เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6631 แม่ศรีทรงเครื่อง
ลุงแก่
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 07 ก.ย. 00, 12:00

แม่ศรีทรงเครื่อง

   เสียงนกโพระดก มันร้องโฮกป๊ก โฮกป๊กอยู่หนไหน
พระพุทธเจ้าข้า จับกิ่งเพกานั่นเป็นไร ตัวเขียวเขียวบินเลี้ยวไป เข้าโพรงไม้ทางนี้เอย

   เสียงนกกางเขน อ้อจับต้นไม้เอน เจรจาอยู่จู๋จี๋
พระพุทธเจ้าข้า น่าเอ็นดูเต็มที แต่เลี้ยงไม่รอดมันยอดดี ดิ้นจนหัวฉีกปีกหักเอย

   นกกาเหว่าเสียงหวาน ร้องก้องดงดาน เสียงกังวานยิ่งนัก
บุราณท่านว่าไว้ มันไข่ให้กาฟัก เท็จจริงไม่ประจักษ์ พระพุทธเจ้าข้าเอย

   นั่นไก่หรืออะไร อุ๊ยจริงจริงนั่นแหละไก่ พอทักไปก็ขันจ้า
ขันคึกอยู่คนละถิ่น ตัวไหนบินเข้ามาหา พระพุทธเจ้าข้า ตีกันสิ้นท่าทางเอย

   ดอกเอ๋ย ดอกมะซาง รักกันจริงอย่าทิ้งอย่าขว้าง อย่าเหินอย่าห่างกันเอย
อย่าอึกทึกไป เสียงอะไรนั่นเอย

คัดจากบทความ ประชุมเพลงตับ สำหรับร้องส่วมโหรีหนังสืออนุสรณ์
งานฌาปนกิจศพ จ.ส.ต. ถวิล จัมปาสุต ; มีนาคม ๒๕๐๘
บันทึกการเข้า
ทัด
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 ก.ย. 00, 00:00

เพลงตับ เป็นอย่างไรครับ
ต่างกับเพลงอย่างอื่นอย่างไรครับ
เป็นอย่างเดียวกับลำตัดหรือเปล่าครับ
ไม่ค่อยได้ยินชื่อเลยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 06 ก.ย. 00, 00:00

คำว่า แม่ศรีทรงเครื่อง หมายถึงอะไรคะ
บันทึกการเข้า
ลุงแก่
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 06 ก.ย. 00, 00:00

ผมเองก็ไม่สันทัดเรื่องดนตรีไทย แต่เข้าใจว่า"แม่ศรีทรงเครื่อง" หมายถึง
ทำนองการร้องแบบหนึ่งที่ครูเพลงท่านแต่งไว้ คงจะมีอธิบายในสาส์นสมเด็จฯ
โดยสมเด็จฯ กรมพระนริศฯ ขอไปค้นอ่านดูก่อน
บันทึกการเข้า
แก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 07 ก.ย. 00, 00:00

บทร้องเพลงแม่ศรีทรงเครื่องที่ลุงแก่ค้นมามีหลายคำที่นักร้องเพลงไทยปัจจุบันนี้ร้องไม่เหมือนกับบทดังกล่าว เช่น

ในท่อนของ"นกโพระดก" ร้องว่า "ตัวเขียวเขียวอ้าวเลี้ยวไป" (ไม่ใช่"บินเลี้ยวไป")

ในท่อนของ"ไก่" เวลาที่ร้องบางสำนักจะไม่มีคำว่า "อุ๊ย"

ในท่อนสุดท้าย บางคนร้องว่า"รักกันจริงไม่ทิ้งขว้าง"

เหล่านี้เป็นต้น และแต่ละสำนักแต่ละครูก็ใช้คำร้องและทำนองร้องที่แตกต่างกันไป ส่วนมากแล้วบทร้องที่นำมาลงในหนังสือมักจะไม่ตรงกับบทที่ใช้ร้องกันจริงๆ หรืออาจจะพูดได้ว่าบทร้องที่ใช้ร้องกันในปัจจุบันนี้คลาดเคลื่อนไปจากบทของเก่าก็ได้ ความเคลื่อนเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุแต่สาเหตุใหญ่นั้นน่าจะมาจากความเห็นและความรู้สึกของผู้คิดทำนองร้องและผู้ขับร้อง ในอันที่ืจะทำให้การขับร้องของตนน่าสนใจ

แก้ว
บันทึกการเข้า
แก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 07 ก.ย. 00, 00:00

ที่คุณทัดถามมาเมื่อวันที่๕เรื่องเพลงตับกับลำตัดนั้น เพลงตับคือเพลงชุดที่ประกอบขึ้นจากการนำเอาเพลงหลายๆเพลงมาบรรเลงติดต่อกัน มีสองประเภทคือ"ตับเรื่อง"และ"ตับเพลง" เพลงในตับเรื่องนั้นมีบทร้องที่เป็นเรื่องเดียวกัน เล่าความติดต่อกันไปเป็นเรื่อง ส่วนตับเพลงนั้นเนื้อร้องมักจะไม่ต่อเนื่องกัน

ส่วนลำตัดนั้นเป็นคนละเรื่องกัน จัดอยู่ในกลุ่มเพลงพื้นบ้าน อยากทราบเหมือนกันว่าคำว่า"ลำตัด"นั้นมาจากไหน ถ้า"ลำ"หมายถึงทำนองอย่างหนึ่ง คำว่า"ตัด"ก็น่าจะมาจากการย่อทำนองใดทำนองหนึ่งลงมา ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว ทำนองเดิมก่อนตัด(ลำเต็ม??)นั้นเป็นอย่างไรกัน

แก้ว
บันทึกการเข้า
ทัด
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 08 ก.ย. 00, 00:00

ขอบคุณคุณแก้วมากครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง