คนชื่นชอบนิยาย nchot@thaimail.com
บุคคลทั่วไป
|
คือ...สงสัยนะคะ ว่านวนิยายอิงประวัติศาสตร์กับนวนิยายแนวย้อนยุคเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรค่ะ ใครรู้ช่วยตอบให้ด้วยนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คุณพระนาย
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 06 มี.ค. 01, 09:33
|
|
ถ้าให้เดาตามประสาคนอ่านนิยายเยอะเช่นกันก็ต้องบอกว่า นิยาย อิงประวัติศาสตร์ นั้นย้อนยุคแน่นอน แต่ว่า เนื้อเรื่องในนิยายจะใช้ เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ที่เกิดขึ้น เป็นฉากในเรื่อง แต่ไม่จำเป็นต้องจริงหรือถูกต้องทั้งหมด อย่าง เรื่อง พระศรีสุริโยทัย สายโลหิต นี่เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ โดยตัวละคร อาจจะมีทั้งตัวละครที่มีชื่อจริงในประวัติศาสตร์หรือสมมุติขึ้นมาก็ได้ ส่วนนิยายย้อนยุค ก็ คือ อย่างเช่นเรื่องปริศนา เข้าใจว่าย้อนยุคนะ เพราะคนแต่งอยู่ในยุคปัจจุบัน ตัวละครสมมุติขึ้นมาทั้งหมด แล้วก็ไม่ได้ไปเกี่ยวอะไรกับเหตุการณ์อะไรในประวัติศาสตร์ นอกจากแค่ ใช้บรรยากาศในสมัยนั้น เป็นฉากซะมากกว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปะกากะออม
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 06 มี.ค. 01, 10:34
|
|
เรื่องปริศนา ผู้แต่ง คือ ท่านหญิงวิภาวดี (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต) ในนามปากกา ว.ณประมวลมารค ถ้าจำไม่ผิดท่านทรงแต่งเมื่ออายุยังน้อยมาก ประมาณ 15-16 เท่านั้น เรื่องราวในนิยายเป็นช่วงเวลาเดียวกับท่าน จึง ไม่น่าจะย้อนยุคนะคะ เป็นปัจจุบันของผู้แต่งเลย คนทำละครสมัยปัจจุบันต่างหากที่หยิบบทประพันธ์เก่าขึ้นมาทำเป็นละครย้อนยุคตามเรื่องราวในบทประพันธ์นั้น อันที่จริงแล้ว เรื่องปริศนา มีคุณค่าในตัวเองยิ่งกว่านิยายอิงประวัติศาสตร์ หรือย้อนยุค เพราะผู้แต่งเขียนจากประสบการณ์ในช่วงเวลาของตัวเอง จึงเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี แม้ตัวละครจะสมมติขึ้น และดูเหมือนว่าจะไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์อะไรในประวัติศาสตร์ แค่ใช้บรรยากาศสมัยนั้นเป็นฉากนี่แหละค่ะ ที่ทำให้เราเข้าใจถึงยุคสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างเช่น การไปเที่ยวหัวหินของตัวละคร บอกเล่าบรรยากาศของการเดินทางไปตากอากาศได้อย่างมีสีสัน และที่สำคัญตรงกับความรู้สึกที่แท้จริงของคนในยุคสมัยนั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คุณพระนาย
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 06 มี.ค. 01, 11:03
|
|
ผมก็ว่าแล้วว่าจะต้องหน้าแตกดังเพล้ง ถ้ายกตัวอย่างเรื่องปริศนา เพราะรู้สึก ๆ เหมือนกันว่า อาจจะไม่ถือว่าเป็นนิยายย้อนยุค แต่เรียกว่าละครย้อนยุคได้ และก็เรียกว่า ละคร recylcle ได้ด้วย เพราะสร้างกันหลายภาคหลายตอนแต่ก็ยังมีคนดูเรื่อย ๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 06 มี.ค. 01, 20:53
|
|
มันไม่มีเส้นขีดคั่นที่ชัดเจนนักค่ะ แต่พอมองเห็นความแตกต่างได้
ถ้าคุณเจ้าของกระทู้เขียนนิยายขณะคุณอยู่ในปี ๒๐๐๑ แต่นิยายของคุณใช้ฉากหลังว่าเป็นเหตุการณ์ในยุคสมัยซึ่งจบสิ้นลงไปแล้ว อย่างในรัชกาลที่ ๖ คุณเขียนพอให้ได้บรรยากาศ โดยไม่ได้อ้างอิงเหตุการณ์บ้านเมืองมากนัก อาจจะเป็นแค่เหตุการณ์ในครอบครัวไหนสักแห่ง มีฉากหลังของสังคมยุคนั้นเพียงคร่าวๆ อย่างนี้เรียกว่าย้อนยุค คือ "ย้อน" ไปถึง "ยุค " เก่า ไม่ใช่ยุคที่นักเขียนเจ้าของเรื่องกำลังเขียนอยู่ ละครอย่าง" อาญารัก "เข้าข่ายละครย้อนยุค แต่ไม่ใช่อิงประวัติศาสตร์
แต่ถ้าคุณเจ้าของกระทู้ ตั้งใจหยิบเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ยุคใดยุคหนึ่ง (หรือหลายยุคต่อเนื่องกัน) มาเป็นหลัก แล้วสร้างตัวละคร กับเหตุการณ์ในชีวิตตัวละคร เข้าไปผสมผสานกับเหตุการณ์ใหญ่ทางประวัติศาสตร์ โดยมีรายละเอียดต่างๆสอดคล้องอย่างสมจริง อย่างนี้คือนิยายอิงประวัติศาสตร์ ส่วนอิงมากอิงน้อย อิงถูกอิงผิด อิงจริงอิงไม่จริง -นั่นอีกเรื่อง
คำว่า อิงประวัติศาสตร์ ให้ความรู้สึกว่าเป็นเรื่องใหญ่ จริงจัง และมีสาระเนื้อหา หนักกว่า ย้อนยุค ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 06 มี.ค. 01, 21:06
|
|
ขอแย้งคุณปะกากะออมหน่อยนะคะ เรื่องปริศนา ความจริงเรื่องนี้ไม่ได้สะท้อนสังคมไทยในสมัยใกล้ๆสงครามโลกครั้งที่ ๒ หรอกค่ะ สังคมในเรื่องเป็นสังคมของคนหยิบมือเดียว คือคนชั้นศิวิไลซ์ของสังคม เป็นชนระดับสูง ไม่ใช่แม้แต่คนชั้นกลาง มีรายละเอียดบางอย่างค่อนข้างผิวเผิน อย่างการตากอากาศที่หัวหิน สปอร์ตคลับ การเต้นรำในวังศิลาขาว คนในสังคมไทยแม้แต่คนในกรุงเทพ มีนับคนได้ที่อยู่กันอย่างตัวละครในเรื่องปริศนา ตั้งแต่ท่านชายพจน์ ที่มีรถสปอร์ต และรถเบนท์ลีย์ รตีซึ่งมีชุดราตรีจากฟิลิปปินส์ไปงานเต้นรำไม่หยุดหย่อน ตลอดจนแม่ม่ายค่อนข้างจนอย่างคุณนายสมรแม่ของปริศนา ก็มีคนใช้ถึง ๕ คน และลูกสาวเข้าสังคมชั้นสูงอย่างหรูหลายต่อหลายครั้ง พวกเธอไม่ได้อยู่อย่างผู้หญิงไทยระดับปานกลางค่อนข้างจนทั่วไป อยู่แบบไหน ดิฉันว่าอยู่อย่าง high society ค่ะ และเป็น high societyที่เกือบจะเรียกได้ว่าในฝัน สำหรับคนไทยทั่วไป พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิตอาจเคยประสบพบด้วยองค์เอง แต่ก็นับว่าค่อนข้างหายาก แม้แต่ในหมู่เจ้านายที่จะอยู่ได้อย่างโก้หรูเหมือนท่านชายพจน์ ถ้าอยากรู้ว่าคนไทยที่ค่อนข้างรวยในกรุงเทพ อยู่กันอย่างไร ขอให้อ่าน "วรรณกรรมชิ้นสุดท้าย"ของดอกไม้สด เป็นเหตุการณ์สมจริงในสงครามมหาเอเชียบูรพา อีกเรื่องที่ออกจะหาอ่านยาก แต่ให้ภาพสมจริงในสังคมยุคเดียวกับปริศนา คือ "รสลิน" ของศุภร บุนนาค
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คนชื่นชอบนิยาย
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 07 มี.ค. 01, 00:04
|
|
ขอถามต่อไปค่ะ ถ้าอย่างนวนิยายคู่กรรมน่าจะออกแนวย้อนยุคมากกว่าอ้างอิงประวัติศาสตร์หรือเปล่าค่ะ แล้วอย่างนวนิยายที่กล่าวถึงเหตุการณ์ 16 ตุลา ถือว่าเป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์หรือเปล่าค่ะ คือ ลองมาคิดในแง่กลับกันค่ะ เหตุการณ์ 16 ตุลา เพิ่งผ่านมา 20 กว่าปี จะจัดว่าเป็นประวัติศาสตร์ได้ไหมค่ะ เราต้องศึกษาในแง่ของระยะเวลาหรือเปล่าค่ะ ขอบคุณทุกท่านที่ข่วยไขคำกระจ่างให้ค่ะ.....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 07 มี.ค. 01, 08:56
|
|
สำหรับดิฉัน นิยายเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะเรียกว่าย้อนยุคหรืออิงประวัติศาสตร์ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้เขียนและเนื้อหาสาระของเรื่องด้วย ดิฉันจัดคู่กรรมเป็นนิยายย้อนยุค ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ เพราะเห็นว่าผู้เขียนใช้เพียงฉากสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพาเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เหตุการณ์บ้านเมืองในภาพรวม นวนิยายที่กล่าวถึงเหตุการณ์ ๑๖ ตุลา จะเป็นย้อนยุคหรืออิงประวัติศาสตร์ก็ได้ แล้วแต่เรื่องค่ะ ถ้าตั้งใจจะเขียนให้อิงประวัติศาสตร์ก็ได้ หากว่ากล่าวถึงข้อใหญ่ใจความของเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๑๙ อย่างจริงจัง ทั้งความเป็นมา ตัวเหตุการณ์ และผลที่ตามมา ด้วยความสมจริงเชิงประวัติศาสตร์ แต่คู่กรรม ๒ ดิฉันยังถือว่าย้อนยุคอยู่นะคะ ฉากหลังของการเมืองน้อยมากค่ะ
ขอมีหมายเหตุอีกอย่างว่า นิยายอิงประวัติศาสตร์ historical novelของฝรั่ง โดยมาก มักจะย้อนไปไกลมาก ร่วมศตวรรษแน่ะค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
sweet orange
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 08 มี.ค. 01, 01:38
|
|
how about "Mae ploy" la kha? ? is it historical novel or only back to the old trend novel?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 08 มี.ค. 01, 07:49
|
|
สี่แผ่นดิน นิยายอิงประวัติศาสตร์ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 08 มี.ค. 01, 09:22
|
|
ยกตัวอย่างสามก๊กว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ได้ไหมครับ เพราตัวละครมีตัวตนจริงๆ ในพงศาวดารจีน และเหตุการณืจริงน่าจะอย่างน้อยก็ 30 เปอร์เซนต์ของเรื่อง แต่ 70 เปอร์เซนต์ที่เหลือ แต่งขึ้นเอง
ดังนั้นคงไม่ใช่ตำราประวัติศาสตร์ น่าจะเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 08 มี.ค. 01, 10:03
|
|
สามก๊กเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ค่ะ ภาษาอังกฤษฉบับของบริวิตต์-เทเลอร์ เรียกว่า Romance of the Three Kingdoms เราเรียกว่าเรื่องอิงพงศาวดาร แต่ส่วนที่เป็นกลศึกเราถือว่าเป็นจริง จึงถือว่าเป็นเรื่องตำราพิชัยสงคราม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 08 มี.ค. 01, 20:56
|
|
ขอขัดคอนิดเดียวแหละครับ แต่เห็นมีผู้ใช้พลาดโดยพลั้งเผลอหรือโดยสับสนอยู่หลายราย เกี่ยวกับวันที่ในประวัติศาสตร์การเมืองยุคใกล้ของไทยเราเอง
เหตุการณ์ที่นักศึกษาประชาชนลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลจอมพลถนอมนั้น คือเหตุการณ์วันที่ 14 คุลาคม 2516 เป็นวันที่มีการเรียกกันว่า วันมหาวิปโยค (เรียกตามเสด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงมีพระราชกระแสรับสั่งผ่านทางโทรทัศน์ในวันนั้น ผมยังเด็กอยู่มากๆ แต่ก็ยังจำสีพระพักตร์ได้ติดตาจนเดี๋ยวนี้) ที่ว่าเป็นมหาวิปโยคก็เพราะ มีการใช้ความรุนแรงกันกลางเมืองในหมู่คนไทยกันเอง เหตุการณ์เดียวกันนี้วันนี้ มีบางฝ่ายเรียกว่า วันมหาปิติหรือวันประชาปิติ มีเหตุผลว่า ถึงแม้จะต้องสูญเสียเลือดเนื้อชีวิตไปบ้าง แต่ผลที่ได้คือรัฐบาลทหารที่กุมอำนาจขณะนั้นต้องยอมลงจากอำนาจไป และเปิดทางให้เริ่มต้นประชาธิปไตยอีกครั้งในเมืองไทย หลังจากนั้นมาอีก 3 ปี เหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 เกิดความรุนแรงทางการเมืองขึ้นอีกเนื่องจากความขัดแย้งกันของกลุ่มที่ผมเรียกเอาง่ายๆ ว่า ขวาและซ้าย ก็แล้วกัน ผลที่สุด คณะทหารคณะหนึ่งทำการ "ปฏิรูป" การปกครองแผ่นดิน มีการปะทะกับนักศึกษาอย่างรุนแรงอีกในวันนั้น จนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับฝ่ายที่กลับขึ้นมากุมอำนาจ ทั้งที่เป็นคอมมิวนิสต์และไม่ใช่ ต้องหนีเข้าป่า หนีไปต่างประเทศกันหลายราย ดูเหมือนกลุ่มฝ่ายซ้ายบางท่านเรียกว่า 6 ตุลา วันฆ่านกพิราบ
ผมไม่ได้ตั้งใจจะคุยเรื่องของเหตุการณ์เดือนตุลาทั้ง 2 ครั้งในรายละเอียด เพราะถ้าจะคุยจริงๆ ก็คุยได้อีกยาวมากๆๆ ถกกันได้เยอะมากๆ เป็นแต่ขอเรียนว่า ครั้งแรก 14 ตุลา 2516 ครับ และครั้งสอง 6 ตุลา 19 ครับ ไม่ใช่ "16 ตุลา" ซึ่งรู้สึกจะเป็นการผสมตัวเลขวันเวลาของ 2 เหตุการณ์เข้าด้วยกัน
ที่เกี่ยวกับกระทู้อยู่หน่อยก็คือว่า บทบาทของคุณทมยันตีในช่วงระหว่าง 2516-2519 นั้น ผมยังจำได้ แม้จะยังเด็กอยู่ตอนนั้น แต่ก็พอจำได้ และเมื่อโตขึ้นมาเรียนทางนี้ด้วย ศึกษาย้อนไป มันทำให้ผมเกิดความรู้สึกส่วนตัวขึ้นมาอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ผมอ่านนิยายเรื่อง คู่กรรม 2 ของป้าทมไม่สนุกเท่าไหร่ครับ ผมเข้าใจดีว่าแต่ละคนมีความคิดเห็นของตนเองและป้าทมก็คงมีความคิดเห็นทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งในช่วงเวลาใดช่วงหนึ่ง ที่ผมก็เคารพในสิทธิที่ป้าทมจะมีได้ แต่ผมก็มีความเห็นทางการเมืองของผมอยู่เหมือนกัน ผลสะท้อนก็คือว่า ทำให้ผมเลยไม่สนุกกับงานทางวรรณกรรมของป้าทมบางเรื่องไปด้วย
เรากำลังพูดถึงนิยายอิงประวัติศาสตร์ หรืออิงพงศาวดาร เข้าใจว่าจะเป็น นมส. ที่ทรงกล่าวไว้ว่า พงศาวดารคือ การเมืองในกาลก่อน การเมืองก็คือพงศาวดารปัจจุบัน ยิ่งในกรณีประวัติศาสตร์การเมืองยุคใกล้ เส้นกั้นระหว่างการเมืองกับประวัติศาสตร์ยิ่งบางใหญ่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Linmou
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 08 มี.ค. 01, 22:23
|
|
เอ่อ...ถึงจะไม่เคยอ่านสามก๊ก แต่เคยถามจากรุ่นพี่ที่เคยอ่านทั้งสามก๊กและสนใจประวัติศาสตร์สมัยนั้นเป็นพิเศษ(นอกเหนือจากวิชาเอกของเขาเองซึ่งเป็นสมัยราชวงศ์หมิง)ว่า นิยายสามก๊ก มีความเป็นจริงอยู่ประมาณเท่าไร? เขาตอบว่า ๗๐% ค่ะ
แล้วเรื่อง "ระย้า" นี่ จะเรียกเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ได้ไหม? รู้สึกว่าเรื่องนี้จะสะท้อนสภาพสังคมไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ดีกว่าเรื่องคู่กรรมที่มองญี่ปุ่นในแง่ดีสุดๆแน่ๆ
จะว่าไปก็แปลก ทั้งๆที่ชอบอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นมาก แต่ข้าน้อยกลับไม่ชอบและไม่เคยคิดอยากเรียนภาษาญี่ปุ่นเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 08 มี.ค. 01, 22:29
|
|
"ระย้า" เป็นอีกเรื่องที่พูดถึงเหตุการณ์ช่วงนั้น เรื่อง "ดิน น้ำ และดอกไม้" ก็พูดไว้เหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|