เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 7841 นวนิยายอิงประวัติศาสตร์กับนวนิยายแนวย้อนยุคแตกต่างกันอย่างไรค่ะ
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 09 มี.ค. 01, 07:01

แฮะๆ ผมเองก็ไม่ใช่ปราชญ์สามก๊กครับ ประวัติศาสตร์จีนก็ทราบเพียงเล็กน้อย
ที่บอกไปว่า สามก๊ก เป็นเรื่องจริง 30 เรื่องแต่ง 70 นั้น รู้สึกว่าจะอ่านพบมาจาก
หนังสือวิจารณ์เรื่องสามก๊ก น่าจะชื่อ ขุนพลสามก๊ก ของ ทองแถม นาถจำนง
ซึ่งเขียนวิจารณ์มุมมองเรื่องนี้ไว้น่าฟัง พอดีผมหาหนังสือเล่มนั้นไม่เจอ
เลยไม่แน่ใจว่าผมจำ 30 สลับที่กับ 70 หรือเปล่า

เท่าที่จำได้รู้สึกว่าเรื่องนี้แต่งต่อเติมหลายครั้ง โดยศิลปินหลายท่าน
ถ้านับเอาแต่เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ล้วนๆ ผมก็คิดว่าน่าจะเป็นความจริงเกิน 70เปอร์เซนต์ครับ
แต่ถ้ารวมเอาบุคลิคของตัวละครเข้าไปด้วยล่ะก็ ผมไม่แน่ใจครับ
เพราะคนแต่งหลายคน และมีคำวิจารณ์ว่าฉบับที่เจ้าพระยาพระคลังหน
นำมาแปล ซึ่งเป็นฉบับที่ได้รับความนิยมมากที่สุดนั้น ผู้ประพันธ์ค่อนข้าง
จะเข้าข้างเล่าปี่มากไปหน่อย

อย่างไรก็ตาม อ่านสามก๊กทีไร ก็สนุกจนวางไม่ลงทุกทีครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 09 มี.ค. 01, 08:18

แล้ว "คนไททิ้งแผ่นดิน" ล่ะครับ
บันทึกการเข้า
ปะกากะออม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 09 มี.ค. 01, 22:31

เพิ่งกลับมาตอบคุณเทาชมพูค่ะ  ไม่มีอะไรแย้งนะคะ   เพราะก็เห็นด้วยว่า "ปริศนา" ไม่ได้สะท้อนภาพที่แท้จริงของสังคมไทยในยุคสมัยนั้น    แต่ที่บอกว่ามีคุณค่า  เนื่องจากเป็นงานเขียนของบุคคลในสมัยเดียวกัน   อย่างน้อยความรู้สึกที่ผู้เขียนถ่ายทอดก็เป้นส่วนหนึ่งที่มาจากตัวตนจริงในยุคสมัย  และเมื่อแยกแยะส่วนที่เป็นภาพเพ้อฝันออกไป  ก็ย่อมจะมีส่วนตรงกับความเป็นไปในสมัยนั้นแฝงอยู่บ้าง  นี่ไม่ได้หมายถึงการอ่านแบบ "นวนิยาย" นะคะ  คงต้องเป็นงานวิจัยเสียมากกว่า


สำหรับเรื่อง "อิงประวัติศาสตร์"   จะพบว่าส่วนใหญ่มักจะเป็นการหยิบข้อมูลจากหนังสือประวัติศาสตร์ที่มีอยู่มาใช้   คงมีน้อยรายที่ศึกษาค้นคว้าจริงจังก่อนการเขียน  
ส่วนเนื้อหาของประวัติศาสตร์ทีถูกหยิบมาใช้จะน่าเชื่อถือแค่ไหน ก็เป็นอีกประเด็นที่ยืดยาว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 09 มี.ค. 01, 22:49

ความสมจริงของนิยาย  มี ๒ อย่าง
๑) ความสมจริงเชิงรูปธรรม  อย่างใช้สถานที่จริง  ใช้ค่าของเงินจริงๆ  เสื้อผ้าแฟชั่นจริงๆในยุคนั้น
สิ่งเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ไม่ใช่การจงใจของคนเขียน แต่เป็นไปเองตามสภาพที่ประสบอยู่
ปริศนา ก็มีความสมจริงเหล่านี้ตามยุคสมัยอยู่บ้าง
๒)ึความสมจริงเชิงนามธรรม   คือความคิดเห็นที่สอดคล้องกับยุคสมัย  บรรยากาศ  ความคิดอ่าน ภูมิปัญญา ค่านิยม  
แบบนี้ลึกกว่าอย่างแรก  และต้องอาศัยสติปัญญาความเข้าใจของคนเขียนด้วย
งานของดอกไม้สด เป็นตัวอย่าง

นิยายอิงประวัติศาสตร์ทุกเรื่อง เป็นเพียงภาพในจินตนาการของผู้เขียน   ไม่ว่าจะค้นมากน้อยแค่ไหนก็ตาม  ไม่มีคำว่าจริงค่ะ
เพราะประวัติศาสตร์เอง ก็เป็นเพียงภาพที่นักประวัติศาสตร์วาดขึ้นจากการประมวลหลักฐานนั่นเอง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.038 วินาที กับ 19 คำสั่ง