เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 30935 ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 14 ม.ค. 15, 09:03

อักษรลาวผ่านการเปลี่ยนแปลงมาหลายยุค แต่เดิมนั้นก็มีจำนวนอักษรพอ ๆ กับอักษรไทย แต่ต่อมามีการตัดอักษรออกเสียหลายตัวเหมือนของไทยในสมัยคุณแปลก (ป. พิบูลสงคราม) นั่นเอง  ยิงฟันยิ้ม

อักษรลาวตามแบบฉบับพุทธบัณฑิตสภา อักษรลาวยุคพระราชอาณาจักรลาว (ใช้ในยุคสมัยลาวตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ใช้ถึง พ.ศ. ๒๔๙๑) เอามาตั้งซื่อใหม่ให้เข้ากับยุคสมัย อย่าง ท.เทียน เอามาเปลี่ยนเป็น ท.โทรศัพท์ อักษรยุคนี้มีความงามตามแบบอักษรลาวยุคเก่า เสียดายที่สมัยปัจจุบันนี้บ่ได้ใซ้แล้ว

(โปรดสังเกตว่า อักขรวีธีของอักษรลาวแบบนี้สะกดตามเค้าเดิมของภาษาอย่างเคร่งครัด มีการใช้ตัวสะกดตัวการันต์ เพื่อให้รู้ต้นเค้าของคำว่าเป็นคำภาษาลาวเดิมหรือคำภาษาต่างประเทศ เช่น ศิลป์ ศึกษา ยนต์ บัณฑิต ธัมมะนูณ โทระสัพท์)

คำบรรยายและภาพนำมาจาก เฟซบุ๊ก  เว้า อ่าน เขียนภาษาลาว สืบสานวัฒนธรรมลาวสองฝั่งโขง  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 14 ม.ค. 15, 09:43

กลักไม้ขีดไฟในยุคนั้น  ยิงฟันยิ้ม

บอริสัดโฮงเฮ็ดไม้ขีดไฟแสงสิดพานิชจำกัด เวียงจันทน์ ประเทสลาว


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 14 ม.ค. 15, 09:55

โฮงงานไม้ขีดไฟแสงสิดจำกัด

ลาวเฮ็ด  ลาวใช้


ขอให้สังเกตในทั้ง ๒ ภาพ คำว่า โฮง และ เฮ็ด (ออกเสียง ฮ นกฮูก ไทย) ในสมัยนั้น ใช้อักษร ร รถ (ระคัง) ไม่ใช่ ฮ เฮือใบ (เฮือน)

ภาพจาก เว็บโค้กไทย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 15 ม.ค. 15, 11:48

อักษรลาวตามแบบฉบับพุทธบัณฑิตสภา อักษรลาวยุคพระราชอาณาจักรลาว (ใช้ในยุคสมัยลาวตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ใช้ถึง พ.ศ. ๒๔๙๑)

หลัง พ.ศ. ๒๔๙๑ อักษรลาวได้เปลี่ยนไปเป็นแบบของท่านสมจีน ป. งิน สะกดตามแบบที่ได้กำหนดในพระราชโองการ (พระราชบัญญัติ) เลขที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๔๙๑ ในรัชสมัยของพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ซึ่งได้บัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดหลักการเขียนภาษาลาวให้มีความแน่นอนและชัดเจนยิ่งขึ้น อักขรวิธีของระบบนี้ คือ สะกดคำตามเสียงอ่านแต่ยังคงรักษาเค้าเดิมของภาษาไว้ การสะกดการันต์ยังคงมีการใช้ แต่ได้เลิกใช้อักษรบางตัวลงจากแบบแรกเพื่อให้เขียนง่ายขึ้น อักษรลาวรูปแบบนี้ใช้อยู่ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๕๑๘ คือ นับตั้งแต่ประเทศลาวได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปัจจุบันยังมีคงการใช้อยู่ในกลุ่มคนลาวอพยพในต่างประเทศ

ที่มา คุณวิกกี้  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 15 ม.ค. 15, 13:19

มีตัวอย่างของอักขรวิธียุคนี้  ในหนังสือเล่มนี้

พระราชปวัด
พระบาดสมเด็ดพระเจ้าสีสว่างวงส์
พระมะหากะสัด แห่ง พระราชอานาจักลาว
พิมน้อมเก้าถวายเพื่อพระราชทานแจก ในพระราชพิทีถวายพระเพิง
พระบรมสบ วันที่ ๒๙ เมสา ค.ส. ๑๙๖๑


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 15 ม.ค. 15, 13:27

พระราชปวัด
พระบาทสมเด็ดพระเจ้ามะหาชีวิดสีสว่างวงส์
พระมะหากะสัด แห่งพระราชอานาจักลาว
(ในพระราชวงส์ล้านช้าง หลวงพระบาง)
___________๐๐๐๐๐๐__________

คำนำ

ย้อนเหดที่ปะเทดลาวนับแต่ปางโบรานะกาลมา ได้มีการเสิกเหนือเสือใต้รบราข้าฟันบ่หยุดบ่หย่อน บ้านเมืองเคหา อาคาน ถืกจูดเผาทำลายเสียหายจนยับเยิน ฮอดได้ตกเป็นเมืองขึ้นของต่างปะเทดมาแล้วหลายเทื่อหลายหน บางสไม ก่อกอบกู้เอาเอกราชคืนมาได้ก่อหลายเทื่อหลายหนดั่งเดียวกัน,  นับว่าพระราชอานาจักลาวของเฮา ได้ปะสบโชกชาตากันทังฝ่ายฮ้ายและฝ่ายดีตลอดมาจนเท้าฮอดกาละปัดจุบันนี้.

กันตกมาในสไมรัชกาลของพระบาดสมเด็ดพระเจ้ามะหาชีวิดสีสว่างวงส์นี้ ตอนต้น ๆ รัชกาล บ้านเมืองเฮากอยังตกอยู่ในพาวะเป็นเมืองขึ้นของต่างปะเทดอยู่ ย้อนเหดดั่งก่าวนั้น บันดาพระราชปวัดอันควนบันทึกไว้เป็นหลักถานและเป็นปวัดสาตของชาดอันถาวอน เป็นสำคันคู่บ้านคู่เมือง จึงถืกทำลายและสูนหายไปพ้อม ๆ กับบ้านเมืองคาวถืกพินาดหล้มจมไปอย่างหน้าเสียดายยิ่ง แม้แต่บันทึกและรูบเกี่ยวกับพระราดจะริยานุวัด พระราชปวัดของพระบาดสมเด็ดพระเจ้ามะหาชีวิดสีสว่างวงส์ซึ่งเป็นปะมุก เป็นพระมหาชีวิดของปะชานิกอนลาวทังชาด ปางเมื่อยังซงพระเยาก่อนสเด็ดสเหวยราชสมบัด ก่อบ่มีเหลือพอจะยึดเอามาเป็นหลักในกาบรวบรวมให้ติดต่อกัน เพื่อให้กุละบุด กุละทิดาที่เกิดใหม่ใหย่ลุนสึกสาหารู้ได้. สนั้นการรวบรวมพระราชปวัด และพระราชจะริยานุวัดของพระอง จึงได้อาไสเก็บและห้อนโฮมเอามาจากที่ต่าง ๆ สุดแท้จะซอกหามาได้พอเป็นหลักถาน เอามาตาบติดตาบต่อกันบ่อนละเล็กทีละน้อย บ่ละเอียดและบ่เป็นลำดับต่อเนื่องกัน จึบ่ต้องสงไสว่าพระราชปวัดและพระราชจะริยานุวัดนี้จะบ่มีการขาดตกบกพ่องอย่างมากมายหลายประกาน จึงขออะไพยในโอกาดนี้ด้วย.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 15 ม.ค. 15, 14:12

มีตอนที่กล่าวถึงคราวที่ขบวนการประเทดลาวเอาท่านไปเข้าค่ายสัมนาลัทธิคอมมิวนิสต์จนเสด็จสวรรคตไหมครับ ลาวเขาสอนประวัติศาสตร์ตอนนี้ให้คนรุ่นใหม่อย่างไร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 15 ม.ค. 15, 14:32

หนังสือเล่มนี้พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ หลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์สวรรคต ๒ ปีและก่อนเปลี่ยนการปกครองเป็นระบบสาธารณรัฐในระบอบใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นเวลา ๑๔ ปี

พระมหากษัตริย์ลาวที่ถูกส่งตัวไปที่ค่ายสัมมนาเมืองเวียงชัยจนสวรรคตคือพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของลาว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 15 ม.ค. 15, 15:00

ตอนจบของคำนำ

ท่านผู้ซงความรู้ทังหลาย จะแม่นด้วยหลักจากตำรา หลือฮู้โดยมีส่วนได้ฮู้เห็น ด้วยการได้เข้าเฝ้าทูนละออง หลือได้ใก้ชิดติดต่อกับพระองท่านด้วยตัวเอง ขอได้โผดกรุนาให้ข้อคิด ให้คำทักท้วง ให้คำตักเตือนด้วยเถิ้น เพื่อจะได้หาโอกาดเรียบเรียงและฮบโฮมใหม่ให้ถืกต้อง เมื่อมีโอกาดจะได้จัดพิมเผยแพร่ให้ประชาชนได้สึกสาหาความฮู้อันถืกต้อง เป็นปะโหยดแก่การสึกสาปวัดของชาดสืบต่อไป.

รูบต่าง ๆ ในปิ้มนี้ ได้มาจากที่ต่าง ๆ กัน ลางรูบเก่าและมัวหลาย จึงบ่แจ่มแจ้งดี หวังจะได้รับอะไพยจากท่านผู้อ่าน.

เวียงจัน วันที่ ๒๓ เดือนอาวริน  ๑๙๖๑
รัถมนตรีกระซวงถแลงข่าวและโคสนากาน

บัววัน  นอระสิง

หมายเหตุ เดือนอาวริน มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Avril คือเดือนเมษายน

รายละเอียดของหนังสือเล่มนี้อ่านได้ที่ พันทิป


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 15 ม.ค. 15, 18:18

พระมหากษัตริย์ลาวที่ถูกส่งตัวไปที่ค่ายสัมมนาเมืองเวียงชัยจนสวรรคตคือพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของลาว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ทรงฉายพระรูปคู่กับพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าสว่างวัฒนา เมื่อยังทรงพระเยาว์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 17 ม.ค. 15, 07:05

เพลินเพลงยามเช้ากับเพลงจำปาเมืองลาวหรืออีกชื่อหนึ่งคือดวงจำปา

http://youtube.com/watch?v=geV-Tj5I6x0#ws

อธิบายศัพท์

พันซ่อง หรือ พันส่อง หรือ พลันส่อง ใกล้เคียงกับสำนวนไทยว่า หวนคิดถึง กระหวัดถึง

ง่วมเหงา หรือ ง่อมเหงา สำนวนนี้ในบ้านเรายังใช้กันอยู่ในภาษาถิ่นคำเมืองเหนือ แถบเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงราย พะเยา ฯลฯ ความหมายใกล้เคียงกับคำว่า หงอยเหงา

แพง หมายถึง สงวน ถนอม มีราคา

เพิ่งใจ หมายถึง ภูมิใจ

เพลงนี้ ประพันธ์เนื้อร้อง โดยมะหาพูมิ จิดพง และทำนองโดยอุตมะ จุลามณี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลาว โดยใช้เมโลดี้จากทำนองขับทุ้มแบบหลวงพระบาง มาเป็นแนวทำนองหลักของเพลง ประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ เมื่อครั้งที่ท่านเข้าร่วมการต่อสู้เรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส

เนื้อหาของเพลงพูดถึงการพลัดบ้านพลัดถิ่น (เพื่อต่อสู้กับฝรั่งเศส) ถ้อยคำที่ใช้ซื่อใส เรียบง่ายแต่มีเสน่ห์อย่างร้ายกาจ เหมือนเพลงลาวอีกหลายสิบเพลง เป็นที่น่าสังเกตว่า เพลงนี้ใช้ “ดวงจำปา” หรือดอกลั่นทม มาเป็นสัญลักษณ์ของถิ่นฐานบ้านเกิด หรือมาตุภูมิ ทั้งที่ในยุคที่ประพันธ์เพลง ทางการประเทศลาวยังไม่ได้ยกฐานะของดวงจำปาให้เป็นดอกไม้ประจำชาติของลาวด้วยซ้ำ แต่ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ดวงจำปา หรือดอกลั่นทม เป็นดอกไม้ยอดฮิตที่จะพบเห็นได้ทั่วไป ตั้งแต่เหนือสุดที่พงสาลีจรดใต้สุดที่จำปาศักดิ์ ปากเซ ทำให้ภายหลังเมื่อประเทศลาว ได้ชัยชนะในสงครามเหนือสหรัฐอเมริกา สถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวขึ้น จึงได้ยกฐานะให้ “ดวงจำปา” เป็นดอกไม้ประจำชาติอย่างเป็นทางการ เชื่อว่าผู้นำประเทศคงได้รับอิทธิพลจากบทเพลงนี้ไม่น้อย

ที่มา บล็อกของลุงแว่น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 17 ม.ค. 15, 07:49

ສອງຝັ່ງຂອງ : สองฝั่งโขง

ผู้ประพันธ์  จำปา ลัดตะนะสะหวัน หรือ สุลิวัด

http://youtube.com/watch?v=zZfKNqsyuFA#ws

สายนทีรินหลั่งจากฟ้า
แบ่งพสุธาเป็นซ้ายและขวาสองฝั่ง
หากน้ำกั้นกลางนั้นบ่สำคัญ
แต่ความสัมพันธ์
ของเรามั่นคงเรื่อยไป

ถึงไกลกันคนละฝั่งของ
ต่างหมายปรองดอง
มุ่งหวังทั้งสองจนได้
ด้วยความใฝ่ฝันมั่นสุดหัวใจ
ปักฝังทรวงในเหมือนใจเดียวกัน

ทั้งสองฝั่งกั้นกลางด้วยสายนที
แต่ประเพณีนั้นบ่ต่างกัน
ชาติลาวและไทยก่อนนั้นเคยได้สัมพันธ์
ร่วมสายโลหิตเดียวกัน
เพียงน้ำเท่านั้นมากั้นแบ่งกลาง

ขอฟ้าดินจงเป็นสักขี
โปรดคิดปรานี
จงอย่าได้มีวันห่าง
อย่าให้สัมพันธ์นั้นต้องจืดจาง
ฝากฝังชีวีเหนือนทีสองฝั่งเอย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 21 ม.ค. 15, 14:29

คงจะต้องยุติความน่ารักของภาษาลาวไว้เพียงเท่านี้ แต่หากท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเล่าสู่กันฟังต่อได้เลย

คุณฝน ธนสุนทร บอกไว้ในคลิปว่าภาษาลาวน่ารัก คุณฝนเองก็น่ารักที่พยายามอ่านภาษาลาว



ช่วยคุณฝนอ่านภาษาลาวกันหน่อยเด้อ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 04 ก.พ. 15, 13:40

ข่าวเหลือเชื่อเมืองลาว

http://youtube.com/watch?v=pgLD6CpWlxk#ws

นาที่ที่ ๑.๒๕ มีการใช้สำนวนไทยสมัยใหม่ "บ่เซื่อก้อบ่ควนลบหลู่" ด้วยเด้อ

เซื่อบ่  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 07 ก.พ. 20, 11:54

การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (ພະຍາດປອດອັກເສບຈາກເຊື້ອຈຸລະໂລກສາຍພັນໃໝ່) ในลาว



ภาพจาก https://www.facebook.com/816243455135583/posts/2794693327290576/



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.175 วินาที กับ 20 คำสั่ง