เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 21456 คำสมาส คำสนธิ
patlom gg11@thaimail.com
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 14 มิ.ย. 01, 09:33

รบกวนหน่ยคะ..
คำสมาส คำสนธิ
เป็นอย่างไร ตัวอย่างด้วยนะคะ
ขอบคุณคะ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 ม.ค. 01, 22:54

ขอครูภาษาไทยหรือมหาเปรียญแถวๆ นี้ช่วยด้วยครับ
สมัยเด็กๆ ผมเคยจำว่า สมาสชน สนธิเชื่อม ครับ
เป็นวิธีประกอบคำภาษาบาลี-สันสกฤตที่ไทยเรารับมาในภาษาไทยด้วย
การเอาคำ 2 คำขึ้นไปมาต่อกันนั้น ถ้าเป็นการจับเอามาต่อโป้งเข้าไปเฉยๆ เรียกว่าสมาส เช่น รัฐ + มนตรี เป็น รัฐมนตรี คือมนตรีระดับรัฐ ถ้า เทศ+มนตรี เป็น เทศมนตรีก็เป็นมนตรีระดับท้องถิ่น อย่างนี้คำว่ารัฐหรือมนตรีไม่ได้เปลี่ยนรูปไป เรียกว่า สมาส (จะเถียงก็ได้ว่า รัฐ เปลี่ยนรูปจากในภาษาบาลีเดิมที่เป็น " รฏฐ"  แต่อันนั้นก็เปลี่ยนตั้งแต่เรารับคำนี้มาไว้ในภาษาไทยแล้ว ไม่ใช่เปลี่ยนเพราะการเอามาเชื่อมต่อกับมนตรี รัฐ ในภาษไทย อยู่เฉยๆ ก็สะกดอย่างนี้ ไม่ได้สะกด รัฏฐ)
ส่วนสนธิ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในคำที่เอามาเชื่อมต่อกันด้วย เช่น ราชูปถัมภ์ มาจาก ราช+อุปถัมภ์ แต่ไม่เป็นราชอุปถัมภ์กลายเป็น ราชูปถัมภ์ อย่างนี้เป็นการสนธิ

ผมรู้สึกเหมือนกับว่าจะเทียบได้กับปฏิกริยาฟิชชั่นและปฏิกิริยาฟิวชั่น อันหนึ่งชนกันแล้วแตกออกมา อีกอันหลอมรวมกัน... เอ ย่อหน้าสุดท้ายนี้เลอะเทอะนะครับ อย่าเอาไปเทียบกันเลย มันคนละเรื่องกันครับ
บันทึกการเข้า
tonphai
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 31 ม.ค. 01, 21:09

แต่ในกรณีคำสมาสและคำสนธิต้องเกอดจากการนำคำสองคำที่เป็นภาษาบาลีกับสันสกฤษมาสมาสกับสนธิเท่านั้นครับ ถึงจะเรียกว่าสมาสและสนธิแต่เดิม(เขา)ว่ากันว่าคำสนธิก็คือคำสมาสประเภทหนึ่งเหมือนกันครับ ถึงได้เรียกว่าคำสมาสสนธิ
บันทึกการเข้า
เพ็ญพิชชา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 09 เม.ย. 01, 10:47

เข้าใจว่าสนธิคือสมาสชนิดหนึ่งเหมือนกนัแต่บางคนเรียกแยกเพื่อให้จำง่าย เคนเรียนมาว่า คำสมาสด้วยวิธีสนธิ ขอเพิ่มอีกนิดหนึ่งว่าการสนธิเป็นปรากฏการณ์ทางภาษาอย่างหนึ่งที่ทางภาษาศาสตร์เรียกว่าการกลมกลืนเสียงหรือ assimilation
บันทึกการเข้า
BA
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 14 มิ.ย. 01, 21:33

ทั้งสองอย่างคือ "คำสมาส" แหละครับ
แต่เป็นการสมาสที่มี "การสนธิ" หรือไม่ ก็เท่านั้น
ก็อย่างว่า สมาสชน สนธิเชื่อม
แต่หลักเกี่ยวกับ"คำสมาส""คำสนธิ" ในภาษาไทยเรา
ก็มีหลักการไม่ตรงกับตามไวยากรณ์แท้ ๆ ของ"ภาษาบาลี-สันสกฤต"เดิมหรอก
เพราะเขามีหลักการอะไรบางอย่างที่ต่างไป
ไม่ใช่แบบที่เรา ๆ ท่อง ๆ กันมาในวิชา "ภาษาไทย"
จะว่าไป สมาส ของเขา ก็คือ "คำประสม"ของเรานั่นแหละ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.036 วินาที กับ 17 คำสั่ง