เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 27522 เพื่อชีวา ๕ ยุค
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 10:37

เรียนท่านอาจารย์เทาชมพูครับ

   ในทรรศนะส่วนตัวของผม โดยมิต้องอ้างตำรา เอาเฉพาะความรู้สึกล้วนๆ ผมคิดว่า เพลงที่กล่าวถึงชีวิตของ "กลุ่มชน" มิใช่แค่ "ปัจเจกชน" สะท้อนถ่ายวิถีความเป็นอยู่อย่างซื่อตรง หลากหลายมุม ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ น่าจะจัดเข้าทำเนียบเพื่อชีวิตครับ แหละเพลง "ป่าลั่น" ก็เป็นเพลงโปรดของผมอีกเพลงเช่นกันครับ กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างยิ่งครับที่กรุณานำมาให้รับอรรถรสกันทั่วถ้วน

   ขอบพระคุณคุณ pathuma
 เป็นอเนกอนันต์ครับ สำหรับข้อมูลเสริมที่ผมเองก็ไม่รู้เรื่องมาก่อนเลย เอ ว่าแต่ เรื่อง ส.ส. ท่านนั้น เกิดขึ้นประมาณ พ.ศ. อะไรครับ
 

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 13:16

เพลง "บ้านนา" ของสุนทราภรณ์ เป็นเพลงเก่าแก่ ก่อนมีเพลงเพื่อชีวิต  ทำนองดัดแปลงจากเพลงไทยเดิม ลาวแพนน้อย
น่าจะเข้าข่ายเพลงเพื่อชีวิตตามความหมายของคุณชูพงศ์
นำคลิปวิดีโอมาลงให้ค่ะ


บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 14:53

กราบขอบพระคุณครับ ท่านอาจารย์เทาชมพู เพลงนี้ผมก็เคยฟังครับอาจารย์ ถ้าฟังตอนเย็นๆ ท้องกำลังร้องจ๊อกๆหละก็ จะน้ำลายไหลทันที เพราะ...

   "ท่าทางพี่คงหิวข้าว
น้องแกงถั่วฝักยาว น้ำพริกมะขาม
บ๊ะ ดีสิน้องต้องกินหลายชาม
มะเขืองามจิ้มกับหลนปลา
แหมทำเข้าท่ายกเอามาไวไว" ฟังแล้ว อยากกินครับ

   ผมขออนุญาตนำเพลง "มนต์การเมือง" มาฝากครับ เมื่อปีกลาย เห็นผู้หลักผู้ใหญ่ในคณะรัฐบาลท่านปรารภว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในปีนี้ ถ้าจริงดั่งท่านกล่าว ก็ขอโพสต์เพลงนี้ไว้ล่วงหน้าครับ

มนต์การเมือง
คำร้อง/ทำนอง ครูสุเทพ โชคสกุล
ขับร้องโดย ครูคำรณ สัมบุญญานนท์

   เสียงโฆษณาของนักการเมือง
ยกเอาแต่เรื่องที่ดีงามมาพูดจา
มีหนังมาฉายให้ชาวไร่ชาวนา
ได้ดูได้ชมกันทั่วหน้าระรื่นตื่นตากันทั่วไป

   จะสร้างไอ้โน่นจะทำไอ้นี่ที่ยังขาดแคลน
ทั่วทุกถิ่นทุกแดนฟังดูช่างแสนจะชื่นใจ
ถนนหนทางลำคลองจะสร้างให้มากมาย
เลิกเลี้ยงวัวเลี้ยงควายจะซื้อรถให้มาไถนา

   ดีอกดีใจแต่นี้ต่อไปคงสุขอารมณ์
ชาวนาพากันชื่นชม นิยมดังเขาพูดมา
พอเป็นผู้แทนนั่งแท่นอยู่ในสภา
ตั้งหลายปีที่ผ่านมาจะไถนายังต้องใช้ควาย

   ถนนหนทางที่ว่าจะสร้างก็ยังไม่มี
มันกินอิฐทรายกันป่นปี้ ถนนจะมีกันได้ยังไง
เขาเป็นผู้แทนกันยังไม่ทันเท่าไร
ทรัพย์สินเงินทองมีมากมายมันน่าแปลกใจเมื่อคิดขึ้นมา

   ปากบอกรักชาติผมฟังอนาถใจจริง
เห็นแต่เขาจะช่วงจะชิงตำแหน่งใหญ่ยิ่งกันในสภา
วิ่งเต้นหาเสียงกินเลี้ยงกันใหญ่ตามเหลาตามบาร์
บางคราวยกพวกเข้าเข่นฆ่า มันเหลือระอาผู้แทนเมืองไทย

   ผมขอวิงวอนราษฎรทั่วทั้งแผ่นดิน
ไอ้พวกชอบโกงชอบกิน ไอ้พวกกังฉินอย่าเลือกเข้าไป
เลือกแต่คนดียังมีอยู่อีกมากมาย
แล้วพี่น้องจะสุขใจ จะพาชาติไทยเรารุ่งเรือง

   และขอเชิญทุกท่านรับฟังเพลงอันทันสมัยเสมอเพลงนี้ได้ที่นี่ครับ

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 23:01

เคยฟังเพลง หนูเอย ไหมคะ
ลองเปิดคลิปดู

บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 08:44

ขออนุญาตเรียนถามท่านอาจารย์เทาชมพูครับ เพลง "หนูเอย" คือเพลงที่ขึ้นต้นด้วย
   "หนูเอยหนูจงฟัง
พี่จะสอนพี่จะสั่งหนูจงฟังเอาไว้ให้ดี
หนูเอยสมัยนี้
เป็นสมัยที่เอาดีกันด้วยปัญญา" หรือเปล่าครับ ถ้าเป็นเพลงนั้น ผมชอบครับ ก่อนวันเด็กแห่งชาติยังเปิดเทปฟังตั้งสองสามเที่ยว ฟังพลางนึกถึงวัยเยาว์ไปพลางครับผม
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 09:42

ใช่ค่ะ  นำมาลงให้อ่านทั้งเพลง

หนูเอย
คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล
ทำนอง เวส สุนทรจามร     
   
หนูเอยหนูจงฟัง
พี่จะสอนพี่จะสั่งหนูจงฟังเอาไว้ให้ดี
หนูเอยสมัยนี้
เป็นสมัยที่เอาดีกันด้วยปัญญา

หนูอย่าซุกซน
จงอด และจงทนหนูจงบ่นท่องวิชา
ในภายภาคหน้า
จะได้พึ่งวิชาปัญญาจะเฟื่องฟู

หนูเอยหนูจงเพียร
หนูจงเล่าหนูจงเรียนหนูจงเพียรหาความรู้
หนูเอยจงคิดดู
หากมีใครลบหลู่แล้วหนูจะโทษใคร

หนูเร่งเร็วพลัน
จงบาก และจงบั่นหนูจงหมั่นอย่าท้อใจ
หนูเอยจะบอกให้
ปลูกปัญญาเอาไว้เรียนไปให้เชี่ยวชาญ

หนูเอยอย่าเกเร
หนูอย่าเที่ยวหนูอย่าเตร่ อย่าเสเพลประพฤติพาล
หนูเอยอย่าเกียจคร้าน
หมั่นเล่าเรียนเขียนอ่านคบพาลจะเสียคน

หนูกอปรการดี
เป็นศักดิ์ และเป็นศรีทั้งเป็นที่น้อมกมล
หนูจะไม่อับจน
แต่จงเลือกคบคนแล้วตนจะรุ่งเรือง

หนูเอยหนููฟังว่า
เพราะสติเพราะปัญญานั้นจะพาให้กระเดื่อง
หนูเอยชาติบ้านเมือง
จะเจริญฟุ้งเฟื่องก็เนื่องด้วยเด็กไทย

แม้ชาติต่างแดน
มาหมิ่นหรือมาแคลนหนูไม่แค้นบ้างหรือไร
บ้านเมืองเจริญได้
อยู่ที่เด็กของไทยมิใช่ใครอื่นเลย
บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 09:51

กราบขอบพระคุณครับท่านอาจารย์เทาชมพู อ่านแล้วอิ่มใจครับ ทำให้ผมนึกถึงอีกเพลงหนึ่งของสุนทราภรณ์ขึ้นมาได้ เพราะเป็นคนชอบอ่านหนังสือ จึงชอบครับ เพลงนั้นขึ้นต้นว่า:

   "หนังสือจ๋าไปไหนมาเป็นแถวแถว
กินข้าวแล้วหรือยังหนังสือจ๋า
เจ้านั่นหรือช่างดีมีคุณหนักหนา
กอขอกอกาเริ่มแรกศึกษาจากเจ้า" ฟังไปยิ้มไปครับอาจารย์

 
บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 10:19

ผมมีเรื่องกราบขอความปรานีจากทุกท่านครับ นั่นคือ ตนเองตั้งใจจะพิมพ์เนื้อเพลง "ตาสีกำสรวล" ลงในกระทู้นี้ แต่พยายามเข้าเว็บไซต์ google เพื่อค้นหาเนื้อร้องที่ถูกต้อง หรือลิงค์ที่จะสามารถเข้าไปฟังได้ก็ยังค้นไม่เจอครับ ครั้นจะพิมพ์เอาจากความทรงจำก็มิกล้า เนื่องเพราะเพลงนี้มีศัพท์แสงเฉพาะยุคเฉพาะสมัยอยู่บางคำซึ่งผมมิแน่ใจว่าสะกดอย่างไร แหละก็ค่อนข้างมั่นใจว่าท่านรอยอินไม่บรรจุเอาไว้แหงๆ ท่านใดชอบสะสมหนังสือเพลงเก่า หากพบว่าหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งที่ท่านรวบรวม มีเพลง "ตาสีกำสรวล" ทั้งภาค ๑ และภาค ๒ อยู่ โปรดเมตตาผมด้วยเถิดครับ

   ในเมื่อยังพิมพ์ "ตาสีกำสรวล" มิได้ ผมขอพิมพ์เพลงครูคำรณ สัมบุญญานนท์ที่ผมแสนรักลงไว้อีกเพลงหนึ่งแล้วกันครับ ตอนฟังเพลงนี้ครั้งแรก ผมสะอึกกับท่อนที่สาม เพราะครูไพบูลย์ บุตรขัน ท่านเล่นแรง ลองอ่านกันดูเทอญครับ

ลูกสาวตาสี
ผู้ประพันธ์ ครูไพบูลย์ บุตรขัน
ผู้ขับร้อง ครูคำรณ สัมบุญญานนท์

   โฉมเอ๋ยสะอางน้องนางแน่งน้อยอ่อนช้อยชวนชม
ถึงผิวกร้านคล้ำดำคล้ายดินตมบางคนเมิน
แต่พี่ขอชมแหละสรรเสริญ
รักน้องเหลือเกินตรงที่น้ำใจ

   ฟ้าดินเสกสรรค์ปั้นนางร่างน้อยจากร้อยในพัน
เหลือหลายที่น้ำคำพี่จำนรรจ์จาระไน
เอ่ยถ้อยร้อยกรองด้วยพิสมัย
น้องเป็นขวัญใจของหนุ่มบ้านนา

   ในวรรณคดีกวีร้อยกรองเหยียดน้องว่าต่ำ
รูปชั่วตัวดำเหมือนกับอีกา
เขาเอ่ยประณามหยามลูกตาสาไม่น่าเคลียเคล้า
แต่เขากินข้าวจากน้ำมือนางตลอดปี

   แม้ตัวจะดำน้ำใจแม่น้องเรียกร้องเมตตา
สงสารแม่น้องพี่ร้องครวญมาชมความดี
นี่แหละพวกเราลูกสาวตาสี
น้อยคนนักมีผู้ให้เกียรติเธอ

   และขอเชิญท่านรับฟังได้ที่ลิงค์นี้ครับ







 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 11:15

ดิฉันไปเจอเว็บที่ให้ดาวน์โหลด เพลงตาสีกำสรวล 1 และ 2  แต่พอคลิกเข้าไป เขาให้ request admission ก็เลยไม่ได้เข้าต่อ  ไม่แน่ใจว่าจะโหลดได้
คุณม้าเว็บมาสเตอร์ เตือนดิฉันว่าอย่าโหลดอะไรมาง่ายๆ อาจมีไวรัสแถมมาด้วย  ก็เลยเตือนคุณชูพงศ์ต่ออีกที  ถ้าโหลดก็ควรมีวิธีป้องกัน

download ตาสีกำสรวล 1.mp3
http://www.ziddu.com/download.php?uid=Y66blpmnY7OemZmnr6yZlJyiYa6WlpWp1
download ตาสีกำสรวล 2.mp3
http://www.ziddu.com/download.php?uid=ZLCflJSlZbKdluKnYaqhkZSpXqyal52s1

ในกูเกิ้ลมีหลายเว็บและบล็อคที่เอ่ยถึงเพลงนี้    แต่ดิฉันไม่ได้ยินเสียงเพลง คงเป็นเพราะเครื่องไม่มีโปรแกรมที่จะฟัง
บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 15:40

เรียนท่านอาจารย์เทาชมพูครับ

   ผมก็มิกล้าไปดึงข้อมูลเหมือนกันครับ เพราะเสี่ยงต่อไวรัส ยิ่งใช้เครื่องที่ทำงานเสียด้วย เสียวครับ กลัวกระเทือนส่วนสำคัญเข้า แล้วต้องเรียกผู้แก้ไขมาดู พอความแตกว่านายชูพงค์ไปโหลดเพลงเข้า ทีนี้หละ... ไม่กล้านึกต่อครับ

   เรียนท่านผู้อ่านที่เคารพทุกท่านครับ
   เดิม ผมตั้งใจมั่นว่า ยังไงก็จะพิมพ์ "ตาสีกำสรวล" ให้ทุกท่านอ่าน เพราะเป็นเพลงที่สะท้อนสภาพสังคมสมัยก่อนในด้านเศรษฐกิจ ค่าครองชีพของประชาชนได้กระชับและชัดแจ้งพอสมควร จึงส่งเนื้อร้องที่ผมพิมพ์จากความทรงจำไปกราบขอความกรุณาท่านอาจารย์เทาชมพู ท่านเมตตาตรวจแก้คำที่สะกดผิดให้ กระนั้น ก็ยังมีบางคำที่ท่านเองไม่แน่ใจ ผมก็ลังเล ดังนั้น ขอชะลอตาสีกำสรวลไว้ก่อนทั้งๆที่เสียดายสุดแสนครับ

   พอหมดยุคจอมพล ป. วาระ ๒ ก็เข้าสู่ยุคจอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ หละครับ ยุคนี้ เพลงเนื้อหาเข้มๆ คาบเกี่ยวการเมือง ประเทียดเสียดสีรัฐบาล ถูกห้ามทั้งทางตรงทางอ้อม แต่ก็มิใช่ว่า จะห้ามศิลปินมิให้สร้างงานศิลปะเพื่อประท้วงความอยุติธรรมได้ แหละหนึ่งในศิลปินผู้ทำหน้าที่ผลิตเพลงแนวนี้อย่างมิยั่น ก็คือ "ท่านจิตร ภูมิศักดิ์ครับ"

   ผมขออนุญาตส่งเทียบเชิญผู้ที่ชื่นชอบผลงานของปราชญ์ท่านนี้ มาร่วมเพิ่มสีสันในกระทู้ด้วยกันนะครับ ตั้งใจจะว่าด้วย "เพลงของท่านจิตร ภูมิศักดิ์" ในบางส่วนครับ

   นับว่าโชคเข้าข้างผมครับ เนื่องจากเพลงท่านจิตรหาลิงค์ไม่ยาก ทั้งนี้เพราะ มีการจัดคอนเสิร์ทอย่างต่อเนื่องในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา แม้ในปีกลายเดือนธันวาก็ยังจัด จึงไม่แปลกที่จะมีผู้นำคลิปจากคอนเสิร์ทมาโพสต์ลงในเว็บไซต์ต่างๆ ท่านใดมีเพลงไหนโปรดปราน ฝากชื่อเพลงไว้ที่กระทู้ได้เลยครับ ถ้าผมหาลิงค์พบ ก็จะจัดกำนัลท่านทันทีครับ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 15:55

เพลง ตาสีกำสรวล  (ภาค ๑)
ประพันธ์โดย ไพบูลย์ บุตรขัน
ขับร้องโดย   คำรณ สัมปุณณานนท์

     เมื่อก่อนนี้ สมัยที่ผมยังเด็กเล็กอยู่ ยังไม่มีหนังฝรั่งมาฉายให้ดู
บ้านเมืองไม่งามหรู ไม่เฟื่องฟูเหมือนยุคใหม่ เมื่อก่อนนี้ของถูกเหลือเกินเงินก็ใหญ่
มีร้อยเดียวเหมือนเป็นเศรษฐีเมืองไทย ทุกคนไม่ว่าใครว่าเงินไทยนั้นมีค่า

     เดงนาง เดงนาง กางโกง ผมจะเปิดโปงเริองสมัยคุณย่า
ฟังกันเล่นเป็นข้อคิดดี ฟังกันเล่นเป็นข้อคิดดี เงินพระคลังไม่มีเพิ่มภาษีเข้ามา เป๊กพ่อ

     เอ่อ เอ๊อ เอ้อ เอ่อ เออ...เอิง เอย สมัยก่อนกลอนเก่า เมื่อครั้งที่เรายังเด็ก
สมัยรถเจ๊กวิ่งอ้าว อายุผมราวสิบห้า ประเทศของเรามีนามว่าสยามไซแอม
ฝรั่งแหม่มยังไม่ค่อยมี หนังสียังไม่ได้มา ไม่มีรถยนต์เรือบินเท่าที่ได้ยินได้ฟัง
จะไปธุระปะปัง อย่างดีก็นั่งรถม้า เศรษฐกิจสมัยก่อน ไม่ค่อยเดือดร้อนประชาราษฎร์
เงินเดือนเพียงยี่สิบบาท แหมเดินองอาจสง่า ข้าวต้มกุ๊ยสามสตังค์ ว่าเสียพุงกางเต็มที่
จะกินก๋วยเตี๋ยวบ๊ะหมี่ แถมมีน้ำแข็งใส่ชา  ถึงยากจนพอประทัง ม้วยไก่ตังทียูโหล้ะ
มีหนึ่งสตังค์นั่งโต๊ะ กินข้าวต้มน้ำปลา มีเงินบาทเดียวในกระเป๋า ใช้ตั้งแต่เช้าไปจนค่ำ
เลี้ยงเพื่อนหงำงอมแงม แล้วยังมีแถมอย่างว่า ผมไม่เท็จพูดเลย เอ้อ เออ เอิง เอิง เอย
ใครที่ไม่เคยได้รู้ ไม่เชื่อไปถามคุณย่าดู แกเล่าสู่ทุกเวลา เป๊กพ่อ...

     เดงนาง เดงนาง กางโกง ผมจะเปิดโปงเรื่องสมัยคุณย่า
ฟังกันเล่นเป็นข้อคิดดี ฟังกันเล่นเป็นข้อคิดดี เงินพระคลังไม่มีเพิ่มภาษีเข้ามา เป๊กพ่อ...

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 15:57

เพลง ตาสีกำสรวล  (ภาค ๒)
ประพันธ์โดย ไพบูลย์ บุตรขัน
ขับร้องโดย   คำรณ สัมปุณณานนท์

     ยุคสมัยนี้ เป็นยุคที่เหลือทนจนเหลือกลั้น แทบทุกคนเขาต้องอดเหมือน ๆ กัน
เพราะเงินหนึ่งบาทนั้น ไม่สำคัญเหมือนไร้ค่า

     เดงนาง เดงนาง กางโกง ผมจะเปิดโปงเรื่องสมัยคุณย่า
ฟังกันเล่นเป็นข้อคิดดี ฟังกันเล่นเป็นข้อคิดดี เงินพระคลังไม่มีเพิ่มภาษีเข้ามา เป๊กพ่อ

     เอ่อ เอ๊อ เอ้อ เอ่อ เออ...เอิง เอย ผมเป็นตาสีตาสา อยู่บ้านนาน้ำตก
ที่เมืองนครนายก มาเสียภาษีค่านา หัวอกตรมขมไหม้ พูดอะไรก็ไม่ออก
ลูกผมอยู่บางกอก มันเล่าบอกมันว่า สมัยนี้เงินเฟ้อ เหมือนน้ำเอ่อล้นฝั่ง
หนึ่งสตังค์เดี๋ยวนี้มันก็ไม่มีคุณค่า เงินเดือนเพียงห้าร้อยบาท มันน่าประหลาดไหมท่าน
ไม่ขอรับประกัน ต้องซมซานกู้มา ไม่ถึงเดือนก็หน้าดำ เอาโรงจำนำเป็นที่พึ่ง
ดอกเบี้ยบาทละสลึง ยังชักค่าฝากรักษา ไอ้ของกินก็แพง เอ้อ เออ เอิง เอิง เอย
จะต้มแกงก็ไม่ไหว ต้องล่ออาหารแบบไทย ๆ คือทอดไข่นกกระทา

     ใคร่ขอวิงวอน เสนอสุนทรณ์ข้อสนทนา เพิ่มภาษีเข้ามา จนชาวประชาบ่าลู่แล้วท่าน
ภาษีกะปิ ภาษีน้ำปลา ภาษีน้ำตาล อีกหน่อยไม่ช้าไม่นาน ภาษีเล่นงานกระทั่งหายใจ
ต้องติดแสตมป์เอาไว้ที่รูจมูกเรา หายใจออกเข้า ภาษีเล่นเราไม่รู้เท่าไหร่ ไม่ใช่ประชด
ไม่ใช่ประชัน ไม่ใช่ว่าใคร เรายอมเสียด้วยเต็มใจ ขอเพียงชาติไทยเราวัฒนา

     ข้าราชการ ขอให้ทำงานเพื่อประชาชน อย่าได้คิดว่าตนอยู่เหนือหัวคนเพราะใส่ชฎา
ตาสาตาสี ยายมายายมี อย่างผมเข้ามาเพื่อเสียภาษีค่านา อย่าใช้วาจาเป็นเจ้านาย...

http://saisampan.net/index.php?topic=8238.15;wap2
บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 16:15

ขอบพระคุณคุณเพ็ญชมพูอย่างสูงยิ่งครับ ที่การุณย์นำเนื้อเพลงมาลง ท่านผู้อ่านคงประจักษ์นะครับว่า ครูไพบูลย์ บุตรขัน ท่านฝากฝีมือไว้จริงๆ นี่เป็นเพลงอันเปรียบเสมือนคันฉ่องส่องสะท้อนยุคสมัยเลยทีเดียว ผมมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจะเล่าให้ทุกท่านฟังครับ คราวหนึ่ง ผมเปิดเพลงตาสีกำสรวลฟัง น้าสาวซึ่งรับราชการอยู่สำนักงานเขตบางซื่อเข้ามาในห้องพอดีตรงท่อนที่ว่า:
"ข้าราชการขอให้ทำงานเพื่อประชาชน
อย่าได้คิดว่าตนอยู่เหนือหัวคนเพราะใส่ชฎา"
ท่านปฏิเสธทันควัน
"ไม่เคยนะยะ ข้าราชการไม่เคยอยู่เหนือประชาชน ประชาชนบางคนเสียอีก เล่นเอาปวดหัว" ผมในฐานะคนรับฟัง ก็ได้แต่หัวเราะหึๆ นี่แสดงว่าเพลงครูไพบูลย์เพลงนี้ยัง "ทำงาน" ได้อยู่จริงๆ
บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 16:24

ผมเคยนั่งจำแนกเล่นๆ แล้วจัดหมวดหมู่เพลงที่ท่านจิตร ภูมิศักดิ์ ประพันธ์ไว้ โดยอาศัยเกณฑ์พิจารณาจากแหล่งกำเนิด (สถานที่แต่ง) ของเพลง ปรากฏว่าได้ ๓ กลุ่ม คือ

   ๑. เพลงนอกคุก (แต่งก่อนถูกจองจำ)
๒. เพลงในคุก (แต่ง ณ ทัณฑสถานลาดยาว ประเภทนี้มีมากกว่าอื่น)
๓. เพลงในป่า (แต่งเมื่อเข้าร่วมต่อสู้กับ พคท.)
ทั้งนี้ มีเพลงอยู่บางเพลงซึ่งที่มายังคลุมเครือ จะกล่าวถึงในลำดับต่อไปครับ

 
บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 16:38

เพลงนอกคุก เท่าที่ปรากฏ มี
มาร์ชเยาวชนไทย, มาร์ชครูไทย, มาร์ชธรรมศาสตร์-จุฬา สามัคคี, มาร์ชกรรมกร, มาร์ชแอนตี้จักรวรรดินิยม

   ขอนำ "มาร์ชกรรมกร" มาให้ฟังกันก่อนครับ เนื่องด้วย ผมหาพบก่อนเพลงอื่นครับ







   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 20 คำสั่ง