เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 30801 “พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์”
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 08 ม.ค. 11, 10:06

ระบบรากฐานของอาคารจะเป็นอย่างไร คงต้องมีการขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งปัจจุบันตัวอาคารยังคงสภาพที่สมบูรณ์ ไม่มีการทรุดตัวของอาคารที่ไม่เท่ากัน จึงไม่มีทางเห็นระบบรากฐานอาคารได้เลย ซึ่งดูจากอาคารแล้วมีความแข็งแรงเป็นอย่างมาก

จะขอแย้งเอกสารสักหน่อย ซึ่งพูดในลักษณะว่าในช่วงรัชกาลที่ ๓-๔ มีการก่อปูนหุ้มโครงไม้ให้ดูเหมือนอาคารก่ออิฐถือปูนนั้น จะขอแย้งว่าคงจะติดมโนภาพของการซ่อมเสริมหมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย และพระอุโบสถวัดพระแก้ว ซึ่งมีการบรรยายไว้ว่า เดิมเป็นเสาไม้ และล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๓ โปรดให้ก่ออิฐถือปูนหุ้นเสานั้นไว้ โดยมีประจักษ์พยานเมื่อซ่อมแซมพระอุโบสถวัดพระแก้วเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ ก็พบแกนกลางเป็นไม้ซุง ซึ่งก็ผุไปมากแล้ว

แต่อาคารแบบยุโรปในสมัยรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ ก็ไม่ต้องหลอก ก็มีเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนก็มีอยู่ โดยตึกแบบฝรั่ง สร้างแบบฝรั่งนั้นมีการก่อสร้างมาตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา ดังเช่น หมู่ห้องพระคลังหลวงที่พระราชวังลพบุรี, อาคารตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ ก็เป็นแบบตะวันตก โดยใช้ผนังอิฐรับน้ำหนัก ภายในปูพื้นไม้กระดาน ซึ่งตึกแบบนี้มีเป็นอาคารอย่างห้องแถว หน้าต่างน้อยแต่บานใหญ่ ไม่มีกันสาด ซึ่งเป็นการถ่ายแบบจากชาวยุโรป มาสู่ภูมิภาคเอเซียตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเรียกอาคารแบบนี้ว่า "ตึก Factory" หรือ "แฟคตอรี่" ในสมัยอยุธยา

นายแฟรตอรี่ เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบอาคารลักษณะนี้ เพื่อใช้เป็นโกดังเก็บสินค้า ในดินแดนมะละกาและแพร่หลายไปยังดินแดนอาณานิคมอย่างรวดเร็ว ไทยเองก็รับเอาตึกแบบนี้เข้ามา และผสมกับฝีมือแรงงานแบบจีน ซึ่งเห็นเป็นตัวอย่างที่ท่าเรือกวางตุ้ง ซึ่งปลูกสร้างอย่างมากมาย

การวางรากระบบฐานราก ก่อสร้างในเขตพระบวรราชฐานต้องทำอย่างดีที่สุด ถ้าขุดดินลึกลงไปแน่นอนเป็นน้ำ และดินเลน หรือทางวิชาการบอกว่า เป็นดิน Bangkok's Clay เป็นเลนตะกอน หากมีแผ่นดินไหวจะสั้นดึ๋งๆๆๆๆ เหมือนสั่นถ้วยเยลลี่ และมีอัตราการทรุดตัวสูง ดังนี้การทรุดตัวของอาคารจึงทรุดตัวไปพร้อมๆกันทั้งหลัง จึงไม่เกิดปัญหาการแตกร้าวระหว่างตัวอาคารและบันไดทางขึ้น ซึ่งก่อสร้างพร้อมกัน

ในความเห็นของผมเอง จะยกตัวอย่างลักษณะการก่อสร้างอาคารเก่าแห่งหนึ่ง เป็นการก่อรากฐานอาคารแบบผนังรับน้ำหนัก และตัวฐานจะก่ออิฐเป็นเหมือนเขื่อนรอบอาคารเพื่อก่อผนังในอนาคต ระหว่างจุดตัดและมุมต่างๆ จะวางฐานอิฐแบบขั้นบันได แล้ววางบนปีกไม้ขัดเป็นตาราง ใต้นั้นห่มเสาไม้เข้าลงไปก็เป็นระบบรากฐานที่แข็งแรงอย่างดีเยี่ยม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 08 ม.ค. 11, 10:08

ลักษณะรากฐานก่ออิฐแบบขั้นบันได เหนือปีกไม้และไม้เสาเข็ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 08 ม.ค. 11, 10:26

ขอคั่นจังหวะนิดนึงครับ

ตราพระบวรราชลัญจกรที่คุณหนุ่มสยามเอามาลงไว้ กับพระบวรราชลัญจกรบนหน้่าจั่วของพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์

"เจ้าฟ้าจุฑามณี" ซึ่งก็แปลว่า "ปิ่นปักผม" ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 08 ม.ค. 11, 20:01

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณคุณหนุ่มสยามที่มาขยายความเห็นทางวิศวกรรมของฐานรากอาคารโบราณสถานของไทย ย้อนยุคขึ้นไปจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาโน่นด้วย ผมไม่มีอะไรจะเสริมมากนักนอกจากจะเพิ่มเติมนิดเดียวว่า การก่อสร้างฐานรากนี้จะต้องลึกลงในดินมาก อาจถึง๒เมตร เพื่อให้ส่วนที่เป็นไม้จมอยู่ในระดับน้ำใต้ดินตลอดเวลา มิฉะนั้นไม้จะผุ แล้วโครงสร้างอาคารทั้งหมดจะทรุดลงตาม

ส่วนพระที่นั่งพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ดูๆแล้วก็ไม่ทราบเหมือนกันว่ามีการหลอกเอาปูนหุ้มไม้ไว้ที่ไหนหรือเปล่า อาจจะเป็นงานก่ออิฐล้วนๆก็ได้ อย่างน้อยส่วนบันไดก็เป็นงานก่ออิฐฉาบปูนแน่นอน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 08 ม.ค. 11, 20:36

พอดีมีคนสนิทกันหลังไมค์มาฝากข้อความไว้ให้ตั้งแต่เช้าดังนี้

อ้างถึง
ระวังน้าๆๆๆๆ เดี๋ยว "นายจันหนวดเขี้ยว" โผล่มาบอกว่า "เราก็ไว้หนวด" "พระเจ้าตากสินก็มีหนวด" คิคิ

ผมจะตอบเพื่อนกลับไปทางหลังไมค์บ้างว่าผมไม่ได้นั่งเทียนเขียนขึ้นมาเองนะ ของมันมีที่มาที่ไป แต่คิดว่าเดี๋ยวอาจจะมีผู้อ่านท่านอื่นสงสัยทำนองเดียวกันว่าผมไปเอาข้อความ “ พระบวรฉายาทิศลักษณ์ดังกล่าว จะเห็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงไว้พระมัสสุ มีผู้ลงความเห็นแต่โบราณว่าพระองค์ท่านทรงเป็นผู้นำชาวสยามในการไว้หนวด เพราะก่อนหน้านั้นเจ้านายไม่ทรงนิยมไว้พระมัสสุกัน” มาจากไหนอีก ผมก็คงจะต้องตอบ๒ที เลยขอเป็นทีเดียวตรงนี้จะดีกว่า


ผมเอาจากหนังสือเรื่อง “พระปิ่นเกล้า อ่าน เขียน เรียน “ฝรั่ง”  รู้เท่าทันตะวันตก” พิมพ์โดยกรมศิลปากร ดังนี้ครับ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 09 ม.ค. 11, 12:01

มาดูศัพท์แสงที่ใช้ในสมัยนั้นกันหน่อย

อ้างถึง
"ตัวพระที่นั่งด้านหน้ามีเฉลียงโถง ๗ ห้อง ข้างในประธานตอนกลาง ๓ ช่อง กั้นเป็นห้องเสวย ห้องต่อมาข้างใต้ ๒ ช่อง เป็นห้องพระบรรทม มีฝาเฟี้ยมกระจกกั้นขวางอีกชั้น ๑ ต่อมาถึงที่สุดด้านใต้เป็นห้องเล็กชั่วช่อง ๑ เป็นห้องแต่งพระองค์"

คำว่า “ประธาน” ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงทรงบรรยายนั้น ทำเอาผมงงอยู่เป็นนานว่าทรงหมายความว่ากระไร กว่าจะมาเจอในสูจิบัตรของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ความตอนหนึ่งว่าพระที่นั่งวงจันทร์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้สร้างขึ้นเป็นที่ประทับ ลักษณะเป็นอาคารทรงยุโรป 2 ชั้น มีเฉลียงบันไดทางขึ้นอยู่ทางด้านหน้า ชั้นล่างเป็นที่อยู่ของพนักงาน ชั้นบนเป็นที่ประทับ แบ่งพื้นที่ด้านหน้าเป็นเฉลียงโถง ด้านหลังเป็นเฉลียงทึบ ในประธานแบ่งเป็นห้องต่างๆ 5 ห้อง ประกอบด้วย 1. ห้องทรงพระอักษรและห้องสมุด 2. ห้องรับแขก 3. ห้องเสวย 4. ห้องพระบรรทม 5. ห้องแต่งพระองค์และห้องสรง
เป็นอันว่า“ประธาน”มีอีกความหมายหนึ่งที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน คือส่วนที่มีความสำคัญของอาคารนั่นเอง

พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์นั้น นอกจากจะมีระเบียง(เฉลียง)ไม้ยาวตลอดทุกห้องทางด้านหน้าแล้ว ด้านหลังก็จะมีเฉลียงลักษณะคล้ายๆกัน แต่จะเป็นผนังทึบ มีหน้าต่างบ้างแต่ไม่ได้โล่งโถงเช่นด้านหน้า ห้องเฉลียงด้านหลังนี้ใช้เป็นส่วนบริการของห้องหลัก(ประธาน) เวลาเสด็จอยู่ พนักงานชาวที่คงเตรียมถวายงานอยู่ภายในห้องระเบียงด้านหลังนี้

สภาพปัจจุบันมิได้เปิดแสดงต่อสาธารณะ จึงเป็นที่เก็บคุรุภัณฑ์บางอย่างที่มิได้ออกนำแสดงเช่นกัน นี่เป็นหลังฉากที่ผมโชคดีได้เข้าไปเห็น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 09 ม.ค. 11, 12:06

ห้องหลักที่เรียงต่อมาจากห้องพระบรรทมนั้น เป็นห้องเสวยที่โดยปกติก็เสวยพระองค์เดียว แต่ห้องใหญ่หน่อยเพราะจะมีพระราชโอรส และฝ่ายในมาเข้าเฝ้าในระหว่างเสวยนั้นด้วย

เซอร์จอห์น เบาวริงยังเขียนถึงการได้รับพระราชทานเลี้ยงในห้องนี้ไว้อีกว่า

“ในที่นี้ ได้จัดโต๊ะสำหรับเลี้ยงอาหารกลางวันไว้พร้อมสรรพอย่างโต๊ะเลี้ยงของยุโรป  ของที่ตั้งบนโต๊ะนั้นมีแต่ผลไม้และขนมแช่อิ่มเท่านั้นที่เป็นของไทย นอกนั้น ขนมปังอย่างอเมริกัน และอาหารแบบชาวตะวันตก หากพ่อครัวที่ปรุงอาหารนั้นไม่ใช่ฝรั่งแล้ว ก็ต้องเป็นผู้ที่เรียนทำอาหารแบบชาวตะวันตกมา ได้ยินมาว่า ในการทำอาหารนั้น ทรงเอาเป็นพระธุระและทรงตรวจตราอย่างละเอียดยิ่งกว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทุกอย่างถูกตระเตรียมด้วยความสะอาด และจัดทำการเสริฟอย่างคล่องแคล่ว”


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 09 ม.ค. 11, 13:21

บันทึกของเซอร์จอห์น เบาวริ่ง เมื่อเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ที่พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ครั้งแรกในตอนค่ำของคืนวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๓๙๘

"เวลาค่ำไปเฝ้าวังหน้าในที่ข้างในพระราชฐาน วังหน้าเป็นคนมีปัญญาความคิดฉลาด และเงียบขรึม และอ่อนโยนดี จากปัญญาความคิดที่ฉลาด จึงไม่ค่อยจะทรงเกี่ยวข้องกับการเมือง ตั้งแต่ท่าน้ำที่เราเดินขึ้นไปจนถึงพระราชวังได้ปูเสื่อลาดตลอดทาง

ห้องที่ประทับเหมาะดีและตกแต่งเข้าที เว้นแต่ที่ชักพัดแขวนสูงเกินไปจนติดฝ้าเพดาน ถ้าไม่ฉะนั้นแล้ว การที่ใช้ เครื่องตกแต่ง เกือบจะทำให้เชื่อว่าเข้าไปอยู่ในบ้านขุนนางฝรั่ง ทรงรับสั่งด้วยภาษาอังกฤษได้ไพเราะน่าฟัง ซึ่งเห็นได้ว่า เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาเล่าเรียน ปลูกฝังด้วยความรู้อย่างเลิศ ทั้งมีห้องสมุดหนังสืออังกฤษที่คัดเลือกมาอย่างดีเป็นจำนวนมาก กับมีเครื่องมือต่างๆ สำหรับใช้ในเครื่องจักรกล เท่ากับพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งทีเดียว ทั้งมีตัวอย่างงานช่างต่างๆที่ได้เจริญขึ้นในสมัยปัจจุบัน เช่นตัวอย่างเรือกลไฟขนาดย่อมและตัวอย่างเครื่องอาวุธต่างๆ ตลอดเวลาในคืนวันนั้นได้มีวงพิณพาทย์เล่นขับกล่อม ข้าพเจ้าชอบเครื่องดนตรีอย่างหนึ่งที่ทำจากเนื้อไม้ เรียงกันเป็นแผ่นต่อกันยาวประมาณสักเจ็ดฟิต เมื่อตีบนผิวไม้จะฟังไพเราะ ได้ทรงลองเล่นให้ดูด้วยพระองค์เอง  แล้วทรงแนะนำให้ข้าพเจ้ารู้จักพระธิดาองค์โปรดที่มีพระนามว่า เปีย ซึ่งได้เข้าเฝ้าอยู่ด้วย ทรงบอกว่ามีพระโอรสและธิดาอยู่ในราวยี่สิบองค์ องค์ใหญ่ ชื่อยอช เป็นผู้ดีหนุ่มที่ฉลาด อายุได้สิบแปดปี เราได้เห็นเจ้าจอมมารดาของเปียมาแอบยืนดูที่ประตู องค์หญิงทรงแต่งพระองค์ด้วยเครื่องเพชรเครื่องทองมาก แต่เมื่อเข้ามาใกล้แล้วก็ทำให้เสื้อผ้าเราเปื้อนไปด้วยสีเหลืองของขมิ้น"

     ครั้นวันที่ ๒๑ เมษายน เวลาบ่าย ๔-๕ โมง เซอร์จอห์น เบาวริ่งก็ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ  ณ พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์อีกครั้งหนึ่ง และมีบันทึกว่า

   "วังหน้ามักจะทรงหลีกไม่ค่อยรับสั่งถึงเรื่องทางราชการแผ่นดิน วังหน้ามีลูกด้วยเจ้าจอมคนเดียวถึงเจ็ดองค์ เจ้าจอมคนนั้นเป็นที่ทรงโปรดปรานมาก และได้มาคลานคอยแอบดูอยู่ที่ข้างประตูในเวลาที่ข้าพเจ้าหยอกล้อเล่นอยู่กับองค์หญิงน้อยของเธอ ที่เรียกชื่อว่า 'เปีย' ซึ่งชอบข้าพเจ้า และได้เอาพวงมาลัยดอกไม้หอมมาสวมมือให้ วันนี้องค์หญิงเปียได้ทรงเครื่องอย่างฝรั่ง แต่ดูเหมือนว่าจะเดือดร้อนกับเครื่องทองที่เกะกะมากนัก พระองค์เจ้ายอชเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ เป็นคนหนุ่มที่น่ารัก และมีนิสัยอ่อนโยนดี"


พัดโบกรูปร่างแบบนี้ใช่ไหมครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 09 ม.ค. 11, 13:53

^
คุณหนุ่มสยามเป็นเอกะทัคคะในการค้นหารูปยากๆมาแสดง เยี่ยมเลยครับ

ที่จริงพัดแบบนี้ไม่ได้เป็นแบบที่คนไทยคิดค้นขึ้นมาใช้แต่เก่าก่อน มิฉะนั้นเราคงจะรู้จักกันดีกว่านี้
ผมคิดว่า คงจะนำความคิดมาจากอินเดีย โดยทหารฝรั่งของพระองค์นั่นแหละ
อาศัยที่ทรงเป็นช่างอยู่แล้ว ก็ไม่ยากที่จะทรงลองประดิษฐ์ขึ้นมาใช้บ้าง

ผมเดาว่าคงไม่ค่อยได้เรื่องเท่าไร เสียงคงดังด้วย เวลาจะคุยกันจริงจังคงน่ารำคาญ
ในราชสำนักและบ้านผู้มีอันจะกินแบบไทยๆ ให้นางในมาคอยโบกวิชนีจะดีกว่า เจริญตาเจริญใจกว่ากันลิบลับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 09 ม.ค. 11, 13:57

หลังจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯเสด็จสวรรคตในปีพ.ศ.๒๔๐๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดห้องกลางในพระนั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ซึ่งเป็นห้องเสวยเดิมนี้ ให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิ

ครั้นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าในรัชกาลที่๕เสด็จทิวงคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวร และย้ายเจ้านายและข้าราชการวังหน้าไปสังกัดวังหลวงทั้งหมด เป็นเหตุให้วังหน้าว่างลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพิพิธภัฑสถานในพระบรมมหาราชวังมาจัดแสดงใน พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๐

ส่วนพระบรมอัฐิ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ และกรมพระราชวังบวรทุกพระองค์ ที่ประดิษฐานอยู่ในวังหน้ามาแต่เดิม โปรดเกล้าฯให้อัญเชิญไปไว้ที่หอพระนาก ในพระบรมมหาราชวัง

พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ได้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑสถาน พระนคร ไปด้วย โดยเป็นที่จัดแสดง พระราชอาสน์ เครื่องเรือนยุโรป และจีน ตลอดจนของสะสมต่างๆ ในสมัยสมัยรัชกาลที่๔ ตามลักษณะที่เคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ มาแต่เดิม

ส่วนตู้ทองที่เคยประดิษฐานพระบรมอัฐินั้น ได้อัญเชิญพระป้ายฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระราชโอรสได้ทรงสร้างขึ้นสำหรับเจ้านายวังหน้าปฏิบัติบูชา เพื่อแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษของลูกหลานตามคติจีน มาสถิตย์พร้อมพระป้ายสมเด็จพระบรมราชชนก(พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) และพระราชมารดา(สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี)ยังด้านข้างด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 09 ม.ค. 11, 14:05

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี หรือเจ้าฟ้าบุญรอด พระธิดาในกรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กับเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน ถือว่าพระองค์นั้นมีเชื้อสายจีนทางพระราชมารดา

ส่วนกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระโอรสพระองค์ใหญ่ พระชนนีคือท่านเจ้าคุณจอมมารดาเอม เลยยิ่งผสมจีนเข้าไปใหญ่ ไม่น่าแปลกที่พระญาติทางพระชนนีของท่านจะนำคตินิยมทางจีนเข้ามาในราชสำนักวังหน้ามากมาย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 09 ม.ค. 11, 14:17

พระป้ายฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯมีขนาดกว้าง๙เซนติเมตร  ยาว๑๕เซนติเมตร  และสูง๑๒เซนติเมตร จำหลักอักษรจีน ออกพระนามว่าเจิ้ง แซ่เจิ้ง อ่านแบบแต้จิ๋วว่า แต้เจี้ย มีข้อความในลิ้นชักระบุว่า ทรงได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่สองของสยาม และวันเดือนปีที่พระราชสมภพ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 09 ม.ค. 11, 16:03


ห้องที่ประทับเหมาะดีและตกแต่งเข้าที เว้นแต่ที่ชักพัดแขวนสูงเกินไปจนติดฝ้าเพดาน ถ้าไม่ฉะนั้นแล้ว การที่ใช้ เครื่องตกแต่ง เกือบจะทำให้เชื่อว่าเข้าไปอยู่ในบ้านขุนนางฝรั่ง ท
พัดชนิดนี้ เรียกว่า "พัดชัก"  ไม่ใช่พัดโบก ซึ่งเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง  เป็นพัดมีด้ามยาว
ถ้าเป็นคำกริยาที่ใช้กับพัด เรียกว่า "ชักพัด"   เพราะเวลาใช้ต้องดึงสายที่ผูกอยู่กับแผ่นผ้า ให้แกว่งไปมาคล้ายๆดึงสายเปล   มีหลากหลายแบบ



คุณ Navarat.C  เข้าใจถูกแล้วค่ะ   พัดชนิดนี้เป็นของอินเดีย  เรียกว่า punkah  (ออกเสียงว่า พันคา)  เป็นพัดที่ใช้่แขวนบนเพดาน แล้วใช้เชือกดึงให้กระพือไปมาได้    เป็นอิทธิพลอาหรับที่อินเดียรับมาอีกที
เมื่ออินเดียตกอยู่ในปกครองของอังกฤษ  บ้านช่องและออฟฟิศของนายทหารอังกฤษก็ใช้พัดชนิดนี้กันทั่วไป   เพื่อบรรเทาร้อน  เพราะต่างก็ไม่ชินกับอากาศร้อนจัดกันที่นั่น   แฟชั่นนี้คงจะเดินทางมาสยามตามนายทหารอังกฤษที่มารับราชการกับสมเด็จพระปิ่นเกล้า     
สังเกตว่าในรัชกาลที่ 3  ปราสาทราชวังและวัดวาอารามทั้งหลายของไทยไม่ได้ออกแบบให้แขวนพัดแบบนี้ได้   จะเห็นได้จากเพดานสูงลิ่ว แขวนไปลมก็ลงมาไม่ถึง      ต้องเป็นอาคารแบบตะวันตกที่เพดานเตี้ย  พอที่พัดชักจะโบกลมถึงตัวคนที่นั่งอยู่ข้างใต้ได้
คนชักพัดเป็นมหาดเล็ก  ทำหน้าที่ดึงสายชักให้พัดโบกไปมา    ความกว้างของผ้าทำให้เกิดลมในวงกว้าง    คนข้างใต้เย็นสบายพร้อมกันหลายคน  ถ้าเป็นวิชนีจากนางในเอวบางร่างน้อย ก็พัดเย็นได้คนเดียว     เปรียบได้กับพัดลมตั้งโต๊ะเครื่องเล็กๆ     ส่วนพัดชักเป็นพัดลมเพดาน
เมื่อมีไฟฟ้าใช้กัน  พอจะติดพัดลมได้ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20  พัดชักก็หมดประโยชน์ใช้สอย   

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 09 ม.ค. 11, 19:12

ขอนำภาพพัดชัก เมื่อ พ.ศ. 2418 มาให้ชมซึ่งวาดไว้ที่ดินแดนพม่า โดยชาวยุโรป มีการใช้พัดชัก และพัดโบก ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 09 ม.ค. 11, 19:45

รายละเอียดของพระป้ายทั้งสาม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.087 วินาที กับ 20 คำสั่ง