เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 30796 “พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์”
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 14 ม.ค. 11, 15:31

กระทู้นี้แยกไปที่

" เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4184.msg76739;topicseen#msg76739
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 14:26

วันนี้ได้ภาพพระที่นั่งคชกรรมประเวศชัดๆมาฝากครับ

พระที่นั่งนี้ สร้างขึ้นภายในพระบวรราชวัง โดยเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเอง  เนื่องจากไม่มีธรรมเนียมให้ก่อสร้างปราสาทภายในพระบวรราชวังมาก่อน (อาคารที่มีเรือนยอดเหนือหลังคาเป็นกุฎาคารนั้น เรียกว่าปราสาท) ในสมัยที่กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพทรงสร้างวัดบวรสถานสุทธาวาส หรือวัดพระแก้ววังหน้านั้น ทรงเตรียมขึ้นโครงหลังคาพระวิหารเป็นกุฎาคาร ความทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯรับสั่งให้คนไปห้าม จึงต้องทรงระงับ และเปลี่ยนแบบหลังคาเป็นทรงจตุรมุขแทน สัดส่วนของอาคารจึงเสียไป ดูไม่งดงามเท่าที่ควร กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพท่านทรงน้อยพระทัยในเรื่องนี้อยู่มาก ส่วนเครื่องยอดปราสาทที่ปรุงไม้ไว้แล้วนั้น โปรดให้ไปสร้างมณฑปถวายไว้ที่วัดมหาธาตุ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงสถาปนาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ให้เสด็จมาประทับที่วังหน้า จึงโปรดให้สร้างพระที่นั่งคล้ายพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ขึ้นหน้าพระที่นั่งสุทไธยสวรรค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในฐานะที่ทรงเป็นกษัตริย์เช่นกัน พระราชทานนามพระที่นั่งนี้ว่า"พระที่นั่งคชกรรมประเวศ" เพราะมีเกยสำหรับขึ้นทรงช้างด้วย

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เครื่องไม้ของพระที่นั่งผุกร่อนและชำรุดมาก จึงโปรดเกล้าฯให้รื้อพระที่นั่งองค์นี้ออก คงเหลือแต่ฐานปราสาทและเกยช้าง

แม้ในภาพนี้จะมองไม่เห็นกระทั่งหลังคาของพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ แต่ทางด้านขวา จะได้เห็นบรรยากาศของสิ่งก่อสร้างและสภาพแวดล้อมด้านหน้าพระที่นั่งองค์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯประทับอยู่จนวันสวรรคต ดังที่คุณหนุ่มสยามตั้งปุจฉาค้างไว้  ยังดูโปร่งโล่งดี  มีต้นไม้บังเขตพระราชฐานพอสมควร




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 15:29

เข้าใจว่าเป็นพระที่นั่งสร้างขึ้นเป็นองค์แรก เมื่อมีพระบวรราชวัง   ก่อนสร้างพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์   
ถ้าอย่างนั้นสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯคงจะเสด็จอยู่ที่นี่ จนกระทั่งพระที่นั่งอิศเรศฯสร้างเสร็จ  จึงได้ทรงย้ายไป?
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 15:43

ผมลองเดินมาทางอีกปีกหนึ่งของ พระที่นั่งคชกรรมประเวศ นะครับ อ. NAVARAT.C จะเห็นกลุ่มสิ่งก่อสร้างด้านขวามือภาพ เป็นสิ่งก่อสร้างอะไรครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 15:55

ขยายภาพให้ท่านอื่นๆช่วยดูด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 16:28

ขอเลือกตอบอันนี้ก่อนนะครับ (ครูสอนไว้ว่า ข้อสอบที่ยากๆ ให้เลือกตอบทีหลัง)

อ้างถึง
เข้าใจว่าเป็นพระที่นั่งสร้างขึ้นเป็นองค์แรก เมื่อมีพระบวรราชวัง   ก่อนสร้างพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์   
ถ้าอย่างนั้นสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯคงจะเสด็จอยู่ที่นี่ จนกระทั่งพระที่นั่งอิศเรศฯสร้างเสร็จ  จึงได้ทรงย้ายไป?

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯทรงย้ายจากวังหลังที่ประทับอยู่กับพระราชชนนี เสด็จมาประทับที่วังหน้าตั้งแต่พระบวรราชาภิเษก โดยประทับที่พระที่นั่งวสันตพิมาน ซึ่งเป็นพระที่นั่งสองชั้น หนึ่งในสามหลังของหมู่พระวิมาน ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่พระบรรทมของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ประทับอยู่และเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้
ในสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ทรงซ่อมแซมปรับปรุงใหม่แต่พระองค์ก็มิได้เสด็จเข้ามาประทับ ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ สมเด็จพระบรมเชษฐาทรงโปรดฯให้ตั้งพระแท่นแขวนเศวตฉัตร ดังเช่นห้องพระบรรทมที่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง จึงทรงต้องประทับในพระที่นั่งองค์นี้ชั่วระยะหนึ่ง ครั้นพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ที่โปรดให้สร้างขึ้นแล้วเสร็จ จึงทรงย้ายประทับ

เมื่อเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแล้ว ได้จัดให้ส่วนชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นที่จัดแสดงเครื่องถ้วยต่าง ๆ ส่วนชั้นบนที่บันใดขึ้นชันมาก เป็นส่วนพระวิมานที่เคยเป็นห้องพระบรรทมก็ดูทึมทึบ เป็นที่จัดแสดงงาช้าง จากช้างต้นและช้างสำคัญ รวมทั้ง งานศิลป์ที่สร้างขึ้นจากงาช้างด้วย



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 16:46


อ้างถึง
ทำให้สงสัยต่อไปว่า ห้องเล็กเป็นห้องบรรทมตอนประชวรจริงหรือ?
   

อ้างถึง
คำเห็นและคำถามข้างบน เชื่อว่าทุกคนคงรู้สึกเช่นนั้น แต่ก็ไม่มีใครคิดจะซักถามเจ้าหน้าที่ที่เปิดเผยข้อมูลให้ดังกล่าวให้ทราบ ข้อเท็จจริงจะต่างกับที่ท่านว่าหรือไม่นั้น ผมไม่สามารถจะยืนยันได้ (อย่างน้อยในขณะนี้)

อ่านไปอ่านมา ได้ไปเจอข้อความในหนังสือ “ตำนานวังหน้า” ตอนนี้เข้า จึงเอามาฝากครับ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 16:52

งั้นก็ได้คำตอบแล้วว่าทำไมบรรทมในห้องเล็ก  คงเป็นเพราะเปิด french windows แล้วลมคงพัดโกรกเข้าได้    เย็นสบายกว่าในห้องบรรทมเดิม  จึงทรงเลือกห้องนี้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 19:08

ขณะที่ผมละจากคอมพิวเตอร์ไปเตรียมตัวทานข้าว กำลังอาบน้ำอุ่นเพลินๆอยู่พลันคิดตามประสาสถาปนิกได้ว่า  เมืองไทย(กรุงเทพ)นั้น โดยปกติลมจะพัดมาทางใต้เฉลียแล้ว๙เดือนต่อปี เฉพาะหน้าหนาวธันวาคมถึงกุมภาพันธุ์ ๓ เดือนเท่านั้น ที่ลมหนาวจากจีนเข้ามา ลมจะกลับทิศพัดจากเหนือลงใต้

ตกลงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯท่านมีห้องพระบรรทมใหญ่ ตั้งพระแท่นคู่ไว้ประดับพระบารมีเฉยๆ  ส่วนมากพระองค์จะไปประทับบรรทมในห้องแต่งตัวเล็กๆ ที่อยู่รับลมจากทิศใต้

ในช่วงที่ทรงพระประชวรใกล้สวรรคต ทรงโปรดให้ตั้งพระแท่นในห้องเล็กๆ ที่อยู่ทางทิศเหนือ เพื่อรับลม(กรุงเทพคงไม่หนาวจัดทั้งวันทั้งคืนตลอดฤดูกาลหรอก) ขณะเสด็จสรรคตเป็นช่วงต้นเดือนมกราคม ระยะที่ลมกลับทิศนั่นเอง

นี่ถ้าอากาศกรุงเทพวันนี้ไม่หนาวยะเยือกขึ้นมา ผมก็คิดไม่ออกนะเนี่ย




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 20:20


ในช่วงที่ทรงพระประชวรใกล้สวรรคต ทรงโปรดให้ตั้งพระแท่นในห้องเล็กๆ ที่อยู่ทางทิศเหนือ เพื่อรับลม(กรุงเทพคงไม่หนาวจัดทั้งวันทั้งคืนตลอดฤดูกาลหรอก) ขณะเสด็จสรรคตเป็นช่วงต้นเดือนมกราคม ระยะที่ลมกลับทิศนั่นเอง

นี่ถ้าอากาศกรุงเทพวันนี้ไม่หนาวยะเยือกขึ้นมา ผมก็คิดไม่ออกนะเนี่ย


ปริศนาในประวัติศาสตร์  ใช้วิชาภูมิศาสตร์เฉลยก็ได้  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 19 ม.ค. 11, 08:25

"ที่มุมตะวันตกเฉียงใต้ กั้นเป็นห้องสรง"

อยากทราบว่ามีการตั้งเครื่องสรงอย่างไร เป็นแบบตะวันตกมีฝักบัว หรือตั้งถังสาคร เนื่องจากธรรมเนียมไทยการตั้งห้องน้ำในเรือนถือเป็นเรื่องไม่งาม เพิ่งจะเห็นดังพระราชพงศาวดาร ร.๓ มีการก่อห้องสรงไว้ในพระที่นั่ง, ตำหนักแดงของพระศรีสุริยเยทราฯ ก็มีเหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 19 ม.ค. 11, 08:52

"ที่มุมตะวันตกเฉียงใต้ กั้นเป็นห้องสรง"

อยากทราบว่ามีการตั้งเครื่องสรงอย่างไร เป็นแบบตะวันตกมีฝักบัว หรือตั้งถังสาคร เนื่องจากธรรมเนียมไทยการตั้งห้องน้ำในเรือนถือเป็นเรื่องไม่งาม เพิ่งจะเห็นดังพระราชพงศาวดาร ร.๓ มีการก่อห้องสรงไว้ในพระที่นั่ง, ตำหนักแดงของพระศรีสุริยเยทราฯ ก็มีเหมือนกันครับ

ขอขยายความ
ถ้าเป็นสามัญชน การตั้งห้องน้ำไว้ในเรือนเป็นสิ่งมิบังควร   ถือว่าทำเทียมเจ้านาย  แต่ถ้าเป็นพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายระดับสูงทรงมีห้องสรงและที่ลงพระบังคนในพระตำหนักได้ไม่แปลก    หากถามว่าแล้วคนโบราณเขาเข้าห้องน้ำกันยังไง ก็หาคำตอบได้จากขุนช้างขุนแผน  ว่าบ้านสามัญชน เวลาอาบน้ำ ถ้าไม่ลงอาบที่ท่าน้ำ  ก็ตั้งขันสาครหรือโอ่งน้ำไว้บนนอกชาน  บ้านเศรษฐีก็หรูหรามีฝักบัว   แต่ถ้าจะเข้าส้วมละก็ต้องลงจากเรือนไป "เว็จ" หมายถึงส้วมหลุมนอกบ้าน

ข้อหนึ่งที่ขุนช้างไปทูลฟ้องกับพระพันวษา  ใส่ความขุนแผนว่าเป็นกบฏ ก็คือ

มันปลูกตำหนักป่าพลับพลาแรม
ค่ายป้อมล้อมแหลมเป็นหน้าฉาน
ตั้งที่ลงบังคนชอบกลการ
นานไปก็จะเป็นกะลีเมือง

แปลว่าคิดการใหญ่ขนาดปลูกพลับพลา สร้างส้วมเอาไว้ใช้ด้วย   เข้าขั้นบังอาจทำเทียมพระมหากษัตริย์  ก็คือคิดการใหญ่เป็นกบฏนั่นเอง

ขุนช้างขุนแผนและนางวันทองเป็นคนมีฐานะดี   แต่ก็ยังไม่มีส้วมอยู่บนเรือน    นางวันทองต้องลงจากเรือนไป "เว็จ" ข้างนอก ข้อนี้รู้จากตอนตัดขาดกับขุนแผน  นางบอกว่า "จะขุดเว็จฟื้นดินให้สิ้นรอย"
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 19 ม.ค. 11, 09:19

ขอบคุณครับ อ.เทาชมพู ที่ให้ความกระจ่าง แต่ผมยังสังสัยต่อไปในเรื่องรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ เช่น ใช้ฝักบัว หรือ ใช้ขันสาคร เนื่องจากทราบว่าในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้นมีการตั้งเครื่องจักรไอน้ำ สูบน้ำเข้าท่อเพื่อเป็นระบบประปามายังวังหน้า ซึ่งงานระบบเดินท่อจะเฉียดไปทางมุมพระที่นั่งอิศเรศฯ หรือไม่ หรือ ให้คนยกน้ำเดินขึ้นลงบันไดหน้าพระที่นั่ง ตักน้ำผ่านห้องต่างๆ คงไม่งามเท่าที่ควร
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 19 ม.ค. 11, 16:00

^
ผมไม่มีโอกาสได้ดูเรื่องเหล่านี้เลยครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 22 ม.ค. 11, 11:52

เอาโถส้วมที่ใช้ในยุควิกทอเรียนมาให้ดูครับ

ลางที ที่ลงพระบังคนในพระที่นั่งต่างๆ อาจจะใช้เช่นเดียวกันนี้


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง