เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 59414 " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 12:45

แยกซอยไปหาประวัติเซอร์จอห์น เบาว์ริง (วิกิสะกดอย่างนี้)


เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เกิดที่เมืองเอ็กซเตอร์แห่งจังหวัดเดวอน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ เป็นเด็กหัวดีเรียนเก่ง สามารถพูดได้ถึง 10 ภาษาหลัก ๆ ในยุโรปทั้งหมดรวมถึงจีนกลาง เริ่มเขียนบทความลงใน "Westminster Review” นิตยสารวิเคราะห์เศรษฐกิจ ต่อมาในปี 2368 ได้ขึ้นเป็นบรรณาธิการ และได้ย้ายไปเนเธอร์แลนด์เรียนจบแพทย์และกฎหมายจากมหาวิทยาลัยกรอนิงเกน (University of Groningen) ต่อมาได้เป็นสมาชิกของสภา Kilmarnock Burghs จากนั้นได้รับการแต่งตั้งไปเจรจาทางการค้ากับฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ซีเรีย และเยอรมัน ซึ่งต่อมาได้เป็นตัวแทน การเจรจาทางการค้ากับจีนที่เมืองกวางจูในปี 2392 หลังจากนั้นอีก 5 ปี ก็ขึ้นเป็นข้าหลวงอังกฤษประจำฮ่องกง เมื่อฮ่องกงตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ หลังจีนพ่ายแพ้ใน "สงครามฝิ่นครั้งที่ 2” และได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองฮ่องกง ในปี 2398

เบาว์ริงได้เชิญพระราชสาสน์ในสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการเข้ามาทำสนธิสัญญาทางไมตรีกับสยาม สัญญาฉบับนั้นคือ "สนธิสัญญาเบาว์ริง” เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2398 ซึ่งมีทั้งผลดีและผลเสีย  ผลเสียคือสยามเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาล เกิดสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ทำให้คนอังกฤษและคนในบังคับของอังกฤษไม่ต้องขึ้นศาลไทย   แม้ทำผิดไม่ว่าอาญาหรือแพ่ง ไทยก็ไม่อาจลงโทษได้   นอกจากนี้สัญญาเบาริงทำให้การค้าเสรี    ถือเป็นการสิ้นสุดของการผูกขาดการค้าต่างประเทศ โดยพระคลังสินค้าของสยาม
แต่ผลดีของสนธิสัญญาก็มี คือทำให้สยามรอดปลอดภัยมาได้จากเป็นอาณานิคม   ไม่ถูกอังกฤษใช้กำลังยึดเอาดื้อๆอย่างที่เคยทำกับพม่า     และผลพลอยได้คือการค้าต่างประเทศเฟื่องฟูขึ้นมาก  ทำรายได้เข้าประเทศมากกว่าระบบผูกขาดการค้าอย่างเมื่อก่อน

สยามปฏิบัติกับเบาว์ริงอย่างเป็นมิตร  ในต้นรัชกาลที่ 5 เบาว์ริง ได้รับแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน และทวีปยุโรป มีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาสยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ” ต่อมาในปี พ.ศ. 2404 เบาว์ริงย้ายไปเป็นตัวแทนทางการค้าที่อิตาลี และอีกหลายประเทศในยุโรป เบาว์ริงเสียชีวิตเมือวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 12:46

ขอจบเรื่องของ เฟรเดอริค อาร์เธอร์ นีล ครับ




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 12:54

ใครสนใจ หาอ่านPickwick Papers ได้ที่นี่ค่ะ

http://www.online-literature.com/dickens/pickwick/1/
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 13:34

^
^
แหะ ๆ เข้าไปอ่านแล้ว

ท่านอาจารย์น่าจะแปลไว้ให้ด้วยนะขอรับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 13:47

^
^
ยังหาบันไดปีนขึ้นไปได้ไม่ถึงค่ะ

and, in another hour, Mr. Pickwick, with his portmanteau in his hand, his telescope in his greatcoat pocket, and his note-book in his waistcoat, ready for the reception of any discoveries worthy of
being noted down, had arrived at the coach-stand in St.  Martin's-le-Grand.

'Cab!' said Mr. Pickwick.

'Here you are, sir,' shouted a strange specimen of the human race, in a sackcloth coat, and apron of the same, who, with a brass label and number round his neck, looked as if he were catalogued in some collection of rarities. 
This was the waterman.  'Here you are, sir.  Now, then, fust cab!'  And the first cab having been fetched from the public-house, where he had been smoking his  first pipe, Mr. Pickwick and his portmanteau were thrown into the vehicle.

'Golden Cross,' said Mr. Pickwick.

'Only a bob's vorth, Tommy,' cried the driver sulkily, for the  information of his friend the waterman, as the cab drove off.

'How old is that horse, my friend?' inquired Mr. Pickwick, rubbing his nose with the shilling he had reserved for the fare.

'Forty-two,' replied the driver, eyeing him askant.

'What!' ejaculated Mr. Pickwick, laying his hand upon his  note-book.  The driver reiterated his former statement.  Mr. Pickwick looked very hard at the man's face, but his features  were immovable, so he noted down the fact forthwith.

'And how long do you keep him out at a time?'inquired Mr. Pickwick, searching for further information.

'Two or three veeks,' replied the man.

'Weeks!' said Mr. Pickwick in astonishment, and out came the note-book again.

ในเรื่องนี้นอกจากมีภาษาอังกฤษอย่างสุภาพชนแล้ว ยังมีอังกฤษแบบค็อกนีย์  (ในอักษรสีแดง) อ่านยากและแปลยาก   สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงเข้าถึงอารมณ์ขันในเรื่องนี้ได้ แสดงว่าภาษาไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับพระองค์ท่านเลย

เอาคลิปไปดูก่อนดีไหมคะ   จะขำง่ายกว่า

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 14:22

อ. NAVARAT.C มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหวนวงนี้หรือไม่ครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 15:23

^
^
เพิ่งจะทราบเรื่องแหวนวงนี้ บัดเดี่ยวนี้เองขะรับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 15:26

ระหว่างรอผู้รู้มาเฉลยเรื่องแหวน  ขอคั่นด้วยเกร็ดเล็กๆ ไปก่อน

เอาเกร็ดเล็กๆมาเล่าบ้าง

ม.จ.พูนพิสมัย ทรงเล่าไว้เกี่ยวกับบรรยากาศในวังหน้ารัชกาลที่ ๔ ว่า

"ในพระราชวังหน้า   มีพวกผู้หญิงแต่งตัวเป็นชาติต่างๆ  มีญวน มอญ ลาว สาวๆรับใช้อยู่ในพระราชวัง    พวกเหล่านี้ล้วนเป็นพวกที่เข้ามาถวายตัว  จากกองอาสาเหล่าต่างๆ  คือ พวกที่แตกกันเองอยู่บ้านเมืองตัวไม่ได้   หรือเป็นพวกที่กวาดต้อนลงมาเมื่อแพ้ศึกตามธรรมเนียมเก่า    เมื่อมาอยู่ในกรุง ๆ  แล้ว ก็โปรดให้อยู่เป็นพวกๆ เรียกว่า "กองอาสา" ญวน จาม มอญ ตามชื่อพวก แต่ไม่มีพม่าเลย
.....
...เสด็จป้ารับสั่งว่า " ผู้หญิงญวนนั้นแต่งตัวสวยเหลือเกิน" 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 16:36

ขอกลับมาเล่าเรื่องปืนใหญ่อีกครั้ง
ในพระราชนิพนธ์ "ตำราปืนใหญ่" ตอนที่ ๓  เป็นเรื่องตำราทำดินปืน และยิงปืนใหญ่

ตำราทำดินปืนในหนังสือนี้ไม่ใช่ตำราฝรั่ง แต่น่าจะมาจากตำราไทยโบราณ  คงเป็นตำราพิไชยสงคราม     สูตรทำดินปืนมีหลายสูตร  ออกมาเป็นชื่อต่างๆกัน
วิธีประสมยาดินปืน มีหลากหลาย
ชื่ออัฐธาตุ ดิน ๑ ชั่ง  มาด ๑๐ ตำลึง   ถ่านละหุ่ง ๒ บาท   ชันย้อย ๑ ตำลึง  กะดูกผีเป็นถ่าน ๓ บาท   ปั้นดังลูกพลุ  ยิงแห่งใดเป็นไฟไหม้แห่งนั้นแล
ชื่อกาลเดช   ดิน ๑ ชั่ง  ถ่านประดู่ ๑ ชั่ง มาด ๒ ตำลึง ๒ บาท  เหล็กกะทะ ๑๒ ตำลึง  หระดาน ๒ บาท  ยิงเป็นไฟไหม้ ทับช้าง ม้า รี้พลตกใจแล

คำที่พิมพ์ตัวแดง คือไม่รู้ว่าเป็นชื่ออะไร แร่ธาตุหรือต้นไม้   รอยอินไม่ได้เก็บความหมายไว้    ถ่านละหุ่งกับถ่านประดู่พอเข้าใจว่าเป็นถ่านเกิดจากเผาไม้เนื้อแข็ง   หระดาน คือหรดาล
ส่วนก(ร)ะดูกผี  ก็ไม่รู้ว่าเผากระดูกจนเป็นถ่าน หรือว่าเป็นชื่อเฉพาะกันแน่ ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 17:00

อีกตอนหนึ่ง

อนึ่ง  ท่านให้เอาแมงภู่ตายคารู ๑  มะพร้าวที่พึ่งเป็นลูกๆเดียว ทะข้างตวันออกมาหุงเป็นน้ำมัน   แล้วเอาสีผึ้งซึ่งไหว้สิทธิศักดิ์สามสถาน   เอาสมองหัวสัพสมองขุดตำใส่ลงในน้ำมัน   บดแมงภู่ใส่ลงเคี่ยวไปแล้ว ชุบกะสุนยิงแม่นแล    ถ้ากะสุนกลับคืนมาเรือน ให้เจาะไม้ไปฝังไว้นอกบ้านแล    เมื่อจะเอาสมองนั้น ให้วักเหล้าเข้า ขอเอาจงดี

ใครทราบบ้างทำไมต้องใช้แมงภู่ตายคารู   เป็นเคล็ดหรืออะไร?
คำว่า สมอง ข้างบนนี้  หมายถึงหัวอะไรคะ?
คำที่พิมพ์สีแดง อยากทราบความหมาย

อนึ่ง  ถ้ายิงคนก็ดี สัตว์ก็ดี    จะเอาเป็นมิให้ตาย ท่านให้เอาสีผึ้งมาปั้นเป็นลูกกะสุน   ให้รวงกะสุนนั้นเสีย    แล้วเอาไม้พลับพลาผ่าเผาเป็นเถ้า แล้วปรอทหนัก ๓ กะปังทอง ปั้นด้วยเถ้าแล้วตรอกเข้าในกะสุนที่รวงไว้นั้น     แล้วให้เอาผ้าขาวมาขยำด้วยอัลมาน  ห่อลูกกะสุนนั้น   และเมื่อจะยิงนั้นให้ค่อยยัดจงดี  อย่าให้ลูกกะสุนแตกได้  แล้วยิงเถิด   
ถ้าคนก็ดี สัตว์ก็ดี อยู่ใกล้กัน ๔-๕ คน ๓-๔ ตัว  ได้เป็น มิตายก่อน   ถ้ามิแก้ ๓ วันตายแล   ถ้าจะแก้มิให้ตาย เอาดินเหนียวแช่น้ำ ตรอกให้กินบ้าง ทาบ้าง มิตายแล

ข้อหลังมีวิธียิงไม่ให้ตายด้วย 
คงจะหวังให้แค่บาดเจ็บ  จึงกำหนดส่วนผสมใช้สีผึ้งปั้น มีไส้เป็นเถ้าและปรอท   ซึ่งคงไม่แข็งมากนัก  เมื่อยิงจะได้ไม่ทะลุทะลวงเข้าไปในร่างกาย

นี่เดาเอาทั้งนั้น  ใครทราบช่วยอธิบายด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 17:32

คงหาคนที่สามารถอธิบายไม่ได้แล้วในยุคนี้
แค่อ่าน ก็เอ๋อแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 18:57

งั้นขอหยุดเรื่องทำกระสุนดินปืนไว้แค่นี้ก่อนนะคะ     มาพูดถึงพระราชกรณียกิจด้านทหารเรือกันบ้าง

สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯโปรดการทหารเรือ   ถึงขั้นมีการต่อเรือรบ  และจัดตั้งทหารเรือวังหน้าขึ้นด้วย    สมัยรัชกาลที่ ๔ เริ่มมีเรือกลไฟเป็นเรือนรบ และเรือพาหนะตั้งแต่พ.ศ. 2401 เป็นต้นมา   พนักงานเดินเรือเป็นพวกอาสาจาม   พวกมอญเป็นทหารมรีน (Marine= นาวิกโยธิน) สำหรับเรือรบ     พวกไทยเป็นต้นกล   ส่วนการบังคับบัญชายังไม่มีคนไทยคนไหนชำนาญ  จึงต้องจ้างฝรั่งเป็นกัปตัน และต้นหนเรือรบ

ในรัชกาลที่ 3  คนเก่งเรื่องเรือมีอยู่ 1 พระองค์และ 1 คน คือสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เมื่อครั้งดำรงพระยศเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อครั้งเป็นจมื่นไวยวรนารถ    สามารถต่อเรือและเดินเรือได้   จึงได้บังคับบัญชาทหารเรือ
ทหารเรือก็เลยแบ่งเป็นทหารเรือของเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศ และทหารเรือของจมื่นไวยฯ   ในยามปกติทหารเรือทั้ง 2 ส่วนไม่ขึ้นแก่กัน แต่ต่างก็ขึ้นตรงกับพระเจ้าอยู่หัว
แต่เมื่อเกิดสงคราม ต้องยกทัพเรือไปตีเมืองญวนเพื่อชิงกัมพูชากลับมา  ในพ.ศ. ๒๓๘๔   ก็ยกทัพเรือกันไปทั้งสองทัพ   เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศฯเป็นทัพหลวง   กองเรือจมื่นไวยเป็นทัพหน้า
เรือของเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศฯชื่อเรือ พุทธอำนาจ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 19:09

แหวนนิลกสาปน์  
คือแหวนนากปลอกมีดค่ะ  พระราชทานให้ข้าราชการ

มีพระบรมราชโองการให้ช่างทองหล่อหลอมให้ถูกต้องตามตำรา  แล้วทำเป็นแหวนปลอกมีด  วงละสองสลึงเฟื้อง
พระราชทานไปให้ผู้ใด  ให้ผู้นั้นเก็บไว้  หรือสวมนิ้วมือไว้สำหรับระลึกถึงพระเดชพระคุณ   ถ้าเล็กไปของนิ้วผู้ได้รับพระราชทานไปแล้ว จะให้ไปให้ช่างรายรีด
ให้เขื่องออกไปควรแก่นิ้วของตัวก็ตาม  หรือจะเอาเป็นเครื่องรางเป็นวัตถุที่เป็นสวัสดิมงคล

เมื่อเวลาสบาย ๆ จะถวายให้ทรงลงอักษรซึ่งเป็นมงคลสพคัญ ๆ  ก็จะลงพระราชทานไว้ใช้สวมนิ้วทำการมงคล  คือโกนจุกตัดผมหรือล้างหน้าและเจิม
อย่าเอาไปสวมนิ้วที่จะจับของโสมมไม่เป็นมงคล

มีอยู่ในประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔  ฉบับ มูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศไทย
ชาญวิทย์  เกษตรศิริ  บรรณาธิการ
หนังสือราคา   ๕๙๐ บาท
อยู่ภาคปกิรณกะ     หน้า ๕๘๔

ก.ศ.ร. ชอบพิมพ์ประกาศในรัชกาลที่ ๔ มากค่ะ  มีในสยามประเภท(เล่มอะไรก็ยังไม่ได้ค้น)เป็นความรู้ทั่วไป
และได้พิมพ์ออกเป็นเล่มเล็ก ๆ บาง ๆ     ตื่นเต้นกันมากสำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจความเป็นมา

มีประกาศที่น่าสนใจหลายฉบับค่ะ        
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 20:17

สำหรับคนรุ่นหลังที่ไม่รู้ว่าแหวนปลอกมีดนาก หน้าตาเป็นอย่างไร   เอารูปมาให้ดูกันค่ะ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 20:21

จากนาวิกศาสตร์

เรือรบไทยสมัยรัชกาลที่๓
๑. เรือพุทธอำนาจ (Fairy) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ เป็นเรือชนิดบาร์ก (Bark) ขนาด ๒๐๐ ตัน มีอาวุธปืนใหญ่ ๑๐ กระบอก เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๔ ไปราชการทัพรบกับญวน ใช้เป็นเรือพระที่นั่งของแม่ทัพ คือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เมื่อครั้งทรงเป็นกรมขุน อิศเรศรังสรรค์ ยกกองทัพไปรบกับญวน ตีเมืองบันทายมาศ (ฮาเตียน)
      ๒. เรือราชฤทธิ์ (Sir Walter Scott) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ เป็นเรือแบบเดียวกันกับพุทธอำนาจ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๔ ไปราชการทัพรบกับญวน
      ๓. เรืออุดมเดช (Lion) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๔ เป็นเรือชนิดบาร์ก (Bark) ขนาด ๓๐๐ ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้า ฯ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๔ ได้ใช้ไปราชการทัพรบกับญวน พ.ศ.๒๓๘๗ ได้นำสมณทูตไปลังกา
      ๔. เรือเวทชงัด (Tiger) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๖ เป็นเรือชนิดสกูเนอร์ (Schooner) ขนาด ๒๐๐ ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ
      ๕. เรือพุทธสิงหาศน์ (Cruizer) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๘ เป็นเรือชนิดชิพ ขนาด ๔๐๐ ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้า ฯ
      ๖.เรือมงคลราชปักษี (Falcon) ซื้อเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๐ เดิมเป็นเรือของชาวอเมริกัน ชนิดสกูเนอร์ (Schooner) ขนาด ๑๐๐ ตัน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงซื้อมา แล้วดัดแปลงใช้เป็นเรือรบ เรือพระที่นั่งของพระองค์



รูปที่มาลงไว้ข้างล่างภาพแรกไม่ใช่เรือรบไทย แต่เป็นเรือชนิดเรือBarkเหมือนกัน จึงนำมาให้ชมว่าเรือBarkเป็นอย่างนี้
ส่วนภาพล่างเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังดดยขรัวอินโข่ง บุคคลร่วมสมัยกับเรือBark จึงน่าจะเป็นไปได้ว่าเรือในภาพ อาจจะเป็นเรือรบลำใดลำหนึ่งของไทยก็ได้




บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง