เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 8022 อธิษฐาน จงเกิดเป็นครูบาอาจารย์ เชี่ยวชาญเชิงภาษาไทย
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 14 ม.ค. 11, 20:59


เรื่องราว และ งานของ  ขุนสุนทรภาษิต (ถนอม  เกยานนท์)


อ่านจาก หนังสืออนุสรณ์  ๒๔๙๖  พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไทยเขษม  ถนนเฟื่องนคร  พ.ศ. ๒๔๙๖

และ  พระราชินีวิกตอเรีย ใน หนังสือ นารีเรืองนาม 
หนังสืออนุสรณ์ กระทรวงมหาดไทยพิมพ์ช่วยในงานพระราชทานเพลิงศพ
คุณหญิงวิบูลลักสม์  ชุณหะวัณ   ๒๔๙๘
โรงพิมพ์มหาดไทย     กรมราชทัณฑ์     กระทรวงมหาดไทย






       เมื่อ ๑๒๕ ปีมาแล้ว  ในปี พ.ศ. ๒๔๒๙    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสจังหวัดสมุทรปราการ

ได้ประทับที่ศาลาว่าการตรงข้ามฟากพระสมุทรเจดีย์แล้ว  ได้ทรงทราบว่าในคลองปากน้ำ  ตำบลท้ายบ้าน  มีบ้านผู้คนมั่งคั่งอยู่หลายบ้าน

เพราะทำการประมง      จึงได้เสด็จลงเรือพระที่นั่งแล่นเข้าไปตามคลองปากน้ำ   จนได้เป็นพระราชวโรกาสทรงช่วยแต่งงานให้กับชาวบ้านริมคลองนี้

คือนายใช้ กับ นางเจิ่ง  ลวพันธุ์   ได้พระราชเงินกองทุนให้ ๘๐ บาทด้วย


       ถัดจากบ้านนายใช้ กับ นางเจิ่ง ลวพันธ์ไป ๔ - ๕ หลังก็ถึงบ้านชาวประมงครอบครัวหนึ่ง     บ้านอยู่ริมคลอง  ปลูกสะพานกว้าง

และปักไม้เสาไว้เรียงรายเพื่อตากอวนโป๊ะ       ที่หลังบ้านมีเล้าเป็ดกว้าง   เมื่อเรือหาปลากลับมาเป็ดจะร้องกันเซ็งแซ่   สิบปีให้หลังจากวันเสด็จพระราชดำเนิน

เด็กเล็กๆคนหนึ่งอายุ ๕ ขวบ  สวมเสื้อยืดลายแดง  ปราศจากกางเกง  สวมถุงเท้าสีมอเพราะอากาศเย็นเกะกะอยู่ในบริเวณนั้น

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 14 ม.ค. 11, 21:30



        เสียงอูดเขาควายถูกเป่าเสียงกระจายมาจากปากคลอง     เป็นเครื่องหมายบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า  เช้านี้ชาวประมงจับได้ปลาทูมาแยะทีเดียว

ไม่ช้าเรือจับปลาก็ค่อย ๆ แจวมาตามลำคลอง   ที่สายระโยงเสาเรือติดธงเป็นทิว เขียว แดง เหลือง   

ที่หัวเรือจับปลาก็ประดับประดาด้วยแพรสีต่าง ๆ


       เรือจับปลามาจอดที่ท่าสะพานใหญ่   เพื่อนบ้านนับสิบพากันมาช่วยขนปลาทูขึ้นจากเรือเทลงบนสะพานใหญ่   แล้วช่วยกันไส้เหงือกปลาทู

โดยมิได้จ้างวานมา            ใครไส้เหงือกปลาทูได้มากน้อยเท่าไร  เอาเหงือก ไต ไปทำน้ำปลาหรือไตปลาได้   หรือจะขอตัวปลาทู

ไปบ้างก็ไม่ขัดข้อง          เจ้าของปลาทูเองก็เอาปลาทูที่ไส้แล้วไปดองทำปลาทูเค็ม


        เด็กที่เกะกะอยู่นั้นบั้นเองผูกลูกพริก    แสดงว่าเป็นเด็กชาย       ถึงแม้จะเกะกะขวางทางแต่ก็ไม่มีใครว่าอะไรเพราะเป็นลูกคนที่ ๖  สุดท้อง

พี่ชายสามคน โตแล้ว  ออกไปจับปลาในทะเลได้แล้ว           เด็กคนนี้มีรูปร่างล่ำสัน  แต่ก็ไม่มีแววว่าจะต้องไปจับปลาในทะเล    ขณะนี้

กำลังเรียน ก ข้อ ก กา จากครูพลอยอยู่บ้านใกล้กัน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 14 ม.ค. 11, 21:59




       ครอบครัวประมงบ้านนี้   แม่บ้านมีความสนใจในการฟังเรื่องประโลมโลกคำกลอนในยุคนั้นมาก

ได้สั่งหนังสือวัดเกาะเพราะหนักหนาจากกรุงเทพฯ แทบทุกเรื่อง        เมื่อเรือเล็กลำเลียงปลาทูสดมา

ขายกรุงเทพฯแล้ว   บุตรชายคนใหญ่ที่เป็นนายท้ายมักซื้อหนังสือคำกลอนไปฝากเสมอ         ในปีที่ท่านเจ้าของประวัติเขียน

เรื่องนี้  หนังสือคำกลอนเหล่านั้นยังมีอยู่นับร้อยเล่ม   พระอภัยมณี  ขุนช้างขุนแผน  อิเหนา  สังข์ทอง  จักรนารายณ์  พระสมุทร ฯลฯ

ก็ยังมีอยู่   สันปกหุ้มด้วยเศษผ้า(เป็นหนังสือรวมเล่มแน่นอน  คนที่อ่านเรื่องนี้ก็ยังมีอยู่บ้าง)


       ยามค่ำคืนตะเกียงลานจะถูกตามสว่างจ้าอยู่ที่ระเบียง    คนในบ้านทำงานเย็บอวน หรืออะไร  ก็นั่งฟังอ่านหนังสือคำกลอน

เด็กชายบุตรสุดท้องก็นอนกลิ้งเกลือกไปตามระเบียงด้วย   จะได้ฟังคำกลอนสนุกสนานประการใดไม่ทราบ    แต่ชื่อสินสมุทร  สุดสาคร

เจ้าเงาะ  สังข์ทอง ฯลฯ    เด็กชายนั้นจำได้ก่อนมาอยู่วัด


       เมื่อพี่ชายอุปสมบทเป็นภิกษุที่วัดกลาง   น้องสุดท้องอายุ ๑๐ ขวบก็ตามมาด้วย   อยู่ในสำนักของพระครูสุนทรสมุทร(จ้อย  สุวณณโร)

เจ้าคณะและเจ้าอาวาสวัดกลาง(ขณะนั้นยังเป็นพระปลัด)   
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 00:03



       ถนอมอยู่วัดกลางและเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดกลาง(ต่อมาเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด)   เรียนอยู่ตั้งแต่เป็นศาลา

จนสร้างเป็นโรงเรียน   เรียนได้มาจนถึงมัธยมปีที่ ๕     ครูใหญ่และครูประจำชั้นมัธยม ๖  ที่ตอนนั้นเรียกว่าประโยคสอง

ในชั้นสูงสุดของโรงเรียนมีนักเรียน ๓ คน  คือ วงศ์  โน้ม และถนอม  ถึงคราวสอบไล่ โรงเรียนส่งมาสอบ ณ สนามหลวง กรุงเทพ ฯ

เราอ่อนคำณวนและภาษาอังกฤษ         นักเรียนทั้งสามนั้น  วงศ์ คือพระยาลัดพลีธรรมประคัล   โน้มคือ ร้อยตำรวจโท หลวงชิต ฯ

และถนอมคือ ขุนสุนทรภาษิต(ถนอม เกยานนท์)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 04:09



       ในปี ๒๔๕๐   ถนอมชาวปากน้ำได้ขึ้นมาเล่าเรียนชั้นประโยค ๒ หรือมัธยม ๖ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบ

ซึ่งเวลาครั้งนั้นเรียกว่าโรงเรียนมัธยมวัดราชบูรณะ

       ถนอมมาอยู่กับภิกษุนวม  ธรรมครองอาสน์ที่วัดคณิกาผล   อยู่ใกล้กับบ้านหลวงธรรมาภิมณฑ์(ถึก  จิตรกถึก)

กวีเอกในรัชกาลที่ ๖  เกิดชอบพอนับถือท่านกวีเอกมาก         ท่านเคยมาสนทนาด้วยภิกษุนวลในเวลาบ่ายและค่ำบ่อยๆ

เมื่อถูกอัธยาศรัยกันมากขึ้น  ท่านกวีเอกมักอ่านฉันท์ทำนองเสนาะบทต่างๆ ให้ฟัง


       บางทีท่านกวีเอกว่าแหล่เทศน์ให้ฟัง  เช่น

                    ตั้งเกณฑ์กองต้น                          เริ่มกลรามเกียรติ์

ทำศึกทศเศียร                                                องค์นเรียนนารายณ์

สรรรูปอสุเรศ                                                 แก้วเกษเบญจกาย

หลานราพณ์เหลือร้าย                                        แปลงกายปลอมกล

สวยดุจสีดา                                                   โสภาเสาวภณ

เหมือนทั่วมณฑล                                             ขุมขนคอคาง

กรแก้มกรรณเกษ                                            ขนงเนตรเนื้อนาง

(เซ็นเซ่อร์!.... )                                             เหมือนอย่างมารยา



บางทีท่านร้องเพลงพื้นเมือง  เช่น เพลงโคราช

         @  ในบาลีโบราณ     พระมาลัยท่านเล่า        ยมพาลนั่งเหงา
ขุดงิ้วกินหงุ่ย             ไม่มีใครไปตก         นรกเป็นขุย-รา


       ถนอมพอใจบทประพันธ์ที่ไพเราะนี้บ้าง     แต่ยังไม่ได้นึกจะศึกษาไว้  เพราะตั้งหน้าตั้งตาจะศึกษาให้สำเร็จชั้นมัธยม ๖

พระภิกษุนวลพระอาจารย์ได้เตือนสติว่า  "หนอม  เรามาเล่าเรียน   จะกินอยู่อย่างไรก็ช่างเถอะ   กินวิชาไว้ให้มากก็แล้วกัน"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 07:47


       เมื่อสิ้นปีการศึกษา   ถนอมสอบไล่ได้ชั้นมัธยมปีที่ ๖ โดยเรียบร้อย   แล้วไปสมัครเรียนต่อที่โรงเรียน

ฝึกหัดครูบ้านสมเด็จจังหวัดธนบุรีทันที


       เวลานั้นชั้นมัธยมปีที่ ๖ เป็นชั้นสูงสุดของสามัญศึกษา   ใครเรียนสำเร็จแล้วอาจสมัครไปเรียนต่อได้

ทหารบก ทหารเรือ  ตำรวจ ปกครอง  กฎหมายและอื่น ๆ ได้   แต่ถนอมสมัครไปเป็นครู  เพราะท่านพระครูสุนทรสมุทร

(จ้อย สุวณณสโร) บูรพาจารย์ที่วัดกลางจังหวัดสมุทรปราการแนะนำ  "เจ้าไปเรียนอะไรก็เรียนได้  แต่ไม่ถาวร

ดวงชะตาของเจ้าบอกว่าเป็นครูดี   ถ้าอย่างไรก็กลับมาเป็นครูที่วัดกลางก็คงได้"



       ถนอมไปเล่าเรียน ณ โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จ  กินอยู่หลับนอนที่โรงเรียนตลอดระยะเวลา ๒ ปี คือ พ.ศ. ๒๔๕๑ - ๒๔๕๒   

ขะมักเขม้นเหมือนม้าแข่ง  แล้วค่อยๆเร่งฝีเท้าให้ขึ้นหน้าเป็นลำดับตามระยะ

ในระหว่างการเล่าเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครู  ถนอมรักวิชาคำนวน  พีชคณิตจัดว่าเยี่ยม  ถัดลงมาก็ประวัติศาสตร์และภูมิศาสร์

ส่วนวิชาภาษาไทยหรือการประพันธ์  ไม่มีท่าทางว่าจะเก่ง   แม้การออกเสียงตัว ร.ล. ก็ไม่สู้ชัดเช่นชาวสมุทรปราการ

อาจารย์สอนภาษาไทยคือพระยาอุปกิตศิลปสาร(นิ่ม  กาญจนาชีวะ  เปรียญ) มีคุณสมบัติเพียบพร้อมในเชิงประพันธ์และสอนดีอย่างยิ่ง

แต่ถนอมก็ได้ความรู้เพียงธรรมดา   ทราบว่าท่านแต่งบทประพันธ์เข้าประกวดในหนังสือพิมพ์วิทยาจารย์ได้ที่ ๑ บ่อย ๆ

เป็นที่นิยมนับถือในหมู่นักเรียนยิ่งนัก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 22:51



       การอ่านหนังสือมาก  น่าจะเป็นผลให้เกิดนิสัยรักใคร่ในการประพันธ์บ้างกระมัง?     

เมื่อถนอมศึกษาอยู่ในโรงเรียนฝึกหัดครู  ได้อ่านหนังสือต่าง ๆ ในห้องสมุดโรงเรียนแทบหมดสิ้น

จำได้ว่าหนังสือประโลมโลกคำกลอนและกวีนิพนธ์ได้อ่านหมด   หนังสือเรื่องจีนตั้งแต่ไคเภ็กตลอดมาเป็นลำดับ

จนเซียงซุนเล่งหง  ได้อ่านหมด       หนังสือรายเดือน  รายปักษ์   รายคาบ  ทั้งเก่าใหม่ เช่นทวีปัญญา  ลักวิทยา

วิทยาจารย์  ได้อ่านหมด   ยังจำได้ว่า  เรื่องความพยาบาท  เรื่องนิทานทองอิน  ได้อ่านเป็นครั้งแรก 

จะรู้สึกชอบใจว่ามีลักษณะแปลกกว่าหนังสือประโลมโลกคำกลอน


     ถนอมเข้ารับราชการเป็นครูประกาศนียบัตร  และตอนบ่ายเย็น  ได้เข้าเรียนวิชาชุดครูเพื่อสอบไล่เอาชั้นครูมัธยม

ที่สโมสรสามัคยาจารย์     สิ้นปีการศึกษาก็สอบได้วิชาชุดวาดเขียน  ภูมิศาสตร์  ประะวัติศาสตร์  แต่วิชาชุดภาษาอังกฤษ

ยังสอบไม่ได้จึ่งมิได้เป็นครูมัธยม


       ถนอมลาราชการอุปสมบทเป็นภิกษุ ณ วัดกลาง  จังหวัดสมุทรปราการในสำนักท่านพระครูสุนทรสมุทร  บูรพาจารย์

ตลอดพรรษาไม่ได้ท่องสวดมนตร์เลย  แต่ขออ่านหนังสือพระวินัยที่มีในวัดทุกเล่ม  ได้ความรู้ทางพุทธศาสนายิ่งขึ้น

       เมื่อจะลาสิกขาบท   ท่านบูรพาจารย์ได้ดูฤกษ์ยาม  และบอกว่าได้ฤกษ์ยามจันทร์   อธิบายเป็นคำกลอนว่า

              "จันทร์เช้าสายตะวันสูง                 สำราญรอบด้วยฝูงคชสาร
        ชักโยงโขลงคลอเป็นบริวาร                  คชาธารเธอก็ได้เป็นใหญ่โต"


       ถนอมกลับมาเป็นครูต่อไป       ได้เป็นครูใหญ่โรงเรียนประถมวัดอนงค์      ภายใน ๘ เดือนก็ย้ายมาเป็นครูผู้ช่วยปกครอง

โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จ   อยู่ในตำแหน่งนี้เกือบ ๒๐ ปี

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 16 ม.ค. 11, 00:03



       เมื่อเรียนวิชาชุดมัธยมเวลาเย็นค่ำนั้น      ในวันพุธวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดเรียน  ได้ไปขอเรียนวิชาประพันธ์วรรณคดี

จากหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก   จิตรกถึก)   ทั้งนี้ได้เห็นมาหลายคนว่ามีความรู้ทางวรรณคดี        จึงคิดว่า  เมื่อได้เป็นครูแล้ว

ก็ควรรู้ทางนี้ด้วย   มิได้มาดหมายว่าจะได้เป็นนักประพันธ์สืบไปภายหน้า


       หลวงธรรมาภิมณฑ์  กวีเอกในรัชกาลที่ ๖   ขณะนั้นรับราชการอยู่ในหอพระสมุดสำหรับพระนคร     ได้เริ่มเรียนด้วยบทกลอน

โคลง  ฉันท์ เป็นลำดับแล้ว   ท่านยังเล่าถึงประวัติของกวีโบราณรวมทั้งยินยอมให้ยืมหนังสือวรรณคดีที่มีอยู่  ให้ไปอ่านและจดจำไว้

เท่ากับได้อ่านหนังสือในหอพระสมุดแทบทุกเล่ม

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 16 ม.ค. 11, 00:31


       ครูถนอมตั้งใจแน่วแน่ที่จะเป็นครูภาษาไทย       มิได้มุ่งหมายจะเป็นนักประพันธ์โดยตรง

เมื่อได้ศึกษาบทประพันธ์ไว้เพื่อการสอนแล้วมีโอกาสก็ทำแบบฝึกหัดแต่งบทประพันธ์ตามอาจารย์แนะนำบ้าง

แต่งไว้เล่น ๆ เป็นการสนุกเพลิดเพลินบ้าง


หนังสือพิมพ์รายคาบในยุคนั้นมี วิทยาจารย์  หนังสือประตูใหม่   ว่าด้วยบทประพันธ์ต่าง ๆ  และมีหนังสือผดุงวิทยา  ว่าด้วยนวนิยายและอื่น ๆ


       ครูถนอมพยายามเขียนเรื่องทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรอง   ลงพิมพ์ในวิทยาจารย์  ในการประกวดแต่งบทกวี  ได้ยอดเยี่ยม ๒ ครั้ง

คือบทโคลงว่า


รูป             ทรงศุภลักษณ์ล้ำ                                 เลอสนม   นางเอย
งาม            จริตพิทยสม                                      ศักดิ์ไซร้
นาม           นางนพมาศนิยม                                  ยุคพระ    ร่วงเฮย
เพราะ         ศัพท์ขับเปรอไท้                                   ร่วงท้าวทรงศรี


อีกบทโคลงหนึ่งว่า

รัช             ฎากรเกิดด้วย                                     ราษฎร์มี   มากเอย
ชู              ช่วยส่วยภาษี                                       ส่งให้
ป              เทศจักเจริญทวี                                     มั่งคั่ง
การ           สุขสวัสดิ์จักได้                                      แด่ด้าว   ชาวชน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 ม.ค. 11, 00:41



       หนังสือพิมพ์ประตูใหม่      มีการประกวดแต่งบทกวีทุกปักษ์       ครูถนอมได้แต่งส่งประกวดหลายครั้ง

ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมเพียงครั้งเดียว

คือบทโคลงว่า


ผัว        เมียสาวหนุ่มน้อย                           ได้สมกันแฮ
แก่        กับแก่อบรม                                 ร่วมห้อง
เมีย       หม้ายพ่อหม้ายชม                          ชวนชื่น
สาว       ใหญ่กับทิดต้อง                             โศกสล้างสุขเกษม                             
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 16 ม.ค. 11, 00:49



       หนังสือพิมพ์อะไรลืมเสียแล้ว   ประกวดแต่งบทกวีว่า "อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์มากที่สุด"

ครูถนอมแต่งได้เยี่ยมยอดว่า

@  นานามนุษย์ทั้ง                     ทวยโอฆ    ภพเอย
ทุกข์ที่สุดแสนโศก                       สบเศร้า
เหตุเพราะรักแรงโรค                    รุมจิต   ท่านนา
สิ้นรักสิ้นทุกข์เข้า                        เขตนั้นนิพพาน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 16 ม.ค. 11, 08:05



       หนังสืออนุสรณ์ ขุนสุนทรภาษิต (ถนอม  เกยานนท์)  มีความรู้หลายอย่างแฝงอยู่   

กลอนรำพันถึงสภาพกรุงปารีสเสียแก่เยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ ๑   จับใจเป็นที่ยิ่ง  ที่ครูไทยคนหนึ่ง

สามารถถ่ายทอดความเป็นสากล  สง่างาม 


       @  โอ้ว่าอนิจากรุงปารีส                          เคยปราณีตเจริญจรุงกรุงศรี

สพรั่งพรึบพร้อมประไพโสภี                              ภูมิพื้นธานีงดงาม


       กลอนที่นำมาลงมีอยู่แค่นี้    แต่แสดงความเป็นพหูสูตรของครูถนอม  ที่เขียนไว้ในผดุงวิทยารายเดือน   บรรณาธิการ

คือ น.ส. ลม่อม  สีบุญเรือง    ความหอมหวลของงานของกวีเล็กๆ  ครูใหญ่โรงเรียนประถมแห่งหนึ่งยังมีอยู่    เนื้อกลอนดิฉันอ่านออก

เข้าใจ    และจะไปตามหาผดุงศึกษามาอ่านต่อไป    เล่นหนังสือเก่าทั้งที หาแค่นี้ไม่ได้ให้รู้ไป  จะต้องก้มกราบนักสะสมก็จะทำ

ครูถนอมอ่านหนังสือภูมิศาสตร์    อ่านหนังสือประวัติศาสตร์    เรียนวรรณกรรมมาจากปราชญ์คนหนึ่งของประเทศ

แล้วเขียนสงสารมหานครในภาวะหลังสงคราม

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 ม.ค. 11, 18:36

เข้ามาอ่านและศึกษาครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 16 ม.ค. 11, 22:39



       มีหนังสือ หลวงธรรมาภิมณฑ์  (ถึก จิตรกถึก) ฉบับพิมพ์ใหม่อยู่แถวๆ นี้ค่ะคุณไซมีส  ที่นับถือ     

อ่านหนังสือแว่บเห็นชื่อท่านก็เกิดสนใจ      อ่านไป ก็เกิดความเลื่อมใส เพราะกลอนท่านคมน่าอ่านทีเดีบว

เพื่อนฝูงบอกว่าหนังสืออนุสรณ์ดี ๆ หาอ่านลำบากแล้วตอนนี้      เกร็ดที่ท่านนำมาเล่าเป็นเรื่องที่ศึกษาและเก็บอยู่ค่ะ


       เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น  เทพหัสดิน  ณ อยุธยา) ได้เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนเป็นคนแรก

เมื่อคณะครูบาอาจารย์แห่งโรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จ  ไปรายงานตัวต่อท่าน        ท่านได้พยักหน้าแก่ทิดมุ่ย  ปากน้ำ

ครูหนุ่มในคณะ    เพราะท่านได้รู้จักเป็นพิเศษมาก่อน   ด้วยเรื่องแต่งโคลงกระทู้ประกวดในหนังสือพิมพ์วิทยาจารย์

โดยมีกระทู้ว่า      รูป  งาม  นาม  เพราะ


       กระทู้โคลงนี้  มีผู้แต่งส่งเข้าประกวดมากตามเคย  แต่มีสองบทที่กรรมการยกขึ้นเสนอเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

ซึ่งในเวลานั้นท่านเป็นเสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ     ๒ บทนั้นว่า


รูป     โฉมเสาวลักษณ์ล้ำ                  เลอสนมนางเอย

งาม    จริตพิทยสม                         ศักดิ์ไซร้

นาม    นางนพมาศนิยม                    ยุคพระ  ร่วงเอย

เพราะ  ศัพท์ขับเปรอไท้                     ร่วงท้าวทรงศรี



รูป       ทรงสันทัดป้อ                         คมคาย

งาม     หนวดหน้าสมชาย                     ชาติเชื้อ

นาม    ก้องเกียรติกระจาย                    ลือทั่ว  เทศเอย

เพราะ  ปาฐกะเกื้อ                             นามนี้คือใคร


       สองโคลงนี้ผู้แต่งลงชื่อว่า  "ทิดมุ่ย  ปากน้ำ"           ทิดมุ่ย  ปากน้ำถูกเรียกตัวไปหาเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

ซึ่งถามว่า   "คุณแต่งโคลง ๒ บทนี้หรือ?"

       ทิดมุ่ยชำเลืองดูกระดาษแล้วก็ตอบทันที   "เกล้ากระผมแต่งเองทั้งสองบท"

       เจ้าคุณธรรมศักดิ์ยิ้มน้อย ๆ  "คุณแต่งได้ดีถึงขนาด  เออนี่  คุณเรียนแต่งบทกวีโดยตนเองหรืออย่างไร?"

       ทิดมุ่ย ปากน้ำทีแรกหวั่น ๆ อยู่ว่าจะถูกต่อว่าที่แต่งความรำพันตัวท่านเจ้าคุณ   แต่เมื่อยินว่าแต่งได้ดี  ก็ชักใจมาเป็นกอง

รีบตอบว่า   "เกล้า ฯ  เรียนแต่งบทกสีมาจากหลวงธรรมาภิมณฑ์"

       "ครูถึก   จิตรกถึก   กวีเอกที่แต่งกล่อมช้างถวายพระเจ้าอยู่หัวใช่ไหม"
     
       "อ้อ   คุณหมั่นเรียนไว้เถอะ   ครูถึกท่านก็แก่แล้ว   ช่วยกันไปถ่ายวิชาจากท่านไว้   เออ - โคลงบทที่แต่งถึงฉันน่ะ   ขอเสียทีเถอะ

บทที่ว่าถึงนางนพมาศ  กรรมการเขาตัดสินให้เป็นรางวัลที่ ๑"


เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี  ผู้บัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือน   เมื่อจะกราบทูลเสนอขอพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้แก่คณะครูอาจารย์แห่งโรงเรียนฝึกหัดครู

ได้เสนอให้ทิดมุ่ย เป็น ขุนสุนทรภาษิต (ถนอม  เกยานนท์)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 04:59



       เมื่อรัชกาลที่ ๖  ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างตึกมหาวิทยาลัยขึ้น   แล้วให้รวมโรงเรียน

ชั้นสูงของกระทรวงต่าง ๆ เข้ามารวมเรียนในที่เดียวกัน เรียกว่า "โรงเรียนข้าราชการพลเรือน"

โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาของกระทรวงศึกษาธิการได้ยกมาสมทบด้วย   พระมหาธีรราชเจ้าได้

ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ ทรงพระราชนิพนธ์นามบรรดาศักดิ์ไว้ให้ใช้แก่โรงเรียนข้าราชกาลพลเรือนดังนี้  คือ


วิทยาปรีชามาตย์

เทพศาสตร์สถิตย์

เทพวิทย์เสถียร

เพียรพิทยาศาสตร์

พาจพิทยากร

สุนทรภาษิต

วิจิตรภาษา
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง