เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 30936 ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 11 ม.ค. 15, 10:39

คงมีคำถามต่อมาว่า "แล้ว พยาธิ ในความหมายของไทย ในภาษาลาวเขาใช้ว่าอย่างไร"

คำตอบอยู่ในภาพนี้

พะยาดแม่กาฝากที่ติดมาจากดิน คือ โรคพยาธิที่ติดมาจากดิน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 11 ม.ค. 15, 10:46

อีกภาพหนึ่ง มีข้อมูลเพิ่มเติม

บันดาพะยาดแม่กาฝากที่ติดมาจากดิน แม่ท้องโตกม แม่ท้องปากขอ แม่ท้องแส้ม้า  คือ บรรดาโรคพยาธิที่ติดมาจากดิน พยาธิตัวกลม พยาธิปากขอ พยาธิแส้ม้า

ดังนั้นคำที่หมายถึง พยาธิ ในภาษาลาว จึงมีอยู่ ๒ คำคือ แม่กาฝาก และ แม่ท้อง นั่นเอง ซึ่งเป็นคำบรรยายให้เห็นภาพดีกว่าคำว่า พยาธิ ในภาษาไทยเสียอีก  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 11 ม.ค. 15, 10:48

แผ่นภาพแนะนำการป้องกันโรคพยาธิ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 11 ม.ค. 15, 12:56

 ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 11 ม.ค. 15, 13:16

ຂອບໃຈຫລາຍໆ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 11 ม.ค. 15, 13:45

ในภาษาไทยมีคำแสดงความรู้สึกต่อสิ่งทีผู้อื่นทำให้อยู่หลายคำ ใช้กับหลายระดับ

ท่านรอยอินอธิบายไว้ดังนี้

ขอบใจ  คํากล่าวแสดงความรู้สึกพอใจในความดีที่ผู้อื่นได้มีต่อตน (เป็นคําที่ผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อย).

ขอบคุณ, ขอบพระคุณ  คํากล่าวแสดงความรู้สึกบุญคุณ (เป็นคําที่ใช้แก่บุคคลที่เสมอกันหรือผู้น้อยใช้แก่ผู้ใหญ่).


แต่ในภาษาลาวมีอยู่คำเดียวคือ ขอบใจ มีความหมายเท่ากับ ๓ คำข้างบน และใช้ได้กับทุก ๆ คน ทุก ๆ ระดับ  ยิงฟันยิ้ม

ตัวอย่าง

ขอบใจที่ท่านบ่สูบยา THANK YOU FOR NOT SMOKING


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 12 ม.ค. 15, 10:40

มีศัพท์ภาษาไทย-ลาว ที่น่าสนใจในหนังสือ ไขประตูสู่ลาว ฉบับ ๖๐ ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว พ.ศ. ๒๕๕๓ ของสถานเอาอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์  


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 12 ม.ค. 15, 11:50

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 12 ม.ค. 15, 12:16

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 12 ม.ค. 15, 13:08

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 12 ม.ค. 15, 15:00

คำว่า "บุลิมะสิด" ที่แปลว่า สำคัญเป็นลำดับต้นๆ นี้ ยังปรากฎอยู่ในกฎหมายไทย คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 หนี้ ตั้งแต่มาตรา 251 ถึงมาตรา 289 ครับ โดยของเราสะกดว่า "บุริมสิทธิ" ครับ

สาระสำคัญก็คือ ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นหนี้กับเจ้าหนี้หลายคน จะมีเจ้าหนี้บางคนที่กฎหมายบัญญัติให้มีสิทธิดีกว่าเจ้าหนี้รายอื่นๆ คือมีสิทธิได้รับการชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นๆ ได้

สมัยเรียนไม่เคยสงสัยเลยว่า คำนี้รากศัพท์แปลว่าอะไร เพึ่งเข้าในว่า หมายถึง "สำคัญเป็นลำดับต้นๆ" นี่เอง  

อีกคำที่คุ้นๆ คือ คำว่า "ปี้" ที่แปลว่า บัตรโดยสาร หรือ ตั๋ว หนะครับ บ้านเราเคยใช้คำนี้กับการ "ผูกปี้" คือเงินภาษีพิเศษทางการเรียกเก็บแทนการเกณฑ์แรงงานจากชาวจีนอพยพที่เป็น ผู้ชาย ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 13 ม.ค. 15, 09:34

คำว่า "บุลิมะสิด" ที่แปลว่า สำคัญเป็นลำดับต้นๆ นี้ ยังปรากฎอยู่ในกฎหมายไทย คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 หนี้ ตั้งแต่มาตรา 251 ถึงมาตรา 289 ครับ โดยของเราสะกดว่า "บุริมสิทธิ" ครับ

สาระสำคัญก็คือ ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นหนี้กับเจ้าหนี้หลายคน จะมีเจ้าหนี้บางคนที่กฎหมายบัญญัติให้มีสิทธิดีกว่าเจ้าหนี้รายอื่นๆ คือมีสิทธิได้รับการชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นๆ ได้

สมัยเรียนไม่เคยสงสัยเลยว่า คำนี้รากศัพท์แปลว่าอะไร เพึ่งเข้าในว่า หมายถึง "สำคัญเป็นลำดับต้นๆ" นี่เอง  


บุริมสิทธิ  [บุริมมะสิด] = บุริม + สิทธิ

นี้คือคำอธิบายของท่านรอยอิน

บุริม- [บุริมมะ-, บุริม-] ว. ตะวันออก; ก่อน. (ป. ปุริม; ส. ปุรสฺ + อิม).   ตรงกันข้ามกับ  ปัจฉิม- [ปัดฉิมมะ-] ว. ตะวันตก; ภายหลัง, ทีหลัง, ข้างหลังสุด. (ป. ปจฺฉิม).
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 13 ม.ค. 15, 10:55

บุลิมะสิด ในความหมายว่า ความสำคัญลำดับต้น ๆ มีตัวอย่างอยู่ในข่าวชิ้นนี้

ไทว่า จะส้าง ทางลดไฟ ความไวสูง เชื่อมต่อกับลาว และจีน ในปี 2022

ลัดทะบานไทวางเป้าหมายที่จะเซื่อมต่อทางลดไฟความไวสูงกับลาวและจีนให้ได้ในปี 2022 หลือพายหลังที่ทางลดไฟความไวสูงในลาว ก่อส้างสำเล็ดแล้วได้สี่ปีเป็นอย่างหน้อย.

ท่านพันทะสัก วินยะลัก ปะทานคะนะที่ปีกสาของนายกลัดทะมนตีไท ได้เปิดเผยให้ฮู้ว่า แผนการก่อส้างทางลดไฟความไวสูง ที่เป็น โคงกานบูลิมะสิด ของลัดทะบานไทในไลยะ 6 ปีต่อหน้า หรือจนถึงปี 2018 นั้น มีอยู่ 4 เส้นทางด้วยกัน กอคือเส้นทางบางกอก-พัดทะนา, บางกอก-พิดสะนุโลก, บางกอก-หัวหิน และบางกอก-นะคอนราดซะสีมา หรือโคลาด ตามลำดับ.

อิงตามการเปิดเผยของท่านพันทะสักดั่งก่าวนี้ กอหมายความว่า ทางลดไฟความไวสูงในไทจะยังคงบ่อมีการก่อสร้างไปเถิงหนองคาย เพื่อเซื่อมต่อกับทางลดไฟความไวสูงของลาว ที่นะคอนเวียงจันพายในปี 2018 อย่างแน่นอน.


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 13 ม.ค. 15, 19:48

"นะคอนราดซะสีมา หรือโคลาด"

เวลาอ่านออกเสียง ลาวออกเสียง ร.เรือ ไหมคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 13 ม.ค. 15, 20:12

ท่านพันทะสัก วินยะลัก ปะทานคะนะที่ปีกสาของนายกลัดทะมนตีไท ได้เปิดเผยให้ฮู้ว่า แผนการก่อส้างทางลดไฟความไวสูง ที่เป็น โคงกานบูลิมะสิด ของลัดทะบานไทในไลยะ 6 ปีต่อหน้า หรือจนถึงปี 2018 นั้น มีอยู่ 4 เส้นทางด้วยกัน กอคือเส้นทางบางกอก-พัดทะนา, บางกอก-พิดสะนุโลก, บางกอก-หัวหิน และบางกอก-นะคอนราดซะสีมา หรือโคลาด ตามลำดับ.

ต้องขออภัยคุณแอนนาด้วย ถอดเป็นไทยผิดไปหลายแห่ง

พันทะสัก วินยะลัก  แก้เป็น   พันทะสัก วินยะรัด (พันศักดิ์ วิญญรัตน์)

นะคอนราดซะสีมา  แก้เป็น  นะคอนลาดซะสีมา

หรือ  แก้เป็น  หลือ

วินยะรัด ใช้อักษร ร ระคัง (ใช้เขียนเฉพาะคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ)  แต่ออกเสียงเหมือน ล ลิง ของไทย


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 20 คำสั่ง