เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 104286 สีฟ้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 12 ม.ค. 11, 08:51

หลังจากรับใช้คาวบอยและชาวไร่ชาวนาอยู่หลายศตวรรษ    กางเกงยีนส์ก็ได้เลื่อนระดับขึ้นมาอย่างไม่คาดฝันในช่วงทศวรรษ 1950s เมื่อหนังเรื่อง Rebel Without A Cause ออกฉาย   ดาราชายในเรื่องนี้ชื่อ James Dean  เป็นดาวรุ่งพุ่งแรง ขวัญใจวัยรุ่นหนุ่มสาวทั่วอเมริกา
ในยุคสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2  วัยรุ่นไม่ค่อยมีบทบาทในสังคมมากนัก    แต่หลังสงคราม เป็นยุคที่เรียกว่า Baby Boomers ผู้ชายกลับจากสงครามมาสร้างครอบครัว    อเมริกาเริ่มยิ่งใหญ่ขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก เด็กที่เกิดในยุคนี้จึงได้รับความสำคัญจากพ่อแม่มากกว่าคนรุ่นก่อนๆ     
พอโตเป็นวัยรุ่นในช่วง 1950s   ทิศทางของสังคมจึงเริ่มหันเหไปตามแรงต้องการของวัยรุ่น  อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในยุคพ่อแม่พวกเขา
พอเจมส์ ดีน นุ่งกางเกงยีนส์ด้วยมาดเท่ในหนังเรื่องนี้   กางเกงชาวนาก็ก่อกระแสความนิยมขึ้นมาอย่างครึกโครม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 12 ม.ค. 11, 09:08

ยุคต้น 1950s ไม่มีแฟชั่นของวัยรุ่นโดยเฉพาะ   เด็กสาวๆโตขึ้นมาก็แต่งตัวเหมือนคุณแม่  บางทีก็แทบจะแยกไม่ออกว่าคนไหนลูกสาว  คนไหนแม่    
ชายหญิงแต่งกายเรียบร้อย  เด็กสาวนุ่งกระโปรง   เด็กหนุ่มสวมเสื้อนอกผูกเนคไทเวลามีงานสังสรรค์นอกบ้าน เป็นเรื่องธรรมดา

รูปที่นำมาลง คือเด็กสาววัยมัธยมปลาย



ส่วนรูปนี้คือแฟชั่นหนุ่มวัยรุ่น  แต่งตัวไม่ต่างจากพ่อ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 12 ม.ค. 11, 09:16

จนกระทั่งกางเกงผ้าเนื้อหยาบหนาสีน้ำเงินโผล่โฉมขึ้นมาในจอหนัง   จึงกลายเป็นแฟชั่นที่ทั้งหนุ่มและสาวคลั่งไคล้   
ตั้งแต่เด็กไปจนวัยรุ่น ต้องมีกางเกงบลูยีนส์อยู่ในตู้เสื้อผ้าอย่างน้อย 1 ตัว
กลุ่มเป้าหมายของกางเกงยีนส์ก็เพิ่มขึ้นทันที  ตลาดใหญ่ไม่ใช่ชาวไร่ชาวนาอีกแล้ว  แต่เป็นหนุ่มสาวผู้อยากจะทันสมัย เก๋ และเท่ อยู่ในกางเกงสีน้ำเงิน
นอกจากกางเกงแล้ว ก็ต้องสวมเสื้อบลูยีนส์เข้าชุดกันด้วย


     

บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 12 ม.ค. 11, 09:42

ขออนุญาต แก้ความเห็น 74 มาเวอร์ริค(คนที่สองจากขวา) ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 12 ม.ค. 11, 10:06


ขออนุญาต แก้ความเห็น 74 มาเวอร์ริค(คนที่สองจากขวา) ครับ

ไม่ใช่ค่ะ คนที่สามจากขวา ถูกแล้ว   ดาราคือเจมส์ การ์เนอร์ค่ะ
คนที่สองจากขวา ชื่อ Wade Preston เป็นพระเอกเรื่อง Colt.45 
คุณปทุมาลองอ่านคำบรรยายตัวเล็กๆข้างใต้ภาพดูซีคะ 

นำรูปมาเวอร์ริคมาให้ดูอีกที  สมัยนั้นเจมส์ การ์เนอร์หล่อเอาการ


เทียบกับตอนแก่  สังขารไม่เที่ยง

บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 12 ม.ค. 11, 10:13

โอ ต้องขออภัยครับ มองข้ามไปคน หนึ่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 12 ม.ค. 11, 10:37

มาให้ทายอีกที   ใครจำหนุุ่มมาดเท่ในเสื้อแจ็กเก็ตหนังและกางเกงยีนส์ คนนี้ได้บ้าง?


เล่าต่อ

ความอาภัพของกางเกงบลูยีนส์อยู่ที่ว่า มันถูกประทับตราว่าเป็นชนชั้นกรรมกรชาวนามาแต่ไหนแต่ไร   ดังนั้นแม้จะถูกยกขึ้นมาเป็นยอดนิยม   บรรดาพ่อแม่และผู้ใหญ่หัวอนุรักษ์ทั้งหลาย ก็ไม่ยอมรับว่ากางเกงสีน้ำเงินชนิดนี้ สูงส่งเท่าสีน้ำเงินอื่นๆ

สีน้ำเงินไฮโซในยุคนั้นและก่อนนั้น  เป็นสีของเสื้อนอกผู้ชาย ที่เรียกว่า blazer  เสื้อนอก Blue Blazer ถือเป็นเสื้อนอกโก้เก๋  โดยเฉพาะเบลเซอร์แบบติดกระดุมสองแถวข้างหน้า  
ดูในรูปล่าง จะเห็นว่าผู้สวมบลูเบลเซอร์คือดยุคออฟวินด์เซอร์ หรืออดีตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 ผู้สละราชบัลลังก์เพื่อนางซิมป์สัน

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 12 ม.ค. 11, 10:46

ก็สีน้ำเงินเหมือนกันนี่ละค่ะ   พอเป็นสีเสื้อนอกก็เป็นของผู้ดี  แต่พอเป็นสีกางเกงผ้าเดนิม ก็กลายเป็นสีชาวบ้าน    

เพราะยึดติดกับความเคยชิน  ผู้ใหญ่สมัย 1950s  จึงไม่ต้อนรับกางเกงยีนส์ในโบสถ์  ในโรงละคร ในภัตตาคารชั้นหรู   หรือในสถานที่ใดๆที่จัดงานเป็นพิธีรีตอง
แต่ก็ไม่มีอะไรสะกัดกั้นความแรงของบลูยีนส์ได้     นุ่งเข้าสถานที่สำคัญไม่ได้ก็ไม่เป็นไร  เพราะสถานที่ไม่สำคัญ ในชีวิตประจำวัน มีมากกว่าหลายเท่า
เปิดโอกาสให้หนุ่มสาวนุ่งบลูยีนส์ไปได้ตามสบาย เช่นไปจ่ายของ ไปดูหนัง  ไปท่องเที่ยว  ไปเรียนหนังสือ ฯลฯ

ผ่านมาครึ่งศตวรรษ  กางเกงบลูยีนส์ก็กลายเป็นเครื่องแต่งกายประจำของคนอเมริกัน  ไม่ว่าเด็ก วัยรุ่น หนุ่มสาว ไปจนคนแก่ สวมใส่กันหมด


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 12 ม.ค. 11, 10:51

วัยรุ่นอเมริกันเกือบร้อยละร้อย  ถ้านุ่งกางเกงก็เลือกบลูยีนส์ แทนกางเกงแบบอื่น

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 12 ม.ค. 11, 11:29

ทุกวัยนุ่งบลูยีนส์


รวมทั้งคุณตาคุณป้า


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ก.ย. 12, 22:27 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 12 ม.ค. 11, 12:08

ดาราฮอลลีวู้ด Katie Holmes, Amanda Peet และ Rachel Bilson ก็ยังตามกระแสบลูยีนส์


เพราะกระแสเช่นกัน    ทำให้บลูยีนส์ขาด เป็นของโก้ และแพงกว่าบลูยีนส์ดีๆ เสียอีก


อย่างตัวที่ Taylor Momsen สวม

[/img]
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 12 ม.ค. 11, 12:17

ปิดรายการบลูยีนส์ด้วยยีนส์แฟชั่น

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 12 ม.ค. 11, 22:07

Blue ต่อไป  คือฺ Blue China   เครื่องกระเบื้องขาวลายสีน้ำเงิน  แพร่หลายไปทั่วโลกมาหลายศตวรรษแล้ว   
คนไทยรู้จักกันในนามของ เครื่องลายคราม   ความหมายก็ตรงกับชื่อ  คือ เครื่องกระเบื้องที่มีลวดลายสีน้ำเงินคราม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 13 ม.ค. 11, 16:30

อย่างที่รู้กัน เครื่องลายครามถือกำเนิดในประเทศจีน  เมื่อผลิตตอนแรกๆ น่าจะเป็นเครื่องดินเผา(แบบสังคโลก?)  แต่กว่าจะมาเป็นกระเบื้องขาวลายน้ำเงินอย่างที่รู้จักกันก็ศตวรรษที่ 14  ผลิตเป็นสินค้าอุตสาหกรรม  ส่วนลายเขียนสีน้ำเงินนั้นผลิตจากโคบอลท์ ซึ่งน่าจะได้วัตถุดิบมาจากเปอร์เชีย
เครื่องกระเบื้องจีนเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ ในการค้าระหว่างจีนกับยุโรป    คำว่ากระเบื้อง(porcelain) ฝรั่งก็เลยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า China    คำนี้คนไทยมักจะสับสน   อย่างคำว่า China doll ไม่ได้หมายถึงตุ๊กตาจีน แต่หมายถึงตุ๊กตากระเบื้อง เป็นตุ๊กตาฝรั่งก็ได้ แต่ทำด้วยกระเบื้อง   China dinner set ก็เช่นกัน ไม่เกี่ยวกับจีน แต่หมายถึงจานชามกระเบื้องออกแบบสำหรับงานเลี้ยงดินเนอร์

สินค้าเครื่องลายครามยุคแรก  ผลิตที่เมืองJingdezhen (ฝากถามคุณม้าว่าภาษาไทยออกเสียงว่าอะไร  ไปขอกูเกิ้ลออกเสียงให้แล้ว ก็ยังฟังไม่รู้เรื่องว่าเมืองไหนอยู่นั่นเอง) ในศตวรรษที่ 14  ตัวอย่างคือรูปนี้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 13 ม.ค. 11, 16:50

อย่างที่รู้กัน เครื่องลายครามถือกำเนิดในประเทศจีน  เมื่อผลิตตอนแรกๆ น่าจะเป็นเครื่องดินเผา(แบบสังคโลก?)  แต่กว่าจะมาเป็นกระเบื้องขาวลายน้ำเงินอย่างที่รู้จักกันก็ศตวรรษที่ 14  ผลิตเป็นสินค้าอุตสาหกรรม  ส่วนลายเขียนสีน้ำเงินนั้นผลิตจากโคบอลท์ ซึ่งน่าจะได้วัตถุดิบมาจากเปอร์เชีย
เครื่องกระเบื้องจีนเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ ในการค้าระหว่างจีนกับยุโรป    คำว่ากระเบื้อง(porcelain) ฝรั่งก็เลยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า China    คำนี้คนไทยมักจะสับสน   อย่างคำว่า China doll ไม่ได้หมายถึงตุ๊กตาจีน แต่หมายถึงตุ๊กตากระเบื้อง เป็นตุ๊กตาฝรั่งก็ได้ แต่ทำด้วยกระเบื้อง   China dinner set ก็เช่นกัน ไม่เกี่ยวกับจีน แต่หมายถึงจานชามกระเบื้องออกแบบสำหรับงานเลี้ยงดินเนอร์

สินค้าเครื่องลายครามยุคแรก  ผลิตที่เมืองJingdezhen (ฝากถามคุณม้าว่าภาษาไทยออกเสียงว่าอะไร  ไปขอกูเกิ้ลออกเสียงให้แล้ว ก็ยังฟังไม่รู้เรื่องว่าเมืองไหนอยู่นั่นเอง) ในศตวรรษที่ 14  ตัวอย่างคือรูปนี้




เครื่องลายครามชิ้นแรก กำเนิดที่เปอร์เซีย แล้วพ่อค้าอาหรับ สอนวิธีให้กับช่างเขียนจีน เพื่อทำการผลิตไปขายยังเปอร์เซีย โดยรุ่นแรกเขียนลายอาหรับ แล้วช่างจีนค่อยพัฒนาเป็นของตนครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 20 คำสั่ง