วนในของเขมร คือเมืองเสียมราฐ ศรีโสภณ และเมืองพระตะบองให้แก่ฝรั่งเศสใน พ.ศ. ๒๔๔๙ แลกเปลี่ยนกับการที่จะได้ดินแดนแท้ๆของสยามคืนมาทั้งหมด และให้ฝรั่งเศสยอมให้สยามมีอำนาจตุลาการที่จะชำระคดีใด ๆ ที่ชาวฝรั่งเศสหรือคนในบังคับฝรั่งเศสก่อขึ้นในสยาม ไม่ว่าจะเป็นเป็นโจทก์หรือจำเลย แต่ยอมให้กงสุลฝรั่งเศสยังมีอำนาจเรียกคดีจากศาลไทยไปพิจารณาได้

บทความนี้ เขียนขึ้นในพ.ศ. ๒๔๕๐ เมื่อเหตุการณ์ต่างๆยุติไปแล้ว ทัศนคติที่คิดว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นศัตรูกำลังถูกปรับเปลี่ยน แต่ฝรั่งเศสก็ยังแสดงความรู้สึกดูถูกอยู่นิดๆว่า คนไทยไม่มีวัฒนธรรมเทียบเท่าพวกเขา ผมตกลงใจที่จะแปลสำนวนตามอารมณ์ของผู้เขียน มากกว่าจะคำนึงถึงราชาศัพท์อันสละสลวยถูกต้องในภาษาไทย ท่านผู้อ่าน อ่านแล้วต้องทำใจนะครับว่าป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ที่ผ่านพ้นไปแล้ว ผมไม่มีเจตนาจะมาปลุกระดมความเกลียดชังระหว่างชนชาติใดๆขึ้นอีก ที่นำเสนอเรื่องนี้ จุดใหญ่ต้องการให้ท่านเห็นภาพประกอบที่หาดูยาก ที่อย่างน้อย ตัวผมเองก็ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 20:37

สยาม เพื่อนบ้านของเรา

สนธิสัญญาความเข้าใจกันดีระหว่างประเทศของเรากับประเทศอังกฤษนำเป็นผลโดยตรง  ข้อตกลงPianiให้สยามยกหลวงพระบางบนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงกับดินแดนทางใต้ภูเขาพนมดงรักให้แก่ฝรั่งเศส ต่อมามีการทำสัญญาเพิ่มเติมลงวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ.1904 ทำให้สยามเสียดินแดนระหว่างทะเลสาบกับทะเลหลวงแก่ฝรั่งเศส และในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ.1907 มีการทำสัญญาอีกฉบับหนึ่งยอมรับว่าฝรั่งเศสยอมสละเอกสิทธิบางอย่างในสยาม แต่สยามต้องการยกมณฑลพระตะบอง เสียมเรียบและศรีโสภณให้ฝรั่งเศส

สัปดาห์ที่ผ่านมา การกำหนดดำเนินนโยบายที่เคยโต้เถียงกันอย่างหน้าดำคร่ำเคร่งก็ได้ผ่านไปโดยแทบจะไม่มีผู้ใดสังเกต  ที่สำคัญ หลายจังหวัดโดยรอบโตนเลสาปของกัมพูชาเหล่านั้น สยามได้ยอมยกให้เป็นส่วนหนึ่งในเขตปกป้องของเราแล้ว   เและพวกเขาก็มีความยินดีด้วยในชัยชนะของการเจรจา ได้จันทบูรณ์ที่เรายึดจากเขามาครอบครองชั่วคราวเป็นประกันนั้นคืนไป  วันต่อมา จึงมีการประกาศว่ากษัตริย์ของสยามได้แสดงความปรารถนาที่จะส่งน้องชายองค์หนึ่งของเขา คือกรมพระยาดำรง เสนาบดีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปเยี่ยมดูราชการทั่วไปของอินโดจีน นาย Beau จึงได้ส่งหนังสือเชิญไปยังเจ้าชาย ผู้ซึ่งเร็วๆนี้ก็จะเสด็จมายังกรุงฮานอยแล้ว จึงเป็นการแสดงให้ประจักษ์ ถึงการสิ้นสุดระยะเวลาอันยาวนานของความโกรธเกลียด และการหวาดระแวงเป็นปรปักษ์ กันอย่างฉันท์มิตร

เพื่อผลประโยขน์แห่งอาณาจักรอินโดจีนของเรา เราควรจะต้อนรับการเปลี่ยนแปลงในนโยบายนี้  อินโดจีนของเรา ในวันนี้ที่ที่ดินของ Kratt ซึ่งอยู่ชายแดนจีน ได้กำหนดเส้นเขตแดนกันแล้วเสร้จ และผู้คนก็สงบสุขดีแล้ว การจัดองค์กรของเขาก็แล้วเสร็จสมบูรณ์ อะไรที่เขาต้องการตอนนี้และเป็นสิ่งจำเป็นด้วย ก็คือสันติภาพ  เพื่อให้การสร้างคลอง ถนน และทางรถไฟ แล้วเสร็จเปิดการใช้งานได้ในดินแดนภาคเกษตรกรรมอันอุดมสมบูรณ์ และหวังว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมต่อไปด้วยในเร็ววันนี้   
และสุดท้ายที่เป็นความสัตย์จริงก็คือ การเสริมสร้างปราการป้องกันตนเองจากการโจมตีที่ยังคงเกิดขึ้น ชัยชนะสมบูรณ์แล้วและการพัฒนาก็เริ่มต้น การดำเนินงานของโครงการใหม่ที่ท้าทายนี้ เราได้มิตรภาพอันดีของสยาม ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยสัมพันธภาพครั้งนี้ เราจะเปิดโอกาสให้เขาได้ศึกษาอารยธรรมที่ดีกว่าของเราอย่างสิ้นความอยาก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 20:39

รูปถ่ายประกอบบทความนี้บอกเราเกี่ยวกับสยามได้ถูกต้องขึ้น จากเดิมที่เราเคยได้แต่แค่คาดเดาเท่านั้น.

Descendant, sur le front des troupes, d'un magnifique landau aux grandes glaces, la reine Sowaya Pongsi met pied à terre dans un costume inattendu et qui paraît des plus seyants.

ที่จอดอยู่หน้ากองทหาร  เป็นรถทารก( pram )อันสวยงาม สำหรับพระราชินีเสาวภาผ่องศรีองค์ใหญ่ ผู้เยือกเย็น ขณะปรากฏกายก้าวลงจากรถในชุดหรู ที่ดูดีอย่างคาดไม่ถึง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 20:40

Défilé des princesses de la famille royale. Parade 
กระบวนเสด็จของเจ้าหญิงในพระราชวงศ์

ที่เห็นเป็นขบวนในลานพระราชวัง คือพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดินที่ดูมีความกระฉับกระเฉง ในชุดแต่งกาย เสื้อสีขาว กางเกงสีดำ รองเท้ามีสายรัดเช่นเดียวกัน เราชื่นชมเรือนร่างของพวกเธอที่ดูปราดเปรียวและสมส่วนดี นึกถึงคำพูดของนายโมว์หุตนักเดินทางผจญภัยเก๋ากึ๊กที่ว่า ด้วยผิวเป็นสีโอลีฟ กระดูกแก้มที่โดดเด่น นัยน์ตาสีดำรูปอัลมอนด์และเฉียงขึ้นเล็กน้อย หญิงสาวเหล่านี้ไม่มีอะไรที่ต้องอิจฉา "กับรูปแกะสลักปฏิมากรรมแบบประจำชาติของพวกเรา” แม้น้อย 


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 20:42

S. M. le roi Chulalongkorn et son état-major
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าและข้าราชสำนักของพระองค์

วันที่ถ่ายภาพเหล่านี้ พระราชินี พระราชวงศ์ทั้งหญิงและชาย ตลอดจนข้าราชสำนัก ได้ไปร่วมในพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของสยาม

สยามนับถือศาสนาพุทธแต่โบราณกาล  และมีศรัทธาสูงส่งมาก  ความเคร่งครัดศาสนาของพวกเขาที่พิสูจน์ได้ชัดเจนมากที่สุดก็คือ จำนวนของพระสงฆ์ที่มีมากมายมหาศาลซึ่งพวกเขาช่วยกันอุปถัมภ์ค้ำชู  ที่ยิ่งไปกว่า คือจำนวนเจดีย์และวัดวาอารามหลายหลากรูปแบบเหล่านั้น

คนรวย ไม่ได้วัดที่การบริจาคเงิน พวกเขาสร้างวัดเพื่อต้องการให้ตนเองรวยขึ้น และเพื่อใช้เป็นสถานที่ที่จะบรรจุเถ้าถ่านของพวกเขา คนจน อย่างน้อยก็จะบริจาคสำหรับการสร้างรูปพระพุทธเจ้า สุดท้าย ก้นบึ้งของความรู้สึกต่อศาสนาของประชาชน ก็คือการนับถือที่โอบอุ้มโดยพระเจ้าแผ่นดิน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 20:44

Les princes, frères du roi, photographiant le cortège.
พระอนุชาองค์หนึ่งของพระเจ้าแผ่นดิน กำลังถ่ายภาพขบวนแห่

แม้คำนำหน้านามดูจะเกินเลยความเป็นจริงไปดังที่ใช้อยู่  คำนี้วิเศษเทียบเท่ากับคำว่า(Phrah)ในภาษาโบราณของเขมร ซึ่งสามารถแปลความหมายว่า «saint, divin, dieu, sacré, auguste» (นักบุญ ศักดิ์สิทธิ์ พระ พระเจ้า) ซึ่งอันที่จริงคำนี้ใช้ได้กับ «au bouddha, aux dieux, au roi, aux princes, aux bonzes» (พระพุทธเจ้า พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน พระโอรส พระสงฆ์) และยังมีคำว่า le Brah Pad Samtac, หรือ“เท้าอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์” le Chao Jivit   หรือ“เจ้าของชีวิต”  le Chao Phen Ti  “เจ้าของแผ่นดิน”  le Brah Maha Krasat  “ ราชาผู้วิเศษและยิ่งใหญ่” เหล่านี้คือคำนำหน้าสำหรับบุรุษผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในประเทศ  แต่ภาพที่เรานำมาให้ชมนี้ เป็นงานพิธีที่จัดเรียบง่ายไม่ได้ทำเพื่อยกตน ดูเป็นงานธรรมดาๆไม่ได้โอ่อ่า แต่สมถะ อย่างที่พวกเราบางคนพูด เท่ากับงานระดับเจ้าหน้าที่บริหารอาณานิคมของเราเท่านั้น

หลังจากที่พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ได้รับการสรงน้ำ เสมือนสัญญลักษณ์ยิ่งใหญ่ในพิธีศีลจุ่ม ทำให้พระองค์ขึ้นดำรงตำแหน่งกษัตริย์  โดยทันทีนั้นพระองค์จะต้องเสด็จไปสักการะพระอัฐิของบรรพบุรุษในวัดซึ่งอยู่ใน Maha Prasat  “หอโถงอันยิ่งใหญ่” ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวัง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 20:45

S. M. le roi Chulalongkorn en palanquin.
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าในเสลี่ยง

ทุกๆปี ประมาณเวลาเดียวกัน ตุลาคม-พฤศจิกายน พระองค์จะเสด็จอย่างเป็นพิธีการไปยังวัดสำคัญๆในกรุงเทพ เพื่ออุทิศพระองค์ต่อพระพุทธเจ้า และถวาย"Phra Kabhin” พระกฐินแด่พระของพระองค์ด้วย ในการนี้พระอัฐิของบรรพบุรุษของพระองค์จะถูกนำมาตั้งไว้เบื้องหน้า ก่อนจะที่เสด็จมาถึงยังวัด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 20:50

LE DÉFILÉ SUR LE MENAM DES BARQUES ROYALES ET PRINCIÈRES.--La grande barque-pagode est celle qui précède toujours la barque royale; elle porte les cendres des ancêtres de la dynastie.
ขบวนแห่เรือของพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายในแม่น้ำ.
เรือลำใหญ่ที่มีเจดีย์เป็นลำหนึ่งที่มักนำหน้าเรือหลวง และอัญเชิญเถ้าถ่านของบรรพบุรุษของพระราชวงศ์


ที่แสดงในภาพชุดสุดท้ายคือการเสด็จบำเพ็ญพระกุศล พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จไปวัดใหญ่ๆทั้งหลายโดยรถยนต์ หรือโดยการเดินเท้า หรือที่บ่อยที่สุดคือทางเรือ Gervaise เขียนไว้ว่า กษัตริย์สยามจะเสด็จทางเรือ โดยประทับบนบัลลังก์คลุมด้วยผ้าทอมืออันสวยงาม ประดับด้วยอัญมณีมีค่าต่างๆ มหาดเล็กหกนายหมอบเฝ้าล้อมรอบอยู่ ฝีพายร้อยยี่สิบนายเรียกว่าพวก bras peints (แขนทาสี??) ตามขนบธรรมเนียมของพวกเขา และจะแล่นเรืออย่างเป็นจังหวะด้วยพายที่ชุบทอง โดยร้องเพลงเสียงทุ้มๆไปด้วยตามประเพณีโบราณ ที่ท้ายเรือ มีธงเล็กๆทำด้วยทองใบ แตกต่างจากเรือลำอื่น ของพระราชวงศ์ พวกนายท้ายจะโดนเฆี่ยนถ้าเขาปล่อยให้เรือลอยไปตามกระแสน้ำ และจะถูกตัดศีรษะถ้าหลักแจวหักและตัวเขาตกลงไปในน้ำ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 20:51

เรือใหญ่สองลำจะประกบพระของกษัตริย์เพื่อถวายพระเกียรติ เรืออื่นๆอีกจำนวนมาก จะนำหรือตามเรือของพระองค์

ท่านผู้อ่านสามารถตรวจสอบความถูกต้องของบทบรรยายนี้จากรูปของเรา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 20:53

ท่านผู้อ่านที่เป็นคนฝรั่งเศสสมัยโน้นก็คงต้องเชื่อเนื้อหาของเรื่อง แต่ผมหวังว่าท่านผู้อ่านในยุคนี้จะไม่เป็นเช่นนั้นนะครับ แต่ก็ไม่แน่ คนไทยบางคนในทุกวันนี้ก็พร้อมที่จะเอาที่ฝรั่งมั่วไว้ หรือตั้งใจจะโกหก มาเผยแพร่เพื่อหวังผลทางการเมือง ผมก็ได้แต่ภาวนาว่าข้อเขียนที่ผมแปลมานี้จะไม่ถูกนำไปบิดเบือนต่อนะครับ
 
ต่อไป ผมจะตั้งคำถามทิ้งเอาไว้เป็นเชื้อ


งานเสด็จพระราชดำเนินที่อยู่ในภาพ เป็นงานอะไร

ในภาพต่างๆนั้น ใครเป็นใคร พระองค์ใด
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 20:57

Les princes, frères du roi, photographiant le cortège.
พระอนุชาองค์หนึ่งของพระเจ้าแผ่นดิน กำลังถ่ายภาพขบวนแห่


ผมว่าคลับคล้ายคลับคลากับกรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจกระมั้งครับ
ไม่เช่นนั้นก็กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

...แต่ได้ยินมาว่ากรมหลวงสรรพศาสตร์ทรงเล่นกล้อง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 20:59

ท่านเอ่ยถึง ก็ต้องเข้ามาช่วยแจ้งไขให้กระจ่าง

ในความเห็นที่ ๖ เจ้านายทรงใช้กล้องถ่ายภาพ ผมขอยืนยันถึงสถานที่ในภาพ คือ วัดบวรนิเวศ ครับ ซึ่งเจ้านายที่ยืนอยู่กำลังยืนอยู่ตรงกำแพงพระนครหน้าวัดบวร และประตูเมืองพระนคร ซึ่งปัจจุบันยังคงอนุรักษ์ไว้


บันทึกการเข้า
Karine!!
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130

กำลังค้นหาทางสว่างของชีวิต


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 21:06

ตามอ่านค่ะ น่าสนใจมาก แต่ไม่สามารถจุดไฟใดๆได้ ได้แต่ตามอ่านต่อไป
บันทึกการเข้า

การศึกษาก้าวไกล ประเทศไทยรุ่งเรือง (แต่ตอนนี้ตูรุ่งริ่งชอบกล)
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 21:25

คุณหนุ่มครับ

พอขยายดู ภาพนี้มันหลอนๆชอบกลเหมือนภาพตัดแปะมาซ้อนกัน โปรดสังเกตุขอบเสื้อคนยืนหลัง  ตำแหน่งต่างๆผิดperspective
อีกอย่างหนึ่ง วัดบวรไม่น่าจะมีฉากหลังทึบเป็นป่าดิบขนาดมีต้นไม้สูงใหญ่อย่างนั้น

เอาเป็นว่า เจ้านายที่ทรงกล้อง คือพระองค์ใดดีกว่า
ที่ถามนี้ไม่ใช่ผมทราบแล้วนะครับ

อยากเดาว่า กรมพระกำแพงเพชรฯ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.086 วินาที กับ 19 คำสั่ง