เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 104292 สีฟ้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 05 ม.ค. 11, 12:01

สวัสดีปีใหม่ค่ะทุกท่าน
ขอแสดงความเห็นด้วยคนนะคะ

รู้จักคนบางคนที่เรียก สีฟ้าหรือสีน้ำเงิน ว่า สีเขียว  และเรียกสีเขียว ว่า สีเขียวใบไม้
เขาว่า คนแถวริมทะเล(ทั่วโลก) มักจะมองเห็นสีฟ้าปนกับสีเขียวแบบนี้ค่ะ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 05 ม.ค. 11, 12:34

ส่วนน้ำเงินคงจะเรียกว่า สีคราม สีกรมท่า ไปกระมังครับ

ปล. แล้วสีฟ้า มาแต่ใดเล่านี่

สวัสดีค่ะคุณศศิศ
สีฟ้า น่าจะมาจากท้องฟ้า มั้งคะ  ยิงฟันยิ้ม
สีคราม ก็มาจากครามที่ย้อมผ้า  
กรมท่า สีผ้านุ่งขุนนางกรมท่า ที่เป็นสีน้ำเงิน

ฟ้า คราม กรมท่า ก็หาที่มาได้แล้ว

น้ำ้ิเงินเท่ามาจากสีน้ำของเงินละหรือ

 ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 05 ม.ค. 11, 12:42

คนไทยโบราณ เรียกสีน้ำเงินหรือดำว่า เขียว ค่ะ เคยได้ยินท่านพูดถึงฝนตั้งเค้าว่า "เมฆเขียวไปหมด"

Blue whale หรือวาฬสีน้ำเงิน(Balaenoptera musculus) เป็นวาฬชนิดใหญ่สุด   และยังเป็นสัตว์ใหญ่ที่สุดในโลก
รูปนี้เทียบขนาดกับสัตว์อื่นๆ เพื่อจะให้เห็นว่าขนาดมันมโหฬารแค่ไหน



ตัวเป็นๆดูได้ในคลิปนี้



วอลท์ ดิสนีย์ เอาวาฬสีน้ำเงินไปเล่นเป็นฝ่ายร้ายในการ์ตูน Pinocchio ด้วย ชื่อว่าเจ้ามอนสโตร (monstro)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 05 ม.ค. 11, 12:44


น้ำเงินเท่ามาจากสีน้ำของเงินละหรือ

 ฮืม

น่าคิด ทำไมเรียกว่าสีน้ำเงิน
= น้ำ + เงิน 
เงินละลาย   ออกมาเป็นสีนี้หรือ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 05 ม.ค. 11, 12:59

ในการ์ตูนเรื่อง Pinocchio  เช่นกัน   ตัวละครฝ่ายดี ก็เป็นสีฟ้า  คือตัว Blue Fairy นางฟ้าใจดีที่เสกเจ้าตุ๊กตาไม้ให้มีชีวิตขึ้นมา และคอยช่วยเหลือในยามคับขัน


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 05 ม.ค. 11, 13:38

เฉดสีฟ้า ค่าของสีและชื่อที่ใช้เรียก ในการสร้างสีเพื่อแสดงผลบนอินเทอร์เน็ท ค่ะ


บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 05 ม.ค. 11, 13:42

เวลาเอากรดกัดเงิน เพือทดสอบความแท้ของเงิน (Silver) มันจะออกมาเป็นสีเขียว เหมือนสนิมเขียวของทองแดงค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 05 ม.ค. 11, 13:49

ขอบคุณค่ะ  ที่มาเฉลยให้ฟัง

เรื่องต่อไปจะเล่าถึง blue ในวรรณคดี  ขอเอารูปมาเสิฟก่อน  เรื่องจะตามมาทีหลัง

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 05 ม.ค. 11, 16:01

ต่อเรื่องที่มาของคำว่า "สีน้ำเงิน"

ใน กาพย์เห่เรือ เห่ชมปลา พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ กล่าวถึงปลาน้ำเงินว่า

น้ำเงินคือเงินยวง          ขาวพรายช่วงสีสำอาง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายเงินยวงว่า

เงินยวง    สีเหมือนสีเงินที่ละลายคว้างในเบ้า เรียกว่า สีเงินยวง

ลองมาวิสัชนาว่าทำไมจึงเรียกปลาชนิดนี้ว่า ปลาน้ำเงิน

ปลาน้ำเงิน  มีลักษณะเด่นคือทั้งตัวมีสีเงิน จึงมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษอีกชื่อหนึ่งคือ  METALLIC SHEATFISH  อย่างไรก็ดี สีเงินนี้เมื่อถูกแสงสว่างจะมีประกายสีน้ำเงิน คำว่า น้ำเงิน นี้อาจใช้เช่นเดียวกับ น้ำเพชร



น้ำเพชร  คือ ความแวววาวของเพชร

น้ำเงิน    คือ ความแวววาวของเงิน

ในกรณีนี้ ชื่อ ปลาน้ำเงิน คือ ปลาที่มี่ความแวววาวของสีเงินบนลำตัวออกเป็นสี blue 

ดังนั้น  blue  =  น้ำเงิน

ขอเรียนเชิญท่านอื่นให้ความเห็น

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 05 ม.ค. 11, 16:07

หันเข้าพึ่ง รอยอิน  ได้คำตอบมาว่า

น้ำเงิน ๑   ว. สีอย่างสีคราม; (โบ) น. ค่าป่วยการที่ชักออกจากจํานวนเงินที่ส่งไป   เรียกว่าค่านํ้าเงิน, เรียกทาสที่ขายตัวแก่นายเงิน หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัวมาว่า ทาสนํ้าเงิน

ก็เลยไปตามหาว่า คราม ท่านให้คำอธิบายว่าอย่างไร  ได้คำตอบมาว่า
คราม ๑   [คฺราม] น. บ้าน, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ราชคราม. (ส.; ป. คาม).
คราม ๒   [คฺราม] น. ผงสีนํ้าเงินที่ได้จากต้นคราม. ว. สีนํ้าเงิน.
คราม ๓   [คฺราม] น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Indigofera tinctoria L. ในวงศ์ Leguminosae
   ปลูกเพื่อใช้ใบและต้นทําสีนํ้าเงิน ใช้ย้อมผ้า. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด
   Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze ในวงศ์ Acanthaceae ใบใช้ทํา
   สีนํ้าเงิน ใช้ย้อมผ้า, พายัพเรียก ห้อม หรือ ห้อมเมือง, เขียนเป็น
   ฮ่อม หรือ ฮ่อมเมือง ก็มี.

สรุปว่า น้ำเงิน = สีอย่างสีคราม  ส่วน คราม = สีน้ำเงิน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 05 ม.ค. 11, 16:14

ตกลง รอยอิน ท่านทำให้งงยิ่งขึ้น   ยิงฟันยิ้ม

แต่อย่างน้อยเราก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้น

ต้นคราม = ต้นห้อม ที่ใช้ในการย้อมเสี้อหม้อห้อมนี่เอง

หม้อห้อม  เรียกเสื้อคอกลม แขนสั้น ผ่าอกตลอด มักย้อมสีน้ำเงินเข้มหรือดำ ว่า เสื้อหม้อห้อม, เขียนเป็น ม่อห้อม หรือ ม่อฮ่อม ก็มี

ความจริง สีน้ำเงิน และ สีคราม ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว  สีคราม เป็นสีน้ำเงินออกไปทางม่วงมากกว่า  สีทั้ง ๗ ของรุ้งกินน้ำยังแยกครามออกจากสีน้ำเงิน คือ ม่วง, คราม, น้ำเงิน, เขียว, เหลือง, แสด, แดง



ครามกับน้ำเงินคนละสีแท้ ๆ

 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 05 ม.ค. 11, 16:30

สีคราม = indigo   เป็นสีระหว่างม่วง (violet) และน้ำเงิน (blue)   เทียบจากสีของสายรุ้ง
แต่รอยอินท่านถือเป็นสีเดียวกัน
งั้นดิฉันก็โมเม ถือว่า indigo อยู่กลุ่มเดียวกับสีฟ้าด้วย   เผื่อไปเจออะไรเกี่ยวกับคำนี้  จะได้รวมเข้ามาในกระทู้เสียเลย

indigo lake

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 06 ม.ค. 11, 08:59

ขอเลี้ยวซอยแยกหน่อยค่ะ

รอยอิน ท่านมักจะมีคำอธิบายแบบเดียวกับ คราม และ น้ำเงิน แบบนี้ให้งงอยู่อีกหลายคำ เช่น

ใน   บ. ตรงกันข้ามกับ นอก, ไม่ใช่นอก, เช่น ในบ้าน ในเมือง; แห่ง, ของ,
   เช่น พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
   (ข. ใน ว่า แห่ง, ของ).

นอก   บ. ตรงข้ามกับใน, ไม่ใช่ใน. ว. พ้นออกไปจากภายในหรือร่วมใน เช่น
   นอกเรือนนอกประเทศ นอกกาย นอกตําแหน่ง, ต่างประเทศ เช่น ของ
   นอก ไปนอก, เรียกเขตที่พ้นจากเมืองหลวงออกไปว่า บ้านนอก, เรียก
   ประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาว่า เมืองนอก,
เรียกผลไม้ที่เอามาจาก
   นอกกรุง เช่น เงาะนอก ทุเรียนนอก, คู่กับ ผลไม้ในกรุง เช่น เงาะสวน
   ทุเรียนสวน.

 ยังสงสัยคำว่า "เรียกประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาว่า เมืองนอก"     แล้วใครไปเรียนหนังสือที่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไม่ถือว่าไปเรียนเมืองนอกหรือ?

กลับเข้าเรื่อง  มาเล่าถึง blue ในวรรณกรรมเสียที

เรื่องนี้ชื่อ Bluebeard (เคราสีน้ำเงิน)  เป็นตำนานพื้นบ้าน  ถ้าแยกสาขาย่อยลงไปจาก วรรณคดี (Literature) ถือว่าเป็นสาขาคติชน (Folklore)   เรื่องเดิมอาจจะมีมาตั้งแต่ยุคกลางของยุโรปก็เป็นได้  แต่ว่าชาร์ลส์ เปอร์โรต์ นักเขียนนิทานชาวฝรั่งเศส เขียนไว้ในหนังสือชื่อ  Histoires ou Contes du temps passé. (History of Tales in the Past) พิมพ์เมื่อค.ศ. 1697
เป็นเรื่องของขุนนางโหดผู้มีเคราสีน้ำเงิน  ซึ่งเป็นฆาตกรต่อเนื่อง   ฆาตกรรมภรรยาคนแล้วคนเล่า แล้วซ่อนศพไว้ในห้องลับในคฤหาสน์ของเขา   จนถึงภรรยาคนสุดท้ายที่รอดมาได้อย่างหวุดหวิด
เรื่องนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย จนคำว่า Bluebeard เอ่ยขึ้นลอยๆก็เป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงฆาตกรฆ่าเมีย

แต่ทำไมคนเขียนถึงให้ตาเฒ่ามีเคราสีน้ำเงิน  แทนที่จะเป็นเคราสีแดง สีทอง สีน้ำตาล  อย่างคนอื่นๆ    คำอธิบายยังคลุมเครืออยู่  บางคนให้เหตุผลว่าเป็นเพราะแกไม่ใช่มนุษย์  แต่อาจสืบเชื้อสายมาจากปีศาจหรือพญามาร จึงมีสีเคราผิดจากผู้คนทั่วไป

ภาพที่นำมาลง แสดงถึงวาระสุดท้ายของฒ่าเคราน้ำเงิน ที่ถูกพี่ชายของนางเอกและเพื่อนของพี่ชายสังหาร ช่วยนางเอกให้รอดตายมาได้

บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 06 ม.ค. 11, 14:46

มีรูป ผีเสื้อสีฟ้า มาฝากค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 06 ม.ค. 11, 17:28

สวยมากค่ะ ผีเสื้อกลุ่มนี้
ขอมอบ กุหลาบสีฟ้า (Blue rose) ให้แทนคำขอบคุณ

เดิมกุหลาบสีฟ้า มีได้แต่เพียงในจินตนาการเท่านั้น    หรืออย่างดีก็เป็นกุหลาบย้อมสีอย่างในรูปนี้



แต่อะไรก็หนีไม่พ้นความพยายาม   เมื่อนักพฤกษศาสตร์ญี่ปุ่นสามารถใส่ยีนของแพนซีและไอริสสีฟ้าเข้าไปใน DNA ของกุหลาบได้สำเร็จ
ทำให้เกิดกุหลาบสีฟ้าพันธุ์ใหม่    อย่างในรูปนี้ค่ะ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง