นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 12 มี.ค. 01, 20:48
|
|
ลองมั่ง มามะมาเลยอย่าเฉยอยู่ คุณเทาฯ ครูรู้เชิงชั้นหมั่นฝึกฝน คิดสร้างสรรค์บันดาลใจได้ยินยล นำมาด้นอ่านกันมันส์คารม คุณแจ้งมาว่ากลอนสอนสัมผัส ถ้าใครถนัดก็ว่าเติมเพิ่มผสม ผสานคำฉ่ำใจในอารมณ์ ได้ชื่นชมสมใจในเชิงกลอน...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ก.แก้ว
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 13 มี.ค. 01, 22:48
|
|
ดีใจที่คุณ นกข. มาลองมั่ง ค่ะ ถูกของคุณภูมิที่ว่าคำสุดท้ายของวรรคที่ 3 เป็นเสียงตรีได้ค่ะ ที่ไม่นิยมคือเสียงเอกและเสียงโท สักวามาเลยอย่าเฉยแฉะ คุณเทาแนะเชิงชั้นหมั่นฝึกเขียน คิดสร้างสรรค์บันดาลใจได้พากเพียร นำมาเวียนอ่านกันมันส์คารม คุณแจ้งมาว่ากลอนสอนสัมผัส ถ้าใครถนัดก็เติมเพิ่มผสม ประสานคำฉ่ำใสในอารมณ์ ได้ชื่นชมสมใจมาไวเอย
ใครจะลองอีกมั่ง เชิญต่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิรันดร์
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 29 มี.ค. 01, 18:23
|
|
ของสมัครเป็นนักเรียนคุณ ก.แก้ว ด้วยคน กลอนของผมดูอึดอัดพิกล ถนัดแต่ฟิสิกส์ครับ
มามะมาเลยอย่าเฉย.แฉะ. คุณเทาฯ.แนะ.เชิงชั้นหมั่นฝึก.หัด. คิดสร้างสรรค์บันดาลใจได้.สารพัด. นำมา.คัด.อ่านกันมันส์คารม คุณแจ้งมาว่ากลอนสอนสัมผัส ถ้าใคร.สันทัด.ก็เติมเพิ่ม.ประสม. ประสานคำฉ่ำใสในอารมณ์ ได้.เพื่อนจม.สมใจมาไวเอย
พอจะไปได้บ้างไหมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 30 มี.ค. 01, 10:21
|
|
ดิฉันส่งเมล์ไปให้คุณ ก.แก้วเข้ามาตอบแล้วค่ะ ถ้าหากว่าเธอว่าง ก็จะมาอธิบายให้ฟังแน่นอน ตอนนี้ขอบอกเพียงว่า กลอนของคุณนิรันดร์ใช้คำตาย ในบาทที่ ๒ และ ๓ ซึ่งแต่งค่อนข้างยาก แต่ว่าสัมผัสและวรรณยุกต์ถูกต้องหมดค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ก.แก้ว
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 31 มี.ค. 01, 03:02
|
|
มาแล้วค่ะ เย้! ได้นักเรียนอีกคนแล้ว เป็นเชิงกลอนแบบนักฟิสิกส์น่ารักไปอีกแบบคือ แบบคนเก่งที่ชอบทำอะไรยาก ๆ คุณนิรันดร์ แต่งได้ถูกต้องตามสูตรเปี๊ยบแต่ใช้คำตายซึ่งเป็นคำที่หาคำสัมผัสได้ยาก แต่ก็สามารถหาคำที่มีความหมายเข้ากับเนื้อความเดิมได้อย่างกลมกลืน เพียงแต่เวลาอ่านเสียง เสียงของคำตายจะห้วน สั้น เอื้อนให้ไพเราะไม่ออกจึงรู้สึกเหมือนอึดอัด กลอนที่แต่งง่ายมักจะเป็นกลอนที่ลงด้วยเสียง อา อี อือ ออ อู ไอ เพราะหาเสียงสัมผัสง่ายค่ะ คุณนิรันดร์เลือกใช้คำได้ดี ในคำว่า สันทัด ให้ความหมายชัดเจน ใช้คำว่า ประสม ลงท้ายวรรคที่สองของบทที่สอง แล้วขึ้นต้นด้วยคำว่าประสาน ในต้นวรรคที่สาม ทำให้เกิดทั้งเสียงที่ไพเราะและได้ความหมายที่ดีอีกด้วย ส่วนวรรคสุดท้ายเติมว่า เพื่อนจม ซึ่งมีความหมายเข้าใจง่ายแต่เป็นภาษาพูดที่อ่านออกเสียงแล้วไม่ค่อยเพราะค่ะ ไปได้เชียวแหละค่ะ ลองออกแบบฝึกหัดให้เพื่อน ๆ บ้างซิคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิรันดร์
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 12 เม.ย. 01, 16:33
|
|
ขอโทษทีที่ให้คุณครูรอ ศิษย์จะขอบทใหม่ไปฝึกฝน ฝึกเชิงชั้นการกลอนผ่อนกมล ถึงปะปนเปะปะไม่ระใคร ฟิสิกส์ดีขึ้นได้ใช้ภาษา เจรจาทวนความถามไถ่ ถ้านั่งนิ่งกลัวครูรู้อะไร ภาษาไทยมีค่าน่าจรรโลง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|