คำถามข้อที่ ๓๖ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ชุด พิเภษณ์ถูกขับ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๖
มีรายละเอียดแตกต่างจากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒
ในเนื้อเรื่องตอนเดียวกัน อย่างไร จงอธิบายและเปรียบเทียบ ข้อนี้ ๑๐ คะแนน
พิเภษณ์ อุปราชลงกาได้ยืนยันขอให้ส่งนางสีดา และในวันรุ่งขึ้นได้ยืนยันในที่อสุรสภาให้ส่งนางคืนอีกครั้งหนึ่ง
ทศกัณฐ์กริ้ว เตะน้องชายตกเตียง พิเภษณ์เงื้อตะบอง แต่นึกได้ว่าเป็นพี่และราชา จึงงดตะบองลง
และชี้หน้าว่า ขืนดื้อไปจะถึงตาย
พิเภษณ์ไม่ขี้ขลาดเพราะเป็นชาติพรหมณ์พงศ์เหมือนกัน
ได้ออกจากท้องพระโรงพร้อมเสนา ๔ ตน ชื่อ
อนิล
อนล
สัมปาติ และ ประมติ ตอนนี้เป็นตอนที่แตกต่าง
แล้วเหาะข้ามสมุทรไป
ในเรื่องไม่มีไปลาลูกเมีย เมียชื่อสรมา
ของเราเรียกตรีชดา
ธิดาชื่อ นันทา ของเราเรียกเบญกาย
สุครีพเห็นพิเภษณ์พาไปเฝ้าพระราม พิเภกถูกขับ จากเมือง
ถวายตัวกับพระราม ทูลสาเหตุที่ถูกขับ ถือน้ำ
พิเภกกลัวพี่ชายมาก ทศกัณฐ์ไล่และริบสมบัติ ไปลาเมียและลูก
เปาวนาสูรตรวจสมบัติแล้วไล่ให้ออกจาดเมืองไปก่อนมืด
พิเภกเดินไป ชาวเมืองสงสารและร้องไห้
พิเภกเหาะข้ามมหาสมุทรไปเขาคันธกาลา
ทหารลิงจับไว้ พาตัวมาถามหน้าพระที่นั่ง
ทุกคนเห็นด้วยว่าให้รับไว้
ให้ถือน้ำที่ชุบศรพรหมมาสตร์
ทุกคนไม่เห็นด้วยที่จะรับไว้
หนุมานเห็นว่าควรรับไว้ และพระรามเห็นชอบด้วย
จึงเสด็จไปรับถึงริมฝั่งสมุทร
คำตอบ
บทละครรามเกียรติ์ ในรัชกาลที่ 1 และที่ 2
มีเนื้อความว่า ทศกัณฐ์เกิดฝันจึงให้พิเภกทำนายฝัน
พิเภกก็จับยามสามตาแล้วทำนายว่ากรุงลงกาจะเกิดเคราะห์จากพระราม ทศกัณฐ์ต้องคืนนางสีดาไป เพื่อหายเคราะห์กรรม
ทศกัณฐ์โกรธเลยขับพิเภกออกจากเมือง
ส่วนบทละครดึกดำบรรพ์เรื่องรามเกียรติ์ ตอนพิเภษณ์ถูกขับ พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6
มีเรื่องราวว่า ทศกรรฐ์ กุมภกรรณ พิเภษณ์ อินทรชิต และเหล่าเสนายักษ์ ประชุมสภาเสนามารกัน
เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการป้องกันกรุงลงกาจากกองทัพพระราม
เนื้อเรื่องให้เป็นการโต้ตอบ การแสดงความคิดเห็นระหว่างทศกรรฐ์ กุมภกรรณ อินทรชิต เหล่าเสนายักษ์
แต่พิเภษณ์บอกว่าให้ทศกรรฐ์คืนนางสีดาให้พระราม ทศกรรฐ์โกรธจึงไล่พิเภษณ์ออกจากเมืองลงกา
ความแตกต่างคือ บทละครรามเกียรติ์เรื่องแรก เป็นการโต้ตอบของทศกัณฐ์และพิเภก เพียงสองตน
ส่วนเรื่องที่สอง เป็นการโต้ตอบของสภาเสนามาร อันมีพญายักษ์หลายๆ ตนร่วมแสดงความคิดเห็นกัน
หนูดีดีขอตอบค่ะ

พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ตอนพิเภษณ์ถูกขับ เป็นตอนที่ทศกัณฑ์ฝัน แล้วให้พิเภกษ์ทำนายฝัน
พิเภกษ์ทำนายว่าทศกัณฑ์จะรบกับพระราม กรุงลงกาจะเดือนร้อนลุกเป็นไฟ เห็นควรส่งสีดาคืนให้พระราม
ทศกัณฑ์โกรธมากจึงขับไล่พิเภกษ์ออกจากลงกา(สมบูรณาญาสิทธิราช อำนาจอยู่ที่กษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว)
ส่วนของรัชกาลที่ 6 ทรงมีกุศโลบายสอดแทรกประชาธิปไตยลงในบทพระราชนิพนธ์
จึงทรงเปลี่ยนเนื้อเรื่องให้เป็นการโต้ตอบ การแสดงความคิดเห็นระหว่างทศกัณฑ์ กุมภกรรณ อินทรชิต เหล่าเสนายักษ์
ซึ่งรัชกาลที่ 6 ทรงใช้คำว่า “ประชุม” และทรงเรียกองค์ประชุมว่า “สภาเสนามาร”
การประชุมสิ้นสุดลง พิเภษณ์ถูกขับออกจากเมืองลงกา โดยความเห็นชอบของผู้เข้าประชุม (ประชาธิปไตย เสียงข้างมาก)
และโดยอำนาจของทศกัณฑ์ ผู้เป็นประธานการประชุม
การที่รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์เนื้อเรื่องตอนพิเภษณ์ถูกขับให้เป็นไปในรูปแบบการประชุม
ด้วยพระราชประสงค์เพื่อปลูกฝัง สอนการปกครองแบบประชาธิปไตย
ซึ่งในสมัยนั้นเริ่มมีการตื่นตัวในหมู่คนไทยบางส่วน เนื่องด้วยมีบุคคลชั้นสูง เจ้านาย เชื้อพระวงศ์ ส่วนหนึ่ง
ไปศึกษาวิทยาการจากโลกตะวันตก และกลับมามีบทบาทอยู่ในวงสังคม
ดังนั้นจึงนับเป็นพระราโชบายที่ชาญฉลาดอย่างยิ่งที่ทรงนำวรรณคดีและการแสดงละครมาเป็นสื่อกระจายแนวคิดสมัยใหม่
ซึ่งย่อมแพร่หลายในหมู่คนไทยโดยง่าย
ก่อนตรวจ ขออธิบายดังนี้
รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์ บทละครเรื่องรามเกียรติ์
ตอน พิเภษณ์ถูกขับ ให้แตกต่างจากบทละครรามเกียรติ์
ฉบับพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒
โดยในชั้นแรก ยังทรงใช้ชื่อ "พิเภก" เหมือนในรามเกียรติ์รัชกาลที่ ๑และ ๒
แต่ต่อมาทรงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ พิเภษณ์ ตามข้างรามายณะ
นอกจากนี้ยังทรงปรับบทบาทของพิเภษณ์ให้เป็นอย่างมนุษย์มากขึ้น
มีการแทรกบทปรึกษาราชการในสภาเสนามารอย่างการประชุมรัฐสภา
อันทำให้คิดได้ว่า น่าจะเป็นเค้าพระราชดำริเรื่องประชาธิปไตยของรัชกาลที่ ๖ ด้วย
ในรามเกียรติ์ ร.๑ พิเภกทำนายฝันทศกัณฐ์และทูลทศกัณฐ์ให้ส่ง
นางสีดาคืนแก่พระราม หากไม่ต้องการใหคำทำนายในฝันเป็นจริง
ทศกัณฐ์โกรธมาก คว้าพระขรรค์ไล่ฟัน และรับสั่งให้ขับพิเภกออกจากลงกา
พิเภกจึงต้องออกจากเมืองลงกาไป
รามเกียรติ์ ร. ๒ พิเภกทำนายฝันทศกัณฐ์และทูลทศกัณฐ์ให้ส่ง
นางสีดาคืนแก่พระราม ทศกัณฐ์โกรธมาก จึงรับสั่งให้ส่งพิเภก
ลงเรือไปขึ้นฝั่งคงคา ให้ไปเป็นพวกเดียวกับพระราม
ส่วนรามเกียรติ์ของรัชกาลที่ ๖ พิเภกทูลเสนอทศกัณฐ์เองในสภาเสนามาร
ว่าควรส่งสีดาคืนพระรามไป ทศกัณฐ์โกรธ และเตะพิเภษณ์ออกจากสภา
พิเภษณ์เห็นว่าตนจะอยู่ในลงกาต่อไปไม่ได้ จึงหนีไปอยู่กับพระราม
ข้อนี้ คุณวันดี ได้ ๕ คะแนน (ไม่ได้เปรียบเทียบให้เห็นรายละเอียดเนื้อเรื่องที่ต่างกัน)
คุณอาร์ท ได้ ๘ คะแนน (เก็บรายละเอียดไม่หมด)
คุณดีดี ได้ ๘ คะแนน (เก็บรายละเอียดไม่หมด)