เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 9184 สยามในทรรศนะของผู้มาเยือน
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 13:57

คุณสุจิตต์กล่าวต่อไปว่า

ถึงคำร้องที่ข้าพเจ้าถอดนั้นจะยังผิดพลาดอยู่มาก ก็คงจะเป็นแนวทางที่ท่านผู้สนใจจะช่วยกันลองพินิจพิเคราะห์ดูต่อไป เพื่อให้ได้มาซึ่งถ้อยคำที่ถูกต้องตามที่ท่านผู้นั้น ได้ร้องให้ลาลูแบร์ฟัง

ท่านผู้ใดมีความเห็นแย้งเรื่องเนื้อเพลงที่คุณสุจิตต์ถอดความตรงไหนบ้างเอ่ย

 ฮืม

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 14:41

เพลงสายสมร นี้ พระเจนดุริยางค์เคยได้นำทำนองคัดออกมาจากหนังสือลาลูแบร์ และได้ตั้งชื่อว่า "เพลงศรีอโยธยา" ประกอบภาพยนต์เรื่อง "พระเจ้าช้างเผือก" เมื่อสมเด็จพระเจ้าจักราเสด็จออก  วงดนตรีก็จะบรรเลงเพงบทนี้เสมอถือว่าเป็นเพลงหลักของเรื่องก็ลองฟังกันดูนะครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 16:50

เพลงศรีอโยธยาหรือศรีอยุธยา  พระเจนดุริยางค์ได้นำทำนองมาจากเพลงเก่าซึ่งมีโน้ตเพลงปรากฏในหนังสือ จดหมายเหตุลาลูแบร์  สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรียกชื่อกันว่า  เพลงสายสมร  (Siamese  Song)  เป็นเพลงสยาม  บันทึกโดยเอกอัครราชทูตลาลูแบร์ชาวฝรั่งเศส  ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานเอกสารเพลงเดียวที่มีมาแต่สมัยอยุธยาและเป็นเพลงสยามเพลงเดียวที่เหลืออยู่  ส่วนเพลงอื่น ๆ  สืบทอดกันโดยการต่อเพลง  จากคนหนึ่งไปอีกช่วงคนหนึ่ง  ไม่มีเอกสารใด ๆ

แม้ว่าเสียงเพลงจะแตกต่างกัน  เมื่อบันทึกไว้ด้วยโน้ตสากล  คนส่วนใหญ่จะอ่านเป็นทำนองสากล  เล่นด้วยเครื่องดนตรีสากล  ถ้าหากว่าอ่านด้วยบันไดเสียงไทย  เล่นด้วยเครื่องดนตรีไทย  ก็จะได้สำเนียงที่แตกต่างไปจากเสียงสากล  ซึ่งเชื่อว่าเป็นทำนองเพลงเหย่ย  ซึ่งเป็นเพลงโต้ตอบระหว่างชายหญิง  ปัจจุบันนิยมเล่นแถบกาญจนบุรี

ก่อนหน้าพระเจนดุริยางค์จะนำทำนองศรีอยุธยามาเรียบเรียงใหม่  ครูฟุสโก  (M.Fusco)  ซึ่งเป็นชาวอเมริกัน  สัญชาติอิตาเลี่ยน  เป็นหัวหน้าวงดนตรีของกองดุริยางค์กองทัพเรือ ได้เรียบเรียงเพลงนี้สำหรับเปียโนมาก่อนแล้ว  ชื่อว่าเพลงพระนารายณ์หรือสรรเสริญพระนารายณ์  (Pra Narai)  ปรากฏในหนังสือ “สยามอาณาจักรแห่งช้างเผือก”  ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ.  ๑๘๙๙  ตรงกับปี พ.ศ.  ๒๔๔๒  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๕  ซึ่งได้เสด็จประพาสยุโรป  ได้ทรงใช้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ระลึกเผยแพร่ประเทศสยามในเวลาต่อมา

ชื่อเพลงสายสมร  เพลงสรรเสริญพระนารายณ์  เพลงศรีอยุธยา  หรือเพลงศรีอโยธยา  เพลงที่มีชื่อแตกต่างกัน  แต่เป็นเพลงที่มีทำนองเดียวกัน  ทำนองอาจจะผิดแผกไปบ้าง  ก็ขึ้นอยู่กับว่าใครผู้ที่นำเอาทำนองเพลงไปเรียบเรียงอย่างไร  เพื่อวงดนตรีประเภทไหน  แต่โดยทำนองเนื้อหาแล้ว  เพลงเดียวกัน

เพลงประกอบภาพยนตร์โดย พระเจนดุริยางค์
สุกรี  เจริญสุข  วิทยาลัยดุริยางคศิลป์  มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=43&s_id=9&d_id=23
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 17:54

ผมไม่รู้ว่าในทางการทูตนั้นลาลูแบร์จะมีฝีปากเป็นเลิศขนาดไหน
แต่ในทางอักษรแล้ว เขาเป็นคนที่มีพรสวรรค์มากๆ
อยู่กรุงศรีอยุธยาเพียง 3 เดือนกว่าก็สามารถจดบันทึกเรื่องราวได้มากมาย
ทั้งดนตรี ภาษา ตัวเลข กฏเกณฑ์ทางดาราศาสตร์ มาตราชั่ง ตวง วัด
คนขี้คร้านและไม่ใฝ่รู้ทำไม่ได้แน่

และดูท่าทางเขาจะสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาด้วย
เพราะช่างพรรณาได้ถึงพระสงฆ์ พิธีกรรมต่างๆ พุทธประวัติ
รวมทั้งพระวินัยบัญญัติได้ละเอียดทีเดียว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 22:29

ลาลูแบร์ ได้บันทึกพยัญชนะไทยไว้ จึงทำให้ทราบว่า ในสมัยพระนารายณ์ มีพยัญชนะ ๓๗ ตัว ไม่มี ฮ. ตาโต  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 22:48

ลาลูแบร์ให้ความสำคัญกับภาษาไทยมาก
นอกจากจะปรากฏพยัญชนะในหนังสือแล้ว ก็ยังมีสระ ตัวเลข
รวมทั้งพยัญชนะบาลี ทั้ง 5 วรรค บวกเศษวรรค อีก 8 ด้วย

แถมยังบอกวิธีออกเสียงภาษาไทยอีกต่างหาก เช่น

"ชาวสยามมีการลั่นเสียงต่ำมากเหมือนชาวจีน เขาพูดเกือบจะเป็นร้องเพลง
และอักขระของสยามนั้นเริ่มต้นด้วย 6 ตัวอักษรที่แตกต่างกัน แต่มีค่าเท่ากับตัว ก
มากน้อยตามความหนักเบาของเสียงที่ลั่นออกมา และมีลักษณะสูงต่ำแตกต่างกันออกไป
ด้วยแม้ว่าในการออกเสียงนั้น ตามปกติแล้วจะเน้นน้ำหนักเสียงบนตัวสระ
แต่ก็อาจเปลี่ยนแปลงเสียงสูงต่ำไปได้ตามพยัญชนะอันเป็นตัวตั้งที่มีค่าเท่ากัน"

...นึกว่าเป็นแบบเรียนภาษาไทย ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 08:36

เรื่องตัวเลข พลาดเล็กน้อย

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 09:44

เพราะดินโคลนที่น้ำฝนชะไหลลงมาจากภูเขาเป็นสาเหตุให้ประเทศสยามเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์
โดยเฉพาะในที่ที่มีน้ำท่วมไปถึง สามารถเพาะปลูกข้าวอันเป็นผลผลิตสำคัญของชาวสยามได้

ลาลูแบร์สรรเสริญชาวสยามว่ารู้จักที่จะกะปริมาณน้ำ กะความแก่อ่อนของไฟ และกะเวลาในการหุงข้าว
ให้สุกได้โดยที่เม็ดข้าวไม่แตกแยก

เขาพูดถึงการกินอยู่และสำรับอาหารของชาวสยามว่า
ชาวสยามกินข้าวโดยการเอาปลายนิ้วขยุ้มข้าวให้เป็นคำแล้วเปิบเข้าปาก
และดื่มน้ำบริสุทธิ์ที่อบจนมีกลิ่นหอม รวมถึงชา และเหล้า (กะแช่ น้ำตาลเมา)
ส่วนสำรับอาหารนั้นนอกจากจะมีข้าวสุกแล้ว ก็อาจจะมีปลาแห้ง หรือปลาร้า
รวมถึงน้ำพริก กะปิเป็นเครื่องจิ้มด้วย
แต่ถึงจะมีสัตว์หลายชนิดในประเทศนี้ ชาวสยามกลับไม่ชอบบริโภคเนื้อสัตว์
พอใจแต่บริโภคเครื่องในของสัตว์มากกว่า
ชาวสยามชอบบริโภคผลไม้ยิ่งกว่าสิ่งอื่น สามารถกินได้ทั้งวันโดยไม่เบื่อ เช่น ส้ม กล้วย มะกรูด ทับทิม
แต่สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ หมากและพลู ซึ่งกินกันได้ทั้งวันไม่ขาดปาก
ซึ่งผลของการกินหมาก จะทำให้คราบน้ำหมากจับกรังหนาที่ฟัน และจะกลายเป็นสีดำในที่สุด
ลาลูแบร์จึงมีวิธีวิธีย้อมฟันให้ด้วย
"การย้อมฟันให้ดำนั้น เขาใช้ซีกมะนาวที่มีรสเปรี้ยวจัดอมไว้ในกระพุ้งแก้มและที่หน้าฟันราวชั่วโมง
กล่าวกันว่าเพื่อทำให้ฟันน่วม ครั้นแล้วก็ใช้นำยางชนิดหนึ่งซึ่งทำจากรากไม้หรือจากกะลามะพร้าวเผาไฟ
ถูฟันไป เป็นเสร็จพิธี"
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 20:31

ชาวสยามรูปร่างค่อนข้างย่อมมากกว่าใหญ่โต แต่ก็ได้สัดส่วนดี
วงหน้าทั้งชายและหญิงกระเดียดไปข้างรูปขนมเปียกปูน (หรือข้าวหลามตัด) มากว่าที่จะเป็นรูปไข่
ใบหน้ากว้าง แก้มตอบ ปากกว้าง ริมปากหนาซีดๆ และฟันดำ
จมูกสั้นและปลายมน ใบหูใหญ่ ผิวหยาบ สีน้ำตาลปนแดง ผมสีดำ เส้นหยาบและละเอียด

ชาวสยามไม่ค่อยได้นุ่งห่มร่างกายให้มิดชิดนัก เพราะความร้อนและความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ
พวกเขาไปไหนมาไหนด้วยเท้าเปล่า ไม่สวมหมวก ปล่อยเนื้อตัวล่อนจ้อน
เฉพาะผู้หญิงบางคนเท่านั้นที่ห่มสไบ บางทีก็ปัดชายสไบเฉียงคลุมต้นแขนไว้ หรือคาดผ้ารัดอกห่มแบบตะแบงมาน
ส่วนเด็กเล็กๆ จะไม่นุ่งผ้าจนกว่ามีอายุได้ 4 หรือ 5 ขวบ

แต่การเปลือยเปล่าหาทำให้ชาวสยามเป็นพวกไร้ยางอายไม่
ตรงกันข้าม พวกเขากลับเป็นชนชาติที่มีความตะขิดตะขวงใจอย่างยิ่งที่จะเผยส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายออกให้ใครๆ เห็น
แม้การนอน ก็จะไม่เปลือยกาย ชาวสยามเพียงแต่ผลัดผ้านุ่งเสียใหม่เท่านั้นก่อนนอน

วิธีการนุ่งผ้าของผู้หญิงและผู้ชายไม่เหมือนกัน
ผู้ชายจะชักผ้าข้างหนึ่งซึ่งปล่อยให้ยาวกว่าอีกข้างลอดหว่างขาแล้วไปเหน็บไว้ทางด้านหลังโดยคาดสายเข็มขัดทับ
ส่วนหญิงจะนุ่งตามความยาวของผืน วงรอบตัวเช่นเดียวกับผู้ชายแต่จะปล่อยชายทางด้านกว้าง
เลียนแบบกระโปรงให้ชายตกลงมาถึงครึ่งแข้ง

ชาวสยามรักสะอาด เอาใจใส่รักษาฟันมาก แม้จะย้อมให้ดำไว้แล้วก็ตาม อาบน้ำวันละ 3 หรือ 4 ครั้ง
สระผมด้วยน้ำ และใส่น้ำมันจันทน์ ปะแป้งให้ขาวที่ยอดอกเพื่อแสดงว่าอาบน้ำมาแล้ว
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 19 ม.ค. 11, 20:24

เนื่องจากชาวสยามแต่งเนื้อแต่งตัวง่ายๆ วิถีชีวิตง่ายๆ บ้านเรือนของพวกเขาจึงเรียบง่ายไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
ที่อยู่อาศัยนั้นเป็นเรือนหลังย่อมๆ ชั้นเดียว ใช้จักตอกขัดแตะเป็นฝาและหลังคา
พื้นเรือนใช้ไม้ไผ่มาสับเป็นฟากเรียงไว้ มีเสาตอม่อยกสูงเพื่อให้พ้นจากน้ำท่วม

ชาวสยามไม่ใช้เก้าอี้ แต่นั่งกันบนเสื่อกก โต๊ะอาหารเป็นโตก
ไม่มีผ้าปูรอง ไม่มีผ้าเช็ดปาก ไม่มีช้อน ไม่มีส้อม ไม่มีมีด
ชามทำด้วยกระเบื้องบ้าง เครื่องดินเผาบ้าง หรือทำด้วยไม้
และกะลามะพร้าวขัดมันที่ราษฎรทั่วไปนิยมหุงข้าวในกะลากัน
ครุที่ใช้ตักน้ำก็สานด้วยไม้ไผ่อย่างประณีต

สัตว์เลี้ยงไว้ใช้งานนอกจากโคกับกระบือแล้ว ก็ยังมีช้างอีกจำพวก
ช้างพังเอาไว้ใช้งานธรรมดา ส่วนช้างพลายไว้สำหรับออกศึกสงคราม
การขี่ช้างของชาวสยามง่ายดาย ขี่คร่อมคอเหมือนอย่างม้า ไม่ต้องมีเครื่องอานบังเหียนอย่างใด
มีเพียงขอทำด้วยเหล็กหรือเงินสำหรับสับหัวช้างเพื่อควบคุมเท่านั้น
แต่หากไม่ประสงค์บังคับช้าง ก็นั่งบนกูบหรือสัปคับบนหลังช้างแทน
แล้วให้คนเลี้ยงช้างเลื่อนไปนั่งคร่อมที่คอช้างทำหน้าที่เป็นผู้นำทาง
บางทีก็มีควาญท้ายช้างอีกคนนั่งท้ายช้างไปด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 19 ม.ค. 11, 20:45

พูดถึงอาหารของชาวสยาม ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ มีบันทึกไว้ในหนังสืออีกเรื่องหนึ่งชื่อ ซาฟินาอิ สุไลมานี หรือ เรือของสุไลมาน   ผู้บันทึกคืออิบน์  มูฮัมเหม็ด อิบราฮิม  เลขานุการของคณะราชทูต  ซึ่งชาห์สุไลมาน  กษัตริย์แห่งเปอร์เชีย ส่งมาเจริญพระราชไมตรี ในพ.ศ. 2228
เรื่องนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษโดยจอห์น โอเคน

ตอนหนึ่งเขาเล่าว่า

"ชาวสยามจำกัดอาหารของเขาอยู่กับข้าวเปล่าเท่านั้น    เขาไม่ใส่เกลือ เนื้อ หรือเครื่องเทศ  แต่เขากินข้าว กับน้ำต้มและหัวปลา  ชนทุกชั้น ไม่ว่าสูงหรือต่ำ กินอาหารแบบนี้อย่างจำเจ   ถ้าเขาพบสัตว์ตายเข้าด้วยความบังเอิญ   ไม่ว่าจะเป็นสัตว์อะไร  แม้แต่ซากอีกาแก    เขาจะกินอย่างไม่ลังเล   แต่เขาจะไม่ฆ่าสัตว์เอามาบริโภคเป็นอันขาด  เพราะเขาถือว่า นั่นเป็นบาปอย่างหนัก
ถ้ามีโอกาสเป็นครั้งคราว  ชาวพื้นเมืองจะปิ้ง "แย้"(ฉบับภาษาอังกฤษใช้ว่า lizard  ซึ่งจริงๆแล้วก็เป็นสัตว์เลื้อยคลานมากมาย  รวมทั้งจิ้งเหลนกิ้งก่า และตะกวด   แต่ผู้แปล เลือกแปลว่า แย้  ) และงู ซึ่งมีชุกชุมในประเทศ   ในตลาดจะเห็นสัตว์เหล่านี้วางขาย  แทนที่จะเป็นไก่ฟ้าหรือแกะ   อาหารอย่างอื่นคือ "ตะพาบน้ำ" (ฉบับภาษาอังกฤษใช้คำว่า tortoise ซึ่งอาจหมายถึงเต่าก็ได้)  และกล่าวโดยทั่วไป  เขาเว้นการบริโภคอาหารทะเล     คนบางเผ่าในสยามกินเนื้อช้าง และหมาป่า"


ข้อความทั้งหมดนี้ถูกต้องมากน้อยแค่ไหน คงแล้วแต่ท่านผู้อ่านจะพิจารณากัน   ดิฉันนำมาลงประกอบในกระทู้ เพราะเห็นแปลกกว่าฉบับของลาลูแบร์
เรื่องกินซากอีกา ไม่เคยเห็นวัฒนธรรมบริโภคแบบนี้ ไม่รู้ว่าเลิกกันไปตั้งแต่เมื่อไร     แย้หรือตะกวดน่าจะกินกันในภาคอีสาน   ส่วนเต่ากินกันในภาคกลาง
เนื้อช้าง เคยอ่านพบในเพชรพระอุมา ว่าชาวป่าที่พระเอกคลุกคลีอยู่ด้วย  ล้มช้างเคี่ยวเอาน้ำมันมาขายบรรจุปี๊บในเมืองหลวง ส่วนเนื้อเอาทำเนื้อเค็ม    ส่วนหมาป่า ไม่เคยได้ยิน  ได้ยินแต่คนไทยกินหมูป่า
บันทึกการเข้า
Karine!!
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130

กำลังค้นหาทางสว่างของชีวิต


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 20 ม.ค. 11, 20:40

ความรู้ทัง้นั้นแฮะ ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า

การศึกษาก้าวไกล ประเทศไทยรุ่งเรือง (แต่ตอนนี้ตูรุ่งริ่งชอบกล)
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 20 ม.ค. 11, 21:08

มาช่วยเพิ่มเติมสำรับของชาวสยาม

โยส เชาเด็น ผู้จัดการบริษัทการค้าฮอลันดา ซึ่งเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเศรีอยุธยาในสมัยพระเจ้าทรงธรรมและพระเจ้าปราสาททองเป็นเวลานาน ๘ ปี บันทึกไว้ว่า…อาหารของชาวสยามไม่ฟุ่มเฟือยและมีน้อยสิ่ง ตามปกติมี ข้าว ปลา และผัก ส่วนเครื่องดื่มตามปกตินั้น เขาดื่มแต่น้ำอย่างเดียว

ส่วนนิโคลาส์ แชรแวส ชาวฝรั่งเศส ซึ่งเดินทางเข้ามาพำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นเวลานาน ๔ ปี ก็บันทึกไว้ว่า…ไม่มีชนชาติใดที่จะบริโภคอาหารอดออมเท่าคนสยาม สามัญชนดื่มแค่น้ำเท่านั้น แล้วก็กินข้าวหุง ผลไม้ ปลาแห้งบ้างเล็กน้อยแล้วยังกินไม่ค่อยอิ่มท้องเสียด้วย ชนชั้นสูงก็มิได้บริโภคดีไปกว่านี้ ทั้งที่สามารถซื้อหามาบริโภคได้ตามปรารถนา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 20 ม.ค. 11, 22:08

ขอเพิ่มจากบันทึกของอิบราฮิม อีกนิดว่า เขาตั้งข้อสังเกตว่าชาวสยามไม่กินน้ำมัน    แม้มีวัวและควายอยู่มาก ก็ไม่กินนมวัว หรือควาย  ไม่รีดนมมาทำเนย  
ทำให้คิดว่าอาหารประเภททอด หรือผัดที่ต้องใช้น้ำมัน ชาวบ้านสมัยพระนารายณ์ยังไม่นิยม  เท่ากับกินข้าวกินปลา ไม่ว่าปลาร้า ปลาแห้ง หรือน้ำพริก   ส่วนเนยใสที่ทำจากนม คงไม่ทำกันแน่ๆ   เห็นได้จากจนบัดนี้เราก็ยังไม่ปรุงอาหารด้วยเนยใสอยู่ดี    แต่ว่าอาหารทำด้วยกะทินั้นมีแล้ว  ชาวบ้านก็คงมีแกงกะทิกินกันบ้าง

ที่น่าสนใจอีกอย่างจากบันทึกเรื่องนี้  คือเขาเล่าว่าสมเด็จพระนารายณ์เสด็จเยี่ยมพวกอิหร่านในกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ทรงพระเยาว์   ทรงโปรดอาหารและเครื่องดื่มแบบอิหร่าน   และยังทรงติดอาหารแบบอิหร่านมาจนเจริญพระชันษา   ถึงกับทรงสั่งพ่อครัวมาจากอินเดียให้ปรุงพระกระยาหารให้    ก็คงจะเป็นอาหารที่หนักไปด้วยเครื่องเทศ และนมเนย
ถ้านึกถึงรายชื่ออาหารแบบเทศที่กินกันมาจนถึงรัตนโกสินทร์ เช่นแกงมัสหมั่น  ข้าวบุหรี่  ลุดตี่ อาจาด    ก็อาจจะสันนิษฐานได้ว่า นิยมกันมาจากครัวหลวงของสมเด็จพระนารายณ์ด้วยกระมัง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 20 ม.ค. 11, 22:24

ส่วนบันทึกของลาลูแบร์ กลับพูดเรื่องการทานนมและชีส ว่า มีการทานนมควาย ส่วนชีสไม่ทำกันและมีการนำเข้ามาด้วยครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง