เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 59292 " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 15:08

ไปเจอศิลปวัฒนธรรมออนไลน์  รายงานเรื่องพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1294815134&grpid=&catid=08&subcatid=0804

"พระปิ่นเกล้า" The Second King แห่งรัชกาลที่ 4 กษัตริย์ผู้ทรงมีอัจฉริยภาพที่มากคน"ไม่รู้จัก"

วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554 เวลา 14:29:39 น.
โดย...ปรีชยา ซิงห์

เป็นที่รับรู้กันไม่ลงลึกนักว่า ในสมัยรัชกาลที่ 4 หรือเมื่อกว่า 160  ปีที่ผ่านมา สยามประเทศ มีพระมหากษัตริย์ปกครองบ้านเมืองด้วยกันถึง 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่ง ทั้งสองพระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินคู่พี่น้องสายเลือดเดียวกันที่ทรงเปี่ยมไป ด้วยพระปรีชาความสามารถรอบด้าน โดยเฉพาะกิจการด้านการต่างประเทศ

และเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา กรมศิลปากร ได้จัดงาน "เปิดวังหน้า รำลึกพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว"  ในวาระคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ พร้อมกับมีการเสวนาเรื่อง พระปิ่นเกล้า อ่าน เขียน เรียน "ฝรั่ง" รู้เท่าทันตะวันตก   ด้วย  The Second King   ตามที่ชาติฝรั่งเรียกนี้ ทรงมีชื่อเสียงโด่งดังกับราชทูตประเทศอังกฤษมาก กระทั่งกระฉ่อนไปไกลถึงสหรัฐอเมริกา ถึงขนาดที่  นายแฟรงกลิน เพียร์ซ ประธานาธิบดีคนที่ 14 ของสหรัฐฯ  ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมากมายมาถวาย กษัตริย์ทั้ง2 ถึงเมืองสยาม

   เอกสุดา สิงห์ลำพอง อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร  เปิดเผยเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่พบว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ทรงชื่นชอบสนับสนุนชาติ "อเมริกา" มากถึงขั้นพระราชทานนามพระโอรสองค์โตของพระองค์ ในเจ้าจอมมารดาเอมว่า "ยอร์ช วอชิงตัน" (พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ หรือ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ) ตามชื่อประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา
   โดยเครื่องบรรณาการที่นายทาวน์เซนด์ ทูตของสหรัฐนำมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีภาพวาดเหมือนนายจอร์จ วอชิงตัน ขนาดเท่าตัวจริงเป็นหนึ่งในรายการที่นำมามอบให้   ซึ่งน่าจะถูกพระทัยพระองค์เป็นที่สุด


ภาพเหมือนประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน ที่อเมริกา นำมาทูลเกล้าฯ ถวายให้กษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งกรุงสยามในสมัยนั้น  เป็นฝีมือการวาดของ เรมบรันต์ พีล (Rembrandt Peale) ศิลปินชื่อดังชาวอเมริกัน ปัจจุบันแขวนอยู่ที่พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ส่วนอีกรูปหนึ่งนายทาวน์เซนด์นำมาถวายรัชกาลที่ 4 ในคราวเดียวกัน แต่ปัจจุบันไม่ทราบไปอยู่ที่แห่งใด ด้วยไม่มีใครเคยพบเห็นอีกเลย

   ด้าน นายไกรฤกษ์ นานา นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์  และคอลัมนิสต์ประจำนิตยสารศิลปวัฒนธรรม  สำนักพิมพ์มติชน ได้โชว์หนังสือพิมพ์ต่างประเทศ ที่เผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นจดหมายที่ เซอร์ จอห์น บาวริ่ง ราชทูตอังกฤษสมัยนั้น เขียนชื่นชม The Second King  ของไทย ที่ทรงมีสายพระเนตรกว้างไกลใน ด้านการทหาร การต่างประเทศ ทรงรอบรู้ข่าวสารต่างๆในการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างชาติ ทั้งยังชื่นชมการพูด การเขียน การอ่านภาษาอังกฤษของพระองค์ที่มีความแตกฉานอย่างคล่องแคล่วและสละสลวย โดยเฉพาะลายพระหัตถ์ที่สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อยมาก
 
        นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ชื่อดัง กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกษัตริย์ที่ชาติยุโรปให้การยอมรับมาก นอกเหนือจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองค์ทรง ปรีชาทางด้านการทหารมาก ด้วยทรงเป็นทหารเรือ มาตั้งแต่ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แล้วโดยทรงดูแลเรื่องกรมทหาร ทรงสนใจเกี่ยวกับอาวุธยุทธภัณฑ์เป็นพิเศษ  วิชาการช่างกล และวิชาการปืนใหญ่ ทั้งยังมีความรู้ในวิชาการต่อเรืออย่างดี ทรงต่อเรือรบกลไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย  ซึ่งตำแหน่งสูงสุด คือทรงบังคับบัญชาการทหารเรือ วังหน้า (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) ดังจะเห็นได้ว่า โปรดทรงเครื่องแบบทหารเรือมากที่สุด

         นายไกรฤกษ์ ระบุต่อว่า  เมื่อมีผู้อัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ พระองค์จึงทรงให้อัญเชิญ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระอนุชาขึ้นครองราชย์พร้อมกันไปด้วย  พร้อมทั้งทำพิธีพระบวรราชาภิเษกเสมอด้วยเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 เนื่องจากพระปิ่นเกล้าทรงมีกำลังทหารมาก  และมีพระชะตาแรงสมควรได้เป็นกษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง เสมือนอเมริกาที่มีประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี  อย่างไรก็ตาม ชาติฝรั่ง ระบุลงในบันทึกว่า อำนาจบริหารประเทศอยู่ที่พระจอมเกล้า 80 %  ขณะที่พระปิ่นเกล้าอยู่ที่ 20 %

   ปิดท้ายที่ รศ.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ อดีตคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   เปิดคำถามขึ้นต้นว่า "ทำไมสยามต้องสนใจตะวันตก?"  พร้อมอธิบายว่า ประเทศสยามเริ่มเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการต่างๆ โดยรับอิทธิพลจากชาติตะวันตกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4  ที่ผู้นำสยามมีความสัมพันธ์อันดีกับชาติอเมริกัน ซึ่งมีผลลึกซึ้งเป็นอย่างมาก ผู้ที่นำเข้าวัฒนธรรมต่างๆ นั้นล้วนมาจากหมอสอนศาสนาหรือมิชชันนารี

  ซึ่งจากการศึกษาแล้วมิชชันนารีเหล่านั้นแม้จะเป็นผู้ที่มีความเชื่อเรื่อง ศาสนามาก   แต่ก็ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะเข้ามาเผยแผ่คริสตศาสนาในสยาม  เพียงแต่แวะเข้ามายังดินแดนแหลมทองเพื่อรอเปลี่ยนผ่านไปยังประเทศอื่นๆ ในแถบภูมิภาค  แม้สุดท้ายมิชชันนารีหลายคนก็ปักหลักสร้างครอบครัวในสยามไปเลย

          อาจารย์ธเนศกล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว  และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ค่อนข้างโปรดมิชชันนารีเหล่านี้มาก นั่นเพราะบุคคลเหล่านี้ทำให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันระหว่าง ชาวสยามและชาวอเมริกัน  กระทั่งหมอบรัดเลย์ หรือ แดน บีช แบรดลีย์ (Dan Beach Bradley, M.D.)   ชาวอเมริกัน ถึงขนาดถ่ายทอดเป็นองค์ความรู้ เรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับชาติตะวันตกเป็นฉบับภาษาไทยกันเลยทีเดียว ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดา ที่พระมหากษัตริย์ไทยเอาความรู้ต่างๆมาใช้จากการเรียนศาสนามาตีความ  ขณะที่ คนสยามเองก็ไม่ได้เปลี่ยนไปนับถือพระเจ้าตามแบบตะวันตกมากนัก

          "การเรียนรู้ วิวัฒนาการชาติตะวันตกของผู้นำสยาม โดยผ่านภาษาไทย เป็นปรีชาญาณความสามารถที่ได้เปรียบของรัชกาลที่ 4 เพราะการถ่ายทอดวัฒนธรรมตะวันตกโดยสร้างผ่านภาษาไทยพร้อมกับมีการพิมพ์เป็นตัวอักษรในช่วงเปลี่ยนผ่ายสยามเป็นเรื่องที่ใหม่ในยุคสมัยนั้น  กลายเป็นเงื่อนไขที่เปิดโอกาสให้สยามได้รับรู้โลกภายนอกได้มากขึ้น และเชื่อว่า การที่สยามรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นในการล่าอาณานิคมในยุคนั้นก็ด้วยเพราะ พระจอมเกล้าและพระปิ่นเกล้าทรงผ่อนปรนและเป็นมิตรกับชาติมหาอำนาจจนเราได้ รับเอกราชถึงทุกวันนี้" รศ.ธเนศ กล่าว

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 15:14

      จากเวปของกองทัพเรือ

……..พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดทัพไปช่วย(เจ้าพระยาบดินทร์เดชา)พร้อมกับ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว)เป็นแม่ทัพเรือ  นำเสบียงอาหาร พร้อมด้วย กำลังทหารไปทางทะเลอีกทางหนึ่ง โดยเสด็จออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๓๘๔  จนกระทั่งทัพเรือได้เดินทางไปประชิดป้อมปากน้ำ เมืองบันทายมาศ แล้วระดมยิงปืนใหญ่เข้าไป ญวนได้ตอบโต้อย่างเต็มกำลังนานถึง ๖-๗ วัน ขณะนั้นเป็นช่วงปลายมรสุม ลมตะวันตกพัดรุนแรง เรือซึ่งมีอยู่จำนวนมาก จะทนสภาพคลื่นลมเช่นนั้นไม่ไหว สถานที่ ๆจะซ่อมทำก็ไม่มี ประจวบกับ กำลังพลจากเมืองไซ่งอน กำลังจะเดินทางมาถึง กรมขุนอิศเรศ รังสรรค์ ได้ตัดสินพระทัยที่จะถอยทัพไปพักอยู่ที่เมืองจันทบุรีก่อน เมื่อสิ้นฤดูลมตะวันตกแล้ว จึงจะออกมาทำการรบใหม่ หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้เรียกกองทัพกลับกรุงเทพฯ ……..


อยู่ทางใต้ติดทะเลนี่เอง ถึงไปทางเรือ   ดูเส้นทางก็เลียบชายฝั่งไป ไม่ไกลเท่าใดนัก
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 15:15

^
น่าจะเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา  ใครรู้บ้างคะว่าตรงไหน?


ทิวทัศน์ของท่าและอู่ต่อเรือที่บางกอก
(ซาบาติเออร์ วาดจากภาพสเกทซ์ของอองรี มูโอต์)

ภาพที่ปรากฏเป็นโบสถ์เก่าของวัดอัสสัมชัญ บางรัก ครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 15:22

อ้างถึงตำนานเรือรบไทย กล่าวไว้นิดหน่อยว่า "เมื่อไทยเกิดเปนข้าศึกกับญวนเมื่อรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเกรงว่าญวนจะยกกองทัพเรือขึ้นมาบุกรุกพระราชอาณาเขตรบ้าง จึงโปรดฯให้สร้างป้อมปราการตามหัวเมืองชายทเล และให้ต่อเรือรบกำปั่นแปลงขึ้นดังกล่าวมาแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ เมื่อยังเปนที่เจ้าพระยาพระคลัง ได้ว่าทั้งกระลาโหมแลกรมท่า ต้องเปนเจ้าหน้าที่ไปสร้างป้อมปราการที่เมืองจันทบุรี ครั้นนั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เมื่อยังเปนที่หลวงนายสิทธิ์ ลงไปช่วยราชการบิดาที่เมืองจันทบุรี ได้ไปตั้งโรงต่อเรือกำปั่นใบตามแบบฝรั่งขึ้น ๒ ลำ

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ส่งเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรก็โปรดฯ พระราชทานชื่อว่าเรือเทพโกสินทร ลำ ๑ เรือระบิลบัวแก้ว ลำ ๑ แล้วมีรับสั่งให้ต่อเรือเพิ่มเติมขึ้นอีก ๑๐ ลำ เรือกำปั่นใบซึ่งต่อในคราวนี้ ได้ใช้เปนเรือรบในคราวเมื่อโปรดฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อเปนที่จมื่นไวยวรนาถยกลงไปตีเมืองญวน"

จะเห็นได้ว่าขบวนเรือรบของเราตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี มีกองเรือ และเป็นที่ตั้งมั่นแล่นเรือกำปั่นแปลง (คือเรือกำปั่น ติดปืนเป็นเรือรบไว้ใช้ทางทะเล) มุ่งหน้าไปเมืองฮาเตียนได้เลย และได้แนบแผนที่เส้นทางการเดินเรือในอ่าวไทย จนถึงแหลมญวน จะเห็นว่าชายฝั่งกัมพูชามีหมู่เกาะเล็กเกาะน้อยมากมาย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 15:43

อ้างถึง
ทรงมีชื่อเสียงโด่งดังกับราชทูตประเทศอังกฤษมาก กระทั่งกระฉ่อนไปไกลถึงสหรัฐอเมริกา ถึงขนาดที่  นายแฟรงกลิน เพียร์ซ ประธานาธิบดีคนที่ 14 ของสหรัฐฯ  ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมากมายมาถวาย กษัตริย์ทั้ง2 ถึงเมืองสยาม

   เอกสุดา สิงห์ลำพอง อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร  เปิดเผยเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่พบว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ทรงชื่นชอบสนับสนุนชาติ "อเมริกา" มากถึงขั้นพระราชทานนามพระโอรสองค์โตของพระองค์ ในเจ้าจอมมารดาเอมว่า "ยอร์ช วอชิงตัน" (พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ หรือ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ) ตามชื่อประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา
   โดยเครื่องบรรณาการที่นายทาวน์เซนด์ ทูตของสหรัฐนำมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีภาพวาดเหมือนนายจอร์จ วอชิงตัน ขนาดเท่าตัวจริงเป็นหนึ่งในรายการที่นำมามอบให้   ซึ่งน่าจะถูกพระทัยพระองค์เป็นที่สุด

ท่านทูตทาวน์เซนด์ แฮรีสเองก็แสดงความชื่นชมพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯมาก ดังจะเห็นได้จากบันทึกฉบับนี้




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 15:56

^

นายพลแฮริน ผู้นี้เอง เป็นผู้นำเรือดำ เข้าจอดเทียบท่าเมืองเอโดะ ในรัฐบาลโตกุกาว่า เรียกร้องให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ และลงนามทำสนธิสัญญาทางการค้าระหว่างอเมริการ-ญี่ปุ่น
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 16:05

ผู้นำเรือดำเข้ามาคือ นายพล แม็ตธิว เปอรี  (Commodore Matthew Calbraith Perry) มิใช่หรือครับ

ส่วนท่านทูตแอริส  เป็นผู้เข้าไปทำสนธิสัญญา  ซึ่งเป็นเหตุการณ์หลังเรือดำ รึเปล่าครับ?
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 16:18

ผู้นำเรือดำเข้ามาคือ นายพล แม็ตธิว เปอรี  (Commodore Matthew Calbraith Perry) มิใช่หรือครับ

ส่วนท่านทูตแอริส  เป็นผู้เข้าไปทำสนธิสัญญา  ซึ่งเป็นเหตุการณ์หลังเรือดำ รึเปล่าครับ?

ผมพลาดเองครับ เรือดำ (Black Ship) โดยนายพล แม็ตธิว เปอรี ครับ  อายจัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 16:44

The Black Ship ของ Perry

Matthew Perry
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 16:50

อีกภาพหนึ่งครับ อ.เทาชมพู เป็นเรือเครื่องจักรไอน้ำด้วยนะครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 16:59

ย้อนกลับมาถามถึงเรือพระที่นั่งและเรืออื่นๆที่ยกพลไปบันทายมาศ

อ้างถึง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ส่งเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรก็โปรดฯ พระราชทานชื่อว่าเรือเทพโกสินทร ลำ ๑ เรือระบิลบัวแก้ว ลำ ๑ แล้วมีรับสั่งให้ต่อเรือเพิ่มเติมขึ้นอีก ๑๐ ลำ เรือกำปั่นใบซึ่งต่อในคราวนี้ ได้ใช้เปนเรือรบในคราวเมื่อโปรดฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อเปนที่จมื่นไวยวรนาถยกลงไปตีเมืองญวน"

จะเห็นได้ว่าขบวนเรือรบ ของเราตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี มีกองเรือ และเป็นที่ตั้งมั่นแล่นเรือกำปั่นแปลง (คือเรือกำปั่น ติดปืนเป็นเรือรบไว้ใช้ทางทะเล) มุ่งหน้าไปเมืองฮาเตียนได้เลย และได้แนบแผนที่เส้นทางการเดินเรือในอ่าวไทย จนถึงแหลมญวน จะเห็นว่าชายฝั่งกัมพูชามีหมู่เกาะเล็กเกาะน้อยมากมาย

ถ้างั้น เรือไทย bark, ship, schooner  ล้วนแต่เป็นเรือเครื่องจักรไอน้ำด้วยหรือเปล่า  หรือว่าใช้ใบเรือควบคุมการเดินทาง เท่านั้น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 17:19

^
ยังเป็นเรือใช้ใบครับ
ตอนไปรบกับญวน ไทยยังไม่มีเรือที่ติดเครื่องจักรเลย

เมืองบันทายมาศ(ชื่อเขมร) เขมรอ้างว่าเป็นของเขมร ญวนก็อ้างว่าเป็นของญวนชื่อเมืองฮาเตียน ไทยเห็นว่าเขมรเป็นเมืองขึ้น ก็คิดว่าบันทายมาศนี้อยู่ในเขตปกครองของไทยด้วย
แต่ความจริงแล้ว ประชากรในเมืองนี้เป็นคนญวนมากกว่าคนเขมร ไทยเข้าไปจะก็ต้องทะเลาะกับญวนเป็นธรรมดา

ดูในแผนที่นะครับ เส้นเหลืองคือเส้นพรมแดน เมืองฮาเตียนห่างจากเขมรแค่สามสิบกว่ากิโลเมตรเท่านั้น

ส่วนในภาพขาวดำ ถ่ายเมื่อปี2512 สี่สิบกว่าปีก่อนนั้นบ้านเมืองก็อาจจะเห็นร่องรอยเมืองสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯทรงนำเรือรบไประดมยิง
ป้อมปืนของญวนคงอยู่บนเขาที่เป็นหัวแหลม ทะเลมีคลื่นตลอดเรือคงไม่อยู่นิ่งให้เล็งนาน ไม่ทราบว่า อานุภาพอันจำกัดของปืนใหญ่ทั้งสองฝ่าย จะยิงกันโดนอะไรหรือไม่



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 17:42

เรือBARKและเรือSCHOONER เป็นเรือที่ออกแบบให้แล่นเร็ว ไม่อุ้ยอ้ายเหมือนเรือSHIP ซึ่งส่วนใหญ่เน้นการขนสินค้าเป็นหลัก

เอาลายเส้นเปรียบเทียบเรือBARK และเรือSCHOONER มาให้ชม
ที่เห็นความแตกต่างชัดๆก็คือลักษณะของใบเรือ

เรือเหล่านี้เมื่อวิศวกรประดิษฐ์เครื่องจักรกลขึ้นมาได้ ก็ยังใช้เครื่องจักรเป็นแค่ตัวเสริมเวลาอับลม หรือการวิ่งเข้าไปในแม่น้ำซึ่งคดเคี้ยว บังคับใบให้กินลมลำบาก
แต่ในทะเลเปิดวันที่ลมพัดเป็นปกติ ใช้ใบอย่างเดียวก็วิ่งฉิวกว่าการขับเคลื่อนด้วยเครื่องในสมัยนั้นมาก



บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 17:46

ในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 2 ว่า
ในปีพ.ศ. 2353 ญวนส่งทูตมาขอเอาเมืองบันทายมาศ โดยอ้างว่าเจ้าเมืองบันทายมาศเป็นคนไม่ดี
พระเจ้ากรุงเวียดนามจึงตั้งขุนนางญวนมาว่าราชการแทน ด้วยเมืองนี้เมื่อก่อนขึ้นแก่ญวน
จึงขอรับพระราชทานไปเป็นเมืองขึ้นอย่างแต่ก่อน
ฝ่ายเราก็ยอมยกให้เขาไปตามประสงค์ ด้วยเหตุหลายประการ

แต่เห็นว่าญวนไปได้แต่ตัวเมืองบันทายมาศเท่านั้น ส่วนดินแดนยังอยู่ในฝั่งกัมพูชา และเป็นของกัมพูชาจนทุกวันนี้
เท็จจริงอย่างไรครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 18:23

ย้อนกลับมาถามถึงเรือพระที่นั่งและเรืออื่นๆที่ยกพลไปบันทายมาศ

อ้างถึง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ส่งเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรก็โปรดฯ พระราชทานชื่อว่าเรือเทพโกสินทร ลำ ๑ เรือระบิลบัวแก้ว ลำ ๑ แล้วมีรับสั่งให้ต่อเรือเพิ่มเติมขึ้นอีก ๑๐ ลำ เรือกำปั่นใบซึ่งต่อในคราวนี้ ได้ใช้เปนเรือรบในคราวเมื่อโปรดฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อเปนที่จมื่นไวยวรนาถยกลงไปตีเมืองญวน"

จะเห็นได้ว่าขบวนเรือรบ ของเราตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี มีกองเรือ และเป็นที่ตั้งมั่นแล่นเรือกำปั่นแปลง (คือเรือกำปั่น ติดปืนเป็นเรือรบไว้ใช้ทางทะเล) มุ่งหน้าไปเมืองฮาเตียนได้เลย และได้แนบแผนที่เส้นทางการเดินเรือในอ่าวไทย จนถึงแหลมญวน จะเห็นว่าชายฝั่งกัมพูชามีหมู่เกาะเล็กเกาะน้อยมากมาย

ถ้างั้น เรือไทย bark, ship, schooner  ล้วนแต่เป็นเรือเครื่องจักรไอน้ำด้วยหรือเปล่า  หรือว่าใช้ใบเรือควบคุมการเดินทาง เท่านั้น


เรือกำปั่นแปลง ยกจากตำนานเรือรบระบุไว้ดังนี้

"เมื่อเกิดรบขึ้นกันกับญวนในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เจ้าพระยานครฯ (น้อย) คิดแบบอย่างเรือรบขึ้นใหม่ เจ้าพระยานครฯ คิดต่อเปนเรือกำปั่นแปลงขนาดยาว ๑๑ วา กว้าง ๙ ศอกคืบ หัวเปนเรือปากปลา ท้ายเปนกำปั่น มีหลักแจวรายตลอดลำทั้งสองแคม สำหรับแจวในแม่น้ำลำคลอง และมีเสาใบสำหรับแล่นใบในทะเลด้วย

เมื่อคิดแบบอย่างตกลงกันแล้ว โปรดฯ ให้เจ้าพระยานครฯ ต่อเรือกำปั่นแปลงลำแรกที่บ้านหน้าวัดมหาธาตุ ต่อสำเร็จแล้วถวายทอดพระเนตร ก็โปรด พระราชทานชื่อว่า เรือมหาพิไชยฤกษ์ ...และได้ต่อขึ้นอีก ๓๐ ลำ พระราชทานเงินช่วยลำละ ๒,๔๐๐ บาท"

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 20 คำสั่ง