เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 8721 วิธีแต่งร้อยกรองของไทย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 12 เม.ย. 01, 04:33

หลายคนในนี้ถ้านึกสนุก อยากจะแต่งสักวาอย่างในกระทู้ href='http://vcharkarn.com/snippets/board/show_message.php?dtn=dtn5&number=423'
target='_blank'>http://vcharkarn.com/snippets/board/show_message.php?dtn=dtn5&number=423
/>
ดิฉันขอนำแบบแผนการแต่งมาลงเป็นแนวทางค่ะ



กลอนสักวา  
แบบแผนเหมือนกลอนสุภาพ  ขึ้นต้นด้วย สักวา  และบทสุดท้าย จบด้วย เอย
/>


สักวา ๐๐    ๐๐ก.............๐๐ก  ๐๐ ๐๐ข

๐๐๐ ๐๐  
๐๐ข..............๐๐ข  ๐๐ ๐๐ค

๐๐๐ ๐๐    ๐๐ง..............๐๐ง   ๐๐
๐๐ค

๐๐๐  ๐๐   ๐๐ค..............๐๐ค   ๐๐ ๐๐เอย


/>
ที่เขียนเป็นตัวอักษร คือการสัมผัสคำค่ะ  อักษรเดียวกันคือคำที่สัมผัส
สระหรือเสียงเดียวกัน



คำในแต่ละบาท(หมายถึงวรรค) อาจเป็น ๘
หรือ ๙ ก็ได้

และการสัมผัส อาจสัมผัสคำที่ ๓ หรือ ๕ (หรือ๖)
ในบาทต่อไปก็ได้



ที่คนแต่งมือใหม่มองข้ามกันมาก
คือไม่มีสัมผัสระหว่างบท

ทั้งที่กลอนชนิดไหนก็ตาม ไม่ว่ากลอนเสภา
กลอนบทละคร กลอนสักวา ดอกสร้อย  ทุกชนิดจะต้องมีการสัมผัสระหว่างบท  
ตรงตัวอักษร " ค" น่ะค่ะ

ไม่ใช่ว่าจบบทแล้วขึ้นบทใหม่
ก็จะไปใช้คำใหม่ไม่สัมผัสกับบทเก่าอีก มันจะสะดุด
ไม่คล้องจองขาดความรื่นหูระหว่างบทต่อบทค่ะ


/>
สักวาที่นิยมกันมี ๒ บทจบ แต่เดี๋ยวนี้บางคนก็อาจจะยืดเป็น ๓ -๔ บทก็ได้  
เล่นกันสนุกๆ



ขออนุญาตคุณสร้อยจันทร์ แห่งถนนนักเขียน
ยกสักวาของคุณมาเป็นตัวอย่างนะคะ



สักวาบานบุรี
/>


สักวาบานบุรีเรืองเหลืองเด่น
/>
สายลมเย็นโบกผ่านสะท้าน ไหว
/>
ไม่รู้หรือลมล้อไม่จริงใจ

ดูซิไปไหวหวั่นพรั่น
ฤดี

ยามฤดูผ่านกาลมาถึงหนาว
/>
อกเจ้าร้าวแรงรอนอ่อนเหลือที่
/>
ดอกปลิวร่วงพริ้วหายสายนที
/>
บานบุรีเหลืองเด่นไม่เห็น เอย.



จากคุณ :
สร้อยจันทน์ - [1 พ.ย. 11:32:34]
บันทึกการเข้า
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 มี.ค. 01, 11:35

ขอบคุณคุณเทาชมพูครับ เพิ่งรู้ว่าสักวาเค้าแต่งกันแค่สองสามบท ผมแต่งไปเป็นสิบ

ขอเสริมของคุณเทาชมพูนิดนึง ถ้าจะให้กลอนที่แต่งออกมาไพเราะยิ่งขึ้น นอกจาก

จะมีสัมผัสนอกที่คุณเทาชมพูบอกแล้ว ควรจะมีสัมผัสในด้วยครับ สัมผัสในมีทั้งสัมผัส

พยัญชนะหรือสระในแต่ละบาท  เช่น



ถึงบางบอน ย้อนคิด ถึงเรื่องเก่า     (บอน สัมผัสกับ ย้อน)

โบราณเล่า ว่าบอน ซ่อนไม่ได้           (บอน สัมผัสกับซ่อน)

มันคันยิบ คันยับ จับหัวใจ               (คันยิบ คันยับ เป็นการเล่นคำ / ยับ สัมผัสกับจับ)

ถ้าพูดออก บอกได้ ก็หายคัน            (ออก สัมผัสกับบอก)



อีกอย่างหนึ่งที่คุณครูภาษาไทยสอนผมเมื่อสมัยมัธยมท่านแนะว่า หากจะให้

กลอนที่เราแต่งมีความไพเราะ (เมื่อนำไปร้องเป็นทำนองเสนาะ) คำสุดท้ายของบาทที่สอง

ควรจะผันด้วยเสียงจัตวา เพราะจะเข้ากับเสียงเอื้อนพอดี เช่น



อย่าเสียศีล กินสินบน ขนเงินหลวง

อย่าล่อล่วง โกงเงินราษฎร์ ขาดขยัน     (ขยัน เสียงจัตวา)

หนักก็เอา เบาก็ทำ ประจำวัน

ยุติธรรม์ ขันติเลิศ ประเสริฐแล





กลอน สองบทข้างต้น ผมลอกมาจากเว็บนี้ครับ



http://thaiarc.tu.ac.th/host/thaiarc/poetry/' target='_blank'>http://thaiarc.tu.ac.th/host/thaiarc/poetry/



มีรายละเอียดเกี่ยวกับการแต่ง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย อยู่เยอะทีเดียว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 มี.ค. 01, 12:03

ขอบคุณค่ะคุณแจ้งที่มาช่วยอธิบายเพิ่ม
เรื่องสัมผัสนอกสัมผัสใน และเสียงวรรณยุกต์ที่ลงในแต่ละบาท เป็นเรื่องซับซ้อนหนักขึ้นไปสำหรับมือสมัครเล่น
อย่าเพิ่งท้อนะคะ  พอแต่งชินแล้วจะง่ายมากค่ะ

การแข่งที่ยากยิ่งในประวัติสักวาไทย  เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๔
เป็นทีมของเจ้านาย   จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่าคุณพุ่ม บุษบาท่าเรือจ้าง ร่วมวงด้วย
แต่งกันทีมละ ๒ บาท(คือ  ๒ วรรค)  แล้วแกล้งให้ลงท้ายยากที่สุด เพื่ออีกฝ่ายจะได้ต่อกันเหงื่อแตกกว่าจะลงตัว
(ทีมแรก)
สักวาระเด่นมนตรี
จรลีเลยลงสรงในสระ
(ทีมที่สอง)
แกว่งพระหัตถ์ดัดพระองค์ทรงชำระ
แล้วเรียกพระอนุชามากระซิบ
(ทีมที่สาม)
โน่นกอบัวมีดอกเพิ่งออกฝัก
จงไปหักมาแต่ตัวฝักบัวดิบ
(ทีมที่สี่)
นั่นอะไรอยู่ไกลไปลิบลิบ
(ทีมที่ห้า)
ให้ข้างในไปหยิบมาเถิดเอย)

อาจจะมีคำผิดเพี้ยนไปบ้าง   เพราะไม่มีหนังสือ  ฟังจากผู้ใหญ่เล่าตอนเด็กๆค่ะ
บันทึกการเข้า
ก.แก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 08 มี.ค. 01, 14:07

ทราบทฤษฎีแล้วน่าจะลองฝึกปฏิบัตินะคะ
ลองทำแบบฝึกหัดดู
ใครคิดได้หลากหลายให้บอกมา

โปรดเติมคำในช่องว่างค่ะ

มามะมาเลยอย่าเฉย......
คุณเทาฯ......เชิงชั้นหมั่นฝึก.....
คิดสร้างสรรค์บันดาลใจได้.......
นำมา......อ่านกันมันส์คารม
คุณแจ้งมาว่ากลอนสอนสัมผัส
ถ้าใคร.....ก็เติมเพิ่ม.......
ประสานคำฉ่ำใสในอารมณ์
ได้......สมใจในเชิงกลอน

ลองดูนะคะ ที่ที่เว้นไว้อาจเติม
ได้มากกว่า ๑ คำ ถ้าอ่านแล้วรื่นหู
หรือจะเป็นคำที่มี ๒ พยางค์ก็ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
ก.แก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 08 มี.ค. 01, 14:14

ว้าย!หน้าแตก เผลอไปค่ะ ลืมไปว่า
เป็นสักวา
แบบฝึกหัดขอเปลี่ยนวรรคแรกและวรรคสุดท้ายเป็นดังนี้ค่ะ

สักวามาเลยอย่าเฉย......
............................
ได้.......สมใจมาไวเอย

ให้อภัยคนเฉิ่มด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 08 มี.ค. 01, 18:22

มามะมาเลยอย่าเฉย"รอน"
คุณเทาฯ"สอน"เชิงชั้นหมั่นฝึก"ฝน"
คิดสร้างสรรค์บันดาลใจได้"คิดค้น"
นำมา"ชน"อ่านกันมันส์คารม
คุณแจ้งมาว่ากลอนสอนสัมผัส
ถ้าใคร"ถนัส" ก็เติมเพิ่ม"ประสม"
ประสานคำฉ่ำใสในอารมณ์
ได้"ลับคม"สมใจในเชิงกลอน

เฉยชอน เฉยรอน ไม่รู้ตัวไหนดีกว่ากัน

ผมคลับคล้ายคลับคลาเคยเรียนมาว่าสักวาปกติใช้กับชมธรรมชาติ
มาแต่งกระเซ้ากันดูแปลกๆนะครับ
บันทึกการเข้า
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 08 มี.ค. 01, 18:30

มือไวไปหน่อย  ส่งไปซะแล้ว

ที่จะเขียนต่อคือ เมื่อก่อนเคยดูรายการทีวีรู้สึกจะชื่อเวทีวาที
มีให้ต่อกลอน  โดยบอกแต่หัวข้อกับคําสัมผัสพอครบ
ก็เปิดมาอ่านกันถ้าต่อติดกันเป็นเรื่องเป็นราวก็จะได้รางวัล
มาเล่นกันบ้างไหมครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 08 มี.ค. 01, 19:41

ถ้าคุณภูมิจะชวนเล่น  ลองตั้งกระทู้ใหม่ไหมล่ะคะ  แยกต่างหากจากกระทู้ลิเก  ที่กำลังเผ็ดมันกันอยู่ตอนนี้
อาจจะได้หลายคนเข้าไปร่วมเล่นด้วย
การเล่นดอกสร้อยสักวา ที่โต้ตอบกันระหว่างหญิงชาย เกี้ยวพาราศี มีมานานแล้วค่ะ    ตั้งแต่ปลายอยุธยา
ต่อมาก็วิวัฒนาการเป็นแซวการเมือง  แซวกันเอง  แสดงปฏิภาณของทั้งสองฝ่าย
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช สมัยหนุ่มๆเล่นสักวาแซวแบบนี้เก่งมาก  
แต่ในตำราแบบเรียนมักจะยกตัวอย่างสักวาที่เรียบร้อยน่าฟังมาเป็นส่วนใหญ่   อย่างที่คุณภูมิอ่านละค่ะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 09 มี.ค. 01, 03:54

ขอบคุณคุณเทาฯมากค่ะ  ได้เรียนฉันทลักษณ์ไปด้วยเลย  ดีจังค่ะ  เกิดมาไม่เคยแต่งร้อยกรองจนจับพลัดจับผลูมาเล่นยี่เกเรือนไทย  ถึงได้รู้ว่าตัวเองพอจะมีพรสวรรค์ในด้านเป็นตัวจำอวดกะเขาบ้าง  อิอิ  มีลายแทงให้แกะไปด้วยอย่างนี้  จะได้เข้าทางเร็วหน่อย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 09 มี.ค. 01, 08:33

ดิฉันลืมไปแล้วว่าแบบแผนการแต่งลิเกเป็นยังไง
ถ้าคุณพวงร้อย หรือท่านอื่นในที่นี้นึกออก
ช่วยนำมาลง ให้รู้แนวกันสักหน่อยได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 09 มี.ค. 01, 08:53

รู้สึกป้าหนอนอาจจะเซฟไว้นะคะ  คราวก่อนเอามาแปะให้ที่ถนนฯให้จนดิฉันดำนำ้รอดตัวได้  แต่ไม่ได้เซฟไว้ค่ะ แหะๆ
ขออภัย  ต้องถามหาเอาจากป้าหนอนเอาแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 10 มี.ค. 01, 15:42

เสน่ห์ของกลอนคือความกลมกลืนรื่นหู เกิดจากการสร้างสัมผัสในในแต่ละวรรคของกลอน ให้เห็นระหว่างจังหวะคำ
คือ
๐๐๑  ๑๒ ๐๒๓............๐๐๓ ๓๔ ๐๔๐
ตัวเลขที่เหมือนกันคือการสัมผัสกันค่ะ
แล้วสอน ว่า   อย่าไว้ใจมนุษย์

ถ้าหากว่าเลือกได้  การสัมผัสระหว่างคำที่ ๕ ๖  หรือ ๖ ๗  จะอ่านรื่นหูกว่าสัมผัสของคำที่ ๓ และ ๔
ซ่อนกลิ่น ส่ง กลิ่น  ประทิ่นแกม...........เหมือนกลิ่นแก้ม  โฉม ยง เมื่อ ส่งตัว  

การส่งรับสัมผัสระหว่างวรรค  คำสุดท้ายของวรรคที่ สองนิยมใช้เสียงจัตวามากที่สุด   รองลงมาคือเสียงเอก และโท  ไม่นิยมเสียงวรรณยุกต์ตรี
ลำดวนเอ๋ย จะด่วน ไปก่อนแล้ว.........ทั้งเกดแก้ว พิกุล ยี่สุ่นศรี

ส่วนวรรคที่สาม  คำสุดท้ายนิยมรับด้วยเสียงสามัญ   รองลงมาคือเสียงตรี    ไม่นิยมเสียงเอก หรือโท
จะโรยร้าง ห่างสิ้น กลิ่นมาลี ........จำปีเอ๋ย กี่ปี จะมาพบ
บันทึกการเข้า
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 11 มี.ค. 01, 03:08

คุณก.แก้ว อย่าลืมกลับมาเฉลยการบ้านด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
ก.แก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 11 มี.ค. 01, 17:12

คุณภูมิเป็นนักเรียนที่น่ารักมากค่ะ ติดตาม
ถามการบ้านด้วยความเอาใจใส่ ขออภัยที่เพิ่งเข้ามาอ่านค่ะ
คุณภูมิเติมคำสัมผัสนอกได้ถูกต้องทั้งหมดแต่
ควรระวังในวรรคที่ 3 เสียงวรรณยุกต์ในคำสุดท้ายของวรรคที่ 3 นิยมให้เป็นเสียงสามัญค่ะ
คุณภูมิเติมมาว่า
คิดสร้างสรรรค์บันดาลใจได้"คิดค้น"
คำว่า "ค้น" เป็นเสียงตรีจึงทำให้การอ่านไม่ไพเราะรื่นหูเท่าที่ควร
ส่วนในวรรคแรกจะเติมว่า เฉยรอน หรือ เฉยชอน ความหมายอาจต้องคิดนานจึงจะเข้าใจ
อีกคำหนึ่งคือ "ถนัส" แท้จริงคือ "ถนัด" ใช่ไหมคะ  ขอชมวรรคสุดท้ายค่ะ
ได้ "ลับคม" สมใจในเช้งกลอน
เลือกใช้คำได้เฉียบดีค่ะ
จะลองแก้ไหมคะ ถ้าแก้กรุณาแก้วรรคต้นเป็นสักวา และจบด้วยเอย  ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 11 มี.ค. 01, 22:35

วรรคที่ 3 เสียงตรีก็ใช้ได้นะครับ ไม่แปร่งหรอก ผมว่า
ในกรณีที่เป็นสัมผัสคําตาย วรรค๓ ลงด้วยเสียงตรีก็มาก

หน้าแตกเลย ถนัด พิมพ์ผิด

ผมอยากรู้ว่าตอนเเรกคุณก.แก้วแต่งไว้อย่างไร
โดยเฉพาะตรงคู่เเรก เฉยรอน กับ สอน
จริงๆผมก็ไม่อยากจะใช้หรอกครับแต่นึกคําดีๆไม่ออก
ถ้าไม่ใช้ "สอน" ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะให้คุณเทาฯมาทําอะไรกับกลอนดี :-)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 19 คำสั่ง