เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 20670 เรือนขนมปังขิง ?
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


 เมื่อ 13 ม.ค. 11, 10:55

กราบสวัสดีปีใหม่อาจารย์ทุกท่าน   และสวัสดีปีใหม่เพื่อนๆทุกคนค่ะ

ขึ้นหัวข้อตามติดด้วยเครื่องหมายคำถามเพื่อความชัดเจนเลยค่ะ  ว่ามาขอความรู้ 
เพื่อนๆจะได้ไม่แห่กันเข้ามาอ่านด้วยความเข้าใจผิดว่าเอาความรู้มาแบ่งปัน  ยิงฟันยิ้ม

ตรงเข้าประเด็นเลยนะคะ   ขอเรียนถามว่า

1. เรือนขนมปังขิงเป็นเรือนไม้ที่สามารถจะถอดเป็นชิ้นๆ   ย้ายไปปลูกที่ใหม่ได้อย่างเรือนไทยอย่างอื่นหรือไม่คะ ?

2. การฉลุลายใช้มือบวกฝีมือช่างล้วนๆ   หรือมีอุปรณ์กลไกใดช่วย  แล้วช่างที่ฉลุลายเป็นช่างฝีมือเฉพาะ  หรือช่างที่แกะไม้ก็ทำได้คะ ?

3. ลวดลายที่ฉลุมีลายเฉพาะไหมคะ  เช่น  ดอกไม้ดอกประเภทนั้นประเภทนี้เท่านั้น  หรือลายชื่อเฉพาะ  หรือสุดแล้วแต่จินตนาการของช่างคะ

4. การขึ้นทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์ (อาคารของเอกชน  เจ้าของยังมีชีวิตอยู่)  จะต้องให้ทางราชการเป็นผู้เล็งเห็นเองว่าควรจะอนุรักษ์
    หรือเจ้าของไปยื่นเรื่องร้องขอเองคะ  แล้วมีหลักเกณฑ์อย่างไร ?
   ได้พยายามหาความรู้จากหน่วยงานที่คิดว่าเกี่ยวข้องแล้วค่ะ  ทางเว็บไชท์ไม่มีรายละเอียดชัดเจน  โทร.ไปก็โดนโอนสายต่อหลายทอด 
    เสร็จจากโอนสายต่อก็ให้เบอร์อื่นติอต่อใหม่อีกหลายหน่วย  โทร.ไปตามที่บอกหมด   จนระทดท้อ  แต่ก็ไม่ได้รับความรู้ใดเลย
    จึงคิดว่ามาขอพึ่งเว็บบี้ดีกว่า  เพราะมีท่านผู้รู้มากมายคอยกรุณาให้ความรู้
 
   ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ     


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 ม.ค. 11, 15:06

คงต้องเรียนตรงๆ ว่าเรือนขนมปังขิงที่คุณ Anna ถามมา
ไม่ใช่เรือนสมัยเดียว ยุคเดียว หรือหลังเดียวแล้วก็หายไป ไม่มีการสร้างอีก
แถมยังเป็นที่อยู่อาศัยของคนทั่วๆไป ทั้งยากดีมีจนไม่จำเพราะผู้ดีเสียอีกด้วย

เมื่อเป็นเช่นนี้ รูปแบบก็ย่อมมีความหลากหลายมากเป็นธรรมดา
เผลอๆเรือนอย่างว่านี่จะมีมากมายหลายแสนหลังในประเทศ
และยังอาจจะมีการสร้างต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันเสียด้วยซ้ำ

การจะตอบคำถามคุณได้ คงต้องเห็นภาพตัวอย่างเรือนหลังที่คุณสนใจเสียก่อนน่าจะเหมาะที่สุด
ไม่ทราบว่าคุณมีภาพของเรือน หรือพระที่นั่งองค์ใดอยู่ในมโนภาพไหมครับ ?
ถ้ามีแล้วนำมาพูดคุยกัน น่าจะคุยกันได้หลายเรื่องอยู่ครับ
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 17 ม.ค. 11, 15:39


ขอบพระคุณค่ะ  คุณติบอ   จะเข้ามาตอบหลายวันแล้ว  แต่เข้าระบบไม่สำเร็จ  ติดค่า cookies ทุกครั้งไป  ร้องไห้

พยายามพากเพียรแก้ไขลบค่า cookies ตามที่คุณ CVT เคยแนะนำแล้ว  แต่ก็ไม่สำเร็จจนแล้วจนรอด  เศร้า

วันนี้มีโอกาสเลยลองเสี่ยงดู  ก็เข้าระบบได้ตามปกติ  ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรผิดแปลกไปจากเดิมเลย  งงงงมากกกก  ฮืม

คำถามเกี่ยวกับเรือนขนมปังขิงที่ดิฉันถาม  ไม่ได้ระบุเจาะจงว่าเป็นบ้านหรือวังของท่านใดหรอกค่ะ   เพียงแต่เกิดติดใจ

ภาพสวยๆของเรือนขนมปังขิงที่เห็น  ทำให้เกิดความสงสัยขึ้นมาเท่านั้นเอง  ก็เลยเข้ามาขอความรู้จากท่านผู้รู้ในห้องศิลปะวัฒนธรรมค่ะ
บันทึกการเข้า
sigree
อสุรผัด
*
ตอบ: 54


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 ต.ค. 12, 23:39

ลายมีซื่อไหม
มีครับ  เฉพาะบางหลังที่ใช่ช่างมลายูนะครับมี
บันทึกการเข้า
sigree
อสุรผัด
*
ตอบ: 54


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 ต.ค. 12, 06:23



1. เรือนขนมปังขิงเป็นเรือนไม้ที่สามารถจะถอดเป็นชิ้นๆ   ย้ายไปปลูกที่ใหม่ได้อย่างเรือนไทยอย่างอื่นหรือไม่คะ ?

ทำได้ครับ เรือนขนมปังขิงในบ้านเรามาพร้อมระบบตะปูก็จริง  แต่เท่าที่เคยเข้าไปชมๆโครงสร้างยังคงยึดด้วยสลักไม้อยู่  ตัวอย่างอาคารที่ย้ายปลูกสร้างใหม่คือ พระที่นั่งวิมานเมฆ

2. การฉลุลายใช้มือบวกฝีมือช่างล้วนๆ   หรือมีอุปรณ์กลไกใดช่วย  แล้วช่างที่ฉลุลายเป็นช่างฝีมือเฉพาะ  หรือช่างที่แกะไม้ก็ทำได้คะ ?

มีอุปกรณ์ช่วยบ้าง แต่เป็นกลุ่มอุปกรณ์ที่ไม่ซับซ้อนอะไร และช่างฝีมือทั่วไปก็ทำได้  เพราะแค่ฉลุออก

แต่ในส่วนที่มีการแกะให้นูนด้วย  อันนั้นช่างฝีมือ

3. ลวดลายที่ฉลุมีลายเฉพาะไหมคะ  เช่น  ดอกไม้ดอกประเภทนั้นประเภทนี้เท่านั้น  หรือลายชื่อเฉพาะ  หรือสุดแล้วแต่จินตนาการของช่างคะ

ขอตอบในส่วนที่รู้นะครับ
ในส่วนของมลายูจะมีกลุ่มลายฉลุมาตั้งแต่ก่อนการเข้ามาของเรือนขนมปังขิง  ทำให้ลายมีความเฉพาะและซื่ออยู่แล้ว  เช่นลายช่องลมใต้ชายคาคือกลุ่มบัวคว่าบัวหงาย(หัวใจ)

ลายฉลุเหนือหน้าต่าง ฯลฯ

ส่วนทางเหนือเท่าที่ทราบ จะเรียกกลุ่มลายที่เชิงชายว่า น้ำค้าง และส่วนประดับยอดหลังคาว่า ปีกผีเสื้อ

4. การขึ้นทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์ (อาคารของเอกชน  เจ้าของยังมีชีวิตอยู่)  จะต้องให้ทางราชการเป็นผู้เล็งเห็นเองว่าควรจะอนุรักษ์
    หรือเจ้าของไปยื่นเรื่องร้องขอเองคะ  แล้วมีหลักเกณฑ์อย่างไร ?
   ได้พยายามหาความรู้จากหน่วยงานที่คิดว่าเกี่ยวข้องแล้วค่ะ  ทางเว็บไชท์ไม่มีรายละเอียดชัดเจน  โทร.ไปก็โดนโอนสายต่อหลายทอด
    เสร็จจากโอนสายต่อก็ให้เบอร์อื่นติอต่อใหม่อีกหลายหน่วย  โทร.ไปตามที่บอกหมด   จนระทดท้อ  แต่ก็ไม่ได้รับความรู้ใดเลย
    จึงคิดว่ามาขอพึ่งเว็บบี้ดีกว่า  เพราะมีท่านผู้รู้มากมายคอยกรุณาให้ความรู้
 
กำลังทำอยู่ครับ  แชร์ประสบการณ์ คือทางเจ้าของต้องไปยื่นเรื่องแจ้ง  จากนั้นทางกรมศิลป์ฯจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ  หากอาคารมีคุณค่าก็จะขึ้นทะเบียนและสามารถของบมาซ่อมแซมดูแลได้
แต่
หากทางเจ้าของจะบูรณะเองต้องได้รับอนุญาติจากกรมศิลป์ฯก่อน

จะว่าเฉพาะรอมาตรวจ  คิวก็อาจจะเป็นปีแล้วครับ
   ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ   
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 ต.ค. 12, 08:31

น่าสนใจครับเพราะห็นอยู่บ่อยๆ (ในอดีต)
อยากเรียนถามท่านผู้รู้ (ด้วยความอยากรู้) ว่าทำไมถึงเรียกว่า ลายขนมปังขิง ครับ?
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 ต.ค. 12, 10:39

มันคล้ายบ้านขนมของฝรั่งอย่างนี้ครับ

https://www.google.co.th/search?hl=th&tok=lltbq0HPQ51Jk8gwkqQ7sQ&cp=13&gs_id=1k&xhr=t&q=gingerbread+house&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.r_qf.&bpcl=35466521&biw=1093&bih=443&wrapid=tljp1350790624713026&um=1&ie=UTF-8&tbm=isch&source=og&sa=N&tab=wi&ei=7G2DUNmVNrGaiQfw7oGoDw
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 ต.ค. 12, 11:46

^
ขอบคุณคุณลุงเนาวรัตน์
ว่าแต่ว่า มันเหมือนไงครับ เพราะดูเท่าไรก็เหมือนเฉพาะตรงที่เป็น "บ้าน" ที่เหลือดูไม่ออกและยังไม่เข้่ใจครับ
อีกประการหนึ่งอยากเรียนถามว่า คำว่า "บ้านขนมปัง" สำหรับบ้านเก่าที่มีลายฉลุนั้นเป็นคำอย่างเป็นทางการ หรือ รับรู้ทั่วไป หรือ ใช้ในกลุ่มคนสนใจบ้านเก่า หรือ ใช้เฉพาะเว็บนี้ครับ
ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
sigree
อสุรผัด
*
ตอบ: 54


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 22 ต.ค. 12, 23:08

Ginger Bread House หรือ บ้านขนมปังขิงเป็นสถาปัตยกรรมในยุค วิคเตอร์เรียน Victorian styles



เป็นสถาปัตยกรรมที่ปรากฏทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตอาณานิคมของอังกฤษ  จะว่าไปบ้านในอเมริกาและออสเตรเลียเก่าๆก็เป็นงานขนมปังขิง
ของอเมริกา

ของ ออสเตรเลีย

ลองเทียบกับรูปบ้านขนมปังของจริงแล้วจะเข้าใจทำไมเขาเรียกบ้านขนมปัง

บ้านแบบนี้มีอยู่ทั่วโลกครับ  ของไทยเชื่อว่ารับมาจากพม่าและ มลายู  ทำให้บ้านแบบนี้มีมากทางเหนือและทางใต้

ส่วนในกรุงนั้นมาจากช่างต่างชาติที่เข้ามารับราชการครับ
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 23 ต.ค. 12, 12:27

บ้านขนมปังขิงอย่างในรูปบนถ้าสร้างในเมืองไทยจะเหมาะกับสภาพภูมิอากาศไหมคะ   งบประมาณการสร้างน่าจะอยู่ที่เท่าไหร่  ถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่งสักครั้งจะเอาอยู่ไหมคะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 23 ต.ค. 12, 12:46

ถ้าเป็นหลังนี้ ๑๒ ล้านน่าจะเอาอยู่นะคะ  ไม่รวมราคาที่ดิน


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 23 ต.ค. 12, 13:38

เห็นหลังนี้ยิ่งกรี๊ดสลบ  กิเลสในใจพลุ่งพล่าน  คงต้องหมั่นซื้อหวยแล้วละค่ะ
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 21:57

ผมพอจะนึกเข้าใจแล้วครับ
บ้านฝรั่งจะดูคล้ายบ้านขนมปังขิงมากกว่าเพราะไม้ฉลุที่อยู่ตามชายคาเป็นสีขาว
แต่บ้านเราไม่ค่อยมีลายไม้ฉลุที่ชายคายื่นยาวลงมา อีกทั้งถ้าจะมีก็ไม่ใช่สีขาวแต่เป็นลายไม้ฉลุสีไม้เดิม

เข้าใจแล้วว่าทำไมผมถึงไม่เข้าใจแต่แรกครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 22:08

ลายขนมปังขิง หมายถึงลวดลายไม้ฉลุที่ใช้ประดับประดาเรือนไม้ เรียกว่า ลายขนมปังขิง  นิยมกันในสมัยวิกตอเรียของอังกฤษค่ะ 
ไทยเราก็มารับมาใช้กันในบ้านเรือนสมัยปลายรัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 6


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 29 ต.ค. 12, 11:09

เมื่อก่อนนี้ลายฉลุทำด้วยมือ  กว่าจะได้แต่ละแผ่นช่างก็คงเมื่อยแล้วเมื่อยอีก    แต่เดี๋ยวนี้มีสำเร็จรูปขาย ซื้อมาติดชายคาหรือระเบียงได้เลย    เคยเห็นบ้านบางหลังสร้างใหม่นี่แหละแต่เลียนแบบของเก่า ออกมาสวยดีค่ะ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 19 คำสั่ง