เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
อ่าน: 30767 “พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์”
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 22 ม.ค. 11, 12:02

สุขภัณฑ์รูปที่คุณ Navarat นำมาแสดง ถ้าเข้ามาในสยามน่าจะเป็นสมัยรัชกาลที่ ๔ หรือ ๕  ดิฉันยังสงสัยว่ามีท่อน้ำต่อออกไปหรือไม่
เคยรู้แต่ว่า ยุคก่อนหน้าฝรั่งเข้ามา   พระบังคนจะลงในกระทง แล้วมีพนักงานเชิญกระทงนำไปทิ้งในแม่น้ำ   กระทงนั้นคงจะรองในกระโถนพระบังคนอีกที
สุขภัณฑ์กระเบื้องทันสมัยอย่างในรูปของคุณ Navarat   น่าจะมีใช้ที่พระที่นั่งอิศเรศฯ  ก็ในเมื่อเซอร์จอห์น เบาริงถึงกับออกปากว่าเหมือนเข้ามาในคฤหาสน์ของผู้ดีอังกฤษ     สุขภัณฑ์ทันสมัยจะไม่มีเชียวหรือ?

รูปข้างล่างนี้เป็นสุขภัณฑ์เคลื่อนที่ได้ สมัยวิกตอเรียน   ข้างในเป็นถังรอง มีประตูด้านข้างเปิดปิดได้ เพื่อดึงถังรองออกไปทำความสะอาด แล้วค่อยเลื่อนกลับเข้าที่ตามเดิม
เคยเห็นแบบคล้ายๆอย่างนี้ แสดงอยู่ที่พระราชวังร. ๒ ที่อัมพวา

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 27 มี.ค. 17, 14:56

พระป้ายฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯมีขนาดกว้าง๙เซนติเมตร  ยาว๑๕เซนติเมตร  และสูง๑๒เซนติเมตร จำหลักอักษรจีน ออกพระนามว่าเจิ้ง แซ่เจิ้ง อ่านแบบแต้จิ๋วว่า แต้เจี้ย มีข้อความในลิ้นชักระบุว่า ทรงได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่สองของสยาม และวันเดือนปีที่พระราชสมภพ

รายละเอียดของพระป้ายทั้งสาม



ภาพอธิบายของคุณหนุ่มสยามดูจะไม่ถูกต้อง ป้ายตรงกลางคือ ป้ายเทพารักษ์  พระเจนจีนอักษร (สุดใจ ตัณฑากาศ) อธิบายว่า ป้ายเทพารักษ์นั้น น่าจะเป็นป้ายพระภูมิ ด้วยธรรมเนียมจีนเขาตั้งศพต้องตั้งที่พระภูมิด้วย

ส่วนพระป้ายฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯในรูปอยู่ทางซ้ายมือ พระเจนจีนอักษรแปลถวายแปลถวายสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ รายละเอียดอยู่ในหนังสือ "สาส์นสมเด็จ" เล่ม ๒ (พ.ศ. ๒๔๖๖ - ๒๔๗๔)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 29 มี.ค. 17, 12:13

ความหมายของอักษรจีนในป้ายเทพารักษ์  (วิธีอ่านแบบจีน ขวาไปซ้าย บนลงล่าง)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 31 มี.ค. 17, 12:42

ข้อความในลิ้นชักระบุว่า ทรงได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่สองของสยาม และวันเดือนปีที่พระราชสมภพ

ตัวอักษรจีนมีดังนี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 31 มี.ค. 17, 14:30

คำอ่านสำเนียงแต้จิ๋ว

๑. เก่าฮอง เซี่ยมก๊ก ยี่อ๋อง แต้เจี่ย เจ๊กอุ้ย เฮียงซิ่ว

๒. แซอี่โบ้วสินหนี โป้ยง้วยจั๊บโหงวยิ่ด ปั้วแหม โง้วเตี้ยมตั๋งเจง

๓. ปังอีโง้วจับชิดส่วย อื๋อสี่ง้วยอู่โง้วยิด ซินยิดเก่ย หน่อบ้วนขั่งเกาเปะโป๊ยจับซายิด หลังเจ๊กเตี้ยมตั้งเจง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 31 มี.ค. 17, 15:13

คำแปล

๑. เก่าฮอง = ยกย่องสืบเนื่องมา  เซี่ยมก๊ก = ประเทศสยาม  ยี่อ๋อง = เจ้าองค์ที่สอง  แต้เจี่ย = เป็นพระนาม  เจ๊กอุ้ย = พระองค์หนึ่ง  เฮียงซิ่ว = มีอายุได้ (คำนี้ไม่สมบูรณ์ ถ้าให้ได้ความต้องเป็น เฮียงซิ่วบ่อเกียง = ขอให้อายุยืนยาว)

แปลความว่า ยกย่องสืบเนื่องมา ให้แต้เจี่ยเป็นพระเจ้าแผ่นดินสยามพระองค์ที่สอง ทรงพระชนม์ยืนยาว

๒. แซอี่โบ้วสินหนี = เกิดเมื่อปีมะโรง  โป๊ยง้วยจับโหงวยิ่ด = วันที่ ๑๕ เดือน ๘ (ตรงกับเดือน ๑๐ ของไทย)  ปั้วแหม = เที่ยงคืน  โง้วเตี้ยมตั๋งเจง = ระฆังตี ๕ ที

แปลความว่า ทรงพระราชสมภพเมื่อ (ขึ้น) ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง เวลา ๕ ทุ่ม

๓. ปังอีโง้วจับชิดส่วย = สวรรคตเมื่อ ๕๗ พรรษา  อื๋อสี่ง้วยอู่โง้วยิด = เศษ ๔ เดือนกับ ๕ วัน  ซินยิดเก่ย = คำนวณวัน  หน่อบ้วนขั่งเกาเปะโป๊ยจับซายิด =สองหมื่นกับเก้าร้อยแปดสิบสามวัน  หลังเจ๊กเตี้ยมตั้งเจง = กับระฆังตี ๑ ที

แปลความว่า เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ ๕๗ พรรษา ๔ เดือน ๕ วัน คำนวณเป็นเวลา ๒๐,๙๘๓ วันกับ ๑ ชั่วโมง

ข้อความทั้งหมดนี้ สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงให้ความเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานร่างให้เขียนเป็นภาษาจีนแน่นอน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง