เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 9170 สยามในทรรศนะของผู้มาเยือน
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


 เมื่อ 15 ม.ค. 11, 19:57

ชาวต่างชาติที่เข้ามาเยือนสยามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ทั้งราชทูต พ่อค้า หรือแม้แต่นักสำรวจ
ไม่ว่าเขาคนนั้นจะมาอยู่ประจำในประเทศนี้ หรือเพียงผ่านมาชั่วครั้งชั่วคราว
ก็จะปฏิบัติสิ่งหนึ่งแทบทุกคน นั่นคือการเขียนบันทึกเรื่องราวที่ประสบพบเจอในชีวิตประจำวัน เหตุการณ์สำคัญ นิสัยใจคอ และการดำเนินชีวิตของชาวสยามแต่บรรพกาล...
สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความทรงจำสำคัญ เพราะลำพังข้อมูลที่เรามีอยู่ก็น้อยนักหนา
อย่างมากก็เพียงต้นกรุงรัตนโกสินทร์เท่านั้นที่พอจะอนุมานออก แต่ถ้าย้อนไปถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว
หากขาดข้อมูลจากลาลูแบร์ ปินโต หรือวันวลิต ไซร้ ชนยุคปัจจุบันย่อมไม่อาจทราบได้ว่าคนสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีชีวิตเช่นไรเลย
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 16 ม.ค. 11, 09:02

แต่ครั้นจะสาธยายเรื่องราวจากบันทึกของชาวต่างชาติทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือนในดินแดนแห่งนี้แล้วไซร้
ย่อมเป็นไปไม่ได้แน่ๆ (มีผู้ให้คำแนะนำมาว่าคงต้องอ่านหนังสือ 5 ลังทีวีถึงจะเขียนกระทู้นี้ได้)

ฉะนั้นเราจะเลือกมาเพียงหนึ่ง...
หนึ่งเดียวที่ใครๆ ก็เห็นว่า บันทึกเล่มนี้มีความละเอียดและถูกต้องมากชิ้นหนึ่ง
แม้บางสิ่งนั้นผู้เขียนจะไม่ได้ประสบ ได้ยินกับหู รู้อยู่กับตา
แต่ด้วยความใฝ่รู้ของท่าน ทำให้บันทึกเล่มนี้เป็นหลักฐานอันสำคัญ
ที่พูดถึงสังคม วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ของคนในสมัยอยุธยาได้เป็นอย่างดี

บันทึกเล่มนั้นคือ "ราชอาณาจักรสยาม" (Du Royaume de Siam)
แต่งโดย "ซีมง เดอ ลาลูแบร์" (Simon de La Loubère)
อัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งราชอาณาจักรฝรั่งเศส
ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี ณ ประเทศสยามครั้งรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 16 ม.ค. 11, 09:14

"ราชอาณาจักรสยาม"

ลาลูแบร์ เขียนขึ้นโดยคำสั่งของมาร์กีส์ เดอ ตอร์ซี (Marqois de Torcy)
เพื่อจุดประสงค์รายงานสิ่งที่ได้ประสบพบเห็นหรือทราบมาในประเทศสยามโดยละเอียด
ซึ่งเขาก็สามารถทำได้ดียิ่ง
แม้การมาราชการในฐานะราชทูตจะสั้นเพียง 3 เดือน กับอีก 6 วันเท่านั้น
แต่เขาก็มีความพยายามรวบรวมหลักฐานต่างๆ จนนำไประมวลเขียนเป็นหนังสือเล่มโตได้
และหนังสือของเขาก็ถือเป็นมาตราฐานในการศึกษาประเทศสยามของชาวยุโรปในสมัยนั้นด้วย
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 16 ม.ค. 11, 09:38

แปลครั้งแรก โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธพงศ์
แต่ยังไม่สมบูรณ์

คุณสันต์ ท. โกมลบุตร จึงได้จับมาแปลใหม่อีกครั้ง
และเป็นหนังสือที่สมบูรณ์ดังที่เราอ่านกันในสมัยนี้
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 16 ม.ค. 11, 09:49

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ทั่วไปของสยาม

ดูเหมือนไม่ว่าชาวต่างชาติผู้ใดที่เข้ามาประเทศนี้ยุคใดสมัยใดจะต้องพูดถึงเป็นอันดับแรกเลย
คือ "แม่น้ำ" (ที่เราเรียกว่าแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบันนั่นแหละ)
แม้ลาลูแบร์จะพูดเพียงสั้นๆ แต่เขาก็มีภาพเส้นทางของแม่น้ำตั้งแต่ปากอ่าวขึ้นไปจนถึงกรุงศรีอยุธยา
ประกอบคำอธิบายด้วย

นอกจากนี้ลาลูแบร์ยังกล่าวถึง "ทะเลสาบ" ที่เมืองเชียงใหม่
ว่าไม่เห็นมีชาวสยามคนไหนรู้เห็นว่ามันมีอยู่จริง ทั้งที่นักภูมิศาสตร์ของยุโรประบุว่าทะเลสาบแห่งนั้น
เป็นต้นของแม่น้ำ (ทำนองเดียวกับสระอโนดาตในป่าหิมพานต์กระมั้ง)
ถึงสงสัยว่าทะเลสาบนั้นไม่มีอยู่จริง
แต่เขายังปลอบใจตัวเองว่า มันอาจจะอยู่ไกลกว่าที่ชาวยุโรปคิดไว้

กรุงศรีอยุธยา
ว่าเป็นเมืองที่มีรูปร่างเป็นเกาะคล้ายๆ ถุงย่าม มีแม่น้ำใหญ่ล้อมรอบสามสาย
พระบรมมหาราชวังตั้งอยู่ด้านเหนือ ตัวเมืองกว้างขวาง แต่เต็มไปด้วยป่าและวัด
บ้านเรือนชาวพื้นเมืองปลูกด้วยไม้สร้างอาศัยกันอยู่ริมน้ำ ริมคลองที่มีมากมาย
จึงเปรียบเหมือนกับเมืองเวนิช ในอิตาลี
แต่ก็อดเปรียบไม่ได้ว่า บ้านเหล่านั้นคงอยู่ไม่สบายเพราะอากาศมันร้อนนนนน....

ลาลูแบร์มองว่าชาวสยามนั้นไม่ค่อยจะใส่ใจต่อประวัติศาสตร์ของตนมากนัก
เพราะประวัติศาสตร์เต็มไปด้วยนิยาย หนังสือก็มีน้อย ถามอะไรก็ตอบไม่ได้
โกหกบ้าง ไม่รู้บ้าง...

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 16 ม.ค. 11, 17:23

เข้ามาบอกว่าผมตามอ่านอยู่ครับ จะได้ไม่เหงา
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 16 ม.ค. 11, 18:05

ภาพแผนที่โลกที่ช่างแผนที่ Abraham Ortelius (April 1527 - July 1598) ชาวเบลเยี่ยม ได้ทำไว้ จะเห็นทะเลสาปขนาดใหญ่ บริเวณกลางเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นกำเนิมแม่น้ำที่ไหลลงสู่ดินแดนพม่าแห่งหนึ่ง และดินแดนสยาม แห่งหนึ่ง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 16 ม.ค. 11, 20:19

ขอบพระคุณคุณนวรัตน์ที่ติดตาม และคุณไซมีสที่นำภาพทะเลสาบเชียงใหม่ในแผนที่โบราณมาให้ชมกัน
แต่ผมมีข้อสงสัยว่า แม่น้ำสายแรกที่ไหลออกจากทะเลสาบเชียงใหม่นั้น
หากดูตามภูมิศาสตร์ปัจจุบันแล้ว น่าจะเป็นแม่น้ำพรหมบุตรหรือไม่ ฮืม ที่ไหลออกอ่าวเบงกอลทางบังคลาเทศ
ส่วนอีกสามสายที่เหลือ คือ อิรวะดี สาละวิน และเจ้าพระยา
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 16 ม.ค. 11, 21:59

ขอบพระคุณคุณนวรัตน์ที่ติดตาม และคุณไซมีสที่นำภาพทะเลสาบเชียงใหม่ในแผนที่โบราณมาให้ชมกัน
แต่ผมมีข้อสงสัยว่า แม่น้ำสายแรกที่ไหลออกจากทะเลสาบเชียงใหม่นั้น
หากดูตามภูมิศาสตร์ปัจจุบันแล้ว น่าจะเป็นแม่น้ำพรหมบุตรหรือไม่ ฮืม ที่ไหลออกอ่าวเบงกอลทางบังคลาเทศ
ส่วนอีกสามสายที่เหลือ คือ อิรวะดี สาละวิน และเจ้าพระยา

แผนที่ลักษณะที่มีทะเลสาบเชียงใหม่ ได้ถ่ายทอดกันมาหลายรุ่นตามแผนที่เก่าๆ ก็มีการวาดแม่น้ำออกจากทะเลสาบนี้ ๔ สายบ้าง ๕ สายบ้าง โดยสายหนึ่งแยกไปคล้ายแม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำอิระวดี แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำเจ้าพระยา และบางแผนที่ยังโยงออกมายังแม่น้ำโขงก็มีครับ


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 08:46

ลาลูแบร์พูดถึงต้นข่อยว่าสามารถนำเปลือกมาทำเป็นสมุดได้
แต่คุณภาพต่ำ ความหนางบางไม่สม่ำเสมอ เนื้อกระดาษและความขาวก็หย่อนน้อยกว่ากระดาษของชาวยุโรป
ลักษณะรูปเล่มก็ไม่เหมือนกัน เพราะทางนี้เป็นการพับทบไปมา ไม่ได้เย็บสันสมุดหรือม้วนเก็บ
อย่างยุโรปไม่

ดีบุก พบได้ดาษดื่นในดินแดนสยาม และชาวสยามก็รู้จักถลุงมานานแล้ว
แม้ฝีมือยังไม่ดีพอแต่สามารถสร้างรายได้ให้อย่างมหาศาล จากการค้าขายกับต่างประเทศ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 13:17

เนื้อเพลงนี้อยู่ในหนังสือของลาลูแบร์

แปลเป็นภาษาไทยว่ากระำไร

ใครช่วยได้บ้าง

 ฮืม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 13:25

^
เพลงสายสมร  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
เคยถอดออกเป็นภาษาไทย แต่ไม่แน่ใจว่าอยู่ในบันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ
หรือในสาส์นสมเด็จ  (น่าจะเป็นหนังสือเล่มแรกมากกว่า)

เพลงนี้ขึ้นต้น  สายสมรเอย   ...ประคำซ่อนเสื้อ.....
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 13:26

รู้แต่ว่าเป็นเพลงไทยเดิม ชื่อ สายสมร ค่ะ  
อ่านออกสามคำแรก  สายสมรเอย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 13:35

สายสมรเอย  แล้วอย่างไรต่อเอย

 ฮืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 13:49

คำร้องที่ลาลูแบร์บันทึกคำไทยเป็นอักษรโรมันกำกับไว้ กับโน้ตนั้น ขึ้นต้นด้วยคำว่า สายสมร และคำต่อๆ ไปก็ล้วนเป็นคำจำพวกเพลงขับกล่อมแบบเพลงมโหรีทั้งสิ้ น คำร้องทั้งหมดนี้ ได้พยายามถอดเป็นคำไทยกันมาหลายต่อหลายท่านแล้ว ไม่ได้ความตลอดสักที ข้าพเจ้าเองก็ได้พยายามมาหลายครั้ง ทั้งลองร้องไปกับเสียงตามโน้ตก็ไม่สำเร็จ

เมื่อได้พิจารณาแล้ว ก็เห็นว่าวิธีร้องเพลงไทยโบราณนั้น มีร้องเอื้อนซึ่งโดยมากเป็นเสียงเออหรือเอย กับแทรกสร้อยคำต่างๆ เช่น เจ้าเอย นะเอย อยู่เป็นอันมาก จึงทำให้ผู้จดบันทึกซึ่งเป็นฝรั่งเข้าใจผิด และจดพลาดพลั้งไปได้ เท่าที่ข้าพเจ้าลองถอดดูในครั้งหลังนี้ พอจะได้ความบ้าง แต่ก็คงจะยังผิดอีกหลายคำ คำร้องที่ข้าพเจ้าถอดเป็นดังนี้

สายสมรเอย ลูปประคำซ้อนเสื้อ

ขอแนบเนื้อฉอ้อน เคียงที่นอนในเอย

เพลงนี้ก็เจ้าเอยเพลงใด เพลงระบำหรือเจ้าเอย

เพลงนี้ก็เท่าเอย เพลงซอนะเอย

พี่เอยหวังละจะเชย จะเยื้องก้าวย่าง

นางช่าง จะเลี้ยวจะเดินเอย


โดยสุจิตต์ วงศ์เทศ เคยแปลไว้คราว พ.ศ. 2511
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง